ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า จากการสำรวจราคาสินค้าอาหารบริโภคในช่วง 9 เดือนของปี 2559 (ม.ค.-ก.ย.) โดยกองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) พบว่า ประชาชนยังคงต้องบริโภคอาหารที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออาหารมาทำกินเองที่บ้าน เพราะวัตถุดิบในการปรุงอาหารราคาปรับตัวสูงขึ้น หรือการออกไปบริโภคอาหารนอกบ้านตามร้านอาหาร ภัตตาคาร หรือตามร้านค้าทั่วไปทั้งในตลาดและริมถนน เพราะพ่อค้าแม่ค้ามีการปรับราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
ราคาอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้านที่เพิ่มขึ้น ผลสำรวจยืนยันชัด โดยเดือน ม.ค. ในบ้าน เพิ่มขึ้น 0.65% นอกบ้าน เพิ่ม 1.06% เดือน ก.พ. ในบ้าน เพิ่ม 0.55% นอกบ้าน เพิ่ม 0.76% เดือน มี.ค. ในบ้าน เพิ่ม 0.95% นอกบ้าน เพิ่ม 0.70% เดือน เม.ย. ในบ้านเพิ่ม 1.07% นอกบ้าน เพิ่ม 0.94% เดือน พ.ค. ในบ้าน เพิ่ม 1.07% นอกบ้าน เพิ่ม 0.88% เดือน มิ.ย. ในบ้าน เพิ่ม 1.34% นอกบ้าน เพิ่ม 0.91% เดือน ก.ค. ในบ้าน เพิ่ม 1.22% นอกบ้าน เพิ่ม 0.78% เดือน ส.ค. ในบ้าน เพิ่ม 1.09% นอกบ้าน เพิ่ม 1.02% และเดือน ก.ย. ในบ้านเพิ่ม 1.00% นอกบ้าน เพิ่ม 1.07%
นอกจากปัญหาด้านค่าครองชีพแล้ว ยังพบว่า ราคาสินค้าเกษตรสำคัญๆ หลายรายการ ก็ยังมีราคาตกต่ำ แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการออกมารองรับ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะผลักดันให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น เช่น ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 7,800-7,900 บาทต่อตัน มันสำปะหลัง ราคา 1.50-1.65 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคา 8-8.05 บาทต่อ กก. เป็นต้น ซึ่งเป็นการซ้ำเติมรายได้ของเกษตรกร
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการจัดทำแผนการทำงานเร่งด่วนในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ตามคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ขอให้หน่วยงานราชการคิดแผนการทำงานใหม่ และไม่ใช่งานที่ดำเนินการเป็นประจำ ซึ่งนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ ได้นัดประชุมเพื่อจัดทำแผนงานร่วมกับผู้บริหารทุกหน่วยงานในสังกัดไปแล้ว แต่ก็ไม่ปรากฏว่า มีแผนเร่งด่วนในเรื่องการดูแลค่าครองชีพ และปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้
โดยแผนการทำงานเร่งด่วน ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ จะเร่งส่งเสริมการค้าการ ลงทุน และการแก้ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน การค้าชายแดน การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า การกำกับดูแลการทำสินค้าเกษตรแบบมีพันธสัญญา การโรดโชว์ขายข้าว มันสำปะหลัง การผลักดันให้ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลดขั้นตอนการออกใบอนุญาตต่างๆ
สำหรับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จะเร่งรัดผลักดันการส่งออก โดยเน้นการทำยุทธศาสตร์หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) จากนั้นจะขยายไปยังจีน อินเดีย การจับคู่ทางธุรกิจกับบริษัทข้ามชาติ การส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ สนับสนุนการค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ขณะที่กรมการค้าภายใน จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค โดยเพิ่มช่องทางการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน การพัฒนายุ้งฉาง ตลาดกลาง และพัฒนาเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะพัฒนา SMEs , Start up และธุรกิจบริการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา จะเน้นการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์และการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า จะเร่งพัฒนาระบบข้อมูลทางการค้า เป็นต้น.
ราคาอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้านที่เพิ่มขึ้น ผลสำรวจยืนยันชัด โดยเดือน ม.ค. ในบ้าน เพิ่มขึ้น 0.65% นอกบ้าน เพิ่ม 1.06% เดือน ก.พ. ในบ้าน เพิ่ม 0.55% นอกบ้าน เพิ่ม 0.76% เดือน มี.ค. ในบ้าน เพิ่ม 0.95% นอกบ้าน เพิ่ม 0.70% เดือน เม.ย. ในบ้านเพิ่ม 1.07% นอกบ้าน เพิ่ม 0.94% เดือน พ.ค. ในบ้าน เพิ่ม 1.07% นอกบ้าน เพิ่ม 0.88% เดือน มิ.ย. ในบ้าน เพิ่ม 1.34% นอกบ้าน เพิ่ม 0.91% เดือน ก.ค. ในบ้าน เพิ่ม 1.22% นอกบ้าน เพิ่ม 0.78% เดือน ส.ค. ในบ้าน เพิ่ม 1.09% นอกบ้าน เพิ่ม 1.02% และเดือน ก.ย. ในบ้านเพิ่ม 1.00% นอกบ้าน เพิ่ม 1.07%
นอกจากปัญหาด้านค่าครองชีพแล้ว ยังพบว่า ราคาสินค้าเกษตรสำคัญๆ หลายรายการ ก็ยังมีราคาตกต่ำ แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการออกมารองรับ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะผลักดันให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น เช่น ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 7,800-7,900 บาทต่อตัน มันสำปะหลัง ราคา 1.50-1.65 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคา 8-8.05 บาทต่อ กก. เป็นต้น ซึ่งเป็นการซ้ำเติมรายได้ของเกษตรกร
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการจัดทำแผนการทำงานเร่งด่วนในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ตามคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ขอให้หน่วยงานราชการคิดแผนการทำงานใหม่ และไม่ใช่งานที่ดำเนินการเป็นประจำ ซึ่งนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ ได้นัดประชุมเพื่อจัดทำแผนงานร่วมกับผู้บริหารทุกหน่วยงานในสังกัดไปแล้ว แต่ก็ไม่ปรากฏว่า มีแผนเร่งด่วนในเรื่องการดูแลค่าครองชีพ และปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้
โดยแผนการทำงานเร่งด่วน ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ จะเร่งส่งเสริมการค้าการ ลงทุน และการแก้ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน การค้าชายแดน การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า การกำกับดูแลการทำสินค้าเกษตรแบบมีพันธสัญญา การโรดโชว์ขายข้าว มันสำปะหลัง การผลักดันให้ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลดขั้นตอนการออกใบอนุญาตต่างๆ
สำหรับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จะเร่งรัดผลักดันการส่งออก โดยเน้นการทำยุทธศาสตร์หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) จากนั้นจะขยายไปยังจีน อินเดีย การจับคู่ทางธุรกิจกับบริษัทข้ามชาติ การส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ สนับสนุนการค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ขณะที่กรมการค้าภายใน จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค โดยเพิ่มช่องทางการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน การพัฒนายุ้งฉาง ตลาดกลาง และพัฒนาเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะพัฒนา SMEs , Start up และธุรกิจบริการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา จะเน้นการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์และการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า จะเร่งพัฒนาระบบข้อมูลทางการค้า เป็นต้น.