ผู้จัดการรายวัน360-นิด้าโพลย้ำคนไทยเชื่อรัฐธรรมนูญปี 59 ดีกว่าฉบับเดิม เชื่อปฏิรูปประเทศได้แน่ ขณะที่สวนดุสิตโพล เผยคนมั่นใจ "บิ๊กตู่" ทำตามโรดแมป มีเลือกตั้งปี 60 ปชป. หนุนเพิ่มโทษซื้อสิทธิขายเสียงในกฎหมายลูก แต่ไม่เห็นด้วยห้ามใส่ซองช่วยชาวบ้านตามประเพณี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (14 ส.ค.) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "เหตุผลของคนไทยต่อการตัดสินใจการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559" จำนวน 5,849 ตัวอย่าง โดยประชาชนส่วนใหญ่ เห็นว่า รัฐธรรมนูญ 2559 ดีกว่าฉบับเดิม เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และอยากเห็นการปฏิรูปประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และอยากเห็นเศรษฐกิจดีขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่รับร่าง เห็นว่า บางมาตรา บางข้อ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
ส่วนประเด็นคำถามพ่วงเกี่ยวกับข้อเสนอให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหา ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี มีสิทธิร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นว่า น่าจะดี เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์และเหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ส่วนผู้ทีไม่เห็นด้วย เห็นว่า ส.ว. หรือนายกรัฐมนตรี ควรจะมาจากการเลือกของประชาชนมากกว่า
วันเดียวกันนี้ สวนดุสิตโพลได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน1,148 คน ระหว่างวันที่ 11-13 ส.ค.2559 หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศผลประชามติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ และย้ำถึงการเดินหน้าตามโรดแมปที่ได้ประกาศไว้ โดยเฉพาะการเลือกตั้งในปี 2560 โดยได้ข้อสรุปว่า ประชาชนเห็นว่าพล.อ.ประยุทธ์ มีความมุ่งมั่นในการทำงานตามโรดแมป และขอให้มีการกำกับดูแลการทำงานให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม และดำเนินการให้สำเร็จตามที่กำหนดระยะเวลาไว้
สำหรับความคืบหน้าการพิจารณากฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ ตามที่มีการเสนอให้เพิ่มโทษทางอาญาที่รุงแรงแก่ผู้กระทบผิดกฎหมายเลือกตั้ง ทั้งโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ไม่รอลงอาญา และมีโทษปรับสูงสุด 20 ล้านบาท รวมถึงการห้ามผู้สมัคร ส.ส. และ ส.ส. บริจาคเงินช่วยเหลือตามประเพณีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวช งานศพ ในเขตเลือกตั้งของตัวเอง เป็นต้น
นายราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับหลักการที่จะกำหนดให้มีมาตรการลงโทษการซื้อสิทธิ์ขายเสียงขั้นเด็ดขาด หรือเพิ่มโทษที่มากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นการปราบปรามเรื่องเหล่านี้ได้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ โปร่งใส และเที่ยงธรรม
ส่วนการกำหนดโทษ ทั้งทางอาญาและโทษปรับ จะมีสัดส่วนของการลงโทษจะเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่าจะกำหนดมากน้อยแค่ไหน เพราะจะต้องดูความสุมดุลของกฎหมายอื่นประกอบด้วย ถือเป็นเจตนาดีที่มุ่งทำให้การเข้าสู่ตำแหน่ง ส.ส. ปลอดการซื้อเสียงจากนักการเมือง เพราะอย่างน้อยที่สุดคนที่คิดทำผิด ก็ต้องคิดหนักมากกว่าเดิม แต่ในส่วนข้อเสนอห้ามผู้สมัครลงเลือกตั้ง และ ส.ส. บริจาคเงินช่วยเหลือตามประเพณีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวช งานศพ ในเขตเลือกตั้งของตัวเอง เขามีสิทธิที่จะเสนอเรื่องนี้ แต่ตนไม่เห็นด้วย
"นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผ่านกระบวนการแต่งตั้งเป็นส่วนใหญ่ เขาไม่ค่อยมีความผูกพันยึดโยงกับประชาชน ซึ่งการที่จะมองถึงน้ำจิตน้ำใจ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ ที่เขามีความผูกพันกับตัวแทนของตัวเอง เรื่องเงินทองไม่ใช่สาระสำคัญ การเสนอเช่นนี้ เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ไม่ค่อยเห็นความสำคัญประเพณีไทยและประชาชนเท่าไร ถ้าเกิดเป็นเจตนาช่วยงานตามประเพณีจริงๆ ก็เป็นสิทธิที่ผู้แทนปวงชนชาวไทยสามารถทำได้ ส่วนมาตรการป้องกันจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นการซื้อเสียง ทางกรธ.ก็ต้องดูความเหมาะสมต่อไป" นายราเมศกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (14 ส.ค.) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "เหตุผลของคนไทยต่อการตัดสินใจการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559" จำนวน 5,849 ตัวอย่าง โดยประชาชนส่วนใหญ่ เห็นว่า รัฐธรรมนูญ 2559 ดีกว่าฉบับเดิม เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และอยากเห็นการปฏิรูปประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และอยากเห็นเศรษฐกิจดีขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่รับร่าง เห็นว่า บางมาตรา บางข้อ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
ส่วนประเด็นคำถามพ่วงเกี่ยวกับข้อเสนอให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหา ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี มีสิทธิร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นว่า น่าจะดี เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์และเหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ส่วนผู้ทีไม่เห็นด้วย เห็นว่า ส.ว. หรือนายกรัฐมนตรี ควรจะมาจากการเลือกของประชาชนมากกว่า
วันเดียวกันนี้ สวนดุสิตโพลได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน1,148 คน ระหว่างวันที่ 11-13 ส.ค.2559 หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศผลประชามติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ และย้ำถึงการเดินหน้าตามโรดแมปที่ได้ประกาศไว้ โดยเฉพาะการเลือกตั้งในปี 2560 โดยได้ข้อสรุปว่า ประชาชนเห็นว่าพล.อ.ประยุทธ์ มีความมุ่งมั่นในการทำงานตามโรดแมป และขอให้มีการกำกับดูแลการทำงานให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม และดำเนินการให้สำเร็จตามที่กำหนดระยะเวลาไว้
สำหรับความคืบหน้าการพิจารณากฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ ตามที่มีการเสนอให้เพิ่มโทษทางอาญาที่รุงแรงแก่ผู้กระทบผิดกฎหมายเลือกตั้ง ทั้งโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ไม่รอลงอาญา และมีโทษปรับสูงสุด 20 ล้านบาท รวมถึงการห้ามผู้สมัคร ส.ส. และ ส.ส. บริจาคเงินช่วยเหลือตามประเพณีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวช งานศพ ในเขตเลือกตั้งของตัวเอง เป็นต้น
นายราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับหลักการที่จะกำหนดให้มีมาตรการลงโทษการซื้อสิทธิ์ขายเสียงขั้นเด็ดขาด หรือเพิ่มโทษที่มากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นการปราบปรามเรื่องเหล่านี้ได้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ โปร่งใส และเที่ยงธรรม
ส่วนการกำหนดโทษ ทั้งทางอาญาและโทษปรับ จะมีสัดส่วนของการลงโทษจะเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่าจะกำหนดมากน้อยแค่ไหน เพราะจะต้องดูความสุมดุลของกฎหมายอื่นประกอบด้วย ถือเป็นเจตนาดีที่มุ่งทำให้การเข้าสู่ตำแหน่ง ส.ส. ปลอดการซื้อเสียงจากนักการเมือง เพราะอย่างน้อยที่สุดคนที่คิดทำผิด ก็ต้องคิดหนักมากกว่าเดิม แต่ในส่วนข้อเสนอห้ามผู้สมัครลงเลือกตั้ง และ ส.ส. บริจาคเงินช่วยเหลือตามประเพณีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวช งานศพ ในเขตเลือกตั้งของตัวเอง เขามีสิทธิที่จะเสนอเรื่องนี้ แต่ตนไม่เห็นด้วย
"นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผ่านกระบวนการแต่งตั้งเป็นส่วนใหญ่ เขาไม่ค่อยมีความผูกพันยึดโยงกับประชาชน ซึ่งการที่จะมองถึงน้ำจิตน้ำใจ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ ที่เขามีความผูกพันกับตัวแทนของตัวเอง เรื่องเงินทองไม่ใช่สาระสำคัญ การเสนอเช่นนี้ เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ไม่ค่อยเห็นความสำคัญประเพณีไทยและประชาชนเท่าไร ถ้าเกิดเป็นเจตนาช่วยงานตามประเพณีจริงๆ ก็เป็นสิทธิที่ผู้แทนปวงชนชาวไทยสามารถทำได้ ส่วนมาตรการป้องกันจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นการซื้อเสียง ทางกรธ.ก็ต้องดูความเหมาะสมต่อไป" นายราเมศกล่าว