กรมชลประทานแจ้งเตือนจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างเตรียมรับมือระดับน้ำสูงขึ้นอีกระลอกจากฝนตกหนักตอนบนและน้ำเหนือไหลหลาก โดยคาดสูงจากเดิมประมาณ 50-70 ซม. ด้าน ปภ.อยุธยาเตือนอีก 24 ชั่วโมงมวลน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาชัยนาทถึงกรุงเก่าส่งผลระดับน้ำสูงขึ้นจากเดิมอีก 50 เซนติเมตร
วานนี้ (28 ก.ย.) นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบัน มีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ 1,788 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที และแม่น้ำสะแกกรัง 368 ลบ.ม./วินาที ขณะที่กรมชลประทาน ควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 1,800 ลบ.ม./วินาที แต่จากการคาดการณ์สภาวะฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) วันที่ 28 ก.ย.-2 ต.ค. ความกดอากาศต่ำจะเคลื่อนตัวไปบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
กรมชลประทาน ได้ประเมินสถานการณ์น้ำที่จะเกิดจากปริมาณฝนตกจากการคาดการณ์ของ 2 หน่วยงานว่า ที่สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและจะสูงสุดประมาณ 2,155 ลบ.ม./วินาที เมื่อรวมกับปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง ที่คาดว่าจะมีปริมาณน้ำสูงสุดประมาณ 400 ลบ.ม./วินาที ทำให้มีปริมาณน้ำไหลสู่เขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 2,555 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 6 ต.ค.ในระหว่างนี้จึงจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในเกณฑ์ 2,000 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 50-70 เซนติเมตร และยังคงต้องเฝ้าระวังหากมีฝนตกเพิ่มเติม
ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนช่วง 27 ก.ย.-11 ต.ค.ประมาณ 600 ลบ.ม. มีโอกาสที่น้ำจะเต็มเขื่อนป่าสักฯวันที่ 8 ต.ค.หากยังคงระบายที่ 20.75 ลบ.ม./วัน จึงจำเป็นต้องปรับแผนการระบายน้ำเพิ่มเป็น 40 ลบ.ม./วัน ซึ่งปริมาณน้ำจะไหลมารวมกับน้ำจากคลองชัยนาท-ป่าสัก กรมชลประทานจะควบคุมให้ไหลผ่านเขื่อนพระรามหกในเกณฑ์ 600 ลบ.ม./วินาที จะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่ด้านท้ายเขื่อนพระรามหกลงมาจนถึงจุดบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระนครศรีอยุธยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1-1.50 เมตร
ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ทำหนังสือแจ้งจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสุพรรณบุรี รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อแจ้งเตือนประชาชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักนอกคันกั้นน้ำ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่ง และเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไป
ด้านนายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า หลังเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ได้มีการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ในอัตรา 2,000 ลบ.ม./วินาที ล่าสุดสถานการณ์ในพื้นที่ 6 อำเภอ 73 ตำบล 425 หมู่บ้านของ อ.บางบาล เสนา ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา บางปะอิน และบางไทร ซึ่งกำลังประสบปัญหาน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วม ยังอยู่ในภาวะทรงตัว ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ามวลน้ำจาก จ.ชัยนาท จะไหลบ่ามาถึง จ.พระนครศรีอยุธยา ในอีก 24 ชั่วโมงจากนี้ ซึ่งทันทีก็น้ำมาถึง ก็จะส่งผลให้ระดับน้ำในพื้นที่ ประสบภัยเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 50 เซนติเมตร
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความเสียหาย ปัจจุบันพบว่ามีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบแล้วกว่า 17,000 ครัวเรือน หนักสุดที่ อ.เสนา วัดระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 2 เมตร โดยหากมีมวลน้ำมาสมทบเพิ่มเติมคงจะไม่ทำให้บริเวณอื่นนอกเหนือจากนี้มีน้ำท่วมขังเพิ่ม แต่จะทำให้ระดับน้ำในจุดที่ท่วมขังอยู่แล้วปรับสูงขึ้นจากเดิม เบื้องต้นได้มีการแจ้งเตือนประชาชนให้เตรียมรับมือ ควบคู่กับการหามาตรการเข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
วานนี้ (28 ก.ย.) นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบัน มีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ 1,788 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที และแม่น้ำสะแกกรัง 368 ลบ.ม./วินาที ขณะที่กรมชลประทาน ควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 1,800 ลบ.ม./วินาที แต่จากการคาดการณ์สภาวะฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) วันที่ 28 ก.ย.-2 ต.ค. ความกดอากาศต่ำจะเคลื่อนตัวไปบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
กรมชลประทาน ได้ประเมินสถานการณ์น้ำที่จะเกิดจากปริมาณฝนตกจากการคาดการณ์ของ 2 หน่วยงานว่า ที่สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและจะสูงสุดประมาณ 2,155 ลบ.ม./วินาที เมื่อรวมกับปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง ที่คาดว่าจะมีปริมาณน้ำสูงสุดประมาณ 400 ลบ.ม./วินาที ทำให้มีปริมาณน้ำไหลสู่เขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 2,555 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 6 ต.ค.ในระหว่างนี้จึงจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในเกณฑ์ 2,000 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 50-70 เซนติเมตร และยังคงต้องเฝ้าระวังหากมีฝนตกเพิ่มเติม
ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนช่วง 27 ก.ย.-11 ต.ค.ประมาณ 600 ลบ.ม. มีโอกาสที่น้ำจะเต็มเขื่อนป่าสักฯวันที่ 8 ต.ค.หากยังคงระบายที่ 20.75 ลบ.ม./วัน จึงจำเป็นต้องปรับแผนการระบายน้ำเพิ่มเป็น 40 ลบ.ม./วัน ซึ่งปริมาณน้ำจะไหลมารวมกับน้ำจากคลองชัยนาท-ป่าสัก กรมชลประทานจะควบคุมให้ไหลผ่านเขื่อนพระรามหกในเกณฑ์ 600 ลบ.ม./วินาที จะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่ด้านท้ายเขื่อนพระรามหกลงมาจนถึงจุดบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระนครศรีอยุธยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1-1.50 เมตร
ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ทำหนังสือแจ้งจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสุพรรณบุรี รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อแจ้งเตือนประชาชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักนอกคันกั้นน้ำ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่ง และเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไป
ด้านนายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า หลังเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ได้มีการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ในอัตรา 2,000 ลบ.ม./วินาที ล่าสุดสถานการณ์ในพื้นที่ 6 อำเภอ 73 ตำบล 425 หมู่บ้านของ อ.บางบาล เสนา ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา บางปะอิน และบางไทร ซึ่งกำลังประสบปัญหาน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วม ยังอยู่ในภาวะทรงตัว ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ามวลน้ำจาก จ.ชัยนาท จะไหลบ่ามาถึง จ.พระนครศรีอยุธยา ในอีก 24 ชั่วโมงจากนี้ ซึ่งทันทีก็น้ำมาถึง ก็จะส่งผลให้ระดับน้ำในพื้นที่ ประสบภัยเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 50 เซนติเมตร
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความเสียหาย ปัจจุบันพบว่ามีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบแล้วกว่า 17,000 ครัวเรือน หนักสุดที่ อ.เสนา วัดระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 2 เมตร โดยหากมีมวลน้ำมาสมทบเพิ่มเติมคงจะไม่ทำให้บริเวณอื่นนอกเหนือจากนี้มีน้ำท่วมขังเพิ่ม แต่จะทำให้ระดับน้ำในจุดที่ท่วมขังอยู่แล้วปรับสูงขึ้นจากเดิม เบื้องต้นได้มีการแจ้งเตือนประชาชนให้เตรียมรับมือ ควบคู่กับการหามาตรการเข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว