ผู้จัดการรายวัน 360 - “ประวิตร - ฉัตรชัย” มั่นใจน้ำท่วมไม่หนักเท่าปี 54 “กรมศิลป์” เผยน้ำท่วมโบราณสถานแต่ไม่หนัก ส่วนวัดน้ำบุกแล้ว 39 แห่ง ผู้ว่าฯปทุมธานีระดมเครื่องสูบน้ำลงเจ้าพระยา กทม.ปฏิเสธผิดประตูน้ำจนท่งวมจังหวัดข้างเคียง โอ่ถ้าฝนไม่ตกซ้ำน้ำแห้งภายใน 2 วัน
วานนี้ (27 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงการแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วมและพายุฝนในขณะนี้ว่า คาดว่าอุทกภัยในปีนี้ไม่หนักเท่ากับปี 2554 เนื่องจากรัฐบาลเตรียมการไว้ล่วงหน้าในเรื่องการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างดี ในส่วนของการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนก็ได้นำปัญหาดังกล่าว เข้าหารือในที่ประชุมสภากลาโหม เพื่อรับมือแล้ว
ด้าน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เขื่อนที่อยู่ตอนบนและตอนกลางของประเทศ ยังสามารถเก็บกักน้ำได้อีกจำนวนมาก ดังนั้นพื้นที่ตอนบนของประเทศไม่ต้องกังวลอะไร ในเวลานี้ยังมีร่องมรสุมที่พาดผ่านตรงกลางของประเทศ ก็อาจจะทำให้มีปัญหาอยู่บ้าง ซึ่งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำได้ประสานกับกระทรวงมหาดไทย และกรมอุตุนิยมวิทยา ในการทำงานร่วมกัน โดยหลักการเราจะพยายามระบายน้ำออกไปก่อน ขณะนี้ยังไม่ทำการกักเก็บ เนื่องจากยังมีฝนอยู่ หากเก็บเร็วเกินไปจะทำให้เกิดความเสียหายได้ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การระบายน้ำออกไปสู่ทะเลให้เร็วที่สุด สำหรับพื้นที่ความเสียหายในภาคการเกษตรยังไม่มาก การชดเชยความเสียหายก็เป็นไปตามมาตรการของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะเข้าไปดูเพิ่มเติม
“ยังไงก็ไม่ต้องกลัวจะเหมือรปี 2554 ตอนนี้น้ำในเขื่อนเจ้าพระยามีอยู่ 1,700 ลูกบาศก์เมอตร (ลบ.ม.) ซึ่งปี 2554 มีน้ำในเขื่อนเกือบ 3,000 ลบ.ม. ยังห่างอีกเยอะ ไม่ต้องกังวล เพราะนี่เป็นเพียงฝนตกขังในที่ลุ่มต่ำและรอระบาย ซึ่งพื้นที่ในเมืองก็รอระบายออกเท่านั้นเอง” พล.อ.ฉัตรชัย ระบุ
** ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาระดับน้ำทรงตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงสถานการณ์การระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ว่า กรมชลประทานยังคงอัตราการระบายน้ำลงท้ายเขื่อน ไว้ที่อัตรา 1,800ลบ.ม.ต่อวินาที ต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยล่าสุดระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาวัดได้ 16.65เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางเพิ่มขึ้น 25 เซนติเมตร ส่วนระดับน้ำท้ายเขื่อนวัดได้ 14.37เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทั้งนี้จากการคงอัตราการระบายน้ำดังกล่าวจะส่งผลให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนพื้นที่ อ.เมืองชัยนาท เริ่มวิกฤตเนื่องจากระดับน้ำปัจจุบันในบางจุดใน ต.บ้านกล้วย ต่ำกว่าตลิ่งเพียง 10-20เซนติเมตรเท่านั้น ส่วนท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในพื้นที่ริมคลองบางโผงเผง อ.ป่าโมกข์ จ.อ่างทอง ต.บางหลวงโดด ต.บางบาล อ.บางบาล และ ต.บางกระทุ่ม ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา รวมถึงบริเวณท้ายแม่น้ำน้อย มีระดับน้ำที่เริ่มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่ยังต้องขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดัง เฝ้าสังเกตุความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ และติดตามประกาศจากทางราชการอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะพื้นที่ตอนบนจะยังคงมีฝนตกชุกต่อไปอีกตลอดสัปดาห์นี้
** พศ.เผยพบน้ำท่วมวัด 39 แห่ง
นายชยพล พงษ์สีดา รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นจาก พศ.ประจำจังหวัดต่างๆว่า มีวัดถูกท่วมแล้ว จำนวน 39 แห่ง แบ่งเป็น จ.พระนครศรีอยุธยา 28 แห่ง จ.ลพบุรี 8 แห่ง และ จ.อุทัยธานี 3 แห่ง โดยศาสนสถานยังไม่ได้รับความเสียหายมากนัก เนื่องจากเป็นเพียงช่วงน้ำหลากที่ยังไม่ท่วมขังเป็นเวลานาน
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้รับรายงานเกี่ยวกับมาตรการและสถานการณ์น้ำท่วมโบราณสถานในพื้นที่ต่างๆว่า ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบบางส่วนแต่ไม่ถึงขั้นวิกฤต 3 แห่ง ได้แก่ วัดบุญกันนาวาส วัดไชยวัฒนาราม และวัดธรรมาราม ขณะที่ จ.น่าน รายงานว่า วัดภูมินทร์ จ.น่าน ได้รับผลกระทบในบางส่วนเช่นกัน ส่วนที่ จ.ร้อยเอ็ด มี 2 แห่ง ได้รับผลกระทบบางส่วน ได้แก่ วัดขอนแก่นเหนือ อ.เมือง และปราสาทบ้านหนองกู่ อ.วัชบุรี
** “ปทุมธานี” มั่นใจเอาอยู่
ที่ จ.ปทุมธานี นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการ จ.ปทุมธานี ได้เดินทางมาที่ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือน้ำเหนือส่วนเกินที่ระบายจากเขื่อนเจ้าพระยา โดยผ่านทุ่งในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ลงมาทางใต้โดยเข้าสู่ จ.ปทุมธานี และ กทม. โดยเปิดเผยว่า การบริหารจัดการน้ำของ จ.ปทุมธานีฝั่งตะวันออก มีการบริหารจัดการน้ำและเฝ้าระวังปริมาณน้ำให้มีความสัมพันธ์กัน โดยได้ระบายน้ำแบบซุปเปอร์ไฮเวย์ นำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จำนวน 24 เครื่องสูบน้ำจากประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ไปยังประตูระบายน้ำบ้านใหม่ ก่อนสูบออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาด้วยเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 20 เครื่อง ส่วนคลองเปรมประชากรตอนใต้ที่เชื่อมต่อระหว่าง จ.ปทุมธานี จ.นนทบุรี และ กทม.ก็ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มอีกจำนวน 3 เครื่อง สำหรับพื้นที่ที่น้ำท่วมขังในขณะนี้ คือ บ้านเรือนที่อยู่นอกแนวกั้นน้ำและจะเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี โดยชาวบ้านมีการปรับตัวอยู่แล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ หมู่บ้านเมืองเอก และหมู่บ้านไวท์เฮ้าส์ ที่สภาพคล้ายท้องกะทะ จึงต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หากฝนไม่ตกลงมาอย่างหนัก คาดว่าจะไม่มีเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ปทุมธานี อย่างแน่นอน
** กทม.ปัดปิดประตูน้ำคลองเปรมฯ
วันเดียวกัน นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงพื้นที่ตรวจการระบายน้ำคลองเปรมประชากร ในพื้นที่เขตบางซื่อ พร้อมเปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในพื้นที่ กทม.ตอนเหนือ เขตดอนเมือง หลักสี่ บางเขน รวมทั้ง จ.ปทุมธานีและ จ.นนทบุรี ส่งผลให้เส้นทางระบายน้ำในพื้นที่ต้องรองรับปริมาณน้ำจำนวนมาก โดยเฉพาะคลองเปรมประชากร ที่ปริมาณน้ำเพิ่มสูงกว่าระดับปกติเกือบ 2เมตร ส่งผลให้คลองย่อยไม่สามารถระบายน้ำลงสู่คลองสายหลักที่เชื่อมต่อกันได้ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังขึ้นในจุดต่างๆ โดยเฉพาะหมู่บ้านเก่า ที่ต้องอาศัยคลองย่อยในการผันน้ำ โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการระบายน้ำในคลองเปรมประชากรราว 2วัน หากไม่มีปริมาณฝนตกลงมาเพิ่มเติม ระดับน้ำในคลองก็จะคืนสู่สภาพปกติ ส่วนที่กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนว่า ในวันที่ 30ก.ย. -2ต.ค. จะเกิดฝนตกอย่างหนักในพื้นที่ กทม.นั้น ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์ทุกรูปแบบ แต่อยากขอความร่วมมือประชาชนไม่ทิ้งขยะในพื้นที่สาธารณะซึ่งจะส่งผลให้ขยะอุดตัน กีดขวางเส้นทางระบายน้ำ
นายอมร ยังได้กล่าวปฏิเสธกรณีที่มีการกล่าวหาว่า กทม.ปิดประตูระบายน้ำ ส่งผลให้ จ.ปทุมธานีเกิดปัญหาน้ำท่วมขังว่า ยืนยันได้ว่า กทม.ไม่ได้ปิดประตูระบายน้ำในคลองเปรมประชากรอย่างที่มีผู้เข้าใจผิด แต่สำนักการระบายน้ำ กทม.ได้ยกบานประตูทั้ง 2 จุดไว้จนสุดบานตั้งแต่แรกแล้ว โดยสังเกตได้ว่าระดับน้ำในและนอกประตูเท่ากัน ที่ -0.80 เมตร และระดับน้ำในคลองเปรมประชากรอยู่ที่ +0.50 เมตร ขณะที่ระดับน้ำท่วมขังในพื้นที่เขตดอนเมือง อยู่ที่ระดับ +1.50 เมตร.
วานนี้ (27 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงการแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วมและพายุฝนในขณะนี้ว่า คาดว่าอุทกภัยในปีนี้ไม่หนักเท่ากับปี 2554 เนื่องจากรัฐบาลเตรียมการไว้ล่วงหน้าในเรื่องการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างดี ในส่วนของการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนก็ได้นำปัญหาดังกล่าว เข้าหารือในที่ประชุมสภากลาโหม เพื่อรับมือแล้ว
ด้าน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เขื่อนที่อยู่ตอนบนและตอนกลางของประเทศ ยังสามารถเก็บกักน้ำได้อีกจำนวนมาก ดังนั้นพื้นที่ตอนบนของประเทศไม่ต้องกังวลอะไร ในเวลานี้ยังมีร่องมรสุมที่พาดผ่านตรงกลางของประเทศ ก็อาจจะทำให้มีปัญหาอยู่บ้าง ซึ่งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำได้ประสานกับกระทรวงมหาดไทย และกรมอุตุนิยมวิทยา ในการทำงานร่วมกัน โดยหลักการเราจะพยายามระบายน้ำออกไปก่อน ขณะนี้ยังไม่ทำการกักเก็บ เนื่องจากยังมีฝนอยู่ หากเก็บเร็วเกินไปจะทำให้เกิดความเสียหายได้ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การระบายน้ำออกไปสู่ทะเลให้เร็วที่สุด สำหรับพื้นที่ความเสียหายในภาคการเกษตรยังไม่มาก การชดเชยความเสียหายก็เป็นไปตามมาตรการของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะเข้าไปดูเพิ่มเติม
“ยังไงก็ไม่ต้องกลัวจะเหมือรปี 2554 ตอนนี้น้ำในเขื่อนเจ้าพระยามีอยู่ 1,700 ลูกบาศก์เมอตร (ลบ.ม.) ซึ่งปี 2554 มีน้ำในเขื่อนเกือบ 3,000 ลบ.ม. ยังห่างอีกเยอะ ไม่ต้องกังวล เพราะนี่เป็นเพียงฝนตกขังในที่ลุ่มต่ำและรอระบาย ซึ่งพื้นที่ในเมืองก็รอระบายออกเท่านั้นเอง” พล.อ.ฉัตรชัย ระบุ
** ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาระดับน้ำทรงตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงสถานการณ์การระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ว่า กรมชลประทานยังคงอัตราการระบายน้ำลงท้ายเขื่อน ไว้ที่อัตรา 1,800ลบ.ม.ต่อวินาที ต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยล่าสุดระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาวัดได้ 16.65เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางเพิ่มขึ้น 25 เซนติเมตร ส่วนระดับน้ำท้ายเขื่อนวัดได้ 14.37เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทั้งนี้จากการคงอัตราการระบายน้ำดังกล่าวจะส่งผลให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนพื้นที่ อ.เมืองชัยนาท เริ่มวิกฤตเนื่องจากระดับน้ำปัจจุบันในบางจุดใน ต.บ้านกล้วย ต่ำกว่าตลิ่งเพียง 10-20เซนติเมตรเท่านั้น ส่วนท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในพื้นที่ริมคลองบางโผงเผง อ.ป่าโมกข์ จ.อ่างทอง ต.บางหลวงโดด ต.บางบาล อ.บางบาล และ ต.บางกระทุ่ม ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา รวมถึงบริเวณท้ายแม่น้ำน้อย มีระดับน้ำที่เริ่มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่ยังต้องขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดัง เฝ้าสังเกตุความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ และติดตามประกาศจากทางราชการอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะพื้นที่ตอนบนจะยังคงมีฝนตกชุกต่อไปอีกตลอดสัปดาห์นี้
** พศ.เผยพบน้ำท่วมวัด 39 แห่ง
นายชยพล พงษ์สีดา รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นจาก พศ.ประจำจังหวัดต่างๆว่า มีวัดถูกท่วมแล้ว จำนวน 39 แห่ง แบ่งเป็น จ.พระนครศรีอยุธยา 28 แห่ง จ.ลพบุรี 8 แห่ง และ จ.อุทัยธานี 3 แห่ง โดยศาสนสถานยังไม่ได้รับความเสียหายมากนัก เนื่องจากเป็นเพียงช่วงน้ำหลากที่ยังไม่ท่วมขังเป็นเวลานาน
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้รับรายงานเกี่ยวกับมาตรการและสถานการณ์น้ำท่วมโบราณสถานในพื้นที่ต่างๆว่า ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบบางส่วนแต่ไม่ถึงขั้นวิกฤต 3 แห่ง ได้แก่ วัดบุญกันนาวาส วัดไชยวัฒนาราม และวัดธรรมาราม ขณะที่ จ.น่าน รายงานว่า วัดภูมินทร์ จ.น่าน ได้รับผลกระทบในบางส่วนเช่นกัน ส่วนที่ จ.ร้อยเอ็ด มี 2 แห่ง ได้รับผลกระทบบางส่วน ได้แก่ วัดขอนแก่นเหนือ อ.เมือง และปราสาทบ้านหนองกู่ อ.วัชบุรี
** “ปทุมธานี” มั่นใจเอาอยู่
ที่ จ.ปทุมธานี นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการ จ.ปทุมธานี ได้เดินทางมาที่ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือน้ำเหนือส่วนเกินที่ระบายจากเขื่อนเจ้าพระยา โดยผ่านทุ่งในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ลงมาทางใต้โดยเข้าสู่ จ.ปทุมธานี และ กทม. โดยเปิดเผยว่า การบริหารจัดการน้ำของ จ.ปทุมธานีฝั่งตะวันออก มีการบริหารจัดการน้ำและเฝ้าระวังปริมาณน้ำให้มีความสัมพันธ์กัน โดยได้ระบายน้ำแบบซุปเปอร์ไฮเวย์ นำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จำนวน 24 เครื่องสูบน้ำจากประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ไปยังประตูระบายน้ำบ้านใหม่ ก่อนสูบออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาด้วยเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 20 เครื่อง ส่วนคลองเปรมประชากรตอนใต้ที่เชื่อมต่อระหว่าง จ.ปทุมธานี จ.นนทบุรี และ กทม.ก็ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มอีกจำนวน 3 เครื่อง สำหรับพื้นที่ที่น้ำท่วมขังในขณะนี้ คือ บ้านเรือนที่อยู่นอกแนวกั้นน้ำและจะเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี โดยชาวบ้านมีการปรับตัวอยู่แล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ หมู่บ้านเมืองเอก และหมู่บ้านไวท์เฮ้าส์ ที่สภาพคล้ายท้องกะทะ จึงต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หากฝนไม่ตกลงมาอย่างหนัก คาดว่าจะไม่มีเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ปทุมธานี อย่างแน่นอน
** กทม.ปัดปิดประตูน้ำคลองเปรมฯ
วันเดียวกัน นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงพื้นที่ตรวจการระบายน้ำคลองเปรมประชากร ในพื้นที่เขตบางซื่อ พร้อมเปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในพื้นที่ กทม.ตอนเหนือ เขตดอนเมือง หลักสี่ บางเขน รวมทั้ง จ.ปทุมธานีและ จ.นนทบุรี ส่งผลให้เส้นทางระบายน้ำในพื้นที่ต้องรองรับปริมาณน้ำจำนวนมาก โดยเฉพาะคลองเปรมประชากร ที่ปริมาณน้ำเพิ่มสูงกว่าระดับปกติเกือบ 2เมตร ส่งผลให้คลองย่อยไม่สามารถระบายน้ำลงสู่คลองสายหลักที่เชื่อมต่อกันได้ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังขึ้นในจุดต่างๆ โดยเฉพาะหมู่บ้านเก่า ที่ต้องอาศัยคลองย่อยในการผันน้ำ โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการระบายน้ำในคลองเปรมประชากรราว 2วัน หากไม่มีปริมาณฝนตกลงมาเพิ่มเติม ระดับน้ำในคลองก็จะคืนสู่สภาพปกติ ส่วนที่กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนว่า ในวันที่ 30ก.ย. -2ต.ค. จะเกิดฝนตกอย่างหนักในพื้นที่ กทม.นั้น ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์ทุกรูปแบบ แต่อยากขอความร่วมมือประชาชนไม่ทิ้งขยะในพื้นที่สาธารณะซึ่งจะส่งผลให้ขยะอุดตัน กีดขวางเส้นทางระบายน้ำ
นายอมร ยังได้กล่าวปฏิเสธกรณีที่มีการกล่าวหาว่า กทม.ปิดประตูระบายน้ำ ส่งผลให้ จ.ปทุมธานีเกิดปัญหาน้ำท่วมขังว่า ยืนยันได้ว่า กทม.ไม่ได้ปิดประตูระบายน้ำในคลองเปรมประชากรอย่างที่มีผู้เข้าใจผิด แต่สำนักการระบายน้ำ กทม.ได้ยกบานประตูทั้ง 2 จุดไว้จนสุดบานตั้งแต่แรกแล้ว โดยสังเกตได้ว่าระดับน้ำในและนอกประตูเท่ากัน ที่ -0.80 เมตร และระดับน้ำในคลองเปรมประชากรอยู่ที่ +0.50 เมตร ขณะที่ระดับน้ำท่วมขังในพื้นที่เขตดอนเมือง อยู่ที่ระดับ +1.50 เมตร.