อย่างที่รู้กันดีว่า รัฐธรรมนูญฉบับเปิดประตูเอาไว้โล่งๆ ปูทางอำนวยความสะดวกให้มี “นายกฯ คนนอก” มากมายหลายช่องทาง
ไม่ว่าจะมาจากก๊อกแรกเลย คือพรรคการเมืองเสนอชื่อ “คนนอก” ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.นั้นมาในบัญชีว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรคการเมือง
หรือในกรณีที่รัฐสภายังออกเสียงกันไม่ลงตัว ไม่อาจหานายกฯ ที่มาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองได้ ก็ยังมี “ก๊อกสอง” ให้สภาฯ ออกเสียงเพื่อปลดล็อกเลือกนายกฯ คนนอกมาจากใครก็ได้ไม่ต้องผูกพันกับบัญชีของพรรคการเมืองอีกด้วย
และยิ่งศาลรัฐธรรมนูญออกมาชี้ว่า การที่สภาฯ จะปลดล็อกเลือกคนนอกได้นั้น ไม่ใช่กำหนดเฉพาะเพียงอายุของสภาฯ สมัยแรกเท่านั้น แต่ต้องครอบคลุมไปถึงระยะเวลาตลอด 5 ปีนับแต่มีรัฐสภาครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ จึงจะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการลงประชามติ
มีผู้คำนวณว่า ด้วยเงื่อนไขนี้ เราอาจจะมีนายกฯ คนนอกแบบ ทั้งนอกสภาฯ และนอกบัญชีกันได้เลยถึง 8 ปีต่อเนื่องกัน เพราะวุฒิสภามีอายุ 5 ปี ก็จะไปคร่อมกับอายุสภาฯ ส.ส.ชุดต่อไปหลังจากการเลือกตั้งครั้งแรกได้ด้วย
เงื่อนไขนั้นไฟเขียวแน่ๆ เว้นแต่จะเกิดเหตุปาฏิหาริย์บางอย่างตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ คือ สภาผู้แทนราษฎรสามารถหาเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีทั้งหมดของรัฐสภา คือ 375 เสียงได้โดยไม่ต้องง้อเสียงของวุฒิสภาแม้แต่เสียงเดียว ซึ่งในสภาพของการเมืองที่ถูกแบ่งเป็นสองขั้วเช่นนี้ ใครๆ ก็ว่าเงื่อนไขแบบนี้ถือเป็น “ปาฏิหาริย์” จริงๆ
ส่วนคนนอกที่จะมาเป็นนายกฯ นั้น ก็คงไม่ต้องสงสัยอะไรมากนักว่าจะเป็นใครมาจากไหน ใครๆ ก็มองเห็นเงารางๆ ของนายกฯ คนแรกตามรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว ชนิดที่ว่าน่าจะพลิกไปทางอื่นได้ยาก
สายตาทุกสายตานั้นจับจ้องไปยังบุคคลคนเดียว คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันนั่นเอง
ปัจจัยทางกฎหมายความเป็นไปได้ทางการเมืองส่งตำแหน่งนายกฯ ไม่น่าจะไปไหนไกล แต่กระนั้น ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องพิจารณา คือ “การตอบรับจากประชาชน”
อย่าลืมว่า การปกครองปัจจุบันนี้ แม้จะมาจากการทำรัฐประหารมีอำนาจเต็ม แต่สิ่งหนึ่งที่ค้ำยันอำนาจซึ่งเอาเข้าจริงในทางการเมืองหรือในทางทฤษฎีแล้วไม่ชอบธรรม ให้กลายเป็นอำนาจอันชอบธรรมได้ คือ “กระแสการตอบรับจากประชาชน”
กระแสตอบรับจากประชาชนต่อการยึดอำนาจในวันนั้น สืบเนื่องมาสู่ความชอบธรรมของรัฐบาลในวันนี้ เป็นเสมือนการให้สัตยาบันโดยประชาชนเจ้าของประเทศ เพื่อรับรองสิ่งที่ไม่ถูกต้องแต่เริ่ม ให้มีความชอบธรรมได้เนื่องจากฉันทามติ
แต่ฉันทามติของประชาชนนั้น ก็มาจากความเชื่อถือและศรัทธาว่า คณะผู้ก่อการยึดอำนาจ คือ คสช.นั้นจะเข้ามาเพื่อล้างปัญหาที่เรื้อรังของประเทศในช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมาให้หมดไป อย่างเด็ดขาดจริงจัง
นั่นคือการทุจริตคอร์รัปชัน หรือการใช้อำนาจรัฐหาประโยชน์โดยมิชอบ การใช้อำนาจรัฐโดยมีผลประโยชน์ส่วนตัวมาเกี่ยวดอง
นั่นคือสิ่งที่ประชาชนรับไม่ได้
เช่นนี้ การปราบ “คอร์รัปชัน” การจัดการกับพวกโกงชาติบ้านเมืองจึงเป็นเหมือนเงื่อนไขแห่งความชอบธรรมของการอยู่ในอำนาจของรัฐบาลปัจจุบันซึ่งรวมถึงคณะ คสช. ด้วย
และเป็นเงื่อนไขที่ประชาชนจะตัดสินใจด้วยว่า จะให้รัฐบาลชุดนี้ “ไปต่อ” ในยุคเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยหรือไม่
จริงอยู่ที่มีการดำเนินคดีต่อฝ่ายนักการเมือง “ขั้วอำนาจเก่า” ในเรื่องที่เกี่ยวกับการโกงชาติโกงแผ่นดินหรือทำให้ประเทศเสียหายมาแล้วหลายเรื่อง ที่จำคุกไปแล้วก็มาก ที่จ่อประตูคุกอยู่ก็เยอะ
แต่นั่นก็เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม หากจะบอกว่าการยึดอำนาจมาช่วยอะไรบ้าง ก็เห็นจะเป็นการไปไขน็อตกระบวนยุติธรรมให้ดำเนินต่อโดยไม่มีใครหรืออะไรมาขัดขวาง เพื่อให้เรื่องต่างๆ ไปได้ถึงบัลลังก์ศาล
แต่ในช่วงที่ผ่านมา ข่าวคราวมากมายค่อยๆ บ่อนเซาะ “เงื่อนไข” ความกระแสของประชาชนในเรื่องนี้
จริงอยู่ว่าตัวพล.อ.ประยุทธ์ ท่านผู้นำนั้นยังได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนอย่างสูง ว่ามือสะอาด มีความมาดมั่นตั้งใจเพื่อบ้านเมือง
แต่ความไม่โปร่งใสของ “คนในครอบครัว” หรือของ “พี่ใหญ่” ซึ่งเป็นคนสำคัญรอบตัวของท่านนั้น ทำให้ศรัทธาตรงนี้ของประชาชนลดลงเรื่อยๆ
ยิ่งพฤติกรรมหลายอย่างไม่ผิดจากการใช้อำนาจของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเลย ยิ่งทำให้ประชาชนที่เคยเป็นฝ่ายสนับสนุนเริ่มพูดไม่ออกบอกไม่ถูก
แถมยังโดนเพื่อนฝูง “เสื้อแดง” เยาะเย้ยเอาเสียอีก ด้วยไปขุดเอาเรื่องสมัยที่มีการจับผิดนายกฯ ปูเรื่องใช้งบเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับที่เป็นประเด็นในตอนนี้เลย
ที่เรื่อง “ทัวร์ฮาวาย” นี้ถูกจุดติดขึ้นมา เพราะมันไปกระตุ้นต่อมบางอย่างของประชาชนผู้เสียภาษี
นั่นคือความรู้สึกว่ามีคนเอาเงิน “ภาษี” ของเราไปละลายเล่นจนเกินจำเป็น
ไปประชุมต่างประเทศเราไม่ว่า แต่ไปแล้วหรูหราเกินกว่ามาตรฐานเฉลี่ยของคนไทย แถมพาใครต่อใครไปบ้างก็ไม่รู้ นี่มันเหมือนไม่เห็นหัวประชาชนผู้เสียภาษี
จะเห็นได้ว่าประเด็นร้อนเรื่องนี้ถูก “อัด” จากประชาชนทุกฝ่ายแบบไม่เลือกสี ทั้งคนที่ชัดเจนว่าไม่เอาขั้วการเมืองเก่าเพราะเรื่องคอร์รัปชัน อย่างคุณชัย ราชวัตร หรือคุณดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค ก็ออกมาแสดงความรู้สึกกันแล้วว่าเรื่องนี้นายกฯ ต้องเคลียร์
ยังดีที่ว่า กระแสทางลบจากประชาชนในเรื่องนี้นั้นไม่ได้ตั้งเป้าเข้าใส่ตัวท่านนายกฯ โดยตรง ซึ่งถ้าท่านหวังจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปหลังเลือกตั้ง ก็อาจจะต้องจำเป็นต้อง “เคลียร์” เรื่องครหารอบตัวต่างๆ เหล่านี้อย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม ไม่ลูบหน้าปะจมูก
ไม่ใช่ไล่ว่าใครอยากตรวจสอบให้ไปฟ้องเอาเอง และทำโมโหโทโสใส่
เพราะยิ่งทำอย่างนั้น ความเชื่อมั่นในตัวท่านอาจจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อกระแสตอบรับจากประชาชนนี้แหละ ที่จะให้ความยินยอมว่าจะเอานายกฯ คนนอกแบบนอกบัญชีที่เก็งๆ กันไว้หรือไม่.
ไม่ว่าจะมาจากก๊อกแรกเลย คือพรรคการเมืองเสนอชื่อ “คนนอก” ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.นั้นมาในบัญชีว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรคการเมือง
หรือในกรณีที่รัฐสภายังออกเสียงกันไม่ลงตัว ไม่อาจหานายกฯ ที่มาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองได้ ก็ยังมี “ก๊อกสอง” ให้สภาฯ ออกเสียงเพื่อปลดล็อกเลือกนายกฯ คนนอกมาจากใครก็ได้ไม่ต้องผูกพันกับบัญชีของพรรคการเมืองอีกด้วย
และยิ่งศาลรัฐธรรมนูญออกมาชี้ว่า การที่สภาฯ จะปลดล็อกเลือกคนนอกได้นั้น ไม่ใช่กำหนดเฉพาะเพียงอายุของสภาฯ สมัยแรกเท่านั้น แต่ต้องครอบคลุมไปถึงระยะเวลาตลอด 5 ปีนับแต่มีรัฐสภาครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ จึงจะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการลงประชามติ
มีผู้คำนวณว่า ด้วยเงื่อนไขนี้ เราอาจจะมีนายกฯ คนนอกแบบ ทั้งนอกสภาฯ และนอกบัญชีกันได้เลยถึง 8 ปีต่อเนื่องกัน เพราะวุฒิสภามีอายุ 5 ปี ก็จะไปคร่อมกับอายุสภาฯ ส.ส.ชุดต่อไปหลังจากการเลือกตั้งครั้งแรกได้ด้วย
เงื่อนไขนั้นไฟเขียวแน่ๆ เว้นแต่จะเกิดเหตุปาฏิหาริย์บางอย่างตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ คือ สภาผู้แทนราษฎรสามารถหาเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีทั้งหมดของรัฐสภา คือ 375 เสียงได้โดยไม่ต้องง้อเสียงของวุฒิสภาแม้แต่เสียงเดียว ซึ่งในสภาพของการเมืองที่ถูกแบ่งเป็นสองขั้วเช่นนี้ ใครๆ ก็ว่าเงื่อนไขแบบนี้ถือเป็น “ปาฏิหาริย์” จริงๆ
ส่วนคนนอกที่จะมาเป็นนายกฯ นั้น ก็คงไม่ต้องสงสัยอะไรมากนักว่าจะเป็นใครมาจากไหน ใครๆ ก็มองเห็นเงารางๆ ของนายกฯ คนแรกตามรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว ชนิดที่ว่าน่าจะพลิกไปทางอื่นได้ยาก
สายตาทุกสายตานั้นจับจ้องไปยังบุคคลคนเดียว คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันนั่นเอง
ปัจจัยทางกฎหมายความเป็นไปได้ทางการเมืองส่งตำแหน่งนายกฯ ไม่น่าจะไปไหนไกล แต่กระนั้น ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องพิจารณา คือ “การตอบรับจากประชาชน”
อย่าลืมว่า การปกครองปัจจุบันนี้ แม้จะมาจากการทำรัฐประหารมีอำนาจเต็ม แต่สิ่งหนึ่งที่ค้ำยันอำนาจซึ่งเอาเข้าจริงในทางการเมืองหรือในทางทฤษฎีแล้วไม่ชอบธรรม ให้กลายเป็นอำนาจอันชอบธรรมได้ คือ “กระแสการตอบรับจากประชาชน”
กระแสตอบรับจากประชาชนต่อการยึดอำนาจในวันนั้น สืบเนื่องมาสู่ความชอบธรรมของรัฐบาลในวันนี้ เป็นเสมือนการให้สัตยาบันโดยประชาชนเจ้าของประเทศ เพื่อรับรองสิ่งที่ไม่ถูกต้องแต่เริ่ม ให้มีความชอบธรรมได้เนื่องจากฉันทามติ
แต่ฉันทามติของประชาชนนั้น ก็มาจากความเชื่อถือและศรัทธาว่า คณะผู้ก่อการยึดอำนาจ คือ คสช.นั้นจะเข้ามาเพื่อล้างปัญหาที่เรื้อรังของประเทศในช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมาให้หมดไป อย่างเด็ดขาดจริงจัง
นั่นคือการทุจริตคอร์รัปชัน หรือการใช้อำนาจรัฐหาประโยชน์โดยมิชอบ การใช้อำนาจรัฐโดยมีผลประโยชน์ส่วนตัวมาเกี่ยวดอง
นั่นคือสิ่งที่ประชาชนรับไม่ได้
เช่นนี้ การปราบ “คอร์รัปชัน” การจัดการกับพวกโกงชาติบ้านเมืองจึงเป็นเหมือนเงื่อนไขแห่งความชอบธรรมของการอยู่ในอำนาจของรัฐบาลปัจจุบันซึ่งรวมถึงคณะ คสช. ด้วย
และเป็นเงื่อนไขที่ประชาชนจะตัดสินใจด้วยว่า จะให้รัฐบาลชุดนี้ “ไปต่อ” ในยุคเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยหรือไม่
จริงอยู่ที่มีการดำเนินคดีต่อฝ่ายนักการเมือง “ขั้วอำนาจเก่า” ในเรื่องที่เกี่ยวกับการโกงชาติโกงแผ่นดินหรือทำให้ประเทศเสียหายมาแล้วหลายเรื่อง ที่จำคุกไปแล้วก็มาก ที่จ่อประตูคุกอยู่ก็เยอะ
แต่นั่นก็เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม หากจะบอกว่าการยึดอำนาจมาช่วยอะไรบ้าง ก็เห็นจะเป็นการไปไขน็อตกระบวนยุติธรรมให้ดำเนินต่อโดยไม่มีใครหรืออะไรมาขัดขวาง เพื่อให้เรื่องต่างๆ ไปได้ถึงบัลลังก์ศาล
แต่ในช่วงที่ผ่านมา ข่าวคราวมากมายค่อยๆ บ่อนเซาะ “เงื่อนไข” ความกระแสของประชาชนในเรื่องนี้
จริงอยู่ว่าตัวพล.อ.ประยุทธ์ ท่านผู้นำนั้นยังได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนอย่างสูง ว่ามือสะอาด มีความมาดมั่นตั้งใจเพื่อบ้านเมือง
แต่ความไม่โปร่งใสของ “คนในครอบครัว” หรือของ “พี่ใหญ่” ซึ่งเป็นคนสำคัญรอบตัวของท่านนั้น ทำให้ศรัทธาตรงนี้ของประชาชนลดลงเรื่อยๆ
ยิ่งพฤติกรรมหลายอย่างไม่ผิดจากการใช้อำนาจของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเลย ยิ่งทำให้ประชาชนที่เคยเป็นฝ่ายสนับสนุนเริ่มพูดไม่ออกบอกไม่ถูก
แถมยังโดนเพื่อนฝูง “เสื้อแดง” เยาะเย้ยเอาเสียอีก ด้วยไปขุดเอาเรื่องสมัยที่มีการจับผิดนายกฯ ปูเรื่องใช้งบเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับที่เป็นประเด็นในตอนนี้เลย
ที่เรื่อง “ทัวร์ฮาวาย” นี้ถูกจุดติดขึ้นมา เพราะมันไปกระตุ้นต่อมบางอย่างของประชาชนผู้เสียภาษี
นั่นคือความรู้สึกว่ามีคนเอาเงิน “ภาษี” ของเราไปละลายเล่นจนเกินจำเป็น
ไปประชุมต่างประเทศเราไม่ว่า แต่ไปแล้วหรูหราเกินกว่ามาตรฐานเฉลี่ยของคนไทย แถมพาใครต่อใครไปบ้างก็ไม่รู้ นี่มันเหมือนไม่เห็นหัวประชาชนผู้เสียภาษี
จะเห็นได้ว่าประเด็นร้อนเรื่องนี้ถูก “อัด” จากประชาชนทุกฝ่ายแบบไม่เลือกสี ทั้งคนที่ชัดเจนว่าไม่เอาขั้วการเมืองเก่าเพราะเรื่องคอร์รัปชัน อย่างคุณชัย ราชวัตร หรือคุณดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค ก็ออกมาแสดงความรู้สึกกันแล้วว่าเรื่องนี้นายกฯ ต้องเคลียร์
ยังดีที่ว่า กระแสทางลบจากประชาชนในเรื่องนี้นั้นไม่ได้ตั้งเป้าเข้าใส่ตัวท่านนายกฯ โดยตรง ซึ่งถ้าท่านหวังจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปหลังเลือกตั้ง ก็อาจจะต้องจำเป็นต้อง “เคลียร์” เรื่องครหารอบตัวต่างๆ เหล่านี้อย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม ไม่ลูบหน้าปะจมูก
ไม่ใช่ไล่ว่าใครอยากตรวจสอบให้ไปฟ้องเอาเอง และทำโมโหโทโสใส่
เพราะยิ่งทำอย่างนั้น ความเชื่อมั่นในตัวท่านอาจจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อกระแสตอบรับจากประชาชนนี้แหละ ที่จะให้ความยินยอมว่าจะเอานายกฯ คนนอกแบบนอกบัญชีที่เก็งๆ กันไว้หรือไม่.