วานนี้ (25 ส.ค.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีการพิจารณากระบวนการถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ออกจากตำแหน่ง รมว.กลาโหม ข้อหาใช้สถานะหรือตำแหน่ง ก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล เข้าไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมโดยมิชอบ เพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น และพรรคการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ขัดต่อ ม. 268 รธน.ปี 50 ประกอบ ม.266 (1)(2) และฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามระเบียบสำนักนายกฯ ประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง ข้อ 15 พ.ศ. 2551 มีมูลส่อว่า จงใจในการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรธน.ปี 50 และขัดต่อมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช. ปี 2542 ด้วย
ทั้งนี้ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. แถลงเปิดสำนวนว่า เมื่อ 25 ก.ค.55 พล.อ.อ.สุกำพลได้นำ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. เข้าพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ เพื่อให้สนับสนุนเป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาวันที่ 17 ส.ค.55 เวลา 10.00 น.ได้มีการเสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์ โดยไม่ได้มีการพิจารณาของคณะกรรมการสำนักงานปลัดกห. แต่มาพิจารณาในตอนบ่าย และมีการรับรองชื่อในวันที่ 20 ส.ค. ถือเป็นการแทรกแซง และไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 25 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 และ ข้อบังคับว่าด้วยการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของกระทรวงกลาโหม ในข้อที่ 11 ซึ่งพล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดฯกลาโหม ได้มีหนังสือทักท้วงไปว่าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กระทรวงกลาโหมกำหนดไว้ เนื่องจากพล.อ.ทนงศักดิ์ สังกัดกองทัพบก ตามข้อบังคับการแต่งตั้งของกระทรวงกลาโหม จากส่วนราชการหนึ่ง ไปอีกส่วนราชการหนึ่ง ต้องให้หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทำการตกลงกัน แต่ปรากฏว่าไม่มีการตกลงใดๆทั้งสิ้น
"ตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่มีอยู่ มุ่งทำให้เกิดดุลภาพ ในเรื่องการบริหารกอง ทัพ ทั้งเรื่องการแต่งตั้งและห้ามเข้ามาล้วงลูกการแต่งตั้งโยกย้าย แต่การกระทำที่กล่าวมาข้างต้น ชี้ให้เห็นเจตนาอย่างชัดเจนว่า พล.อ.อ.สุกำพล ใช้ตำแหน่งรัฐมนตรีเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงในหน้าที่ประจำของข้าราชการ ซึ่งไม่ใช่นโยบาย เป็นการปฏิบัติที่ผิดหลักการการบริหารที่ดี ย่อมทำให้รธน.ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศขาดความศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจใช้บังคับได้ผล เป็นการทำลายความเชื่อมั่น และศรัทธาของประชาชน เป็นการทำลายระเบียบ มาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงสมควรถูกถอดถอน และตัดสิทธิ์การดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี" น.ส.สุภา กล่าว
จากนั้นพล.อ.อ.สุกำพล แถลงเปิดสำนวนตอนหนึ่งว่า ในกรณีการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ในวาระ ต.ค. 55 ซึ่งข้อกฎหมาย และข้อบังคับ ก็ตรงกับ ป.ป.ช. 2 ฉบับ นั่นคือ ยึดการประชุมของคณะกรรมการระดับกระทรวงกลาโหม ที่ ตนเป็นประธาน โดยกลาโหมขอให้หน่วยที่ขึ้นตรงต่างๆ ส่งรายชื่อนายทหารทั้งหมดที่จะโยกย้าย ให้มาถึงที่สำนักงานปลัดกลาโหม ภายในวันที่ 15 ส.ค.55 แต่เมื่อถึงกำหนด ก็ไม่มีหน่วยไหนส่งรายชื่อมาเลย แม้แต่สำนักงานปลัดกลาโหม ก็ไม่มี จึงเป็นจุดสำคัญที่ตนต้องตัดสินใจ เพราะวาระการแต่งตั้งโยกย้ายในเดือน ส.ค. น่าจะไม่เสร็จทันตามกำหนด ที่จะต้องทำให้เสร็จเพื่อส่งให้สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินต่อ ซึ่งหน่วยต่างๆ จะต้องส่งรายชื่อมายังตน วันที่ 3 ก.ย.55 ซึ่งมีเวลาให้ตนพิจารณาเพียง 5 วัน ตนจึงตัดสินใจนัดประชุม โดยให้ปลัดฯ กลาโหม นัดประชุมด้วยวาจา ในวันที่ 17 ส.ค. 55 เวลา 10.00 น. และเป็นรับทราบ ทั้งหมด เว้นแต่ ผบ.ทอ. เท่านั้นที่ไปราชการต่างประเทศ จึงไม่ได้เข้าร่วมประชุม ซึ่งตนได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า อยากหาข้อยุติในเรื่องปลัดกลาโหม เพียงวาระเดียว เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในส่วนนี้ โดยมีการแจ้งชัดเจนว่าไม่ให้จดบันทึกการประชุม เพราะมีวาระเดียวจำเอาไว้ และป้องกับความลับรั่วออกไป เพราะรั่วทุกปี
ทั้งนี้ พล.อ.อ.สุกำพล โต้แย้งข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. ใน 6 ประเด็น คือ
1. ป.ป.ช. กล่าวหาว่า การแต่งตั้งในวันที่ 17 ส.ค.55 ไม่ถือเป็นการประชุมนั้น ยืนยันว่า การประชุมดังกล่าว เป็นการประชุมที่ครบองค์ประชุม เพื่อพิจารณาตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม เพียงตำแหน่ง โดยตนเสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ซึ่งเป็น ผช.ผบ.ทบ. เป็นปลัด ส่วนพล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกลาโหม ในขณะนั้น เสนอ พล.อ.ชาตรี ทัตติ รองปลัดกลาโหม ซึ่งตนได้ถามที่ประชุมทีละคนว่าจะเลือกใคร ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 4 ต่อ 1 เห็นชอบ พล.อ.ทนงศักดิ์ เป็นปลัดกลาโหม ตามที่ตนเสนอ
"ผมยอมรับว่า ได้พูดว่า พล.อ.เสถียร ส่งใครมา ผมจะเปลี่ยนทั้งหมดจริง แต่เป็นการพูดภายหลังจากมีมติ 4 ต่อ 1 แล้ว และผบ.ทุกเหล่าทัพก็ยืนยันกับประชาชน ว่า เป็นการประชุมที่ถูกต้อง ที่ชอบด้วยข้อบังคับทุกประการ แต่ ป.ป.ช. กลับไม่ฟัง ไปฟังคนที่ไม่เข้าประชุม และการที่ป.ป.ช. บอกว่า ตำแหน่งปลัดกลาโหม ไม่ขึ้นตรงกับรมว.กลาโหม ขอถามว่าแล้วจะขึ้นกับใคร การที่ประชาชนระบุการประชุมเพื่อแต่งตั้งโยกย้าย ต้องจัดทำบัญชีรายชื่อทุกตำแหน่งเป็นบัญชีเดียว ซึ่งกฎระเบียบข้อบังคับ ไม่ได้กำหนดให้ต้องมีบัญชีรายชื่อเป็นบัญชีเดียวกัน ตั้งแต่การประชุมครั้งแรก แต่การประชุมครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 55 มีรายชื่อบัญชีรายทุกตำแหน่งในบัญชีเดียวกันครบตามที่กำหนด"
พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวอีกว่า 4. ป.ป.ช.กล่าวหาว่า การแต่งตั้งปลัดกลาโหม ไม่เป็นไปตามข้อบังคับนั้น ยืนยันว่า การประชุมครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 55 เป็นไปตามข้อบังคับทุกประการ และองค์ประกอบครบ โดยที่ประชุมมีมติ 4 ต่อ 1 เห็นชอบ พล.อ.ทนงศักดิ์ เป็นปลัดกลาโหมแล้ว 5. ป.ป.ช. กล่าวหาว่า การแต่งตั้งจะข้ามส่วนราชการไม่ได้นั้น ตนยืนยันว่า องค์ประชุมในวันนั้น มีองค์ประกอบจากทุกส่วนราชการของกลาโหม มาร่วมประชุมแล้ว และที่ประชุมมีมติในเรื่องบุคคล อีกทั้งรักษาปลัดกลาโหม ในขณะก็ได้มีหนังสือขอตัวพล.อ.ทนงศักดิ์ จาก ทบ. เพื่อโอนย้ายมาสังกัด สำนักงานปลัดกลาโหม แล้วด้วย และ 6. ป.ป.ช. กล่าวหาการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล รวมถึงปลัดกลาโหม ให้พิจารณาตัวบุคคลในส่วนราชการนั้นๆ เป็นลำดับแรกก่อน ตนขอยืนว่า ในการประชุมวันที่ 17 ส.ค. 55 คนเสนอชื่อ 2 คน ให้ที่ประชุมพิจารณา คนหนึ่งมาจากทบ. อีกคนมาจากสำนักงาน ปลัดกห. ซึ่งการพิจารณาความเหมาะสมต้องให้เกียรติคณะกรรมการที่พิจารณา ซึ่งพิจารณาว่า พล.อ.ทนงศักดิ์ เหมาะสม คนเป็นฝ่ายการเมืองเพียงเสียงเดียวไม่สามารถไปสั่งใครได้ ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องคณะกรรมการ ไม่ใช่เรื่องของตน
"หากสนช.สงสัย ว่าสิ่งที่ผมพูดจริงหรือไม่ ขอให้สอบถามกับพล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ อดีต ผบ.ทร ซึ่งเป็นสนช.ในขณะนี้ดูก็ได้ เพราะท่าน นั่งประชุมร่วมกับผม ทั้งวันที่ 17 ส.ค. และ 5 ก.ย. 55 หรือจะถาม พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ อดีต ผบ.ทอ. ก็เป็น สนช.อยู่ด้วยก็ได้ ส่วนที่กล่าวหาที่ว่า ผมพาพล.อ.ทนงศักดิ์ กับ พล.อ.ประจิน จั่นตอง ไปพบนายกฯ ก็เพราะอยากรู้จักเท่านั้นเอง ที่ผ่านมารู้จัก แต่ 5 เสือ ไม่รู้จักเสือตัวเล็กๆ เลย และหลังเข้าพบ ก็ไม่ปิดบังอะไร นักข่าวเห็นหมด ทั้ง 2 ท่านให้การกับป.ป.ช. ว่า นายกฯ ก็ไม่ได้พูดเรื่องการแต่งตั้งเลย" พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว
จากนั้น นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานในการประชุม ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม จำนวน 7 คน พร้อมกำหนดวันประชุมเพื่อซักถามถามคู่กรณี วันที่ 9 ก.ย. เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป
ทั้งนี้ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. แถลงเปิดสำนวนว่า เมื่อ 25 ก.ค.55 พล.อ.อ.สุกำพลได้นำ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. เข้าพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ เพื่อให้สนับสนุนเป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาวันที่ 17 ส.ค.55 เวลา 10.00 น.ได้มีการเสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์ โดยไม่ได้มีการพิจารณาของคณะกรรมการสำนักงานปลัดกห. แต่มาพิจารณาในตอนบ่าย และมีการรับรองชื่อในวันที่ 20 ส.ค. ถือเป็นการแทรกแซง และไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 25 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 และ ข้อบังคับว่าด้วยการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของกระทรวงกลาโหม ในข้อที่ 11 ซึ่งพล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดฯกลาโหม ได้มีหนังสือทักท้วงไปว่าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กระทรวงกลาโหมกำหนดไว้ เนื่องจากพล.อ.ทนงศักดิ์ สังกัดกองทัพบก ตามข้อบังคับการแต่งตั้งของกระทรวงกลาโหม จากส่วนราชการหนึ่ง ไปอีกส่วนราชการหนึ่ง ต้องให้หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทำการตกลงกัน แต่ปรากฏว่าไม่มีการตกลงใดๆทั้งสิ้น
"ตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่มีอยู่ มุ่งทำให้เกิดดุลภาพ ในเรื่องการบริหารกอง ทัพ ทั้งเรื่องการแต่งตั้งและห้ามเข้ามาล้วงลูกการแต่งตั้งโยกย้าย แต่การกระทำที่กล่าวมาข้างต้น ชี้ให้เห็นเจตนาอย่างชัดเจนว่า พล.อ.อ.สุกำพล ใช้ตำแหน่งรัฐมนตรีเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงในหน้าที่ประจำของข้าราชการ ซึ่งไม่ใช่นโยบาย เป็นการปฏิบัติที่ผิดหลักการการบริหารที่ดี ย่อมทำให้รธน.ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศขาดความศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจใช้บังคับได้ผล เป็นการทำลายความเชื่อมั่น และศรัทธาของประชาชน เป็นการทำลายระเบียบ มาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงสมควรถูกถอดถอน และตัดสิทธิ์การดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี" น.ส.สุภา กล่าว
จากนั้นพล.อ.อ.สุกำพล แถลงเปิดสำนวนตอนหนึ่งว่า ในกรณีการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ในวาระ ต.ค. 55 ซึ่งข้อกฎหมาย และข้อบังคับ ก็ตรงกับ ป.ป.ช. 2 ฉบับ นั่นคือ ยึดการประชุมของคณะกรรมการระดับกระทรวงกลาโหม ที่ ตนเป็นประธาน โดยกลาโหมขอให้หน่วยที่ขึ้นตรงต่างๆ ส่งรายชื่อนายทหารทั้งหมดที่จะโยกย้าย ให้มาถึงที่สำนักงานปลัดกลาโหม ภายในวันที่ 15 ส.ค.55 แต่เมื่อถึงกำหนด ก็ไม่มีหน่วยไหนส่งรายชื่อมาเลย แม้แต่สำนักงานปลัดกลาโหม ก็ไม่มี จึงเป็นจุดสำคัญที่ตนต้องตัดสินใจ เพราะวาระการแต่งตั้งโยกย้ายในเดือน ส.ค. น่าจะไม่เสร็จทันตามกำหนด ที่จะต้องทำให้เสร็จเพื่อส่งให้สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินต่อ ซึ่งหน่วยต่างๆ จะต้องส่งรายชื่อมายังตน วันที่ 3 ก.ย.55 ซึ่งมีเวลาให้ตนพิจารณาเพียง 5 วัน ตนจึงตัดสินใจนัดประชุม โดยให้ปลัดฯ กลาโหม นัดประชุมด้วยวาจา ในวันที่ 17 ส.ค. 55 เวลา 10.00 น. และเป็นรับทราบ ทั้งหมด เว้นแต่ ผบ.ทอ. เท่านั้นที่ไปราชการต่างประเทศ จึงไม่ได้เข้าร่วมประชุม ซึ่งตนได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า อยากหาข้อยุติในเรื่องปลัดกลาโหม เพียงวาระเดียว เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในส่วนนี้ โดยมีการแจ้งชัดเจนว่าไม่ให้จดบันทึกการประชุม เพราะมีวาระเดียวจำเอาไว้ และป้องกับความลับรั่วออกไป เพราะรั่วทุกปี
ทั้งนี้ พล.อ.อ.สุกำพล โต้แย้งข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. ใน 6 ประเด็น คือ
1. ป.ป.ช. กล่าวหาว่า การแต่งตั้งในวันที่ 17 ส.ค.55 ไม่ถือเป็นการประชุมนั้น ยืนยันว่า การประชุมดังกล่าว เป็นการประชุมที่ครบองค์ประชุม เพื่อพิจารณาตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม เพียงตำแหน่ง โดยตนเสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ซึ่งเป็น ผช.ผบ.ทบ. เป็นปลัด ส่วนพล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกลาโหม ในขณะนั้น เสนอ พล.อ.ชาตรี ทัตติ รองปลัดกลาโหม ซึ่งตนได้ถามที่ประชุมทีละคนว่าจะเลือกใคร ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 4 ต่อ 1 เห็นชอบ พล.อ.ทนงศักดิ์ เป็นปลัดกลาโหม ตามที่ตนเสนอ
"ผมยอมรับว่า ได้พูดว่า พล.อ.เสถียร ส่งใครมา ผมจะเปลี่ยนทั้งหมดจริง แต่เป็นการพูดภายหลังจากมีมติ 4 ต่อ 1 แล้ว และผบ.ทุกเหล่าทัพก็ยืนยันกับประชาชน ว่า เป็นการประชุมที่ถูกต้อง ที่ชอบด้วยข้อบังคับทุกประการ แต่ ป.ป.ช. กลับไม่ฟัง ไปฟังคนที่ไม่เข้าประชุม และการที่ป.ป.ช. บอกว่า ตำแหน่งปลัดกลาโหม ไม่ขึ้นตรงกับรมว.กลาโหม ขอถามว่าแล้วจะขึ้นกับใคร การที่ประชาชนระบุการประชุมเพื่อแต่งตั้งโยกย้าย ต้องจัดทำบัญชีรายชื่อทุกตำแหน่งเป็นบัญชีเดียว ซึ่งกฎระเบียบข้อบังคับ ไม่ได้กำหนดให้ต้องมีบัญชีรายชื่อเป็นบัญชีเดียวกัน ตั้งแต่การประชุมครั้งแรก แต่การประชุมครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 55 มีรายชื่อบัญชีรายทุกตำแหน่งในบัญชีเดียวกันครบตามที่กำหนด"
พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวอีกว่า 4. ป.ป.ช.กล่าวหาว่า การแต่งตั้งปลัดกลาโหม ไม่เป็นไปตามข้อบังคับนั้น ยืนยันว่า การประชุมครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 55 เป็นไปตามข้อบังคับทุกประการ และองค์ประกอบครบ โดยที่ประชุมมีมติ 4 ต่อ 1 เห็นชอบ พล.อ.ทนงศักดิ์ เป็นปลัดกลาโหมแล้ว 5. ป.ป.ช. กล่าวหาว่า การแต่งตั้งจะข้ามส่วนราชการไม่ได้นั้น ตนยืนยันว่า องค์ประชุมในวันนั้น มีองค์ประกอบจากทุกส่วนราชการของกลาโหม มาร่วมประชุมแล้ว และที่ประชุมมีมติในเรื่องบุคคล อีกทั้งรักษาปลัดกลาโหม ในขณะก็ได้มีหนังสือขอตัวพล.อ.ทนงศักดิ์ จาก ทบ. เพื่อโอนย้ายมาสังกัด สำนักงานปลัดกลาโหม แล้วด้วย และ 6. ป.ป.ช. กล่าวหาการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล รวมถึงปลัดกลาโหม ให้พิจารณาตัวบุคคลในส่วนราชการนั้นๆ เป็นลำดับแรกก่อน ตนขอยืนว่า ในการประชุมวันที่ 17 ส.ค. 55 คนเสนอชื่อ 2 คน ให้ที่ประชุมพิจารณา คนหนึ่งมาจากทบ. อีกคนมาจากสำนักงาน ปลัดกห. ซึ่งการพิจารณาความเหมาะสมต้องให้เกียรติคณะกรรมการที่พิจารณา ซึ่งพิจารณาว่า พล.อ.ทนงศักดิ์ เหมาะสม คนเป็นฝ่ายการเมืองเพียงเสียงเดียวไม่สามารถไปสั่งใครได้ ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องคณะกรรมการ ไม่ใช่เรื่องของตน
"หากสนช.สงสัย ว่าสิ่งที่ผมพูดจริงหรือไม่ ขอให้สอบถามกับพล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ อดีต ผบ.ทร ซึ่งเป็นสนช.ในขณะนี้ดูก็ได้ เพราะท่าน นั่งประชุมร่วมกับผม ทั้งวันที่ 17 ส.ค. และ 5 ก.ย. 55 หรือจะถาม พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ อดีต ผบ.ทอ. ก็เป็น สนช.อยู่ด้วยก็ได้ ส่วนที่กล่าวหาที่ว่า ผมพาพล.อ.ทนงศักดิ์ กับ พล.อ.ประจิน จั่นตอง ไปพบนายกฯ ก็เพราะอยากรู้จักเท่านั้นเอง ที่ผ่านมารู้จัก แต่ 5 เสือ ไม่รู้จักเสือตัวเล็กๆ เลย และหลังเข้าพบ ก็ไม่ปิดบังอะไร นักข่าวเห็นหมด ทั้ง 2 ท่านให้การกับป.ป.ช. ว่า นายกฯ ก็ไม่ได้พูดเรื่องการแต่งตั้งเลย" พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว
จากนั้น นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานในการประชุม ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม จำนวน 7 คน พร้อมกำหนดวันประชุมเพื่อซักถามถามคู่กรณี วันที่ 9 ก.ย. เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป