ผู้จัดการรายวัน 360 - “ธรรมศาสตร์” จัดรำลึก 40 ปี 6 ตุลา ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่วีรชน พร้อมเปิดน้ำพุแห่งความหวัง “สุรชาติ” ชี้ทหารไม่เลิกยุ่งการเมือง เลิกคิดถึงประชาธิปไตย สภานิสิตจุฬาฯออกแถลงการณ์ตำหนิรัฐริดลอนเสรีภาพ กรณีตะเพิด “โจชัว หว่อง” กลับประเทศ งานที่รั้วจามจุรีก็คึกคัก ตร.ไฟเขียว “โจชัว” สไกป์ อีกด้าน “ทักษิณ” ลั่นถ้ากลับไทยได้ ขอปวารณาตัวจรรโลงพุทธศาสนา
วานนี้ (6 ต.ค.) เมื่อเวลา 05.00 น. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้มีการจัดกิจกรรมครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 โดยกิจกรรมแรกนั้นคือการแสดงนาฏกรรม "ลีลาศิลป์ 40 ปี 6 ตุลาคม 2519 จารึกไว้ในใจชน" จากนั้นมีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 41 รูปเพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่วีรชน
จนเมื่อเวลา 08.00 น. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมประกอบพิธีวางพวงมาลา ณ ประติมานุสรณ์ 6 ตุลาคม 2519 และเปิดน้ำพุแห่งความหวัง ก่อนกล่าวสดุดีจากตัวแทนฝ่ายต่างๆ ขณะเดียวกันได้จัดนิทรรศการ "จาก 14 ตุลา 16 ถึง 6 ตุลา 19" ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วย
** ชี้ทหารยุ่งการเมืองเลิกคิดเรื่อง ปชต.
จากนั้น นายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวปราฐกถาในหัวข้อ "40 ปีเปลี่ยนผ่านประเทศไทย : 40 ปีเปลี่ยน- 40 ปี ไม่ผ่าน?" ตอนหนึ่งว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา ยังมีความคลุมเครือว่า จริงๆแล้วมีผู้เสียชีวิตกี่ราย และไม่รวมผู้ที่ถูกเผา และหากเปรียบกับการเมืองไทย ก็เหมือนรถไฟที่กำลังเดินทางใน 2 รูปแบบ คือ 1.รถไฟเด็กเล่น ที่วิ่งวนกลับไปกลับมา วิ่งไปข้างหน้าแล้วกลับมาจุดเดิม ซึ่งไม่ใช่หลักประกันในการพัฒนาการเมืองแต่เป็นหลักประกันที่ดีของผู้นำ กลุ่มอนุรักษ์นิยม และทหาร 2.รถไฟเหาะ เมื่อขึ้นจุดสูงสุดก็ลงสู่จุดต่ำสุด ซึ่ง 2 ลักษณะนี้ไม่ใช่การเปลี่ยนผ่าน แต่ถอยหลังกลับไปในปี 2475 และ 2516 ซึ่งตอกย้ำว่าการรัฐประหารกลายเป็นกฎมากกว่าข้อยกเว้น การพัฒนาก็จบด้วยการรัฐประหารอยู่ดี ทั้งนี้ยอมรับว่าการใช้กำลังในระบอบการเมืองปี 2553 นั้นไม่แตกต่างกับเมื่อปี 2516 เป็นการใช้กำลังขนาดใหญ่จัดการผู้เห็นต่าง ถือเป็นบทเรียนว่าการฆ่าสังหารหมู่ไม่ได้ผลตอบแทน แต่กลายเป็นสงคราม ซึ่งเป็นข้อเตือนสติกับผู้มีอำนาจในปัจจุบัน ซึ่งถ้าใช้ความรุนแรงก็จะเกิดกระบวนการสร้างข้าศึกภายในรัฐ การสังหารหมู่ไม่ใช่คำตอบ การใช้ความรุนแรงไม่ใช่การแก้ปัญหา และการใส่ร้ายป้ายสีเป็นการสร้างความขัดแย้ง
“ขอฝากคนรุ่นหลังไว้ว่าวันนี้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมีเงื่อนทั้งบวกและลบ ในปัจจุบัน มีเงื่อนไขที่ดีกว่าคนรุ่นก่อนคือมี สื่อโซเชียลมีเดีย สื่อสังคมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการต่อสู้ ขณะเดียวกันต้องคิดว่าทำอย่างไรที่จะสร้างเงื่อนไขใหม่ในการพัฒนาการเมือง ดังนั้นการต่อสู้ของนักประชาธิปไตยต้องยอมรับว่าการพัฒนาการเมืองต้องใช้เวลาและความอดทน ต้องเป็นนักยุทธศาสตร์และเป็นนักบริหาร แต่หากแยกทหารออกจากการเมืองไม่ได้ไม่ต้องคิดเรื่องประชาธิปไตย” นายสุรชาติ ระบุ
** สภานิสิตจุฬาฯจวกรัฐริดลอนเสรีภาพ
จากกรณีที่ นายโจชัว หว่อง หัวหน้าพรรคเดโมซิสโต และผู้นำการเคลื่อนไหวสนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกง หรือ ปฏิวัติร่มเมื่อปี 2557 ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวหลังจากเดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมงาน เสาวนา ของคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวาระ 40 ปี ของเหตุการณ์ 2519 ในวันที่ 6 ต.ค. 59 จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางนั้น
สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า การจัดกิจกรรม “40 ปี 6 ตุลา คนรุ่นใหม่มองอนาคต” ดำเนินการโดยนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ ตามรูปแบบการเรียนการสอนของคณะ กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ได้รับการอนุมัติให้จัดอย่างถูกต้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมองอนาคตผ่านเหตุการณ์ในอดีต ดังนั้น การที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้กักตัวนายโจชัว หว่อง และไม่ให้ติดต่อกับผู้จัดกิจกรรมนั้น จึงก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินกิจกรรมของนิสิต ทั้งยังเป็นการลิดรอนเสรีภาพทางวิชาการอันอาจกระทบการเรียนรู้ของนิสิตได้
“สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความกังวลต่อการกระทำดังกล่าว และขอสนับสนุนการจัดกิจกรรมเชิงวิชาการที่สร้างสรรค์ ด้วยเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงและเป็นการจรรโลงไว้ซึ่งเสรีภาพทางวิชาการ” แถลงการณ์ ระบุ
** ซัดเยินยอ “วีรบุรุษอิมพอร์ต”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมชัย กตัญญุตานนท์ หรือ “ชัย ราชวัตร” การ์ตูนนิสต์ชื่อดัง เจ้าของการ์ตูนการเมืองในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊คเพจส่วนตัวชื่อ “Chai Ratchawat” อ้างถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่กลายเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนั่นคือเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของนักเรียนนิสิตนักศึกษาเมื่อช่วงวันที่ 6 ตุลาคม 2519เพื่อขับไล่ผลักดันให้ จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ระหว่างนั้นบรรพชาเป็นพระภิกษุและ จอมพลประพาส จารุเสถียรที่หลบหนีออกนอกประเทศจากเหตุการณ์ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 14 ต.ค.16 ลักลอบกลับเข้าประเทศไทยให้กลับออกนอกประเทศ โดยเนื้อหาช่วงท้ายของข้อความได้เตือนสติผู้จัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ให้มีสำนึกถึงบทเรียนในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชิญ นายโจชัว หว่อง มาร่วมกิจกรรม และยกให้เป็นวีรบุรุษอิมพอร์ต หลังจากถูกทางการไทยปฏิเสธการให้เข้าประเทศ
** งานที่จุฬาฯคึกคัก - “โจชัว” สไกป์ค่ำ
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 15.00 น. ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดงาน "6 ตุลาฯ ชาวจุฬาฯ มองอนาคต" เพื่อรำลึกเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 เช่นกัน โดยมีนิสิต นักศึกษา และประชาชนทยอยเข้าร่วมงานกันอย่างคึกคัก ส่วนการดูแลความปลอดภัยนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล 6 จำนวน 20-30 นาย มาอำนวยความสะดวกในการจัดงาน โดยไม่ได้ขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ทหาร โดยในช่วง 19.00 น. มีกำหนดการที่ นายโจชัว หว่อง จะปาฐกถาในหัวข้อ "การเมืองของคนรุ่นใหม่" ผ่านโปรแกรมสไกป์เข้ามาในงาน
โดย พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) กล่าวยอมรับว่า ไม่สามารถห้ามการจัดกิจกรรมดังกล่าวได้ เพราะถือเป็นสิทธิ์ และยังไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย แต่หากพบว่ามีการกระทำผิด หรือเข้าข่ายกระทบ เป็นภัยต่อความมั่นคง ก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้สันติบาลและตำรวจท้องที่เฝ้าระวังแล้ว ทั้งนี้ การผลักดัน นายโจชัว หว่อง ออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 5 ต.ค.ไม่ได้ทำตามคำสั่งรัฐบาลจีน แต่เป็นการใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ตรวจคนเข้าเมืองพิจารณา เนื่องจากมีข้อมูลว่า นายโจชัว หว่อง เป็นบุคคลที่ถูกขึ้นบัญชีดำ และเป็นภัยต่อความมั่นคง ส่วนกรณีกลุ่มนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เห็นต่างกับมาตรการของรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 5 ต.ค.นั้น ได้สั่งการให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ หากพบว่าเข้าข่ายความผิดก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามการที่กลุ่มนักศึกษาจัดสัมมนาในหัวข้อเหตุการณ์ 6 ตุลา ตามสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ ยืนยันว่าสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ใช่การปลุกระดมหรือสร้างความแตกแยก
** “โจชัว” หวังเห็น ปชต.ในไทย-ฮ่องกง
จนเมื่อเวลา 19.30 น. นายโจชัว หว่อง ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “การเมืองของคนรุ่นใหม่” ผ่านสไกป์ โดยใช้เวลากว่า 30 นาที มีใจความตอนหนึ่งว่า ความหวังทางการเมืองของฮ่องกงเริ่มเมื่อได้รับอิสรภาพจากประเทศจีนเมื่อปี 1997 ฮ่องกงจึงกลับคืนสู่ประชาธิปไตย แต่ด้วยระบบการศึกษาที่เหมือนถูกล้างสมองโดยจีนแผ่นดินใหญ่ ตนในฐานะนักศึกษาคนหนึ่งด้านประวัติศาสตร์การเมือง จึงพยายามลุกขึ้นมาปฏิรูป สำหรับประเทศไทยกับฮ่องกงนั้น มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องโอกาสและเวลา จึงอยากให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ตระหนักว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องของนักการเมือง แต่เป็นเรื่องของทุกคน ต้องหันมามาใส่ใจและปกป้องอนาคตของประเทศเพื่อประโยชน์ของทุกคนเอง
“ผมไม่รู้ว่าเมื่อไรไทยและฮ่องกงจะเป็นประชาธิปไตย แต่รู้ว่าเวลาอยู่ข้างพวกเรา คนรุ่นใหม่ long live democracy in Thailand” นายโจชัว นายโจชัว กล่าวทิ้งท้าย.
** “แม้ว” ฟุ้งกลับไทยจะจรรโลงศาสนา
อีกด้าน นายจอม เพชรประดับ แนวร่วมคนเสื้อแดงที่หลบหนีการจับกุมตามคำสั่ง คสช.ได้เผยแพร่เฟซบุ๊กไลฟ์ในหัวข้อ “Thaksin in LA.” โดยมี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนเสื้อแดงที่นครลอสแองเจอลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องในงานรำลึก 6 ตุลา 2519 โดยนายทักษษิณได้ระบุบางตอนว่า “วันนี้ผมห่วงวิธีคิด ความแตกสามัคคี กระบวนการยุติธรรม สิ่งเหล่านี้เป็นแมคโคร ต้องรีบแก้ไข ถ้าใครไม่แก้ แล้วมัวแต่มามองหน้าผม จะเขียนกฎหมายก็มานั่งมองหน้าผม พยายามไม่พูดไม่จา เพื่อไม่ให้เขาเห็นหน้าผม ไม่ไปยุ่ง ไม่ไปเกี่ยว เพื่อที่เขาจะได้ไม่เห็นหน้าผม ไม่รู้ที่บ้านเขามีรูปหน้าผมหรือเปล่า”
นายทักษิณ กล่าวต่อว่า เจ้าของบ้านอย่ากลัวผี ถ้าเจ้าของบ้านไม่กลัว หมอผีก็ไม่มีความหมาย ตนยืนยันว่าไม่ใช่ผี ยินดีร่วมมือให้บ้านเมืองกลับมา ตอนนี้ก็เฉยอยู่ เดินทางไปเรื่อย แต่ก็มาสร้างข่าวโจมตี ซคึ่งตนก็ไม่เคยตอบโต้
“รังแกน้องผมอย่างไม่เป็นธรรม ผมก็เฉย อดทนอยู่ จนแฟนหลายๆคนทนไม่ไหวบอก ทำไมยอมเขาขนาดนี้ ก็ไม่อยากไปเป็นปัญหา อยากให้ทุกสิ่งทุกอย่างคลี่คลาย แต่ไม่เชื่อว่าจะทำได้ เพราะเขาเดินผิดทาง ยิ่งเดินยิ่งเป็นวัวพันหลัก ทหารนี่ ไม่ถามก็ไม่อยากเสือก” นายทักษิณ ระบุ
ช่วงหนึ่งมีผู้สนทนาถามนายทักษิณว่า ถ้าท่านมีโอกาสกลับไป หรือน้องสาว (น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) กลับมามีอำนาจอีกครั้ง ช่วยเอาเรื่องธรรมชาติ หรือศีลธรรมกลับมาได้หรือไม่ นายทักษิณ กล่าวตอบมาว่า “ผมนั่งสมาธิ แล้วก็อธิษฐาน ปวารณา ถ้าผมมีกรรมอะไรก็แล้วแต่ แต่เมื่อไหร่ มีโอกาสกลับไปประเทศไทย ผมปวารณาว่า ผมจะจรรโลงพระพุทธศาสนา”.
วานนี้ (6 ต.ค.) เมื่อเวลา 05.00 น. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้มีการจัดกิจกรรมครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 โดยกิจกรรมแรกนั้นคือการแสดงนาฏกรรม "ลีลาศิลป์ 40 ปี 6 ตุลาคม 2519 จารึกไว้ในใจชน" จากนั้นมีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 41 รูปเพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่วีรชน
จนเมื่อเวลา 08.00 น. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมประกอบพิธีวางพวงมาลา ณ ประติมานุสรณ์ 6 ตุลาคม 2519 และเปิดน้ำพุแห่งความหวัง ก่อนกล่าวสดุดีจากตัวแทนฝ่ายต่างๆ ขณะเดียวกันได้จัดนิทรรศการ "จาก 14 ตุลา 16 ถึง 6 ตุลา 19" ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วย
** ชี้ทหารยุ่งการเมืองเลิกคิดเรื่อง ปชต.
จากนั้น นายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวปราฐกถาในหัวข้อ "40 ปีเปลี่ยนผ่านประเทศไทย : 40 ปีเปลี่ยน- 40 ปี ไม่ผ่าน?" ตอนหนึ่งว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา ยังมีความคลุมเครือว่า จริงๆแล้วมีผู้เสียชีวิตกี่ราย และไม่รวมผู้ที่ถูกเผา และหากเปรียบกับการเมืองไทย ก็เหมือนรถไฟที่กำลังเดินทางใน 2 รูปแบบ คือ 1.รถไฟเด็กเล่น ที่วิ่งวนกลับไปกลับมา วิ่งไปข้างหน้าแล้วกลับมาจุดเดิม ซึ่งไม่ใช่หลักประกันในการพัฒนาการเมืองแต่เป็นหลักประกันที่ดีของผู้นำ กลุ่มอนุรักษ์นิยม และทหาร 2.รถไฟเหาะ เมื่อขึ้นจุดสูงสุดก็ลงสู่จุดต่ำสุด ซึ่ง 2 ลักษณะนี้ไม่ใช่การเปลี่ยนผ่าน แต่ถอยหลังกลับไปในปี 2475 และ 2516 ซึ่งตอกย้ำว่าการรัฐประหารกลายเป็นกฎมากกว่าข้อยกเว้น การพัฒนาก็จบด้วยการรัฐประหารอยู่ดี ทั้งนี้ยอมรับว่าการใช้กำลังในระบอบการเมืองปี 2553 นั้นไม่แตกต่างกับเมื่อปี 2516 เป็นการใช้กำลังขนาดใหญ่จัดการผู้เห็นต่าง ถือเป็นบทเรียนว่าการฆ่าสังหารหมู่ไม่ได้ผลตอบแทน แต่กลายเป็นสงคราม ซึ่งเป็นข้อเตือนสติกับผู้มีอำนาจในปัจจุบัน ซึ่งถ้าใช้ความรุนแรงก็จะเกิดกระบวนการสร้างข้าศึกภายในรัฐ การสังหารหมู่ไม่ใช่คำตอบ การใช้ความรุนแรงไม่ใช่การแก้ปัญหา และการใส่ร้ายป้ายสีเป็นการสร้างความขัดแย้ง
“ขอฝากคนรุ่นหลังไว้ว่าวันนี้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมีเงื่อนทั้งบวกและลบ ในปัจจุบัน มีเงื่อนไขที่ดีกว่าคนรุ่นก่อนคือมี สื่อโซเชียลมีเดีย สื่อสังคมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการต่อสู้ ขณะเดียวกันต้องคิดว่าทำอย่างไรที่จะสร้างเงื่อนไขใหม่ในการพัฒนาการเมือง ดังนั้นการต่อสู้ของนักประชาธิปไตยต้องยอมรับว่าการพัฒนาการเมืองต้องใช้เวลาและความอดทน ต้องเป็นนักยุทธศาสตร์และเป็นนักบริหาร แต่หากแยกทหารออกจากการเมืองไม่ได้ไม่ต้องคิดเรื่องประชาธิปไตย” นายสุรชาติ ระบุ
** สภานิสิตจุฬาฯจวกรัฐริดลอนเสรีภาพ
จากกรณีที่ นายโจชัว หว่อง หัวหน้าพรรคเดโมซิสโต และผู้นำการเคลื่อนไหวสนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกง หรือ ปฏิวัติร่มเมื่อปี 2557 ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวหลังจากเดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมงาน เสาวนา ของคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวาระ 40 ปี ของเหตุการณ์ 2519 ในวันที่ 6 ต.ค. 59 จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางนั้น
สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า การจัดกิจกรรม “40 ปี 6 ตุลา คนรุ่นใหม่มองอนาคต” ดำเนินการโดยนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ ตามรูปแบบการเรียนการสอนของคณะ กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ได้รับการอนุมัติให้จัดอย่างถูกต้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมองอนาคตผ่านเหตุการณ์ในอดีต ดังนั้น การที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้กักตัวนายโจชัว หว่อง และไม่ให้ติดต่อกับผู้จัดกิจกรรมนั้น จึงก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินกิจกรรมของนิสิต ทั้งยังเป็นการลิดรอนเสรีภาพทางวิชาการอันอาจกระทบการเรียนรู้ของนิสิตได้
“สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความกังวลต่อการกระทำดังกล่าว และขอสนับสนุนการจัดกิจกรรมเชิงวิชาการที่สร้างสรรค์ ด้วยเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงและเป็นการจรรโลงไว้ซึ่งเสรีภาพทางวิชาการ” แถลงการณ์ ระบุ
** ซัดเยินยอ “วีรบุรุษอิมพอร์ต”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมชัย กตัญญุตานนท์ หรือ “ชัย ราชวัตร” การ์ตูนนิสต์ชื่อดัง เจ้าของการ์ตูนการเมืองในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊คเพจส่วนตัวชื่อ “Chai Ratchawat” อ้างถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่กลายเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนั่นคือเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของนักเรียนนิสิตนักศึกษาเมื่อช่วงวันที่ 6 ตุลาคม 2519เพื่อขับไล่ผลักดันให้ จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ระหว่างนั้นบรรพชาเป็นพระภิกษุและ จอมพลประพาส จารุเสถียรที่หลบหนีออกนอกประเทศจากเหตุการณ์ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 14 ต.ค.16 ลักลอบกลับเข้าประเทศไทยให้กลับออกนอกประเทศ โดยเนื้อหาช่วงท้ายของข้อความได้เตือนสติผู้จัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ให้มีสำนึกถึงบทเรียนในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชิญ นายโจชัว หว่อง มาร่วมกิจกรรม และยกให้เป็นวีรบุรุษอิมพอร์ต หลังจากถูกทางการไทยปฏิเสธการให้เข้าประเทศ
** งานที่จุฬาฯคึกคัก - “โจชัว” สไกป์ค่ำ
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 15.00 น. ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดงาน "6 ตุลาฯ ชาวจุฬาฯ มองอนาคต" เพื่อรำลึกเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 เช่นกัน โดยมีนิสิต นักศึกษา และประชาชนทยอยเข้าร่วมงานกันอย่างคึกคัก ส่วนการดูแลความปลอดภัยนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล 6 จำนวน 20-30 นาย มาอำนวยความสะดวกในการจัดงาน โดยไม่ได้ขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ทหาร โดยในช่วง 19.00 น. มีกำหนดการที่ นายโจชัว หว่อง จะปาฐกถาในหัวข้อ "การเมืองของคนรุ่นใหม่" ผ่านโปรแกรมสไกป์เข้ามาในงาน
โดย พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) กล่าวยอมรับว่า ไม่สามารถห้ามการจัดกิจกรรมดังกล่าวได้ เพราะถือเป็นสิทธิ์ และยังไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย แต่หากพบว่ามีการกระทำผิด หรือเข้าข่ายกระทบ เป็นภัยต่อความมั่นคง ก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้สันติบาลและตำรวจท้องที่เฝ้าระวังแล้ว ทั้งนี้ การผลักดัน นายโจชัว หว่อง ออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 5 ต.ค.ไม่ได้ทำตามคำสั่งรัฐบาลจีน แต่เป็นการใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ตรวจคนเข้าเมืองพิจารณา เนื่องจากมีข้อมูลว่า นายโจชัว หว่อง เป็นบุคคลที่ถูกขึ้นบัญชีดำ และเป็นภัยต่อความมั่นคง ส่วนกรณีกลุ่มนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เห็นต่างกับมาตรการของรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 5 ต.ค.นั้น ได้สั่งการให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ หากพบว่าเข้าข่ายความผิดก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามการที่กลุ่มนักศึกษาจัดสัมมนาในหัวข้อเหตุการณ์ 6 ตุลา ตามสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ ยืนยันว่าสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ใช่การปลุกระดมหรือสร้างความแตกแยก
** “โจชัว” หวังเห็น ปชต.ในไทย-ฮ่องกง
จนเมื่อเวลา 19.30 น. นายโจชัว หว่อง ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “การเมืองของคนรุ่นใหม่” ผ่านสไกป์ โดยใช้เวลากว่า 30 นาที มีใจความตอนหนึ่งว่า ความหวังทางการเมืองของฮ่องกงเริ่มเมื่อได้รับอิสรภาพจากประเทศจีนเมื่อปี 1997 ฮ่องกงจึงกลับคืนสู่ประชาธิปไตย แต่ด้วยระบบการศึกษาที่เหมือนถูกล้างสมองโดยจีนแผ่นดินใหญ่ ตนในฐานะนักศึกษาคนหนึ่งด้านประวัติศาสตร์การเมือง จึงพยายามลุกขึ้นมาปฏิรูป สำหรับประเทศไทยกับฮ่องกงนั้น มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องโอกาสและเวลา จึงอยากให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ตระหนักว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องของนักการเมือง แต่เป็นเรื่องของทุกคน ต้องหันมามาใส่ใจและปกป้องอนาคตของประเทศเพื่อประโยชน์ของทุกคนเอง
“ผมไม่รู้ว่าเมื่อไรไทยและฮ่องกงจะเป็นประชาธิปไตย แต่รู้ว่าเวลาอยู่ข้างพวกเรา คนรุ่นใหม่ long live democracy in Thailand” นายโจชัว นายโจชัว กล่าวทิ้งท้าย.
** “แม้ว” ฟุ้งกลับไทยจะจรรโลงศาสนา
อีกด้าน นายจอม เพชรประดับ แนวร่วมคนเสื้อแดงที่หลบหนีการจับกุมตามคำสั่ง คสช.ได้เผยแพร่เฟซบุ๊กไลฟ์ในหัวข้อ “Thaksin in LA.” โดยมี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนเสื้อแดงที่นครลอสแองเจอลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องในงานรำลึก 6 ตุลา 2519 โดยนายทักษษิณได้ระบุบางตอนว่า “วันนี้ผมห่วงวิธีคิด ความแตกสามัคคี กระบวนการยุติธรรม สิ่งเหล่านี้เป็นแมคโคร ต้องรีบแก้ไข ถ้าใครไม่แก้ แล้วมัวแต่มามองหน้าผม จะเขียนกฎหมายก็มานั่งมองหน้าผม พยายามไม่พูดไม่จา เพื่อไม่ให้เขาเห็นหน้าผม ไม่ไปยุ่ง ไม่ไปเกี่ยว เพื่อที่เขาจะได้ไม่เห็นหน้าผม ไม่รู้ที่บ้านเขามีรูปหน้าผมหรือเปล่า”
นายทักษิณ กล่าวต่อว่า เจ้าของบ้านอย่ากลัวผี ถ้าเจ้าของบ้านไม่กลัว หมอผีก็ไม่มีความหมาย ตนยืนยันว่าไม่ใช่ผี ยินดีร่วมมือให้บ้านเมืองกลับมา ตอนนี้ก็เฉยอยู่ เดินทางไปเรื่อย แต่ก็มาสร้างข่าวโจมตี ซคึ่งตนก็ไม่เคยตอบโต้
“รังแกน้องผมอย่างไม่เป็นธรรม ผมก็เฉย อดทนอยู่ จนแฟนหลายๆคนทนไม่ไหวบอก ทำไมยอมเขาขนาดนี้ ก็ไม่อยากไปเป็นปัญหา อยากให้ทุกสิ่งทุกอย่างคลี่คลาย แต่ไม่เชื่อว่าจะทำได้ เพราะเขาเดินผิดทาง ยิ่งเดินยิ่งเป็นวัวพันหลัก ทหารนี่ ไม่ถามก็ไม่อยากเสือก” นายทักษิณ ระบุ
ช่วงหนึ่งมีผู้สนทนาถามนายทักษิณว่า ถ้าท่านมีโอกาสกลับไป หรือน้องสาว (น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) กลับมามีอำนาจอีกครั้ง ช่วยเอาเรื่องธรรมชาติ หรือศีลธรรมกลับมาได้หรือไม่ นายทักษิณ กล่าวตอบมาว่า “ผมนั่งสมาธิ แล้วก็อธิษฐาน ปวารณา ถ้าผมมีกรรมอะไรก็แล้วแต่ แต่เมื่อไหร่ มีโอกาสกลับไปประเทศไทย ผมปวารณาว่า ผมจะจรรโลงพระพุทธศาสนา”.