ผู้จัดการรายวัน 360 - โซเชียลมีเดียแชร์สะพัด วอนคนกรุงช่วยบริจาคซื้อที่ดินข้าง “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ผู้ก่อตั้งแจงที่ดินจะถูกสร้างเป็นตึก 8 ชั้น จึงขอเจรจาซื้อเอง หวังทำลานอเนกประสงค์ให้ผู้สูงวัยและเด็กร่วมดำเนินกิจกรรม ยันยกกรรมสิทธิ์ให้ กทม. แล้วตั้งแต่ปี 2547
ตามที่ โลกโซเชียลมีเดียมีการส่งต่อข้อความเกี่ยวกับวิกฤติ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ขอรับเงินบริจาคซื้อที่ดินบริเวณด้านข้างนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ก่อตั้งโดย รศ.วราพร สุรวดี อายุ 81 ปี อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ผู้มีจิตสาธารณะยกบ้านและที่ดินให้กรุงเทพฯ จำนวน 1 ไร่เศษตั้งอยู่ในซอยตรงข้ามไปรษณีย์กลาง ซ.เจริญกรุง 43 กรุงเทพฯ ให้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เพื่อจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เพื่อสะท้อนความเป็นอยู่ของชาวบางกอกในช่วงระหว่างปี 2470-2500 แต่ขณะนี้ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” กำลังประสบกัญหาเรื่องที่ดินติดกันซึ่งมีเนื้อที่ 1 งาน กำลังจะมีการก่อสร้างอาคารสูง8 ชั้นบดบังทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมของพิพิธภัณฑ์
ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา รศ.วราพร เปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าวว่า เดิมทีที่ดินด้านข้างพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นโรงขายกระดาษ ต่อมาเจ้าของได้ขายให้แก่เจ้าของปัจจุบันซึ่งมีโครงการจะก่อสร้างอาคารสูง 8 ชั้น ซึ่งตนเห็นว่าหากเป็นเช่นนั้นก็จะบดบังทัศนียภาพที่สวยงามของพิพิธภัณฑ์ฯ และไม่เป็นไปตามความตั้งใจของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกแห่งนี้มาแต่ต้น โดยได้ประสานไปยัง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อขอให้ช่วยเจรจาซื้อที่ดินดังกล่าว เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ 4 หลังให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม. ไปหมดแล้ว แต่ได้รับคำตอบว่า ไม่สามารถดำเนินการซื้อที่ดินดังกล่าวได้ เพราะไม่มีงบประมาณและไม่ได้มีการทำโครงการไว้
*** ควักเนื้อแล้ว 30 ล้านบาทยังไม่พอ ***
“เมื่อ กทม. แจ้งให้ทราบอย่างนี้ อาจารย์จึงตัดสินใจให้ส่งคนไปเจรจากับเจ้าของที่ดินดังกล่าวเพื่อขอซื้อโดยเจ้าของที่ดินตกลงขายในราคา 40 ล้านบาท โดยได้มัดจำไปแล้ว 30 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 10 ล้านบาทกำลังจะครบกำหนดที่ต้องจ่ายภายในวันที่ 2 ก.ย.59 โดยก่อนหน้านี้เงิน 30 ล้านบาทที่นำไปมัดจำไว้ก็ได้มาจากการขายที่ดิน ส่วนที่เหลืออีก 10 ล้านบาทอาจารย์พยายามจะหาเงินโดยได้ประกาศขายคอนโดฯ ย่านทุ่งมหาเมฆ โดยหวังว่าจะได้เงินมาพอจ่าย แต่จนถึงตอนนี้คอนโดฯ ก็ยังขายไม่ได้ แต่พอดีได้พบกับกับลูกศิษย์ จึงได้เล่าเรื่องต่างๆ ให้เขาฟัง ลูกศิษย์จึงบอกว่าจะช่วยบอกต่อผ่านทางโซเชียลเพื่อชวนให้คนมาร่วมบริจาค” รศ. วราพร กล่าว
รศ.วราพร กล่าวด้วยว่า ตนขอยืนยันว่าไม่ได้คิดจะทำธุรกิจ หรือหาผลประโยชน์ใดๆ จากที่ดินดังกล่าว เพราะปัจจุบันมีอายุมากถึง 81 ปีแล้ว ส่วนที่ดินและพิพิธภัณฑ์ทุกอย่างก็เป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม. แต่สาเหตุที่จะซื้อที่ดินดังกล่าว เพราะตั้งใจไว้จะพัฒนาให้เป็นพื้นที่สีเขียว มีลานอเนกประสงค์ให้ผู้สูงวัยและเด็กในชุมชนเข้ามาพักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆ พร้อมจัดสถานที่จอดรถบริการให้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เฉลี่ยเดือนละ 800 คน อย่างไรก็ตามขณะนี้มีผู้บริจาคเงินเข้ามาแล้ว 3 แสนบาท ตั้งใจว่าถ้าครบจำนวน 10 ล้านบาทก็จะไม่ขอรับบริจาคอีก แต่หากมียอดเงินที่เกินมาก็จะนำมาใช้จ่ายเพื่อดูแลพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกแห่งนี้ต่อไป
*** วอนขอรับบริจาค รายละ 100บาท ***
ทั้งนี้ผู้มีจิตสาธารณะสามารถร่วมบริจาครายละ 100 บาท หรือตามกำลังความสามารถ เพื่อให้ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” มีพื้นที่สีเขียวให้ลูกหลานสืบไป โดยบริจาคผ่านบัญชี น.ส.วราพร สุรวดี (โครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวกลางกรุงเทพ) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจัตุรัสจามจุรี เลขที่บัญชี 407-061757-2 หรือติดต่อ รศ.วราพร สุรวดี และ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” โทร.0 2233 7027
ตามที่ โลกโซเชียลมีเดียมีการส่งต่อข้อความเกี่ยวกับวิกฤติ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ขอรับเงินบริจาคซื้อที่ดินบริเวณด้านข้างนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ก่อตั้งโดย รศ.วราพร สุรวดี อายุ 81 ปี อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ผู้มีจิตสาธารณะยกบ้านและที่ดินให้กรุงเทพฯ จำนวน 1 ไร่เศษตั้งอยู่ในซอยตรงข้ามไปรษณีย์กลาง ซ.เจริญกรุง 43 กรุงเทพฯ ให้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เพื่อจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เพื่อสะท้อนความเป็นอยู่ของชาวบางกอกในช่วงระหว่างปี 2470-2500 แต่ขณะนี้ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” กำลังประสบกัญหาเรื่องที่ดินติดกันซึ่งมีเนื้อที่ 1 งาน กำลังจะมีการก่อสร้างอาคารสูง8 ชั้นบดบังทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมของพิพิธภัณฑ์
ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา รศ.วราพร เปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าวว่า เดิมทีที่ดินด้านข้างพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นโรงขายกระดาษ ต่อมาเจ้าของได้ขายให้แก่เจ้าของปัจจุบันซึ่งมีโครงการจะก่อสร้างอาคารสูง 8 ชั้น ซึ่งตนเห็นว่าหากเป็นเช่นนั้นก็จะบดบังทัศนียภาพที่สวยงามของพิพิธภัณฑ์ฯ และไม่เป็นไปตามความตั้งใจของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกแห่งนี้มาแต่ต้น โดยได้ประสานไปยัง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อขอให้ช่วยเจรจาซื้อที่ดินดังกล่าว เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ 4 หลังให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม. ไปหมดแล้ว แต่ได้รับคำตอบว่า ไม่สามารถดำเนินการซื้อที่ดินดังกล่าวได้ เพราะไม่มีงบประมาณและไม่ได้มีการทำโครงการไว้
*** ควักเนื้อแล้ว 30 ล้านบาทยังไม่พอ ***
“เมื่อ กทม. แจ้งให้ทราบอย่างนี้ อาจารย์จึงตัดสินใจให้ส่งคนไปเจรจากับเจ้าของที่ดินดังกล่าวเพื่อขอซื้อโดยเจ้าของที่ดินตกลงขายในราคา 40 ล้านบาท โดยได้มัดจำไปแล้ว 30 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 10 ล้านบาทกำลังจะครบกำหนดที่ต้องจ่ายภายในวันที่ 2 ก.ย.59 โดยก่อนหน้านี้เงิน 30 ล้านบาทที่นำไปมัดจำไว้ก็ได้มาจากการขายที่ดิน ส่วนที่เหลืออีก 10 ล้านบาทอาจารย์พยายามจะหาเงินโดยได้ประกาศขายคอนโดฯ ย่านทุ่งมหาเมฆ โดยหวังว่าจะได้เงินมาพอจ่าย แต่จนถึงตอนนี้คอนโดฯ ก็ยังขายไม่ได้ แต่พอดีได้พบกับกับลูกศิษย์ จึงได้เล่าเรื่องต่างๆ ให้เขาฟัง ลูกศิษย์จึงบอกว่าจะช่วยบอกต่อผ่านทางโซเชียลเพื่อชวนให้คนมาร่วมบริจาค” รศ. วราพร กล่าว
รศ.วราพร กล่าวด้วยว่า ตนขอยืนยันว่าไม่ได้คิดจะทำธุรกิจ หรือหาผลประโยชน์ใดๆ จากที่ดินดังกล่าว เพราะปัจจุบันมีอายุมากถึง 81 ปีแล้ว ส่วนที่ดินและพิพิธภัณฑ์ทุกอย่างก็เป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม. แต่สาเหตุที่จะซื้อที่ดินดังกล่าว เพราะตั้งใจไว้จะพัฒนาให้เป็นพื้นที่สีเขียว มีลานอเนกประสงค์ให้ผู้สูงวัยและเด็กในชุมชนเข้ามาพักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆ พร้อมจัดสถานที่จอดรถบริการให้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เฉลี่ยเดือนละ 800 คน อย่างไรก็ตามขณะนี้มีผู้บริจาคเงินเข้ามาแล้ว 3 แสนบาท ตั้งใจว่าถ้าครบจำนวน 10 ล้านบาทก็จะไม่ขอรับบริจาคอีก แต่หากมียอดเงินที่เกินมาก็จะนำมาใช้จ่ายเพื่อดูแลพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกแห่งนี้ต่อไป
*** วอนขอรับบริจาค รายละ 100บาท ***
ทั้งนี้ผู้มีจิตสาธารณะสามารถร่วมบริจาครายละ 100 บาท หรือตามกำลังความสามารถ เพื่อให้ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” มีพื้นที่สีเขียวให้ลูกหลานสืบไป โดยบริจาคผ่านบัญชี น.ส.วราพร สุรวดี (โครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวกลางกรุงเทพ) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจัตุรัสจามจุรี เลขที่บัญชี 407-061757-2 หรือติดต่อ รศ.วราพร สุรวดี และ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” โทร.0 2233 7027