ผู้จัดการรายวัน360 - "บิ๊กต๊อก" เชียร์ใช้กฎหมาย 7 ชั่วโคตร รับบทลงโทษโหดเกิน เตรียมปรับลด ปูดหลังมีข่าวรัฐบาล ดันใช้ก.ม.คนโกงเตรียมใช้นอมินีหลีกเลี่ยง เผยส่งบัญชีขรก.พัวพันทุจริตล็อต 8 ถึงมือนายกฯแล้วไร้ชื่อผู้บริหาร กทม.
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม และในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) กล่าวถึง กรณีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลเตรียมเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวม หรือที่เรียกว่า "กฎหมาย 7 ชั่วโคตร" ซึ่งมีการปรับลดโทษลงมาเหลือ 3-4 ชั่วโคตร ว่า แนวความคิดร่างกฎหมายดังกล่าวมา มีมาตั้งแต่ปี 49-50 แต่ขณะนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากถึงบทลงโทษที่ดูรุนแรงจนเกินไป ย้อนไปถึง 7 ชั่วโคตร โดยเรื่องนี้ต้องมาคุยกัน
ส่วนประเด็นเนื้อหาของร่าง ไม่มีปัญหา และโดยส่วนตัวตนเห็นด้วยกับกฎหมายนี้ แต่สุดท้ายแล้วกฎหมาย ก็เป็นเพียงตัวหนังสือ ทั้งหมดอยู่ที่เจ้าหน้าที่ องค์กร และกฎหมาย และหลังมีข่าวนี้ออกมา เริ่มมีการพูดกันบ้างแล้วที่จะใช้นอมีนี เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายนี้
พล.อ.ไพบูลย์ ยังเปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้ลงนามเสนอบัญชีรายชื่อข้าราชการ ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 8 ส่งถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เพื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว มีรายชื่อประมาณ 20-30 คน ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการท้องถิ่นที่พัวพันทุจริตการสอบ
อย่างไรก็ตามไม่มีรายชื่อผู้บริหารระดับสูงกทม.รวมอยู่ด้วย ตามที่มีกระแสข่าวว่าบัญชีล็อต 8 มีการเสนอชื่อให้ตรวจสอบผู้บริหารระดับสูง กทม. ที่ถูกออกคำสั่ง มาตรา 44 ให้พักงาน จากกรณีข้อกล่าวหาทุจริตโครงการไฟตกแต่งของกทม. มูลค่าสูงถึง 39.5 ล้านบาท แต่อาจอยู่ในขั้นการตรวจสอบของเลขานุการ ศอตช.
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม และในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) กล่าวถึง กรณีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลเตรียมเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวม หรือที่เรียกว่า "กฎหมาย 7 ชั่วโคตร" ซึ่งมีการปรับลดโทษลงมาเหลือ 3-4 ชั่วโคตร ว่า แนวความคิดร่างกฎหมายดังกล่าวมา มีมาตั้งแต่ปี 49-50 แต่ขณะนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากถึงบทลงโทษที่ดูรุนแรงจนเกินไป ย้อนไปถึง 7 ชั่วโคตร โดยเรื่องนี้ต้องมาคุยกัน
ส่วนประเด็นเนื้อหาของร่าง ไม่มีปัญหา และโดยส่วนตัวตนเห็นด้วยกับกฎหมายนี้ แต่สุดท้ายแล้วกฎหมาย ก็เป็นเพียงตัวหนังสือ ทั้งหมดอยู่ที่เจ้าหน้าที่ องค์กร และกฎหมาย และหลังมีข่าวนี้ออกมา เริ่มมีการพูดกันบ้างแล้วที่จะใช้นอมีนี เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายนี้
พล.อ.ไพบูลย์ ยังเปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้ลงนามเสนอบัญชีรายชื่อข้าราชการ ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 8 ส่งถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เพื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว มีรายชื่อประมาณ 20-30 คน ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการท้องถิ่นที่พัวพันทุจริตการสอบ
อย่างไรก็ตามไม่มีรายชื่อผู้บริหารระดับสูงกทม.รวมอยู่ด้วย ตามที่มีกระแสข่าวว่าบัญชีล็อต 8 มีการเสนอชื่อให้ตรวจสอบผู้บริหารระดับสูง กทม. ที่ถูกออกคำสั่ง มาตรา 44 ให้พักงาน จากกรณีข้อกล่าวหาทุจริตโครงการไฟตกแต่งของกทม. มูลค่าสูงถึง 39.5 ล้านบาท แต่อาจอยู่ในขั้นการตรวจสอบของเลขานุการ ศอตช.