ภาคเอกชนต้องการ รธน.สกัดนักการเมืองน้ำเน่า เหตุเป็นตัวถ่วงปฏิรูป นายแบงก์คาดส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับขึ้น-ค่าเงินบาทปรับแข็งค่า
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวถึงการลงประชามติว่า หากได้ข้อสรุปรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของภาคเอกชน ที่ต้องการให้มีกฎหมายสกัดกั้นนักการเมืองน้ำเน่าให้ออกจากวงการเมือง ทำให้การปฏิรูปประเทศให้ได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเอกชนอยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่ที่ไม่กอบโกยเข้ามาสู่เวทีทางการเมือง จะทำให้การปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว โดยเอกชนต้องการให้คงเจตนารมณ์ที่ต้องการให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คงกฎหมายป้องกันนักการเมืองเข้ามาทุจริต หากนักการเมืองทำผิดก็ไม่ควรเข้ามาอยู่ในวงการเมืองต่อไป เพราะหากได้นักการเมืองที่เลวเข้ามาในสภามากๆ ก็จะเป็นตัวถ่วงในการปฏิรูปประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งในยุคของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าไม่มีประชาธิปไตยเต็มใบ แต่บ้านเมืองและเศรษฐกิจก็พัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วต่อมาให้อำนาจนักการเมืองมีอำนาจเต็มที่ ทุกอย่างก็ถดถอยลง ดังนั้นไม่ว่าจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาแก้ไข ก็ต้องคงกฎหมายป้องกันนักการเมืองโกงกินอย่างเข้มงวด
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย โพสต์เฟซบุ๊กถึงผลการรับร่างรัฐธรรมนูญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่า ผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ออกอย่างเป็นทางการ แต่มีความเป็นไปได้ที่ประชาชนจะออกเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง โดยตนมีมุมมองต่อผลออกเป็น 4 มิติด้วยกัน คือ
1.ความเชื่อมั่น : ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนมีแนวโน้มจะขยับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคสินค้าคงทน อันเป็นผลดีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลัง แต่ความเชื่อมั่นที่ฟื้นอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว 3 - 6 เดือน
2.การลงทุน : เอกชนไทยพร้อมจะทยอยลงทุนเพิ่มขึ้น หากเกิดความชัดเจนทางการเมือง อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติก็จะเริ่มเข้ามาลงทุน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนับว่าเป็นผลดีต่อภาคการลงทุน การจ้างงาน และการส่งออกในอนาคต
3.การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งหลังของปี : เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวไม่แรงมาก ความเสี่ยงในประเทศแม้ลดลง แต่ไทยยังคงมีความเสี่ยงจากภาคต่างประเทศและยังต้องเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข
4.การเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และวินัยทางการคลังในอนาคต : หากเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น และมีที่มาของแหล่งเงินที่ชัดเจน เพื่อมาใช้ในงบประมาณนี้ในอนาคต การใช้จ่ายโดยรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่น่าจะมีปัญหาอย่างไร
หากพิจารณาเหตุการณ์ในอดีตภายหลังมีความชัดเจนทางการเมืองหลังผ่านร่างการลงประชามติรัฐธรรมนูญปี 2550 หลังการเลือกตั้งปี 2550 และหลังการเลือกตั้งปี 2554 จะพบว่านักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยมาก ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นแรงได้ราว 3-4% และเงินบาทปรับแข็งค่าได้เกือบ 1% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก็น่าจะเป็นภาวะชั่วคราวจากการคลายความกังวลซึ่งอาจมีการเทขายทำกำไรได้ในเวลาต่อมา ในทางตรงกันข้ามหากมีความวุ่นวายตามมา ตลาดอาจปรับตัวในทิศทางตรงกันข้าม แต่ก็ไม่น่าจะเลวร้ายเหมือนช่วงเกิดรัฐประหารในปี 2549 และปี 2557
อย่างไรก็ดี ทางด้าน ดร.ฉัตรชัย ดวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าการออกเสียงประชามติครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อกำลังซื้อและการบริโภคโดยตรง เพราะเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่ในภาพรวมของภาคธุรกิจล้วนต้องการความแน่นอนทางการเมืองเพื่อการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งหากสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในภาวะสงบย่อมส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคฟื้นตัวขึ้นเพราะมีความมั่นใจ ขณะเดียวกันยังจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 ของภาครัฐให้เป็นไปตามเป้าหมายได้มากขึ้น.
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวถึงการลงประชามติว่า หากได้ข้อสรุปรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของภาคเอกชน ที่ต้องการให้มีกฎหมายสกัดกั้นนักการเมืองน้ำเน่าให้ออกจากวงการเมือง ทำให้การปฏิรูปประเทศให้ได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเอกชนอยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่ที่ไม่กอบโกยเข้ามาสู่เวทีทางการเมือง จะทำให้การปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว โดยเอกชนต้องการให้คงเจตนารมณ์ที่ต้องการให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คงกฎหมายป้องกันนักการเมืองเข้ามาทุจริต หากนักการเมืองทำผิดก็ไม่ควรเข้ามาอยู่ในวงการเมืองต่อไป เพราะหากได้นักการเมืองที่เลวเข้ามาในสภามากๆ ก็จะเป็นตัวถ่วงในการปฏิรูปประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งในยุคของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าไม่มีประชาธิปไตยเต็มใบ แต่บ้านเมืองและเศรษฐกิจก็พัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วต่อมาให้อำนาจนักการเมืองมีอำนาจเต็มที่ ทุกอย่างก็ถดถอยลง ดังนั้นไม่ว่าจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาแก้ไข ก็ต้องคงกฎหมายป้องกันนักการเมืองโกงกินอย่างเข้มงวด
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย โพสต์เฟซบุ๊กถึงผลการรับร่างรัฐธรรมนูญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่า ผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ออกอย่างเป็นทางการ แต่มีความเป็นไปได้ที่ประชาชนจะออกเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง โดยตนมีมุมมองต่อผลออกเป็น 4 มิติด้วยกัน คือ
1.ความเชื่อมั่น : ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนมีแนวโน้มจะขยับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคสินค้าคงทน อันเป็นผลดีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลัง แต่ความเชื่อมั่นที่ฟื้นอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว 3 - 6 เดือน
2.การลงทุน : เอกชนไทยพร้อมจะทยอยลงทุนเพิ่มขึ้น หากเกิดความชัดเจนทางการเมือง อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติก็จะเริ่มเข้ามาลงทุน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนับว่าเป็นผลดีต่อภาคการลงทุน การจ้างงาน และการส่งออกในอนาคต
3.การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งหลังของปี : เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวไม่แรงมาก ความเสี่ยงในประเทศแม้ลดลง แต่ไทยยังคงมีความเสี่ยงจากภาคต่างประเทศและยังต้องเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข
4.การเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และวินัยทางการคลังในอนาคต : หากเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น และมีที่มาของแหล่งเงินที่ชัดเจน เพื่อมาใช้ในงบประมาณนี้ในอนาคต การใช้จ่ายโดยรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่น่าจะมีปัญหาอย่างไร
หากพิจารณาเหตุการณ์ในอดีตภายหลังมีความชัดเจนทางการเมืองหลังผ่านร่างการลงประชามติรัฐธรรมนูญปี 2550 หลังการเลือกตั้งปี 2550 และหลังการเลือกตั้งปี 2554 จะพบว่านักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยมาก ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นแรงได้ราว 3-4% และเงินบาทปรับแข็งค่าได้เกือบ 1% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก็น่าจะเป็นภาวะชั่วคราวจากการคลายความกังวลซึ่งอาจมีการเทขายทำกำไรได้ในเวลาต่อมา ในทางตรงกันข้ามหากมีความวุ่นวายตามมา ตลาดอาจปรับตัวในทิศทางตรงกันข้าม แต่ก็ไม่น่าจะเลวร้ายเหมือนช่วงเกิดรัฐประหารในปี 2549 และปี 2557
อย่างไรก็ดี ทางด้าน ดร.ฉัตรชัย ดวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าการออกเสียงประชามติครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อกำลังซื้อและการบริโภคโดยตรง เพราะเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่ในภาพรวมของภาคธุรกิจล้วนต้องการความแน่นอนทางการเมืองเพื่อการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งหากสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในภาวะสงบย่อมส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคฟื้นตัวขึ้นเพราะมีความมั่นใจ ขณะเดียวกันยังจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 ของภาครัฐให้เป็นไปตามเป้าหมายได้มากขึ้น.