ผู้จัดการรายวัน360-ปภ.แจ้งเตือน 10 จังหวัดภาคกลาง เตรียมรับมือน้ำล้นตลิ่ง หลังระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ปาสัก ท่าจีน เพิ่มสูงขึ้น สั่งเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และเตรียมเข้าช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยาจัดโซนนิ่งสำคัญ เฝ้าระวังน้ำท่วม พร้อมผันน้ำเข้าทุ่ง ยันไม่ให้ท่วมนาข้าว ด้านนนทบุรี ย้ำให้ยกของขึ้นที่สูง "ประวิตร"ยันรัฐบาลดูแลอยู่ มั่นใจน้ำมาไม่ถึงกรุงเทพฯ
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ปภ. ได้ประสาน 10 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำท่าจีนเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงประสานหน่วยชลประทานในพื้นที่เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เปิด-ปิดประตูระบายน้ำให้สอดคล้องกับอัตราความเร็วของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำท่าจีน รวมถึงปริมาณฝนที่ไหลมาสมทบ
ทั้งนี้ ยังได้แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนอกแนวคันกั้นน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำท่าจีน เกษตรกร ผู้ประกอบการ ร้านค้า เรือโดยสาร นักท่องเที่ยว ประชาชนที่สัญจรทางน้ำ ผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างโครงสร้างหรือเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำท่าจีน ให้ติดตามสถานการณ์น้ำและประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด
ขณะเดียวกัน ขอให้เตรียมพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม และระมัดระวังอันตรายจากการสัญจรทางน้ำ ตลอดจนประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย เรือท้องแบน และรถปฏิบัติการประจำพื้นที่เสี่ยง ให้พร้อมปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงจัดวางแนวกระสอบทรายและติดตั้งเครื่องสูบน้ำป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำเอ่อล้นท่วมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำท่าจีน
นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ทางจังหวัดได้จัดโซนนิ่งแบ่งหน่วยงานเข้าไปรับผิดชอบเฝ้าระวังน้ำท่วมพื้นที่สำคัญอย่างใกล้ชิด คือ โซนอุตสาหกรรม เมืองมรดกโลก เขตพระราชฐาน โบราณสถาน วัด และโรงพยาบาล เนื่องจากขณะนี้เขื่อนเจ้าพระยา ได้มีการระบายน้ำเกือบ 2,300 ลบ.ม./วินาที และเขื่อนพระรามหกระบายออกมา 700 ลบ.ม./วินาที รวมถึงการระบายน้ำเข้าทุ่งต้องดูว่าหากระบายแล้วจะสามารถยืดระยะเวลาได้นานเท่าไร โดยจะทยอยดำเนินการตามความเหมาะสม ซึ่งล่าสุดนายอำเภอ ได้กำชับและประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในบางพื้นที่แล้ว ดังนั้น ความขัดแย้งจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
"ต้องดูสถานการณ์น้ำว่าจะมีการระบายน้ำเพิ่มหรือไม่ ถ้าระบายเพิ่มก็ต้องใช้อีก 2 ถัง คือ บางบาล กับเจ้าเจ็ด จริงๆ เรามีทุ่งอีกทุ่งหนึ่ง ซึ่งรับน้ำได้ 10 ล้านคิว คือ ทุ่งบ้านแพน พื้นที่ 6 พันไร่ ก็จะมีการสำรวจและเตรียมการ แต่ 3-4 ทุ่งนี้ เนื่องจากมีข้าวค้างอยู่ร่วมแสนไร่ ก็ไม่ได้ปล่อยน้ำให้ท่วม ก็พยายามชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน ตรงไหนพร้อมก็เร่งให้เกี่ยว เพื่อจะให้ว่างสำหรับเตรียมความพร้อมได้มากขึ้น แต่ถ้าเกิดสถานการณ์เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ ก็จะประกาศให้ประชาชนรับทราบทันที หรือประกาศเตือนภัย และเตรียมช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน"นายสุจินต์กล่าว
นายโบว์แดง ทาแก้ว ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมสูงในชุมชนริมแม่น้ำ ได้เริ่มมีการผันน้ำเข้าทุ่งบางบาล-ป่าโมก เนื้อที่กว่า 30,000 ไร่ เพื่อเก็บน้ำเข้าทุ่งแก้มลิง โดยทุ่งนี้กินเนื้อที่ถึง 4 อำเภอ ซึ่งเป็นเขตติดต่อกัน ได้แก่ อ.เสนา ผักไห่ บางบาล ของจ.พระนครศรีอยุธยา และอ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ซึ่งเก็บเกี่ยวข้าวหมดแล้ว
ทางด้านนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ได้ส่งหนังสือด่วนถึงนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ประสานเรื่องถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ จ.นนทบุรี ทุกครัวเรือน ว่า ต้องเฝ้าระวังและเตรียมการให้พร้อมที่สุด สำหรับการยกของ ยกทรัพย์สินขึ้นที่สูง เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากกรมชลประทานได้แจ้งเตือนว่ายังมีฝนตกหนักต่อเนื่องหลังเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อีก รวมถึงถ้าไม่เพิ่มการระบายน้ำ คาดว่าจะมีน้ำเต็มเขื่อนในวันที่ 11 ต.ค. ทำให้เป็นที่ไม่น่าไว้วางใจ
นอกจากนี้ ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี ที่เป็นเขตติดต่อกัน ได้ประกาศแจ้งเตือนบ้านที่อยู่ในแนวคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำแล้วว่าให้เตรียมความพร้อมมากถึงมากที่สุด ควรเคลื่อนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูงไว้ก่อน คาดว่ามวลน้ำก้อนนี้จะถึงจังหวัดนนทบุรีในไม่ช้านี้ จึงขอให้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ขณะที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวว่า รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมในการรับมือปัญหาน้ำท่วมมาโดยตลอด ซึ่งถ้าเป็นในอดีตในหลายพื้นที่น้ำท่วมคงไปหมดแล้ว แต่ตอนนี้พยายามกระจายน้ำ และดำเนินการทุกอย่างที่จะไม่ให้เดือดร้อนลงมาถึงกรุงเทพฯ
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ปภ. ได้ประสาน 10 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำท่าจีนเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงประสานหน่วยชลประทานในพื้นที่เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เปิด-ปิดประตูระบายน้ำให้สอดคล้องกับอัตราความเร็วของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำท่าจีน รวมถึงปริมาณฝนที่ไหลมาสมทบ
ทั้งนี้ ยังได้แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนอกแนวคันกั้นน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำท่าจีน เกษตรกร ผู้ประกอบการ ร้านค้า เรือโดยสาร นักท่องเที่ยว ประชาชนที่สัญจรทางน้ำ ผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างโครงสร้างหรือเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำท่าจีน ให้ติดตามสถานการณ์น้ำและประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด
ขณะเดียวกัน ขอให้เตรียมพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม และระมัดระวังอันตรายจากการสัญจรทางน้ำ ตลอดจนประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย เรือท้องแบน และรถปฏิบัติการประจำพื้นที่เสี่ยง ให้พร้อมปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงจัดวางแนวกระสอบทรายและติดตั้งเครื่องสูบน้ำป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำเอ่อล้นท่วมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำท่าจีน
นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ทางจังหวัดได้จัดโซนนิ่งแบ่งหน่วยงานเข้าไปรับผิดชอบเฝ้าระวังน้ำท่วมพื้นที่สำคัญอย่างใกล้ชิด คือ โซนอุตสาหกรรม เมืองมรดกโลก เขตพระราชฐาน โบราณสถาน วัด และโรงพยาบาล เนื่องจากขณะนี้เขื่อนเจ้าพระยา ได้มีการระบายน้ำเกือบ 2,300 ลบ.ม./วินาที และเขื่อนพระรามหกระบายออกมา 700 ลบ.ม./วินาที รวมถึงการระบายน้ำเข้าทุ่งต้องดูว่าหากระบายแล้วจะสามารถยืดระยะเวลาได้นานเท่าไร โดยจะทยอยดำเนินการตามความเหมาะสม ซึ่งล่าสุดนายอำเภอ ได้กำชับและประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในบางพื้นที่แล้ว ดังนั้น ความขัดแย้งจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
"ต้องดูสถานการณ์น้ำว่าจะมีการระบายน้ำเพิ่มหรือไม่ ถ้าระบายเพิ่มก็ต้องใช้อีก 2 ถัง คือ บางบาล กับเจ้าเจ็ด จริงๆ เรามีทุ่งอีกทุ่งหนึ่ง ซึ่งรับน้ำได้ 10 ล้านคิว คือ ทุ่งบ้านแพน พื้นที่ 6 พันไร่ ก็จะมีการสำรวจและเตรียมการ แต่ 3-4 ทุ่งนี้ เนื่องจากมีข้าวค้างอยู่ร่วมแสนไร่ ก็ไม่ได้ปล่อยน้ำให้ท่วม ก็พยายามชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน ตรงไหนพร้อมก็เร่งให้เกี่ยว เพื่อจะให้ว่างสำหรับเตรียมความพร้อมได้มากขึ้น แต่ถ้าเกิดสถานการณ์เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ ก็จะประกาศให้ประชาชนรับทราบทันที หรือประกาศเตือนภัย และเตรียมช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน"นายสุจินต์กล่าว
นายโบว์แดง ทาแก้ว ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมสูงในชุมชนริมแม่น้ำ ได้เริ่มมีการผันน้ำเข้าทุ่งบางบาล-ป่าโมก เนื้อที่กว่า 30,000 ไร่ เพื่อเก็บน้ำเข้าทุ่งแก้มลิง โดยทุ่งนี้กินเนื้อที่ถึง 4 อำเภอ ซึ่งเป็นเขตติดต่อกัน ได้แก่ อ.เสนา ผักไห่ บางบาล ของจ.พระนครศรีอยุธยา และอ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ซึ่งเก็บเกี่ยวข้าวหมดแล้ว
ทางด้านนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ได้ส่งหนังสือด่วนถึงนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ประสานเรื่องถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ จ.นนทบุรี ทุกครัวเรือน ว่า ต้องเฝ้าระวังและเตรียมการให้พร้อมที่สุด สำหรับการยกของ ยกทรัพย์สินขึ้นที่สูง เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากกรมชลประทานได้แจ้งเตือนว่ายังมีฝนตกหนักต่อเนื่องหลังเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อีก รวมถึงถ้าไม่เพิ่มการระบายน้ำ คาดว่าจะมีน้ำเต็มเขื่อนในวันที่ 11 ต.ค. ทำให้เป็นที่ไม่น่าไว้วางใจ
นอกจากนี้ ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี ที่เป็นเขตติดต่อกัน ได้ประกาศแจ้งเตือนบ้านที่อยู่ในแนวคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำแล้วว่าให้เตรียมความพร้อมมากถึงมากที่สุด ควรเคลื่อนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูงไว้ก่อน คาดว่ามวลน้ำก้อนนี้จะถึงจังหวัดนนทบุรีในไม่ช้านี้ จึงขอให้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ขณะที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวว่า รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมในการรับมือปัญหาน้ำท่วมมาโดยตลอด ซึ่งถ้าเป็นในอดีตในหลายพื้นที่น้ำท่วมคงไปหมดแล้ว แต่ตอนนี้พยายามกระจายน้ำ และดำเนินการทุกอย่างที่จะไม่ให้เดือดร้อนลงมาถึงกรุงเทพฯ