อ.ธนกฤต มีสมจิตร์ ที่ปรึกษาการมีส่วนร่วม โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กล่าวว่า คณะทำงานจาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ได้ลงพื้นที่ พบปะหารือกับชุมชนหมู่บ้านมัสยิดดารุลอิหซาน เพื่อเสนอแบบเบื้องต้นจากการประชุมกับชุมชนครั้งก่อน โดย ชาวชุมชนได้แสดงความเห็นในการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น อยากให้พัฒนาทางเข้าหมู่บ้านเชื่อมจากสถานีรถไฟฟ้า BTS บางอ้อ เข้ากับทางเดินริมน้ำ เพื่อให้ชาวหมู่บ้านสามารถเดินเข้าหมู่บ้านได้สะดวก ปลอดภัย เสนอแนะที่ตั้งของทางเดินริมน้ำ ควรเว้นระยะห่างจากฝั่งมากกว่า 6 เมตร เนื่องจากวิถีมุสลิมต้องการความสงบเป็นส่วนตัว ศาลาท่าน้ำออกแบบให้รับกับสถาปัตยกรรมของมัสยิด และอยู่ในแนวทางเดินริมน้ำเพื่อชาวหมู่บ้านใช้ประโยชน์พักคอยเรือ หรือพักผ่อนได้ โดยทางเดินริมน้ำควรเชื่อมต่อ 2 จุด คือที่ปากคลอง เพื่อการสัญจรที่สะดวกของชาวหมู่บ้าน อีกจุดหนึ่งให้เชื่อมต่อกับสะพานส่งศพตามประเพณี และมีประตูเปิด-ปิด สำหรับชุมชนด้วย ขยับจุดชมวิวออกไป และออกแบบในลักษณะซุงแพ คล้ายในอดีต ส่วนพื้นที่ว่างหลังเขื่อนพัฒนา เป็นสวนธรรมชาติเพื่อการพักผ่อน
ทั้งนี้ หมู่บ้านมัสยิดดารุลอิหซาน มีประวัติความเป็นมาของชุมชน สมัยรัชกาลที่ 6 จากชาวแขกแพในย่านบางอ้อ ที่ดั้งเดิมมีอาชีพค้าซุงและไม้ บ้านเรือนแต่เดิมเป็นเรือนแพ ด้วยลักษณะภูมิประเทศ และท้องน้ำเป็นลานตะพัก เป็นคุ้งน้ำที่มีท้องน้ำตื้น จึงกลายเป็นแหล่งพักซุงที่ใหญ่ที่สุดของย่านบางอ้อในสมัยก่อน และทำกิจการโรงเลื่อยฝั่งตรงข้ามแม่น้ำ และต่อมาได้ขยายตัวมาปลูกบ้านเรือนบนฝั่งแม่น้ำ ปัจจุบันมีอาชีพประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป ผู้นำชุมชน มี นายมนู เพ็ชรทองคำ เป็นอิหม่าม และนายมาโนช เพ็ชรทองคำ เป็นผู้นำชุมชน กลางหมู่บ้านเป็นสนามหญ้าสีเขียว มี รร.อนุบาล หมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง และกลมเกลียว เปี่ยมด้วยความกะตือรือร้น และความร่วมมือกันเพือสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตในชุมชน เช่น มูลนิธิมัสยิดดารุลอิหฺซาน โดยมี นายมานะ เพ็ชรทองคำ เป็นประธานคนแรก ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 30 ปี
อ.ธนกฤต กล่าวว่า ในภาพรวมความก้าวหน้าของโครงการฯนั้น สำหรับระยะโครงการ 57 กม. ทางคณะได้ลงพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยกับภาคีในเขตต่างๆ ซึ่งมีประชาชน ภาคเอกชนและหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการให้ข้อมูลการพัฒนาระยะนำร่องซึ่งมี 12 แผน เพื่อให้ประชาคมนอกระยะ 7 กม.ได้เห็นตัวอย่างของการพัฒนาจากระยะนำร่อง และเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ส่วนในโครงการระยะนำร่อง 14 กม. ได้ลงพื้นที่นำแบบไปพูดคุย และรับฟังความเห็นจากชุมชนและเจ้าของพื้นที่แล้วหลายชุมชน ซึ่งได้รับข้อเสนอแนะ และการตอบรับเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ หมู่บ้านมัสยิดดารุลอิหซาน มีประวัติความเป็นมาของชุมชน สมัยรัชกาลที่ 6 จากชาวแขกแพในย่านบางอ้อ ที่ดั้งเดิมมีอาชีพค้าซุงและไม้ บ้านเรือนแต่เดิมเป็นเรือนแพ ด้วยลักษณะภูมิประเทศ และท้องน้ำเป็นลานตะพัก เป็นคุ้งน้ำที่มีท้องน้ำตื้น จึงกลายเป็นแหล่งพักซุงที่ใหญ่ที่สุดของย่านบางอ้อในสมัยก่อน และทำกิจการโรงเลื่อยฝั่งตรงข้ามแม่น้ำ และต่อมาได้ขยายตัวมาปลูกบ้านเรือนบนฝั่งแม่น้ำ ปัจจุบันมีอาชีพประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป ผู้นำชุมชน มี นายมนู เพ็ชรทองคำ เป็นอิหม่าม และนายมาโนช เพ็ชรทองคำ เป็นผู้นำชุมชน กลางหมู่บ้านเป็นสนามหญ้าสีเขียว มี รร.อนุบาล หมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง และกลมเกลียว เปี่ยมด้วยความกะตือรือร้น และความร่วมมือกันเพือสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตในชุมชน เช่น มูลนิธิมัสยิดดารุลอิหฺซาน โดยมี นายมานะ เพ็ชรทองคำ เป็นประธานคนแรก ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 30 ปี
อ.ธนกฤต กล่าวว่า ในภาพรวมความก้าวหน้าของโครงการฯนั้น สำหรับระยะโครงการ 57 กม. ทางคณะได้ลงพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยกับภาคีในเขตต่างๆ ซึ่งมีประชาชน ภาคเอกชนและหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการให้ข้อมูลการพัฒนาระยะนำร่องซึ่งมี 12 แผน เพื่อให้ประชาคมนอกระยะ 7 กม.ได้เห็นตัวอย่างของการพัฒนาจากระยะนำร่อง และเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ส่วนในโครงการระยะนำร่อง 14 กม. ได้ลงพื้นที่นำแบบไปพูดคุย และรับฟังความเห็นจากชุมชนและเจ้าของพื้นที่แล้วหลายชุมชน ซึ่งได้รับข้อเสนอแนะ และการตอบรับเป็นอย่างดี