วานนี้ (10ส.ค.) นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรธ. กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี บอกว่า อาจจะใช้เวลา 2 เดือน ในการแก้ไขกฎหมายประกอบรธน.ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จำนวน 4 ฉบับ ว่า 2 เดือนอาจจะเสร็จยาก ตนจะพยายามทำให้เสร็จ แต่ถ้าไม่เสร็จคงติดขัดในส่วนการฟังความคิดเห็นซึ่งต้องใช้เวลา ซึ่งใน 4 ฉบับนี้ มีอยู่ 1 ฉบับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ส.ว ที่เป็นเรื่องใหม่ จึงต้องคิดให้รอบคอบ ส่วนเรื่องเลือกตั้ง เป็นการเปลี่ยนวิธี ก็ต้องคิด แต่ในส่วนปลีกย่อย ก็ต้องคิดว่าจะทำอย่าไรให้รอบคอบ และไม่ไปเกิดปัญหาขึ้นกลางทาง
ในส่วน ของส.ว.ที่เป็นเรื่องใหม่ วิธีแบ่งออกเป็น 20 กลุ่ม ก็ไม่ทราบว่าจะแบ่งอย่างไรจึงจะไม่มีใครตกหล่น กระบวนการเลือกในแต่ละชั้นขึ้นมาจนถึงส่วนกลางนั้น จะทำอย่างไร เพราะอาจจะยากขึ้น เพราะยังไม่เคยมีต้องเริ่มต้นใหม่ ส่วนพรรคการเมืองคงไม่ยาก เพราะเปลี่ยนแปลงอะไรไปไม่มาก อาจจะมีการเขียนเพิ่มในส่วนที่เกี่ยวกับการที่เขาจะให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมมากขึ้น ตรงนี้ต้องไปคิดหากลไกว่าจะทำอย่างไร ที่จะไม่ลำบากต่อพรรคการเมือง
ส่วนที่มีความเป็นห่วงเรื่องการเซตซีโร่ พรรคการเมืองนั้น นายมีชัย กล่าวว่า ตนยังนึกไม่ออกว่าทำไมต้องอย่างนั้น ส่วนมุมมองว่า พรรคการเมืองทุกพรรคจะต้องสตาร์ทพร้อมกัน จำเป็นหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า มันก็ไม่เท่ากันอยู่ดี เพราะถึงจะตั้งใหม่พรรคเก่าก็มีฐานอยู่แล้ว แต่พรรคใหม่ไม่มีฐาน ส่วนตัวไม่มีความเห็น เพราะนึกไม่ออกว่าจะเซตซีโร่ทำไม ต้องรอฟังความเห็นคนที่เขาเสนอให้อธิบายมาว่าดียังไง หากพรรคการเมืองมีการเสนอมา ทางกรธ. ก็อาจจะเซตซีโร่ได้ ทั้งหมดนี้เราจะไม่ลงมือนับหนึ่งใหม่ จะให้องค์กรอิสระที่เป็นเจ้าลงมือร่างฯ ในเวลา 1-2 เดือน ซึ่งตอนนี้ คณะกรรมการสิทธิฯ (กสม.)ก็ได้ส่งมาให้ดูล่วงหน้าแล้ว ซึ่งขณะนี้เตรียมจะส่งกลับไปให้ กสม.แก้ไขใหม่ ถ้าต้องการทบทวน
ส่วนเรื่องการส่งตัวแทนไปแจ้งทูต ที่กระทรวงการต่างประเทศนั้น ทางกรธ.ได้ส่งตัวแทนกรธ.ไป 2 คน คือ นายเจษฎ์ โทณะวณิก และ นายปกรณ์ นิลประพันธ์ ไปชี้แจงว่า การลงประชามติเป็นกิจการภายในของประเทศไทย เราเองก็เห็นรธน. ของสหรัฐอเมริกาหลายเรื่อง เราก็ไม่เคยเข้าไปยุ่ง ให้คนพกปืนออกมายิงคนได้เราก็รับไม่ได้เหมือนกัน ซึ่งเราก็ไม่เข้าไปยุ่ง เพราะกิจการภายในของเขาเช่นกัน ซึ่งถ้าตรงนี้ ทูตที่เป็นทูตอาชีพคงเข้าใจ ถ้าหากเข้าจะแสดงออกอะไร ก็ขึ้นอยู่กับมารยาทของคนนั้นๆ
เมื่อถามว่า คำถามพ่วงผ่านแล้ว จะมีการแก้ไขคุณสมบัติ ส.ว. หรือไม่ เช่น การห้ามไม่ให้คนที่อยู่ในแม่น้ำ 5 สาย เข้ามาในส.ว. นายมีชัย กล่าวว่า ได้มีการเขียนในรธน.แล้ว ในส่วนของกรธ. ถูกห้ามทั้งหมด แต่คนอื่นถ้าจะไปลงสมัคร ส.ว.ต้องลาออกจากตำแน่งเดิม 90 วัน นับตั้งแต่วันที่รธน.บังคับใช้ ส่วน สปท.จะหมดวาระลงภายหลังจากการทำกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปเสร็จ ที่จะต้องเสร็จภายใน 120 วัน แต่ถ้า สนช.ลาออกไปก็สามารถตั้งใหม่ได้ และที่ กรธ.เขียนรธน.กำหนดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกว่า เขียนเพื่อตัวเอง และพยายามให้เป็นธรรมที่สุด กรธ.เองหมดปัญหา เพราะเขาห้ามไว้ และคนที่ลาออกก็อย่าคิดว่าตัวเองจะได้รับการคัดเลือก เพราะคนเลือกไม่ใช่ตัวเขา
ในส่วน ของส.ว.ที่เป็นเรื่องใหม่ วิธีแบ่งออกเป็น 20 กลุ่ม ก็ไม่ทราบว่าจะแบ่งอย่างไรจึงจะไม่มีใครตกหล่น กระบวนการเลือกในแต่ละชั้นขึ้นมาจนถึงส่วนกลางนั้น จะทำอย่างไร เพราะอาจจะยากขึ้น เพราะยังไม่เคยมีต้องเริ่มต้นใหม่ ส่วนพรรคการเมืองคงไม่ยาก เพราะเปลี่ยนแปลงอะไรไปไม่มาก อาจจะมีการเขียนเพิ่มในส่วนที่เกี่ยวกับการที่เขาจะให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมมากขึ้น ตรงนี้ต้องไปคิดหากลไกว่าจะทำอย่างไร ที่จะไม่ลำบากต่อพรรคการเมือง
ส่วนที่มีความเป็นห่วงเรื่องการเซตซีโร่ พรรคการเมืองนั้น นายมีชัย กล่าวว่า ตนยังนึกไม่ออกว่าทำไมต้องอย่างนั้น ส่วนมุมมองว่า พรรคการเมืองทุกพรรคจะต้องสตาร์ทพร้อมกัน จำเป็นหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า มันก็ไม่เท่ากันอยู่ดี เพราะถึงจะตั้งใหม่พรรคเก่าก็มีฐานอยู่แล้ว แต่พรรคใหม่ไม่มีฐาน ส่วนตัวไม่มีความเห็น เพราะนึกไม่ออกว่าจะเซตซีโร่ทำไม ต้องรอฟังความเห็นคนที่เขาเสนอให้อธิบายมาว่าดียังไง หากพรรคการเมืองมีการเสนอมา ทางกรธ. ก็อาจจะเซตซีโร่ได้ ทั้งหมดนี้เราจะไม่ลงมือนับหนึ่งใหม่ จะให้องค์กรอิสระที่เป็นเจ้าลงมือร่างฯ ในเวลา 1-2 เดือน ซึ่งตอนนี้ คณะกรรมการสิทธิฯ (กสม.)ก็ได้ส่งมาให้ดูล่วงหน้าแล้ว ซึ่งขณะนี้เตรียมจะส่งกลับไปให้ กสม.แก้ไขใหม่ ถ้าต้องการทบทวน
ส่วนเรื่องการส่งตัวแทนไปแจ้งทูต ที่กระทรวงการต่างประเทศนั้น ทางกรธ.ได้ส่งตัวแทนกรธ.ไป 2 คน คือ นายเจษฎ์ โทณะวณิก และ นายปกรณ์ นิลประพันธ์ ไปชี้แจงว่า การลงประชามติเป็นกิจการภายในของประเทศไทย เราเองก็เห็นรธน. ของสหรัฐอเมริกาหลายเรื่อง เราก็ไม่เคยเข้าไปยุ่ง ให้คนพกปืนออกมายิงคนได้เราก็รับไม่ได้เหมือนกัน ซึ่งเราก็ไม่เข้าไปยุ่ง เพราะกิจการภายในของเขาเช่นกัน ซึ่งถ้าตรงนี้ ทูตที่เป็นทูตอาชีพคงเข้าใจ ถ้าหากเข้าจะแสดงออกอะไร ก็ขึ้นอยู่กับมารยาทของคนนั้นๆ
เมื่อถามว่า คำถามพ่วงผ่านแล้ว จะมีการแก้ไขคุณสมบัติ ส.ว. หรือไม่ เช่น การห้ามไม่ให้คนที่อยู่ในแม่น้ำ 5 สาย เข้ามาในส.ว. นายมีชัย กล่าวว่า ได้มีการเขียนในรธน.แล้ว ในส่วนของกรธ. ถูกห้ามทั้งหมด แต่คนอื่นถ้าจะไปลงสมัคร ส.ว.ต้องลาออกจากตำแน่งเดิม 90 วัน นับตั้งแต่วันที่รธน.บังคับใช้ ส่วน สปท.จะหมดวาระลงภายหลังจากการทำกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปเสร็จ ที่จะต้องเสร็จภายใน 120 วัน แต่ถ้า สนช.ลาออกไปก็สามารถตั้งใหม่ได้ และที่ กรธ.เขียนรธน.กำหนดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกว่า เขียนเพื่อตัวเอง และพยายามให้เป็นธรรมที่สุด กรธ.เองหมดปัญหา เพราะเขาห้ามไว้ และคนที่ลาออกก็อย่าคิดว่าตัวเองจะได้รับการคัดเลือก เพราะคนเลือกไม่ใช่ตัวเขา