"วิษณุ" แบไต๋ แก้รธน.ชั่วคราว 4 ประเด็น หากร่างรธน.ไม่ผ่านประชามติ "บิ๊กป้อม" เผยเตรียมทางออกไว้แล้ว การันตี ปี 60 มีเลือกตั้งแน่ ยันไปอังกฤษไม่ได้เจอ"ทักษิณ" ศาลปกครอง เปลี่ยนรับคำร้อง "พีซ ทีวี" ขอไต่สวนฉุกเฉิน กรณี กสท.พักใบอนุญาต 30 วัน อ้างเหตุยกคำร้องเดิมโดยคลาดเคลื่อน พร้อมเรียกคู่กรณีแจงทันที ด้าน กสท .อ้างไม่พร้อม "เหวง" หวั่น กสท. เล่นเล่ห์ อาศัยช่วงหยุดยาวมีคำสั่งทำพีซจอดำยาว 5 วัน
วานนี้ (13ก.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ผ่านการลงประชามติ จะต้องแก้รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2557 เพื่อให้มีทางออกอย่างไร ว่า รธน.ชั่วคราวที่มีอยู่ กำหนดขั้นตอนการร่างรธน.ฉบับใหม่ไว้ชัดเจน ว่าใครเป็นผู้ร่าง แล้วให้มีการทำประชามติ แต่ไม่ได้บอกว่า หากประชามติไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร บอกแต่ว่า กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ต้องสลายตัวในวันที่มีการประกาศผลอย่างเป็นทางการ จึงต้องมีการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการก่อนการลงประชามติ ว่า จะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้การดำเนินการไม่นานนัก ที่สุดก็ต้องมีการแก้รธน.ชั่วคราว หากประชามติไม่ผ่าน ซึ่งเป็นหน้าที่ของ คสช. โดยต้องแก้ใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1. ใครเป็นคนร่างรธน.ฉบับใหม่ 2. ทำโดยวิธีใด 3. กรอบเวลาให้เสร็จเมื่อไร และ 4. เมื่อร่างเสร็จแล้วต้องดำเนินการอย่างไรต่อ ซึ่งข้อสุดท้ายส่วนตัวเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องทำประชามติอีก เพราะจะเสียเวลานาน ยืนยันรัฐบาลยึดตามโรดแมปที่วางไว้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงกรอบเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนด้วย
ที่สำคัญ ต้องกำหนดไว้ว่า หากร่างรธนงใหม่เสร็จแล้ว จะให้มีเลือกตั้งเมื่อไร ทั้งหมดตนไม่สามารถพูดถึงรายละเอียดในแต่ละประเด็นได้ เพราะขณะนี้ยังไม่มีคำตอบ แต่เท่าที่ดูกระบวนการที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่น่าจะกระทบโรดแมปการเลือกตั้งปี 2560 ที่กำหนดไว้ แต่อาจจะมีตัวแปรที่ทำให้ระยะเวลาเร็วขึ้น หรือช้าลงได้ ซึ่งไม่สามารถพูดได้ตอนนี้ และจากกติกาที่มีอยู่ ตนไม่สามารถเป็นผู้ร่างรธน.ฉบับใหม่ได้ เพราะรธน.ชั่วคราว เขียนคุณสมบัติ ห้ามรัฐมนตรีเป็นผู้ร่างรธน.ฉบับใหม่ ส่วนจะแก้ไขให้ตนมาดำเนินการหรือไม่ อย่าเพิ่งมาซักถาม เพราะไม่มีประโยชน์
เมื่อถามว่า หากประชามติไม่ผ่าน ผู้ที่เคยอยู่ใน คณะกรรมการยกร่างฯ สามารถกลับมาดำเนินการได้อีกหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตอบไม่ถูก เพราะเขาอาจจะเขียนห้ามเอาไว้ก็ได้ อย่าไปใส่ใจว่าใครจะมาร่างรธน. อาจจะเป็นคนเดิมก็ได้ แต่อยู่ที่ว่าการแก้ไขรธน.ชั่วคราวจะเป็นอย่างไร
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี ร่างรธน.ไม่ผ่านประชามติว่า เขาเตรียมไว้เรียบร้อยหมดแล้ว ไม่จำเป็นต้องบอกสื่อตอนนี้ ตนยังไม่รู้อะไรทั้งสิ้น ตอบอะไรไม่ได้ เมื่อถามว่าแนวทางการรับมือ จะดำเนินการอย่างไร รองนายกฯ กล่าวว่า ยังไม่คิด และไม่คิดด้วยว่าร่างรธน.จะไม่ผ่าน ต้องค่อยๆ ดูไป ไม่เป็นไรยังมีเวลาอยู่ เอาเป็นว่าเลือกตั้งได้แน่นอน
เมื่อถามว่าต้องบอกทางออกแก่ประชาชนก่อนลงประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่จำเป็น ผ่านไม่ผ่านก็แล้วแต่ แต่จะทำอย่างไรให้ไปสู่การเลือกตั้งปี 60 ให้ได้ ไม่ว่าจะยังไง ก็มีมาตรการรองรับอยู่แล้วไม่ว่าจะผ่าน หรือไม่ผ่าน มาตรการองรับต้องมี คิดไว้หลายแบบ และโรดแมป ก็ประกาศไว้ชัดเจนอยู่แล้ว สิ่งที่คนต้องการคือการเลือกตั้ง เมื่อรับรู้กันตรงนั้นก็จบ ยันยืนว่าทันเลือกตั้งปี 60 แน่นอน
พล.อ. ประวิตร ยังกล่าวถึงการเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางทหาร และความร่วมมือด้านความมั่นคงกับกระทรวงกลาโหมอังกฤษ ในระหว่างวันที่ 10-13 ก.ค. และตนได้อธิบายให้ฟังถึงการเข้าบริหารประเทศของคสช. ที่เกิดจากความจำเป็นไม่ได้ต้องการเข้ามาเอง และรัฐบาลคสช. ได้ประกาศโรดแมปไว้เรียบร้อย ซึ่งอังกฤษหวังว่าไทยจะทำตามโรดแมปที่ได้วางไว้ รวมถึงมั่นใจว่าต่อไปในอนาคตประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตยอย่างถาวร
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีกระแสข่าวลือว่า การที่เดินทางไปอังกฤษนั้น ได้พบนายทักษิณ ชินวัตร จริงหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวย้อนถามว่า "เขาอยู่ที่ไหน ไม่มีใครอยู่หรอก แล้วจะเจอใคร"
** ศาลปค.รับไต่สวนฉุกเฉินพีซ ทีวี
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ นายสุชาติ ศรีวรกร ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ในฐานะตุลาการเจ้าของสำนวนคดีที่ บริษัทพีซ เทเลวิชั่น จำกัด ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ขอให้เพิกถอนคำสั่ง กสทช. ที่สั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ของบริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด ได้เรียกนพ. เหวง โตจิราการ ผู้ดำเนินรายการ และผู้บริหาร บริษัทพีซ เทเลวิชั่น จำกัด เข้าชี้แจง กรณีที่เมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่ผ่านมา ศาลมีคำสั่งไม่รับคำขอของ นพ.เหวง ที่ให้ไต่สวนฉุกเฉิน เหตุ กสท. มีมติเมื่อวันที่ 11 ก.ค. สั่งพักใช้อนุญาต บริษัทพีช เทเลวิชั่น จำกัด เป็นเวลา 30 วัน
โดยศาลแจ้งว่า เป็นการยกคำร้องขอไปโดยคลาดเคลื่อน และเห็นควรเพิกถอนคำสั่งไม่รับคำขอดังกล่าว พร้อมมีคำสั่งใหม่ ให้รับคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉิน กรณี กสท. มีมติเมื่อ วันที่ 11 ก.ค. สั่งพักใช้อนุญาตบริษัทพีช เทเลวิชั่น จำกัด เป็นเวลา 30 วัน ตามที่นพ.เหวง ยื่นเมื่อวันที่ 12 ก.ค.ไว้พิจารณา และจะเรียกคู่กรณีมาไต่สวน ซึ่งศาลก็ได้เริ่มกระบวนการไต่สวนในทันที โดยไต่สวนฝ่ายของนพ.เหวง ก่อน และติดต่อไปยัง กสท. ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อให้มาให้ถ้อยคำในช่วงบ่าย แต่ทาง กสท.ได้แจ้งว่าไม่สะดวก ที่จะเข้าชี้แจงในวันเดียวกันนี้
นพ.เหวง กล่าวภายหลังไต่สวนว่า ศาลได้เรียกไปชี้แจงถึงเหตุที่เมื่อวันที่ 12 ก.ค.ได้มีคำสั่งยกคำร้องขอของฝ่ายพีซทีวี ว่าเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน ซึ่งก็ได้ให้ข้อมูลกับศาลว่า ทางพีซทีวี มีความกังวลเกรงจะเกิดปัญหาซ้ำเดิมเหมือนเมื่อคราวปี 58 ที่เมื่อ กสทช. มีมติแล้วก็มีการแจ้งไปยังบริษัทเจ้าของโครงข่าย และมีหนังสือแจ้งบริษัทพีซทวี ในเวลา 22.00 น. พร้อมกับมีการตัดสัญญาณการออกอากาศของพีซทีวี ทันที ทำให้เกิดปัญหาจอดำ
ในครั้งนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมาร้องต่อศาลก่อน รวมทั้งเน้นย้ำให้ศาลเห็นว่า กสท. พยายามที่ทำผิดเงื่อนไขตามที่ได้ตกลงกันต่อศาล เมื่อวันที่ 6 ก.ค. ที่ว่า คู่กรณี 2 ฝ่ายเห็นพ้องกันว่า คดีที่พีซ ฟ้อง กสทช. ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ของบริษัทพีซ เทเลวิชั่น จำกัด ยังอยู่ในการพิจารณาของศาล และศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางให้คุ้มครองชั่วคราวพีซทีวีให้แพร่ภาพออกอากาศได้ต่อไปก่อน จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ดังนั้นถ้ากสท.เห็นว่าพีซทีวีทำผิดเงื่อนไขก็ชอบที่พีซทีวีจะยื่นเรื่องให้ศาลไต่สวนว่าพีซทำผิดอย่างไร ซึ่งทางกสท.ก็ไม่มีการยื่นต่อศาลให้ไต่สวนก่อน แต่กลับไปมีมติเมื่อวันที่ 11 ก.ค.
"ไม่เข้าใจว่าวันนี้ ทำไม กสท. จึงไม่มาชี้แจงต่อศาล ซึ่งอยากให้ กสท. มีความจริงใจมาชี้แจงในวันนี้ ( 14 ก.ค.) จะได้ไม่เกิดปัญหาว่า กสท. มามีคำสั่งไปถึงพีซ ในวันศุกร์ที่ 15 ก.ค. จะทำให้พีซต้องจอดำไป 5 วัน ซึ่งมันไม่ยุติธรรม เพราะพีซ จะไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ และศาลก็จะไม่สามารถเรียกไต่สวนได้ เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดราชการยาว " นพ.เหวง กล่าว
วานนี้ (13ก.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ผ่านการลงประชามติ จะต้องแก้รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2557 เพื่อให้มีทางออกอย่างไร ว่า รธน.ชั่วคราวที่มีอยู่ กำหนดขั้นตอนการร่างรธน.ฉบับใหม่ไว้ชัดเจน ว่าใครเป็นผู้ร่าง แล้วให้มีการทำประชามติ แต่ไม่ได้บอกว่า หากประชามติไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร บอกแต่ว่า กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ต้องสลายตัวในวันที่มีการประกาศผลอย่างเป็นทางการ จึงต้องมีการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการก่อนการลงประชามติ ว่า จะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้การดำเนินการไม่นานนัก ที่สุดก็ต้องมีการแก้รธน.ชั่วคราว หากประชามติไม่ผ่าน ซึ่งเป็นหน้าที่ของ คสช. โดยต้องแก้ใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1. ใครเป็นคนร่างรธน.ฉบับใหม่ 2. ทำโดยวิธีใด 3. กรอบเวลาให้เสร็จเมื่อไร และ 4. เมื่อร่างเสร็จแล้วต้องดำเนินการอย่างไรต่อ ซึ่งข้อสุดท้ายส่วนตัวเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องทำประชามติอีก เพราะจะเสียเวลานาน ยืนยันรัฐบาลยึดตามโรดแมปที่วางไว้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงกรอบเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนด้วย
ที่สำคัญ ต้องกำหนดไว้ว่า หากร่างรธนงใหม่เสร็จแล้ว จะให้มีเลือกตั้งเมื่อไร ทั้งหมดตนไม่สามารถพูดถึงรายละเอียดในแต่ละประเด็นได้ เพราะขณะนี้ยังไม่มีคำตอบ แต่เท่าที่ดูกระบวนการที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่น่าจะกระทบโรดแมปการเลือกตั้งปี 2560 ที่กำหนดไว้ แต่อาจจะมีตัวแปรที่ทำให้ระยะเวลาเร็วขึ้น หรือช้าลงได้ ซึ่งไม่สามารถพูดได้ตอนนี้ และจากกติกาที่มีอยู่ ตนไม่สามารถเป็นผู้ร่างรธน.ฉบับใหม่ได้ เพราะรธน.ชั่วคราว เขียนคุณสมบัติ ห้ามรัฐมนตรีเป็นผู้ร่างรธน.ฉบับใหม่ ส่วนจะแก้ไขให้ตนมาดำเนินการหรือไม่ อย่าเพิ่งมาซักถาม เพราะไม่มีประโยชน์
เมื่อถามว่า หากประชามติไม่ผ่าน ผู้ที่เคยอยู่ใน คณะกรรมการยกร่างฯ สามารถกลับมาดำเนินการได้อีกหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตอบไม่ถูก เพราะเขาอาจจะเขียนห้ามเอาไว้ก็ได้ อย่าไปใส่ใจว่าใครจะมาร่างรธน. อาจจะเป็นคนเดิมก็ได้ แต่อยู่ที่ว่าการแก้ไขรธน.ชั่วคราวจะเป็นอย่างไร
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี ร่างรธน.ไม่ผ่านประชามติว่า เขาเตรียมไว้เรียบร้อยหมดแล้ว ไม่จำเป็นต้องบอกสื่อตอนนี้ ตนยังไม่รู้อะไรทั้งสิ้น ตอบอะไรไม่ได้ เมื่อถามว่าแนวทางการรับมือ จะดำเนินการอย่างไร รองนายกฯ กล่าวว่า ยังไม่คิด และไม่คิดด้วยว่าร่างรธน.จะไม่ผ่าน ต้องค่อยๆ ดูไป ไม่เป็นไรยังมีเวลาอยู่ เอาเป็นว่าเลือกตั้งได้แน่นอน
เมื่อถามว่าต้องบอกทางออกแก่ประชาชนก่อนลงประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่จำเป็น ผ่านไม่ผ่านก็แล้วแต่ แต่จะทำอย่างไรให้ไปสู่การเลือกตั้งปี 60 ให้ได้ ไม่ว่าจะยังไง ก็มีมาตรการรองรับอยู่แล้วไม่ว่าจะผ่าน หรือไม่ผ่าน มาตรการองรับต้องมี คิดไว้หลายแบบ และโรดแมป ก็ประกาศไว้ชัดเจนอยู่แล้ว สิ่งที่คนต้องการคือการเลือกตั้ง เมื่อรับรู้กันตรงนั้นก็จบ ยันยืนว่าทันเลือกตั้งปี 60 แน่นอน
พล.อ. ประวิตร ยังกล่าวถึงการเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางทหาร และความร่วมมือด้านความมั่นคงกับกระทรวงกลาโหมอังกฤษ ในระหว่างวันที่ 10-13 ก.ค. และตนได้อธิบายให้ฟังถึงการเข้าบริหารประเทศของคสช. ที่เกิดจากความจำเป็นไม่ได้ต้องการเข้ามาเอง และรัฐบาลคสช. ได้ประกาศโรดแมปไว้เรียบร้อย ซึ่งอังกฤษหวังว่าไทยจะทำตามโรดแมปที่ได้วางไว้ รวมถึงมั่นใจว่าต่อไปในอนาคตประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตยอย่างถาวร
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีกระแสข่าวลือว่า การที่เดินทางไปอังกฤษนั้น ได้พบนายทักษิณ ชินวัตร จริงหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวย้อนถามว่า "เขาอยู่ที่ไหน ไม่มีใครอยู่หรอก แล้วจะเจอใคร"
** ศาลปค.รับไต่สวนฉุกเฉินพีซ ทีวี
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ นายสุชาติ ศรีวรกร ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ในฐานะตุลาการเจ้าของสำนวนคดีที่ บริษัทพีซ เทเลวิชั่น จำกัด ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ขอให้เพิกถอนคำสั่ง กสทช. ที่สั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ของบริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด ได้เรียกนพ. เหวง โตจิราการ ผู้ดำเนินรายการ และผู้บริหาร บริษัทพีซ เทเลวิชั่น จำกัด เข้าชี้แจง กรณีที่เมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่ผ่านมา ศาลมีคำสั่งไม่รับคำขอของ นพ.เหวง ที่ให้ไต่สวนฉุกเฉิน เหตุ กสท. มีมติเมื่อวันที่ 11 ก.ค. สั่งพักใช้อนุญาต บริษัทพีช เทเลวิชั่น จำกัด เป็นเวลา 30 วัน
โดยศาลแจ้งว่า เป็นการยกคำร้องขอไปโดยคลาดเคลื่อน และเห็นควรเพิกถอนคำสั่งไม่รับคำขอดังกล่าว พร้อมมีคำสั่งใหม่ ให้รับคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉิน กรณี กสท. มีมติเมื่อ วันที่ 11 ก.ค. สั่งพักใช้อนุญาตบริษัทพีช เทเลวิชั่น จำกัด เป็นเวลา 30 วัน ตามที่นพ.เหวง ยื่นเมื่อวันที่ 12 ก.ค.ไว้พิจารณา และจะเรียกคู่กรณีมาไต่สวน ซึ่งศาลก็ได้เริ่มกระบวนการไต่สวนในทันที โดยไต่สวนฝ่ายของนพ.เหวง ก่อน และติดต่อไปยัง กสท. ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อให้มาให้ถ้อยคำในช่วงบ่าย แต่ทาง กสท.ได้แจ้งว่าไม่สะดวก ที่จะเข้าชี้แจงในวันเดียวกันนี้
นพ.เหวง กล่าวภายหลังไต่สวนว่า ศาลได้เรียกไปชี้แจงถึงเหตุที่เมื่อวันที่ 12 ก.ค.ได้มีคำสั่งยกคำร้องขอของฝ่ายพีซทีวี ว่าเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน ซึ่งก็ได้ให้ข้อมูลกับศาลว่า ทางพีซทีวี มีความกังวลเกรงจะเกิดปัญหาซ้ำเดิมเหมือนเมื่อคราวปี 58 ที่เมื่อ กสทช. มีมติแล้วก็มีการแจ้งไปยังบริษัทเจ้าของโครงข่าย และมีหนังสือแจ้งบริษัทพีซทวี ในเวลา 22.00 น. พร้อมกับมีการตัดสัญญาณการออกอากาศของพีซทีวี ทันที ทำให้เกิดปัญหาจอดำ
ในครั้งนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมาร้องต่อศาลก่อน รวมทั้งเน้นย้ำให้ศาลเห็นว่า กสท. พยายามที่ทำผิดเงื่อนไขตามที่ได้ตกลงกันต่อศาล เมื่อวันที่ 6 ก.ค. ที่ว่า คู่กรณี 2 ฝ่ายเห็นพ้องกันว่า คดีที่พีซ ฟ้อง กสทช. ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ของบริษัทพีซ เทเลวิชั่น จำกัด ยังอยู่ในการพิจารณาของศาล และศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางให้คุ้มครองชั่วคราวพีซทีวีให้แพร่ภาพออกอากาศได้ต่อไปก่อน จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ดังนั้นถ้ากสท.เห็นว่าพีซทีวีทำผิดเงื่อนไขก็ชอบที่พีซทีวีจะยื่นเรื่องให้ศาลไต่สวนว่าพีซทำผิดอย่างไร ซึ่งทางกสท.ก็ไม่มีการยื่นต่อศาลให้ไต่สวนก่อน แต่กลับไปมีมติเมื่อวันที่ 11 ก.ค.
"ไม่เข้าใจว่าวันนี้ ทำไม กสท. จึงไม่มาชี้แจงต่อศาล ซึ่งอยากให้ กสท. มีความจริงใจมาชี้แจงในวันนี้ ( 14 ก.ค.) จะได้ไม่เกิดปัญหาว่า กสท. มามีคำสั่งไปถึงพีซ ในวันศุกร์ที่ 15 ก.ค. จะทำให้พีซต้องจอดำไป 5 วัน ซึ่งมันไม่ยุติธรรม เพราะพีซ จะไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ และศาลก็จะไม่สามารถเรียกไต่สวนได้ เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดราชการยาว " นพ.เหวง กล่าว