ผู้ถือหุ้น GREEN โวยบอร์ดพฤติกรรมมีพิรุธ ทำบริษัทเจ๊ง 3 ปีติด ปูดมีมติลงทุนหลายโครงการไม่เหมาะสม ไม่ขอมติผู้ถือหุ้น วอน ก.ล.ต.เข้าตรวจสอบ
ผู้สื่อข่าว MGR Online ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มผู้ถือหุ้น บริษัท กรีน รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) (GREEN) ถึงพฤติกรรมของคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ที่ส่อไปในทางประมาทเลินเล่อ และอาจขัดต่อระเบียบข้อบังคับในการกำกับดูแลกิจการที่ดีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า GREEN มีผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งยังมีการลงทุนในหลายโครงการที่ส่งผลเสียหายต่อบริษัท อาทิ เมื่อเดือน ต.ค.2556 ซึ่งช่วงนั้นยังใช้ชื่อ บริษัท เอเชีย คอร์ปอเรท ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ACD) บอร์ดได้อนุมัติการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารที่พักอาศัยโครงการตักสิลา มหาสารคาม มูลค่า 128 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาประเมินกว่าร้อยละ 20 หรือ 106.2 ล้านบาท โดยอ้างว่าเพื่อพัฒนาปรับปรุงเป็นคอนโดมีเนียมสำหรับจำหน่าย
ยังมีการระบุว่าบริษัทจะนำเงินไปใช้ลงทุนในโครงการตัดสิลา ประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งทำให้มีมูลค่าเกินร้อยละ 50 ของงบการเงินในช่วงนั้นของบริษัท เข้าข่ายการขัดหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต.กำหนด เนื่องจากยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2557 ได้ให้ข่าวผ่านสื่อมวลชนว่า ได้มียอดจองห้องพัก 150 จาก 300 ห้อง และจะจำหน่ายหมดทั้ง 300 ห้องภายในปี 2557 แต่ปรากฎว่าจนถึงไตรมาส 4 ของปี 2558 เพียงแค่อาคารแรกที่มี 75 ห้องก็ยังจำหน่ายไม่หมด โดยระบุรายได้ในงบการเงินไตรมาส 4 ของปี 2558 ว่ามีรายได้จากการขายคอนโดเพียง 9.5 ล้านบาท แต่ระบุต้นทุนขาย 11.9 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการขายอีก 10.3 ล้านบาท
“หลังจากที่บริษัทออกข่าวเมื่อไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 อาจทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด สะท้อนให้เห็นผ่านราคาหุ้นที่ผันผวนเป็นอย่างมากในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 ซึ่งมีราคาต่ำสุด 1.67 บาทต่อหุ้น และปิดสูงสุด 12.20 บาทต่อหุ้น” ผู้ถือหุ้น GREEN ระบุ
นอกจากนี้ ช่วงเดือน พ.ย.2556 บอร์ดก็ได้มีมติซื้อที่ดินว่างเปล่าจำนวน 17 ไร่ ที่ จ.มหาสารคาม ในราคา 152 ล้านบาท ทั้งที่ยังไม่ได้มีการประเมินราคา โดยอ้างว่าจะทำโครงการคอนโดมีเนียมเพื่อจำหน่ายอีกเช่นกัน ภายหลังบอร์ดอนุมัติเพียงสัปดาห์เดียวก็ได้ทำสัญญาชำระเงินมัดจำเป็นเงิน 31 ล้านบาทแบ่งชำระเป็น 3 งวด และเมื่อรวมกับโครงการตักสิลาซื้อซื้อมาก่อนหน้านั้นราว 6 เดือน ทำให้เงินลงทุนในส่วนนี้มีมูลค่าร้อยละ 80.86 ของงบการเงิน แต่ก็ไม่มีการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นแต่ประการใด และเมื่อคำนวณต้นทุนการทำคอนโดมีเนียมบนที่ดิน 17 ไร่ ก็จะสูงกว่าสินทรัพย์ของบริษัทในงบการเงินอีกด้วย พอถึงช่วงไตรมาส 1 ของปี 2557 ได้มีหนังสือกำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยมีการนำวาระเรื่องการลงทุนในโครงการตักสิลา และโครงการที่ดิน 17 ไร่ บรรจุไว้ด้วย แต่เมื่อถึงวันประชุมบอร์ดก็อ้างว่ายังติดขัดในเรื่องเอกสารและไม่พร้อมด้านข้อมูล จึงขอเลื่อนวาระออกไปก่อน
อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2557 บอร์ดกลับอนุมัติเงินมัดจำสำหรับที่ดิน 17 ไร่อีก 25 ล้านบาท โดยอ้างว่าบริษัทจะได้ส่วนลดค่าที่ดิน 20 ล้านบาท พร้อมยืนยันว่า บริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการลงทุน
“พอมาถึงเดือน ธ.ค.2557 บริษัทกลับมีหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บอร์ดได้มีมติยกเลิกการลงทุน เพราะสถานะของบริษัทไม่สามารถลงทุนพัฒนาโครงการต่อไปได้ และจะทำให้ถูกริบเงินมัดจำ บอร์ดจึงได้ตกลงโอนขายสิทธิเงินมัดจำให้แก่ บริษัท วี.พี.เค.เรียลเอสเตท จำกัด ในมูลค่า 56 ล้านบาท โดยแบ่งชำระเป็น 2 งวด ซึ่งถือเป็นการทำให้บริษัทเสียหาย จนเข้าข่ายประมาทหรือจงใจกระทำการที่ไม่เหมาะสม” ผู้ถือหุ้นระบุ
ทั้งนี้ เมื่อเดือน ส.ค.2558 ริษัทยังได้เข้าทำสัญญาวางเงินประกันจำนวน 35 ล้านบาท เพื่อศึกษาโครงการอพาร์ทเมนท์ของโครงการ เดอะ โนเบิล อพาร์ทเมนท์ ที่ จ.เชียงใหม่ ทั้งที่ยังไม่มีเอกสารที่ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตของงาน จนผู้ตรวจสอบบัญชีระบุว่า ขั้นตอนการวางเงนประกันไม่รัดกุมและจำนวนเงินสูงเกินความเป็นจริง ท้ายที่สุดเมื่อเกือน ก.พ.2559 บอร์ดจึงมีมติไม่ลงทุน และขอคืนเงินประกันจากโครงการดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ได้รับคืน โดยระบุในงบการเงินแบบย่อไตรมาส 1 ของปี 2559 ว่าอยู่ในระหว่างการดำเนินการฟ้องร้อง
“ตามงบการเงินล่าสุด ไตรมาส 2 ของปี 2559 บริษัทมีเงินสดและเทียบเท่าประมาณ 169 ล้านบาท เป็นเงินฝากประจำ 150 ล้านบาท และมีรายได้จากการทยอยโอนขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดโครงการ Origins ซึ่งกลุ่มผู้ถือหุ้นเกรงว่าหากมีการกระทำเช่นที่ผ่านมา นำเงินไปลงทุนในโครงการที่ไม่เหมาะสมจะสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทและผู้ถือหุ้นทุกราย จึงได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการ ก.ล.ต.เพื่อให้ตรวจสอบการบริหารของ GREEN ไปเมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา” ผู้ถือหุ้น กล่าว.
ผู้สื่อข่าว MGR Online ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มผู้ถือหุ้น บริษัท กรีน รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) (GREEN) ถึงพฤติกรรมของคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ที่ส่อไปในทางประมาทเลินเล่อ และอาจขัดต่อระเบียบข้อบังคับในการกำกับดูแลกิจการที่ดีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า GREEN มีผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งยังมีการลงทุนในหลายโครงการที่ส่งผลเสียหายต่อบริษัท อาทิ เมื่อเดือน ต.ค.2556 ซึ่งช่วงนั้นยังใช้ชื่อ บริษัท เอเชีย คอร์ปอเรท ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ACD) บอร์ดได้อนุมัติการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารที่พักอาศัยโครงการตักสิลา มหาสารคาม มูลค่า 128 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาประเมินกว่าร้อยละ 20 หรือ 106.2 ล้านบาท โดยอ้างว่าเพื่อพัฒนาปรับปรุงเป็นคอนโดมีเนียมสำหรับจำหน่าย
ยังมีการระบุว่าบริษัทจะนำเงินไปใช้ลงทุนในโครงการตัดสิลา ประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งทำให้มีมูลค่าเกินร้อยละ 50 ของงบการเงินในช่วงนั้นของบริษัท เข้าข่ายการขัดหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต.กำหนด เนื่องจากยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2557 ได้ให้ข่าวผ่านสื่อมวลชนว่า ได้มียอดจองห้องพัก 150 จาก 300 ห้อง และจะจำหน่ายหมดทั้ง 300 ห้องภายในปี 2557 แต่ปรากฎว่าจนถึงไตรมาส 4 ของปี 2558 เพียงแค่อาคารแรกที่มี 75 ห้องก็ยังจำหน่ายไม่หมด โดยระบุรายได้ในงบการเงินไตรมาส 4 ของปี 2558 ว่ามีรายได้จากการขายคอนโดเพียง 9.5 ล้านบาท แต่ระบุต้นทุนขาย 11.9 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการขายอีก 10.3 ล้านบาท
“หลังจากที่บริษัทออกข่าวเมื่อไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 อาจทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด สะท้อนให้เห็นผ่านราคาหุ้นที่ผันผวนเป็นอย่างมากในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 ซึ่งมีราคาต่ำสุด 1.67 บาทต่อหุ้น และปิดสูงสุด 12.20 บาทต่อหุ้น” ผู้ถือหุ้น GREEN ระบุ
นอกจากนี้ ช่วงเดือน พ.ย.2556 บอร์ดก็ได้มีมติซื้อที่ดินว่างเปล่าจำนวน 17 ไร่ ที่ จ.มหาสารคาม ในราคา 152 ล้านบาท ทั้งที่ยังไม่ได้มีการประเมินราคา โดยอ้างว่าจะทำโครงการคอนโดมีเนียมเพื่อจำหน่ายอีกเช่นกัน ภายหลังบอร์ดอนุมัติเพียงสัปดาห์เดียวก็ได้ทำสัญญาชำระเงินมัดจำเป็นเงิน 31 ล้านบาทแบ่งชำระเป็น 3 งวด และเมื่อรวมกับโครงการตักสิลาซื้อซื้อมาก่อนหน้านั้นราว 6 เดือน ทำให้เงินลงทุนในส่วนนี้มีมูลค่าร้อยละ 80.86 ของงบการเงิน แต่ก็ไม่มีการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นแต่ประการใด และเมื่อคำนวณต้นทุนการทำคอนโดมีเนียมบนที่ดิน 17 ไร่ ก็จะสูงกว่าสินทรัพย์ของบริษัทในงบการเงินอีกด้วย พอถึงช่วงไตรมาส 1 ของปี 2557 ได้มีหนังสือกำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยมีการนำวาระเรื่องการลงทุนในโครงการตักสิลา และโครงการที่ดิน 17 ไร่ บรรจุไว้ด้วย แต่เมื่อถึงวันประชุมบอร์ดก็อ้างว่ายังติดขัดในเรื่องเอกสารและไม่พร้อมด้านข้อมูล จึงขอเลื่อนวาระออกไปก่อน
อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2557 บอร์ดกลับอนุมัติเงินมัดจำสำหรับที่ดิน 17 ไร่อีก 25 ล้านบาท โดยอ้างว่าบริษัทจะได้ส่วนลดค่าที่ดิน 20 ล้านบาท พร้อมยืนยันว่า บริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการลงทุน
“พอมาถึงเดือน ธ.ค.2557 บริษัทกลับมีหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บอร์ดได้มีมติยกเลิกการลงทุน เพราะสถานะของบริษัทไม่สามารถลงทุนพัฒนาโครงการต่อไปได้ และจะทำให้ถูกริบเงินมัดจำ บอร์ดจึงได้ตกลงโอนขายสิทธิเงินมัดจำให้แก่ บริษัท วี.พี.เค.เรียลเอสเตท จำกัด ในมูลค่า 56 ล้านบาท โดยแบ่งชำระเป็น 2 งวด ซึ่งถือเป็นการทำให้บริษัทเสียหาย จนเข้าข่ายประมาทหรือจงใจกระทำการที่ไม่เหมาะสม” ผู้ถือหุ้นระบุ
ทั้งนี้ เมื่อเดือน ส.ค.2558 ริษัทยังได้เข้าทำสัญญาวางเงินประกันจำนวน 35 ล้านบาท เพื่อศึกษาโครงการอพาร์ทเมนท์ของโครงการ เดอะ โนเบิล อพาร์ทเมนท์ ที่ จ.เชียงใหม่ ทั้งที่ยังไม่มีเอกสารที่ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตของงาน จนผู้ตรวจสอบบัญชีระบุว่า ขั้นตอนการวางเงนประกันไม่รัดกุมและจำนวนเงินสูงเกินความเป็นจริง ท้ายที่สุดเมื่อเกือน ก.พ.2559 บอร์ดจึงมีมติไม่ลงทุน และขอคืนเงินประกันจากโครงการดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ได้รับคืน โดยระบุในงบการเงินแบบย่อไตรมาส 1 ของปี 2559 ว่าอยู่ในระหว่างการดำเนินการฟ้องร้อง
“ตามงบการเงินล่าสุด ไตรมาส 2 ของปี 2559 บริษัทมีเงินสดและเทียบเท่าประมาณ 169 ล้านบาท เป็นเงินฝากประจำ 150 ล้านบาท และมีรายได้จากการทยอยโอนขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดโครงการ Origins ซึ่งกลุ่มผู้ถือหุ้นเกรงว่าหากมีการกระทำเช่นที่ผ่านมา นำเงินไปลงทุนในโครงการที่ไม่เหมาะสมจะสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทและผู้ถือหุ้นทุกราย จึงได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการ ก.ล.ต.เพื่อให้ตรวจสอบการบริหารของ GREEN ไปเมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา” ผู้ถือหุ้น กล่าว.