ผู้จัดการรายวัน 360 - เคาะแล้ว 13 รายชื่อ “ครม.ส่วนหน้า” แก้ปัญหาชายแดนใต้ "บิ๊กโด่ง - บิ๊กน้อย" นำทีม “บิ๊กป้อม” โวทหารรู้ปัญหาดี “บิ๊กตู่” มอบงานบูรณาการ 9 ยุทธศาสตร์ เชื่อไม่ซ้ำซ้อน “อุดมเดช” พร้อมลุยงานเต็มที่ รับไม่มีอำนาจสั่งการ นัดประชุม 6 ต.ค.นี้ เล็งใช้ค่ายพระสุริยโยทัย ปัตตานี เป็นออฟฟิต ยันไม่มีเกาเหลาหน่วยงานอื่น “ถาวร” ดักคออย่าคิดหาแต่ “เงินทอน”
วานนี้ (4 ต.ค.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการแต่งตั้งคณะผู้แทนพิเศษของคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) หรือ ครม.ส่วนหน้าว่า ที่ประชุมได้อนุมัติรายชื่อคณะผู้แทนพิเศษแล้วมีทั้งหมด 13 คน โดย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม เป็นประธาน และ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงษ์ รมช.ศึกษาธิการ เป็นรองประธาน เมื่อมีการประกาศอย่างเป็นทางการ ก็จะมีการประชุมและลงพื้นที่ ส่วนสถานที่ทำงานขึ้นอยู่กับ พล.อ.อุดมเดชว่าจะเลือกพื้นที่ใด ซึ่งคิดว่าจะต้องอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และการทำงานจะดูในส่วนของรายละเอียด เพื่อจะแก้ปัญหาให้รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ พล.อ.อุดมเดช ยังทำหน้าที่ รมช.กลาโหมเช่นเดิม ไม่ได้ไปประจำในพื้นที่ตลอดเวลา
พล.อ.ประวิตร กล่าวต่อว่า การทำงานของคณะผู้แทนพิเศษจะมีส่วนช่วยในการพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ เพราะพล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เป็นหนึ่งในคณะผู้แทนพิเศษด้วย ทั้งนี้คาดหวังว่า จะแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ให้เร็วที่สุด ส่วนสาเหตุที่มีทหารมากกว่าพลเรือนนั้น ก็เนื่องจากว่า ทหารรู้ปัญหาในพื้นที่ ทำงานมาตั้งแต่ระดับปฏิบัติจนเป็นแม่ทัพ จึงรู้ปัญหาเป็นอย่างดี ส่วนงบประมาณในการดำเนินงานของคณะพิเศษชุดนี้ ตนคิดว่าจะใช้ไม่เยอะ
** ระบุแค่เปลี่ยนไปสั่งการในพื้นที่
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากนี้ ครม.ส่วนหน้าจะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 9 ข้อ ทั้งเศรษฐกิจ ความมั่นคง ความปลอดภัย การพูดคุยสันติสุข ฯลฯ เพราะแต่เดิมยังไม่มีการบูรณาการ เช่น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) บางช่วงก็อยู่ในการควบคุมของฝ่ายการเมือง ซึ่งหากเล่นการเมืองจะแก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้ เพราะจะมีทั้งผู้พอใจและไม่พอใจ ดังนั้นจึงให้แต่ละหน่วยงานได้กลั่นกรองแผนดำเนินการก่อนจะเสนอ ครม. ให้มีความสอดคล้องระหว่างแผนงานดำเนินการกับนโยบาย และจะเพิ่มการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัย มีการเฝ้าระวังโดยกล้องซีซีทีวี ที่ผ่านมาการทำงานกระจัดกระจาย จึงต้องส่งคนลงไปทำงาน
เมื่อถามว่าคณะผู้แทนพิเศษรัฐบาลจะปฏิบัติหน้าที่ได้เมื่อใด พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ผ่านขั้นตอน ครม.รับทราบแล้ว โดยทั้งหมดมีมาตรา44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวคุ้มครองอยู่แล้ว จากนั้นกระทรวงกลาโหมจะจัดทำรายละเอียดกรอบการทำงานให้มีความสมบูรณ์ เพียงแต่วันนี้เปลี่ยนจากการสั่งการใน กทม.ไปทำงานในพื้นที่ เพราะตนและพล.อ.ประวิตร มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบอยู่มาก จึงลงพื้นที่ได้น้อย อย่างไรก็ตาม ผู้แทนพิเศษสามารถลงไปปฏิบัติหน้าที่ได้ในสัปดาห์หน้า โดยก่อนหน้านี้ทั้ง พล.อ.อุดมเดช และ พล.อ.สุรเชษฐ์ ก็ได้ลงพื้นที่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการทำงานจะไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่ แต่เป็นการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ นักศึกษา และนักวิชาการด้วย
** “บิ๊กโด่ง” รับไร้อำนาจสั่งการ
ขณะที่ พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า เมื่อมีการแต่งตั้งเป็นทางการแล้ว จะเรียกประชุมคณะผู้แทนชุดนี้ก่อนที่จะลงพื้นที่ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด ส่วนตนจะลงไปติดตามงานในพื้นที่ภาคใต้ให้มากที่สุด ควบคู่ไปกับการทำงานในหน้าที่ รมช.กลาโหม สำหรับแผนการทำงานจะต้องปฏิบัติไปตามเจตนารมณ์ที่ผู้ใหญ่วางไว้ให้ โดยคณะทำงานชุดนี้ไปกำกับดูแลและประสานงาน เพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น ขอให้มั่นใจว่าจะทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งตนคิดแผนงานที่จะต้องทำไว้แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อกังวลว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าว มีหน้าที่เพียงประสานงานโดยไม่ได้ควบคุมบังคับบัญชา พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า ในตัวคำสั่งมาตรา 44 ในเรื่องนี้มีความชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่ได้ลงไปมีอำนาจสั่งการ แต่ไปในลักษณะของการติดตามงาน ให้คำแนะนำและประสานงานให้เกิดการบูรณาการ ซึ่งแผนงานประจำปี 2560 มีกำหนดไว้อยู่แล้ว ซึ่งตนจะแบ่งมอบให้กับกรรมการอีก 12 คน ให้รับผิดชอบในแต่ละกลุ่มงานให้เกิดความชัดเจน เพราะ คปต.เดิมมีแผนงานไว้แล้ว 7 กลุ่มงาน ตั้งแต่เรื่องของการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจะถึงแนวทางการเสริมสร้างสันติสุข หากแบ่งครบแล้วจะต้องแบ่งให้กระทรวงอีก
“เตรียมเชิญคณะผู้แทนพิเศษทั้ง 13 คน หารือนัดแรกในวันที่ 6 ต.ค.นี้ เวลา 13.00 น. ที่กระทรวงกลาโหม เพื่อวางแนวทางการปฏิบัติงาน และกรอบการทำงาน เบื้องต้นคาดว่าจะใช้พื้นที่ภายในค่ายพระสุริยโยทัย สถานที่ตั้งกองพลทหารราบที่ 15 จ.ปัตตานี เป็นสถานที่ทำงานของคณะ” รมช.กลาโหมกล่าว
** มั่นใจไม่ซ้ำซ้อนหน่วยงานเดิม
เมื่อถามว่า มีความเชื่อมั่นการทำงานของกรรมการทั้ง 12 คนหรือไม่ พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า คณะทำงานที่แต่งตั้งมานั้น ก็มาจากความเห็นชอบของผู้ใหญ่ที่พิจารณาผู้มีประสบการณ์ ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่าทหารคงไม่ค่อยจะรู้เรื่องนั้น ต้องชี้แจงว่าแต่ละคนดูแลพื้นที่ต่างๆกันมาแล้วแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ที่มีแนวทางบูรณาการการทำงานกับทุกกระทรวง สำหรับเรื่องความกดดันนั้นถือเป็นธรรมดา เมื่อมีงานและภาระหน้าที่ก็ต้องรับผิดชอบต้องทำให้ดี ไม่ถึงกับกดดันขนาดนั้น แต่จะต้องทำให้ดีขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า เกรงว่าการทำงานจะเกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานที่มีอยู่เดิมทั้ง ศอ.บต. หรือ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และคปต.หรือไม่ พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า “ยืนยันว่าไม่มี ผมไม่เคยเห็นว่าไม่มีความไม่ลงรอยกันอย่างไร ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี สมัยที่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็น ผบ.ทบ.ได้รับนโยบายมาปฏิบัติเอง ก็วางระบบงานไว้ที่จะทำให้มีการบูรณาการและทำงานคู่ขนานกันมาตลอดระหว่างหน่วยงาน”
** “ถาวร” แนะทำงานถึงลูกถึงคน
ทางด้าน นายถาวร เสนเนียม อดีต รมช.มหาดไทย ในฐานะเคยทำหน้าที่ ครม.ส่วนหน้าแก้ไขปัญ หาชายแดนภาคใต้ในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่า สิ่งที่อยากจะฝากเอาไว้คืองานในจังหวัดชายแดนใต้มีอยู่ 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกคืองานด้านความมั่นคงความปลอดภัย และกลุ่มที่ 2 คืองานด้านการพัฒนา ซึ่งงานทั้ง 2 ด้านนี้จะต้องรับฟังความต้องการของประชาชน ยึดถือวิถีชีวิต ความเป็นอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ของคนในพื้นที่เป็นหลัก หรือถ้าจะดำเนินการอะไรก็ต้องสำรวจความคิดเห็น ไม่ใช่คิดเอาจากตึกไทยคู่ฟ้า แล้วก็สั่งการตามนั้น อย่างเช่นถ้าประชาชนในพื้นที่ต้องการโรงเรียน แต่กลับไปสร้างสะพานเพื่อต้องการเงินทอน อย่างนี้ก็ไม่ถูกต้อง แม้กระทั่งในงานด้านความมั่นคงเองก็ต้องฟังเสียงของประชาชนด้วย อย่าเชื่อแต่รายงานของข้าราชการประจำเพียงอย่างเดียว ในยุคที่ตนรับผิดชอบในการขับเคลื่อนส่วนหน้านั้น ตนตั้งสำนักงานอยู่ที่ จ.ยะลา อยู่ในพื้นที่สัปดาห์ละ 3 วัน และจัดรายการรัฐมนตรีพบประชาชน สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ให้ประชาชนได้ร้องเรียนทุกข์ชาวบ้านได้ทันที พร้อมนำข้าราชการมานั่งรับฟังปัญหา และสั่งการข้าราชการที่เกี่ยวข้องทันที
“วิธีถึงลูกถึงคนแบบนี้ แก้ไขปัญหาได้แน่ ซึ่งที่ดำเนินการแก้ปัญหาผิดๆถูกๆอยู่ ก็เป็นเพราะฟังแต่รายงานของข้าราชการประจำ ที่สำคัญเมื่อจะทำหน้าที่นี้แล้ว ต้องไม่คิดโกงกินเพื่อเอาเงินทอนด้วย” นายถาวร ระบุ.
วานนี้ (4 ต.ค.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการแต่งตั้งคณะผู้แทนพิเศษของคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) หรือ ครม.ส่วนหน้าว่า ที่ประชุมได้อนุมัติรายชื่อคณะผู้แทนพิเศษแล้วมีทั้งหมด 13 คน โดย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม เป็นประธาน และ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงษ์ รมช.ศึกษาธิการ เป็นรองประธาน เมื่อมีการประกาศอย่างเป็นทางการ ก็จะมีการประชุมและลงพื้นที่ ส่วนสถานที่ทำงานขึ้นอยู่กับ พล.อ.อุดมเดชว่าจะเลือกพื้นที่ใด ซึ่งคิดว่าจะต้องอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และการทำงานจะดูในส่วนของรายละเอียด เพื่อจะแก้ปัญหาให้รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ พล.อ.อุดมเดช ยังทำหน้าที่ รมช.กลาโหมเช่นเดิม ไม่ได้ไปประจำในพื้นที่ตลอดเวลา
พล.อ.ประวิตร กล่าวต่อว่า การทำงานของคณะผู้แทนพิเศษจะมีส่วนช่วยในการพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ เพราะพล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เป็นหนึ่งในคณะผู้แทนพิเศษด้วย ทั้งนี้คาดหวังว่า จะแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ให้เร็วที่สุด ส่วนสาเหตุที่มีทหารมากกว่าพลเรือนนั้น ก็เนื่องจากว่า ทหารรู้ปัญหาในพื้นที่ ทำงานมาตั้งแต่ระดับปฏิบัติจนเป็นแม่ทัพ จึงรู้ปัญหาเป็นอย่างดี ส่วนงบประมาณในการดำเนินงานของคณะพิเศษชุดนี้ ตนคิดว่าจะใช้ไม่เยอะ
** ระบุแค่เปลี่ยนไปสั่งการในพื้นที่
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากนี้ ครม.ส่วนหน้าจะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 9 ข้อ ทั้งเศรษฐกิจ ความมั่นคง ความปลอดภัย การพูดคุยสันติสุข ฯลฯ เพราะแต่เดิมยังไม่มีการบูรณาการ เช่น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) บางช่วงก็อยู่ในการควบคุมของฝ่ายการเมือง ซึ่งหากเล่นการเมืองจะแก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้ เพราะจะมีทั้งผู้พอใจและไม่พอใจ ดังนั้นจึงให้แต่ละหน่วยงานได้กลั่นกรองแผนดำเนินการก่อนจะเสนอ ครม. ให้มีความสอดคล้องระหว่างแผนงานดำเนินการกับนโยบาย และจะเพิ่มการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัย มีการเฝ้าระวังโดยกล้องซีซีทีวี ที่ผ่านมาการทำงานกระจัดกระจาย จึงต้องส่งคนลงไปทำงาน
เมื่อถามว่าคณะผู้แทนพิเศษรัฐบาลจะปฏิบัติหน้าที่ได้เมื่อใด พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ผ่านขั้นตอน ครม.รับทราบแล้ว โดยทั้งหมดมีมาตรา44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวคุ้มครองอยู่แล้ว จากนั้นกระทรวงกลาโหมจะจัดทำรายละเอียดกรอบการทำงานให้มีความสมบูรณ์ เพียงแต่วันนี้เปลี่ยนจากการสั่งการใน กทม.ไปทำงานในพื้นที่ เพราะตนและพล.อ.ประวิตร มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบอยู่มาก จึงลงพื้นที่ได้น้อย อย่างไรก็ตาม ผู้แทนพิเศษสามารถลงไปปฏิบัติหน้าที่ได้ในสัปดาห์หน้า โดยก่อนหน้านี้ทั้ง พล.อ.อุดมเดช และ พล.อ.สุรเชษฐ์ ก็ได้ลงพื้นที่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการทำงานจะไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่ แต่เป็นการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ นักศึกษา และนักวิชาการด้วย
** “บิ๊กโด่ง” รับไร้อำนาจสั่งการ
ขณะที่ พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า เมื่อมีการแต่งตั้งเป็นทางการแล้ว จะเรียกประชุมคณะผู้แทนชุดนี้ก่อนที่จะลงพื้นที่ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด ส่วนตนจะลงไปติดตามงานในพื้นที่ภาคใต้ให้มากที่สุด ควบคู่ไปกับการทำงานในหน้าที่ รมช.กลาโหม สำหรับแผนการทำงานจะต้องปฏิบัติไปตามเจตนารมณ์ที่ผู้ใหญ่วางไว้ให้ โดยคณะทำงานชุดนี้ไปกำกับดูแลและประสานงาน เพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น ขอให้มั่นใจว่าจะทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งตนคิดแผนงานที่จะต้องทำไว้แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อกังวลว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าว มีหน้าที่เพียงประสานงานโดยไม่ได้ควบคุมบังคับบัญชา พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า ในตัวคำสั่งมาตรา 44 ในเรื่องนี้มีความชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่ได้ลงไปมีอำนาจสั่งการ แต่ไปในลักษณะของการติดตามงาน ให้คำแนะนำและประสานงานให้เกิดการบูรณาการ ซึ่งแผนงานประจำปี 2560 มีกำหนดไว้อยู่แล้ว ซึ่งตนจะแบ่งมอบให้กับกรรมการอีก 12 คน ให้รับผิดชอบในแต่ละกลุ่มงานให้เกิดความชัดเจน เพราะ คปต.เดิมมีแผนงานไว้แล้ว 7 กลุ่มงาน ตั้งแต่เรื่องของการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจะถึงแนวทางการเสริมสร้างสันติสุข หากแบ่งครบแล้วจะต้องแบ่งให้กระทรวงอีก
“เตรียมเชิญคณะผู้แทนพิเศษทั้ง 13 คน หารือนัดแรกในวันที่ 6 ต.ค.นี้ เวลา 13.00 น. ที่กระทรวงกลาโหม เพื่อวางแนวทางการปฏิบัติงาน และกรอบการทำงาน เบื้องต้นคาดว่าจะใช้พื้นที่ภายในค่ายพระสุริยโยทัย สถานที่ตั้งกองพลทหารราบที่ 15 จ.ปัตตานี เป็นสถานที่ทำงานของคณะ” รมช.กลาโหมกล่าว
** มั่นใจไม่ซ้ำซ้อนหน่วยงานเดิม
เมื่อถามว่า มีความเชื่อมั่นการทำงานของกรรมการทั้ง 12 คนหรือไม่ พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า คณะทำงานที่แต่งตั้งมานั้น ก็มาจากความเห็นชอบของผู้ใหญ่ที่พิจารณาผู้มีประสบการณ์ ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่าทหารคงไม่ค่อยจะรู้เรื่องนั้น ต้องชี้แจงว่าแต่ละคนดูแลพื้นที่ต่างๆกันมาแล้วแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ที่มีแนวทางบูรณาการการทำงานกับทุกกระทรวง สำหรับเรื่องความกดดันนั้นถือเป็นธรรมดา เมื่อมีงานและภาระหน้าที่ก็ต้องรับผิดชอบต้องทำให้ดี ไม่ถึงกับกดดันขนาดนั้น แต่จะต้องทำให้ดีขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า เกรงว่าการทำงานจะเกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานที่มีอยู่เดิมทั้ง ศอ.บต. หรือ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และคปต.หรือไม่ พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า “ยืนยันว่าไม่มี ผมไม่เคยเห็นว่าไม่มีความไม่ลงรอยกันอย่างไร ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี สมัยที่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็น ผบ.ทบ.ได้รับนโยบายมาปฏิบัติเอง ก็วางระบบงานไว้ที่จะทำให้มีการบูรณาการและทำงานคู่ขนานกันมาตลอดระหว่างหน่วยงาน”
** “ถาวร” แนะทำงานถึงลูกถึงคน
ทางด้าน นายถาวร เสนเนียม อดีต รมช.มหาดไทย ในฐานะเคยทำหน้าที่ ครม.ส่วนหน้าแก้ไขปัญ หาชายแดนภาคใต้ในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่า สิ่งที่อยากจะฝากเอาไว้คืองานในจังหวัดชายแดนใต้มีอยู่ 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกคืองานด้านความมั่นคงความปลอดภัย และกลุ่มที่ 2 คืองานด้านการพัฒนา ซึ่งงานทั้ง 2 ด้านนี้จะต้องรับฟังความต้องการของประชาชน ยึดถือวิถีชีวิต ความเป็นอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ของคนในพื้นที่เป็นหลัก หรือถ้าจะดำเนินการอะไรก็ต้องสำรวจความคิดเห็น ไม่ใช่คิดเอาจากตึกไทยคู่ฟ้า แล้วก็สั่งการตามนั้น อย่างเช่นถ้าประชาชนในพื้นที่ต้องการโรงเรียน แต่กลับไปสร้างสะพานเพื่อต้องการเงินทอน อย่างนี้ก็ไม่ถูกต้อง แม้กระทั่งในงานด้านความมั่นคงเองก็ต้องฟังเสียงของประชาชนด้วย อย่าเชื่อแต่รายงานของข้าราชการประจำเพียงอย่างเดียว ในยุคที่ตนรับผิดชอบในการขับเคลื่อนส่วนหน้านั้น ตนตั้งสำนักงานอยู่ที่ จ.ยะลา อยู่ในพื้นที่สัปดาห์ละ 3 วัน และจัดรายการรัฐมนตรีพบประชาชน สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ให้ประชาชนได้ร้องเรียนทุกข์ชาวบ้านได้ทันที พร้อมนำข้าราชการมานั่งรับฟังปัญหา และสั่งการข้าราชการที่เกี่ยวข้องทันที
“วิธีถึงลูกถึงคนแบบนี้ แก้ไขปัญหาได้แน่ ซึ่งที่ดำเนินการแก้ปัญหาผิดๆถูกๆอยู่ ก็เป็นเพราะฟังแต่รายงานของข้าราชการประจำ ที่สำคัญเมื่อจะทำหน้าที่นี้แล้ว ต้องไม่คิดโกงกินเพื่อเอาเงินทอนด้วย” นายถาวร ระบุ.