เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ (2 ส.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง แถลงเชิญชวนประชาชนร่วมสังเกตการณ์การออกเสียงประชามติ เริ่มตั้งแต่การลงคะแนน 08.00 น. ถึงเวลา 16.00 น. ปิดหีบลงคะแนน โดยประชาชนสามารถทักท้วงได้ หากมีอะไรผิดปกติ อาทิ ตั้งบอร์ดนับคะแนนไกลเกินไป อ่านคะแนนเสียงเบา การนับเร็วไป หรือการวินิจฉัยว่าเป็นบัตรดี บัตรเสีย เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อผลการนับคะแนนสิ้นสุดแล้ว ให้ประชาชนถ่ายรูป และโพสต์เฟซบุ๊ก พร้อมติดแฮชแทค "#ผลประชามติ" เพื่อให้ทุกคนเข้าไปดู เพื่อช่วยให้การออกเสียงประชามติเป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม และเมื่อ กกต.ประกาศผลอย่างเป็นทางการ ก็สามารถเอาภาพมายืนยันได้
นอกจากนี้ยังเชิญชวนประชาชนและกรรมการประจำหน่วย กว่า 1 ล้านคน ติดตามการการทางช่อง NBT ในวันพฤหัสบดี ที่ 4 สิงหาคม เวลา 20.30 น.-21.30 น. กกต.จะจัดประชามติสมมุติ สาธิตวิธีการลงคะแนน การนับคะแนน การวินิจฉัยบัตรดี ดีบางส่วน และบัตรเสีย เป็นอย่างไร โดยการสาธิตจะใช้บัตรคล้ายของจริง และใช้คำถามเป็นเรื่องสมมุติ ไม่เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยการสาธิตดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และ กปน.
นายสมชัย ยังกล่าวว่า ในการออกเสียงประชามติครั้งนี้ กกต.ได้ผลิตหีบบัตรลงคะแนนรูปแบบใหม่ เป็นพลาสติกใส มาใช้นำร่อง ใน 5 หมื่นหน่วยออกเสียง ถือเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยออกเสียงทั่วประเทศที่มีทั้งหมดเกือบ 1 แสน หน่วย เนื่องจากผลิตไม่ทัน โดยจะมีอายุการใช้งาน 10 ปี รับน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัม ทนความร้อนได้ 56 องศาเซลเซียส มีราคาต้นทุนใบละ 244 บาท ต่ำกว่าราคากลาง 6 บาท คือ 250 บาท ที่เปลี่ยนใหม่ เพราะหีบบัตรเดิมเป็นกล่องกระดาษเคลือบด้วยพีวีซี ต้นทุนใบละ 180 บาท ใช้ได้ประมาณ 1-2 ครั้ง ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะฉะนั้นของใหม่จึงมีความคุ้มค่ามากกว่า พร้อมยืนยันว่า หีบมีความทนทานทนกับแรงกระแทกทุกสภาวะ ซึ่งในการเลือกตั้งทั่วไปในอนาคต กกต. ก็จะได้มีการใช้หีบบัตรลักษณะดังกล่าวทั้งหมด และเชื่อว่าจะทำให้ประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะก่อนหน่วยออกเสียงจะเปิดลงคะแนน ก็สามารถมองตรวจสอบได้ว่าภายในหีบว่างเปล่า ไม่มีบัตรลงคะแนน หรือสิ่งผิดปกติใดอยู่ก่อนแล้ว หรือหลังนับคะแนนเสร็จสิ้น ก็สบายใจว่ามีการนับบัตรทั้งหมด ไม่มีหลงเหลืออยู่ภายในหีบอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากแถลงข่าว นายสมชัย ได้สาธิตการโยนหีบบัตรลงคะแนนให้สื่อมวลชนได้เห็นถึงความทนทาน แข็งแรงของหีบบัตรรูปแบบใหม่ แต่เมื่อโยนไปประมาณ 3-4 ครั้ง หีบบัตรดังกล่าวได้แตก โดยนายสมชัย มีสีหน้าตกใจ และบอกว่า
"ผมทุ่มแรงไปหน่อย และเอาปากหีบลงก็เลยแตกได้ แต่ถ้าใช้งานจริง คงไม่มีการเอาหีบบัตรไปโยนรุนแรงในลักษณะนี้” จากนั้น นายสมชัยจึงสาธิตใหม่ โดยการโยนอีก 10 ครั้ง ก่อนเชิญให้สื่อได้ทดสอบความแข็งแรง โดยให้ขึ้นไปยืนบนหีบบัตร
ทั้งนี้ เมื่อผลการนับคะแนนสิ้นสุดแล้ว ให้ประชาชนถ่ายรูป และโพสต์เฟซบุ๊ก พร้อมติดแฮชแทค "#ผลประชามติ" เพื่อให้ทุกคนเข้าไปดู เพื่อช่วยให้การออกเสียงประชามติเป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม และเมื่อ กกต.ประกาศผลอย่างเป็นทางการ ก็สามารถเอาภาพมายืนยันได้
นอกจากนี้ยังเชิญชวนประชาชนและกรรมการประจำหน่วย กว่า 1 ล้านคน ติดตามการการทางช่อง NBT ในวันพฤหัสบดี ที่ 4 สิงหาคม เวลา 20.30 น.-21.30 น. กกต.จะจัดประชามติสมมุติ สาธิตวิธีการลงคะแนน การนับคะแนน การวินิจฉัยบัตรดี ดีบางส่วน และบัตรเสีย เป็นอย่างไร โดยการสาธิตจะใช้บัตรคล้ายของจริง และใช้คำถามเป็นเรื่องสมมุติ ไม่เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยการสาธิตดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และ กปน.
นายสมชัย ยังกล่าวว่า ในการออกเสียงประชามติครั้งนี้ กกต.ได้ผลิตหีบบัตรลงคะแนนรูปแบบใหม่ เป็นพลาสติกใส มาใช้นำร่อง ใน 5 หมื่นหน่วยออกเสียง ถือเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยออกเสียงทั่วประเทศที่มีทั้งหมดเกือบ 1 แสน หน่วย เนื่องจากผลิตไม่ทัน โดยจะมีอายุการใช้งาน 10 ปี รับน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัม ทนความร้อนได้ 56 องศาเซลเซียส มีราคาต้นทุนใบละ 244 บาท ต่ำกว่าราคากลาง 6 บาท คือ 250 บาท ที่เปลี่ยนใหม่ เพราะหีบบัตรเดิมเป็นกล่องกระดาษเคลือบด้วยพีวีซี ต้นทุนใบละ 180 บาท ใช้ได้ประมาณ 1-2 ครั้ง ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะฉะนั้นของใหม่จึงมีความคุ้มค่ามากกว่า พร้อมยืนยันว่า หีบมีความทนทานทนกับแรงกระแทกทุกสภาวะ ซึ่งในการเลือกตั้งทั่วไปในอนาคต กกต. ก็จะได้มีการใช้หีบบัตรลักษณะดังกล่าวทั้งหมด และเชื่อว่าจะทำให้ประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะก่อนหน่วยออกเสียงจะเปิดลงคะแนน ก็สามารถมองตรวจสอบได้ว่าภายในหีบว่างเปล่า ไม่มีบัตรลงคะแนน หรือสิ่งผิดปกติใดอยู่ก่อนแล้ว หรือหลังนับคะแนนเสร็จสิ้น ก็สบายใจว่ามีการนับบัตรทั้งหมด ไม่มีหลงเหลืออยู่ภายในหีบอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากแถลงข่าว นายสมชัย ได้สาธิตการโยนหีบบัตรลงคะแนนให้สื่อมวลชนได้เห็นถึงความทนทาน แข็งแรงของหีบบัตรรูปแบบใหม่ แต่เมื่อโยนไปประมาณ 3-4 ครั้ง หีบบัตรดังกล่าวได้แตก โดยนายสมชัย มีสีหน้าตกใจ และบอกว่า
"ผมทุ่มแรงไปหน่อย และเอาปากหีบลงก็เลยแตกได้ แต่ถ้าใช้งานจริง คงไม่มีการเอาหีบบัตรไปโยนรุนแรงในลักษณะนี้” จากนั้น นายสมชัยจึงสาธิตใหม่ โดยการโยนอีก 10 ครั้ง ก่อนเชิญให้สื่อได้ทดสอบความแข็งแรง โดยให้ขึ้นไปยืนบนหีบบัตร