วานนี้ (19ก.ย.) ที่ประชุมสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ( สปท.) ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ 2 ฉบับ คือการปฏิรูปมาตรการเสริมสร้างระบบการบริหารงานที่มีธรรมาภิบาลในภาครัฐ และการปฏิรูปมาตรการเสริมสร้างระบบการบริหารงานที่มีธรรมาภิบาลในภาคเอกชน โดยนายอนุสิษฐ์ คุณากร กรรมาธิการฯ กล่าวว่า กมธ.มีข้อเสนอแนะให้กำหนดเป็นนโยบายเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานภาครัฐ ที่จะต้องมีการติดตามประเมินผลทุกหน่วยงาน มีการประเมินตนเอง ผ่านโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของป.ป.ช. รวมทั้งกำหนดบุคคลที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินเพิ่มเติม นอกจากที่กฎหมายกำหนด ประกอบด้วย ผู้บริหารที่มีอำนาจอนุมัติ จัดซื้อจัดจ้าง ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการ (บอร์ด) องค์กรในกำกับของรัฐ องค์การมหาชน หน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นตามพ.ร.บ. เช่น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ คณะกรรมการประกันสังคม รวมไปถึงข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง อนุมัติอนุญาต การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐไปดำรงตำแหน่งต่างๆ
ขณะเดียวกันยังมีข้อเสนอให้ ป.ป.ช. ปรับปรุงแบบแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ให้แสดงข้อมูลรายชื่อบริษัทนอกอาณาเขตที่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนใดส่วนหนึ่ง และการแสดงหลักฐานการจดทะเบียนบริษัท รายงานงบดุลประจำปี หรือรายละเอียดการทำธุรกรรมของบริษัทนอกอาณาเขตดังกล่าวให้ครบถ้วนด้วย
นอกจากนั้นยังมีการกำหนดให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน รวมทั้งสามีหรือภรรยาและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องยื่นบัญชีรายได้ ทรัพย์สินและหนี้สิน ทุก1-3 ปี โดยให้ส่วนราชการต้นสังกัด เป็นผู้ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ เก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มประวัติข้าราชการ และรายงานการยื่นบัญชีของข้าราชการในสังกัดเพื่อเป็นกลกลป้องกันและปราบกรมการทุจริต
นายอนุสิษ์ฐ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ในส่วนการปฏิรูปมาตรการเสริมสร้างระบบการบริหารงานที่มีบรรษัทภิบาลในภาคเอกชน เพื่อเป็นการป้องกันการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากคุณสมบัติผู้เข้าประมูลต้องมีวงเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทแล้ว องค์กรเหล่านั้นต้องได้รับการรับรองเป็นแนวร่วม จากบริษัทหรือองค์กรเอกชนที่กรมบัญชีกลางขึ้นทะเบียนไว้ และเพื่อป้องกันหลีกเลี่ยงภาษีผ่านการทำธุรกรรมกับบริษัทนอกอาณาเขต กำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะทะเบียนในประเทศ เปิดเผยข้อมูลรายชื่อบริษัทนอกอาณาเขตที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนใดส่วนหนึ่ง และแสดงหลักฐานต่อ ปปง. พร้อมทั้งเพิ่มบทลงโทษกรรมการบริษัทกรณีในการเข้าไปรู้ข้อมูลล่วงหน้าอีกด้วย
จากนั้นที่ประชุมได้เปิดให้มีการอภิปรายโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับรายงานทั้ง 2 ฉบับ โดยนายเสรี สุวรรณภานนท์ สปท. กล่าวว่า ในส่วนของการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ข้าราชการใหม่ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วย โดยให้ยื่นไว้ที่หน่วยงานตัวเองจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ เพื่อจะได้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ข้อเสนอที่พยายามวางรูปแบบการตรวจสอบที่ไม่มีในรายงาน คือ เรื่องการตั้งงบประมาณแผ่นดินของแต่ละหน่วยงาน ทำไมจึงมีการคอร์รัปชันมาตลอด แสดงว่า การตั้งงบประมาณดังกล่าวเป็นการตั้งงบประมาณเผื่อโกงได้ เพราะมีพ่อค้าวาณิชออกมาเปิดเผยว่า ถูกเรียกรับเงินจากหน่วยงานราชการ 20-40 % พวกนี้ยอมจ่ายเงินให้ได้งาน ถ้าไม่ตั้งงบเกินจริง จะไปโกงอย่างนี้ได้หรือไม่ ในรายงานควรใส่เรื่องการตั้งงบประมาณเผื่อโกงนี้ไว้ด้วย
ต่อมาที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในรายงานทั้ง 2 ฉบับ โดยกมธ.จะนำความเห็น และข้อเสนอของสมาชิกไปปรับปรุงรายงานก่อนส่งรายงานไปยังประธาน สปท. และครม.ต่อไป
ขณะเดียวกันยังมีข้อเสนอให้ ป.ป.ช. ปรับปรุงแบบแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ให้แสดงข้อมูลรายชื่อบริษัทนอกอาณาเขตที่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนใดส่วนหนึ่ง และการแสดงหลักฐานการจดทะเบียนบริษัท รายงานงบดุลประจำปี หรือรายละเอียดการทำธุรกรรมของบริษัทนอกอาณาเขตดังกล่าวให้ครบถ้วนด้วย
นอกจากนั้นยังมีการกำหนดให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน รวมทั้งสามีหรือภรรยาและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องยื่นบัญชีรายได้ ทรัพย์สินและหนี้สิน ทุก1-3 ปี โดยให้ส่วนราชการต้นสังกัด เป็นผู้ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ เก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มประวัติข้าราชการ และรายงานการยื่นบัญชีของข้าราชการในสังกัดเพื่อเป็นกลกลป้องกันและปราบกรมการทุจริต
นายอนุสิษ์ฐ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ในส่วนการปฏิรูปมาตรการเสริมสร้างระบบการบริหารงานที่มีบรรษัทภิบาลในภาคเอกชน เพื่อเป็นการป้องกันการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากคุณสมบัติผู้เข้าประมูลต้องมีวงเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทแล้ว องค์กรเหล่านั้นต้องได้รับการรับรองเป็นแนวร่วม จากบริษัทหรือองค์กรเอกชนที่กรมบัญชีกลางขึ้นทะเบียนไว้ และเพื่อป้องกันหลีกเลี่ยงภาษีผ่านการทำธุรกรรมกับบริษัทนอกอาณาเขต กำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะทะเบียนในประเทศ เปิดเผยข้อมูลรายชื่อบริษัทนอกอาณาเขตที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนใดส่วนหนึ่ง และแสดงหลักฐานต่อ ปปง. พร้อมทั้งเพิ่มบทลงโทษกรรมการบริษัทกรณีในการเข้าไปรู้ข้อมูลล่วงหน้าอีกด้วย
จากนั้นที่ประชุมได้เปิดให้มีการอภิปรายโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับรายงานทั้ง 2 ฉบับ โดยนายเสรี สุวรรณภานนท์ สปท. กล่าวว่า ในส่วนของการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ข้าราชการใหม่ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วย โดยให้ยื่นไว้ที่หน่วยงานตัวเองจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ เพื่อจะได้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ข้อเสนอที่พยายามวางรูปแบบการตรวจสอบที่ไม่มีในรายงาน คือ เรื่องการตั้งงบประมาณแผ่นดินของแต่ละหน่วยงาน ทำไมจึงมีการคอร์รัปชันมาตลอด แสดงว่า การตั้งงบประมาณดังกล่าวเป็นการตั้งงบประมาณเผื่อโกงได้ เพราะมีพ่อค้าวาณิชออกมาเปิดเผยว่า ถูกเรียกรับเงินจากหน่วยงานราชการ 20-40 % พวกนี้ยอมจ่ายเงินให้ได้งาน ถ้าไม่ตั้งงบเกินจริง จะไปโกงอย่างนี้ได้หรือไม่ ในรายงานควรใส่เรื่องการตั้งงบประมาณเผื่อโกงนี้ไว้ด้วย
ต่อมาที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในรายงานทั้ง 2 ฉบับ โดยกมธ.จะนำความเห็น และข้อเสนอของสมาชิกไปปรับปรุงรายงานก่อนส่งรายงานไปยังประธาน สปท. และครม.ต่อไป