ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่3811/2551 ลงวันที่ 15 ส.ค. 51 ลงโทษทางวินัย ไล่นายประเสริฐ สมะลาภา อดีตปลัดกทม. ออกจากราชการ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรมว.มหาดไทย ที่เห็นชอบตาม มติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ให้ปลด นายประเสริฐ ออกจากราชการ และคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 5199/2559 เรื่องลดโทษข้าราชการ ลงวันที่ 9 ธ.ค. 52 ที่ลงโทษปลดนายประเสริฐ ออกจากราชการ จากเหตุถูกถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่า กระทำผิดวินัยร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ กรณีจัดซื้อที่ดินเพื่อใช้เป็นที่จอดรถขยะกทม. ในเขตบางซื่อ แพงเกินจริง เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะออกบนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่มีอยู่จริง นายประเสริฐไม่ได้กระทำผิดวินัยร้ายแรง ตามฐานความผิดมาตราต่างๆ ที่ระบุไว้ในคำสั่งลงโทษ
ส่วนเหตุที่ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่นายประเสริฐ ออกจากราชการนั้น ระบุว่า จากพยานหลักฐานข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การดำเนินการจัดซื้อที่ดิน โฉนดเลขที่ 69706-69720 เลขที่ 2835 และ เลขที่ 2852 รวม 17 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก นายสุพจน์–นางสุณี มโนมัยพันธุ์ ไม่ได้เกิดจากการริ่เริม หรือใช้อำนาจสั่งการโดยอำเภอใจของนายประเสริฐ แต่เป็นการดำเนินการตามนโยบายผู้ว่าฯกทม. และมิตคณะผู้บริหารกทม. แม้ในชั้นแรกหลังจากมีผู้เสนอขายที่ดินตามประกาศฯ ผอ.เขตบางซื่อได้มีหนังสือไปยังสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ขอทราบผลการประเมินราคาซื้อขายปัจจุบัน ที่ดินรวม15 โฉนด โดยไม่ได้สอบถามรายละเอียดดังกล่าวของที่ดิน 2 แปลง โฉนดเลขที่ 2835 และ โฉนดเลขที่ 2852 และต่อมาแม้ ผอ.เขตบางซื่อ ได้มีบันทึกข้อความถึงนายประเสริฐ ว่าที่ดินรายนายสุพจน์ มีความเหมาะสมที่กทม.จะซื้อไว้ โดยเป็นการเสนอความเห็นทั้งที่ยังไม่ได้มีการสอบถามราคาประเมินครบทุกแปลง และนายประเสริฐ ไม่ได้ทักท้วงอาจจะถือว่านายประเสริฐ บกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานว่า นายประเสริฐ มีส่วนร่วมรู้เห็น สั่งการให้มีการสอบถามราคาประเมินเฉพาะที่ดินเพียงจำนวน 15 โฉนด และเห็นชอบกับความเห็น หรือข้อเสนอของผู้อำนวยการเขตบางซื่อ ตามบันทึกข้อความดังกล่าว ที่นายประเสริฐ เกียษณท้ายบันทึกดังกล่าวว่า ให้นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมในการจัดซื้อ เช่าที่ดิน และอาคารเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรุงเทพมหานคร ( กซช.) พิจารณา ก็เป็นการปฏิบัติตามจารีตประเพณี หรือแนวทางการปฏิบัติราชการของกทม. ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินหรือตามนโยบายของกทม. และคำสั่งของผู้ว่าฯ กทม.โดยถูกต้องตามมาตรา 64 พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 แล้ว การไม่ทักท้วง จึงยังไม่ถึงขั้นจะรับฟังได้ว่า เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอย่างชัดแจ้ง และเมื่อ กซช. ที่มีมติว่า เห็นควรจัดซื้อที่ดินของราย นายสุพจน์–นางสุณี มโนมัยพันธุ์ โดย ผู้ฟ้องคดีไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย จึงไม่อาจฟังได้ว่านายประเสริฐ มีส่วนร่วมกับ ผอ.เขตบางซื่อ ในการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือมีส่วนร่วมในการตัดสินกับคณะตรวจสอบที่ดิน หรืออาคาร ซึ่งกทม. จัดซื้อหรือเช่าเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรุงเทพมหานคร (ตซช.) และ กซช. ในการมีมติเห็นควรจัดซื้อที่ดินจากราย นายสุพจน์–นางสุณี มโนมัยพันธุ์
ส่วนกรณีที่ไม่มีการเรียกบริษัท วินโล จำกัด ผู้เสนอขายที่ดินอีกรายไปเจรจาต่อรองนั้น เมื่อ ตซช. พิจารณาเห็นว่า ที่ดินของบริษัท วินโล จำกัด เป็นที่ดินเปล่า ที่ยังไม่มีการถมดิน บริเวณมีบ้านพักอาศัยหนาแน่น ทางเข้าออกคับแคบ กว้าง 6 เมตร อาจมีปัญหาในการนำรถใหญ่เข้าออก ขณะที่ดินราย นายสุพจน์-นางสุณี ไม่ต้องถมดิน บางส่วนเป็นลานคอนกรีตเสริมเหล็ก ทางเข้าออกกว้าง 8 เมตร เป็นการขายพร้อมอาคารสิ่งปลูกสร้างที่กทม.สามารถปรับปรุงใช้สอยเพื่อประโยชน์ได้ จึงเสนอความเห็นว่า ควรจัดซื้อที่ดินรายนายสุพจน์-นางสุณี ที่มีความเหมาะสม เป็นประโยชน์แก่กทม. มากกว่า
โดยกซช. พิจารณาแล้วมีมติเห็นด้วย ซึ่งตามข้อบัญญัติกทม. เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. 2538 ข้อ 20 วรรคสอง และข้อ 53 (2) และ (6) สามารถเชิญเจ้าของที่ดิน และหรือสิ่งก่อสร้างมาเสนอราคาโดยตรงเพียงรายเดียวได้ หากต่อรองแล้วราคายังสูงอยู่ ก็สามารถเชิญเจ้าของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างรายอื่นๆ มาเสนอราคาและต่อรองราคาได้ จนกว่าจะเป็นที่พอใจ
การที่มีผู้เสนอขายที่ดินตามประกาศจำนวน 2 ราย ทั้งที่สามารถเรียกเพียงรายใดรายหนึ่งมาเสนอราคา และต่อรองราคาได้นั้น ก็เป็นการดำเนินการในชั้นก่อนถึงการพิจารณาจัดซื้อ โดยคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ เพื่อหาผู้เสนอราคาที่จะเป็นประโยชน์มากที่สุดแก่กทม. ก่อนที่จะได้มีการเจรจาต่อรองราคาต่อไป จากคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษในชั้นหลังต่อไป
เมื่อ ตซช. และ กซช. เห็นว่าที่ดินที่นายสุพจน์-นางสุณี มโนมัยพันธุ์ เสนอขายเหมาะสมกว่า และราคาถูกกว่าที่ดินของราย บริษัท วินโล จำกัด การที่มีการเรียก นายสุพจน์-นางสุณี มโนมัยพันธุ์ มาเจรจาต่อรองราคาเพียงรายเดียว จึงไม่อาจฟังได้ว่า กรณีนี้เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติกทม. เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. 2538 ในเรื่องการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษได้ และไม่มีผลทำให้การไม่ทักท้วงของนายประเสริฐ ในเรื่องนี้ เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ถูกต้อง
อีกทั้ง ตามประกาศสำนักงานเขตบางซื่อ เรื่องขอซื้อที่ดินเพื่อจัดทำเป็นที่จอดรถของทางราชการ ซึ่งมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ไร่ และมีทางเข้าออกสะดวก หาได้ระบุว่า ต้องถึงขนาดเป็นทางาธารณประโยชน์ไม่ และจากถ้อยคำของพยานบุคคลหลายปาก ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นที่ชัดแจ้งว่า ประชาชนและบริษัทผู้ประกอบกิจการ ได้มีการใช้ซอยเรียงปรีชา เป็นทางเข้าออกมาโดยตลอด โดยกรรมการกซช. และกรรมการ ตชซ. พร้อมกับผอ.เขตบางซื่อ ได้ไปลงพื้นที่ตรวจสอบที่ดิน และเห็นว่าที่ดินมีทางเข้าออก จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทักท้วงว่า ที่ดินที่จะซื้อมีทางภาระจำยอมหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลแพ่งว่า ซอยเรียงปรีชา เป็นภาระจำยอมของที่ดิน นายสุพจน์ที่เสนอขาย และโดยที่ที่ดินทั้ง 17 โฉนด มีอาณาเขตติดต่อกัน จึงรับฟังไม่ได้ว่า ที่ดินที่ นายสุพจน์-นางสุณี เสนอขาย ไม่มีทางเข้าออกตามประกาศขอซื้อที่ดินของสำนักงานเขตบางซื่อ แต่ประการใด
ส่วนเหตุที่ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่นายประเสริฐ ออกจากราชการนั้น ระบุว่า จากพยานหลักฐานข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การดำเนินการจัดซื้อที่ดิน โฉนดเลขที่ 69706-69720 เลขที่ 2835 และ เลขที่ 2852 รวม 17 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก นายสุพจน์–นางสุณี มโนมัยพันธุ์ ไม่ได้เกิดจากการริ่เริม หรือใช้อำนาจสั่งการโดยอำเภอใจของนายประเสริฐ แต่เป็นการดำเนินการตามนโยบายผู้ว่าฯกทม. และมิตคณะผู้บริหารกทม. แม้ในชั้นแรกหลังจากมีผู้เสนอขายที่ดินตามประกาศฯ ผอ.เขตบางซื่อได้มีหนังสือไปยังสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ขอทราบผลการประเมินราคาซื้อขายปัจจุบัน ที่ดินรวม15 โฉนด โดยไม่ได้สอบถามรายละเอียดดังกล่าวของที่ดิน 2 แปลง โฉนดเลขที่ 2835 และ โฉนดเลขที่ 2852 และต่อมาแม้ ผอ.เขตบางซื่อ ได้มีบันทึกข้อความถึงนายประเสริฐ ว่าที่ดินรายนายสุพจน์ มีความเหมาะสมที่กทม.จะซื้อไว้ โดยเป็นการเสนอความเห็นทั้งที่ยังไม่ได้มีการสอบถามราคาประเมินครบทุกแปลง และนายประเสริฐ ไม่ได้ทักท้วงอาจจะถือว่านายประเสริฐ บกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานว่า นายประเสริฐ มีส่วนร่วมรู้เห็น สั่งการให้มีการสอบถามราคาประเมินเฉพาะที่ดินเพียงจำนวน 15 โฉนด และเห็นชอบกับความเห็น หรือข้อเสนอของผู้อำนวยการเขตบางซื่อ ตามบันทึกข้อความดังกล่าว ที่นายประเสริฐ เกียษณท้ายบันทึกดังกล่าวว่า ให้นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมในการจัดซื้อ เช่าที่ดิน และอาคารเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรุงเทพมหานคร ( กซช.) พิจารณา ก็เป็นการปฏิบัติตามจารีตประเพณี หรือแนวทางการปฏิบัติราชการของกทม. ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินหรือตามนโยบายของกทม. และคำสั่งของผู้ว่าฯ กทม.โดยถูกต้องตามมาตรา 64 พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 แล้ว การไม่ทักท้วง จึงยังไม่ถึงขั้นจะรับฟังได้ว่า เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอย่างชัดแจ้ง และเมื่อ กซช. ที่มีมติว่า เห็นควรจัดซื้อที่ดินของราย นายสุพจน์–นางสุณี มโนมัยพันธุ์ โดย ผู้ฟ้องคดีไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย จึงไม่อาจฟังได้ว่านายประเสริฐ มีส่วนร่วมกับ ผอ.เขตบางซื่อ ในการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือมีส่วนร่วมในการตัดสินกับคณะตรวจสอบที่ดิน หรืออาคาร ซึ่งกทม. จัดซื้อหรือเช่าเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรุงเทพมหานคร (ตซช.) และ กซช. ในการมีมติเห็นควรจัดซื้อที่ดินจากราย นายสุพจน์–นางสุณี มโนมัยพันธุ์
ส่วนกรณีที่ไม่มีการเรียกบริษัท วินโล จำกัด ผู้เสนอขายที่ดินอีกรายไปเจรจาต่อรองนั้น เมื่อ ตซช. พิจารณาเห็นว่า ที่ดินของบริษัท วินโล จำกัด เป็นที่ดินเปล่า ที่ยังไม่มีการถมดิน บริเวณมีบ้านพักอาศัยหนาแน่น ทางเข้าออกคับแคบ กว้าง 6 เมตร อาจมีปัญหาในการนำรถใหญ่เข้าออก ขณะที่ดินราย นายสุพจน์-นางสุณี ไม่ต้องถมดิน บางส่วนเป็นลานคอนกรีตเสริมเหล็ก ทางเข้าออกกว้าง 8 เมตร เป็นการขายพร้อมอาคารสิ่งปลูกสร้างที่กทม.สามารถปรับปรุงใช้สอยเพื่อประโยชน์ได้ จึงเสนอความเห็นว่า ควรจัดซื้อที่ดินรายนายสุพจน์-นางสุณี ที่มีความเหมาะสม เป็นประโยชน์แก่กทม. มากกว่า
โดยกซช. พิจารณาแล้วมีมติเห็นด้วย ซึ่งตามข้อบัญญัติกทม. เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. 2538 ข้อ 20 วรรคสอง และข้อ 53 (2) และ (6) สามารถเชิญเจ้าของที่ดิน และหรือสิ่งก่อสร้างมาเสนอราคาโดยตรงเพียงรายเดียวได้ หากต่อรองแล้วราคายังสูงอยู่ ก็สามารถเชิญเจ้าของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างรายอื่นๆ มาเสนอราคาและต่อรองราคาได้ จนกว่าจะเป็นที่พอใจ
การที่มีผู้เสนอขายที่ดินตามประกาศจำนวน 2 ราย ทั้งที่สามารถเรียกเพียงรายใดรายหนึ่งมาเสนอราคา และต่อรองราคาได้นั้น ก็เป็นการดำเนินการในชั้นก่อนถึงการพิจารณาจัดซื้อ โดยคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ เพื่อหาผู้เสนอราคาที่จะเป็นประโยชน์มากที่สุดแก่กทม. ก่อนที่จะได้มีการเจรจาต่อรองราคาต่อไป จากคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษในชั้นหลังต่อไป
เมื่อ ตซช. และ กซช. เห็นว่าที่ดินที่นายสุพจน์-นางสุณี มโนมัยพันธุ์ เสนอขายเหมาะสมกว่า และราคาถูกกว่าที่ดินของราย บริษัท วินโล จำกัด การที่มีการเรียก นายสุพจน์-นางสุณี มโนมัยพันธุ์ มาเจรจาต่อรองราคาเพียงรายเดียว จึงไม่อาจฟังได้ว่า กรณีนี้เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติกทม. เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. 2538 ในเรื่องการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษได้ และไม่มีผลทำให้การไม่ทักท้วงของนายประเสริฐ ในเรื่องนี้ เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ถูกต้อง
อีกทั้ง ตามประกาศสำนักงานเขตบางซื่อ เรื่องขอซื้อที่ดินเพื่อจัดทำเป็นที่จอดรถของทางราชการ ซึ่งมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ไร่ และมีทางเข้าออกสะดวก หาได้ระบุว่า ต้องถึงขนาดเป็นทางาธารณประโยชน์ไม่ และจากถ้อยคำของพยานบุคคลหลายปาก ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นที่ชัดแจ้งว่า ประชาชนและบริษัทผู้ประกอบกิจการ ได้มีการใช้ซอยเรียงปรีชา เป็นทางเข้าออกมาโดยตลอด โดยกรรมการกซช. และกรรมการ ตชซ. พร้อมกับผอ.เขตบางซื่อ ได้ไปลงพื้นที่ตรวจสอบที่ดิน และเห็นว่าที่ดินมีทางเข้าออก จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทักท้วงว่า ที่ดินที่จะซื้อมีทางภาระจำยอมหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลแพ่งว่า ซอยเรียงปรีชา เป็นภาระจำยอมของที่ดิน นายสุพจน์ที่เสนอขาย และโดยที่ที่ดินทั้ง 17 โฉนด มีอาณาเขตติดต่อกัน จึงรับฟังไม่ได้ว่า ที่ดินที่ นายสุพจน์-นางสุณี เสนอขาย ไม่มีทางเข้าออกตามประกาศขอซื้อที่ดินของสำนักงานเขตบางซื่อ แต่ประการใด