วานนี้ (11ก.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มี นายสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธานกรธ. เป็นประธานการประชุม เพื่อรับฟังรายงานตรวจสอบการเผยแพร่เอกสาร ที่มีการบิดเบือนเนื้อหาร่างรธน. จากคณะอนุกรรมการจัดทำเนื้อหาในการเผยแพร่ร่างรธน. ที่มีนายศุภชัย ยาวะประภาษ เป็นประธาน
นายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานการตรวจสอบเอกสารความเห็นแย้งร่างรธน. จัดทำโดยกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ทางคณะอนุกรรมการฯ ได้รายงานผลการตรวจสอบด้วยวาจาแก่ที่ประชุมกรธ. ว่า เอกสารว่าด้วย 7 เหตุผลไม่รับร่างรธน. มีเนื้อหาที่ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน สร้างภาพให้เกิดความเกลียดชังเกินจริง ทางอนุกรรมการฯ มีความเห็นว่า เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยที่ประชุมกรธ. เสนอแนวทางดำเนินการ 3 ข้อ คือ 1. กรธ.แจ้งความเอาผิดด้วยตัวเอง 2. ส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการตามกฎหมาย หรือ 3.ไม่ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่กรธ.ต้องอธิบายเนื้อหาและสาระของรธน.เพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกรธ. ยังไม่สามารถมีมติว่าจะดำเนินการอย่างไร ต้องรอสรุปอีกครั้ง เพราะในข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ ทางกรธ.ยังให้เหตุผลและมีความเห็นที่แตกต่างกัน
"เราเข้าใจว่าคนที่มีความเห็นต่างจาก กรธ. บางครั้งเขามีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น แต่การแสดงความเห็นที่มีผลเกิดความเข้าใจผิดได้ แน่นอนว่าในความเห็นที่แตกต่างบางครั้งอาจจะเป็นปัญหาเพียงแค่ความเข้าใจ หรือการตีความที่ไม่ตรงกัน หรือเกินเลยไป อาจทำให้สังคมเกิดความเข้าใจที่สับสน อย่างไรก็ตาม กรธ. ยืนยันมาตลอดว่า ไม่ได้เป็นผู้ขัดแย้งกับใคร และกรธ. มีหน้าที่เพียงประชามสัมพันธ์ และเผยแพร่ร่างรธน. คนที่สนับสนุน กรธ. เราก็ดีใจ แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบ หรือไม่เห็นด้วยก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล ทั้งนี้ ท่าทีของรัฐบาลก็ชัดเจนแล้วว่า จะทำตามโรดแมป หากร่างรธน.ไม่ผ่าน ก็ว่ากันไปเป็นจุดๆ" นายอุดม กล่าว
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง เอกสารเห็นแย้งร่างรธน. ที่จัดทำโดยกลุ่มนักศึกษา ว่า การแจกจ่ายเอกสารความเห็นแย้ง สามารถทำได้ เพราะเป็นความเห็นส่วนตัว และไม่เข้าข่ายการปลุกระดม หากทำเป็น ทำได้อยู่แล้ว อีกทั้งคนที่ทำ ก็มีจำนวนมาก ไม่ได้ตื่นเต้นหรือสะทกสะท้านอะไรกับสิ่งที่ดำเนินการ แต่หากเป็นกรณีปลอมแปลง ก็ต้องดูที่เจตนา ว่าต้องการทำอะไร
"วันนี้ศัพท์เรียกกันว่า ปลอม ก็อย่าไปหัวหมอ เรียกอย่างโน้น อย่างนี้เลย รวมความคือ ไม่ใช่ของจริงที่กรธ.ทำ จึงทำให้คนเข้าใจว่า เป็นฉบับที่ กรธ.ทำ หากเป็นเช่นนั้น ก็เข้าข่าย มาตรา 61 วรรคสอง ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรธน. แต่ถ้าเป็นความเห็นต่างจากกรธ. แปลว่า เป็นความเห็นต่าง ไม่ใช่การปลอมอะไร แต่อย่าใช้ปก หรือข้อความที่ทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นเอกสารที่มาจากกรธ. ก็แล้วกัน" รองนายกฯ กล่าว
ส่วนถ้าทำผิด โทษในเรื่องดังกล่าว จะเป็นการระวางโทษตาม มาตรา 61 วรรคสอง หากดูโทษขั้นสุดท้าย ก็จะหนักสุด แต่โทษขั้นต่ำ ไม่มีอะไรมาก ขึ้นอยู่กับศาลว่าจะลงโทษอย่างไร ทั้งนี้ ถ้าเป็นตามที่สื่อบอกว่าเป็นความแตกต่างในเรื่องความเห็น ไม่บิดเบือน ไม่เท็จ ก็ถือว่าไม่ผิด ไม่มีโทษอะไรที่ต้องพูด แต่ถ้าเป็นเท็จ บิดเบือน ถือว่าผิด ส่วนจะรับโทษเช่นไร ก็ขึ้นอยู่กับศาลตัดสิน
นายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานการตรวจสอบเอกสารความเห็นแย้งร่างรธน. จัดทำโดยกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ทางคณะอนุกรรมการฯ ได้รายงานผลการตรวจสอบด้วยวาจาแก่ที่ประชุมกรธ. ว่า เอกสารว่าด้วย 7 เหตุผลไม่รับร่างรธน. มีเนื้อหาที่ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน สร้างภาพให้เกิดความเกลียดชังเกินจริง ทางอนุกรรมการฯ มีความเห็นว่า เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยที่ประชุมกรธ. เสนอแนวทางดำเนินการ 3 ข้อ คือ 1. กรธ.แจ้งความเอาผิดด้วยตัวเอง 2. ส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการตามกฎหมาย หรือ 3.ไม่ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่กรธ.ต้องอธิบายเนื้อหาและสาระของรธน.เพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกรธ. ยังไม่สามารถมีมติว่าจะดำเนินการอย่างไร ต้องรอสรุปอีกครั้ง เพราะในข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ ทางกรธ.ยังให้เหตุผลและมีความเห็นที่แตกต่างกัน
"เราเข้าใจว่าคนที่มีความเห็นต่างจาก กรธ. บางครั้งเขามีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น แต่การแสดงความเห็นที่มีผลเกิดความเข้าใจผิดได้ แน่นอนว่าในความเห็นที่แตกต่างบางครั้งอาจจะเป็นปัญหาเพียงแค่ความเข้าใจ หรือการตีความที่ไม่ตรงกัน หรือเกินเลยไป อาจทำให้สังคมเกิดความเข้าใจที่สับสน อย่างไรก็ตาม กรธ. ยืนยันมาตลอดว่า ไม่ได้เป็นผู้ขัดแย้งกับใคร และกรธ. มีหน้าที่เพียงประชามสัมพันธ์ และเผยแพร่ร่างรธน. คนที่สนับสนุน กรธ. เราก็ดีใจ แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบ หรือไม่เห็นด้วยก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล ทั้งนี้ ท่าทีของรัฐบาลก็ชัดเจนแล้วว่า จะทำตามโรดแมป หากร่างรธน.ไม่ผ่าน ก็ว่ากันไปเป็นจุดๆ" นายอุดม กล่าว
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง เอกสารเห็นแย้งร่างรธน. ที่จัดทำโดยกลุ่มนักศึกษา ว่า การแจกจ่ายเอกสารความเห็นแย้ง สามารถทำได้ เพราะเป็นความเห็นส่วนตัว และไม่เข้าข่ายการปลุกระดม หากทำเป็น ทำได้อยู่แล้ว อีกทั้งคนที่ทำ ก็มีจำนวนมาก ไม่ได้ตื่นเต้นหรือสะทกสะท้านอะไรกับสิ่งที่ดำเนินการ แต่หากเป็นกรณีปลอมแปลง ก็ต้องดูที่เจตนา ว่าต้องการทำอะไร
"วันนี้ศัพท์เรียกกันว่า ปลอม ก็อย่าไปหัวหมอ เรียกอย่างโน้น อย่างนี้เลย รวมความคือ ไม่ใช่ของจริงที่กรธ.ทำ จึงทำให้คนเข้าใจว่า เป็นฉบับที่ กรธ.ทำ หากเป็นเช่นนั้น ก็เข้าข่าย มาตรา 61 วรรคสอง ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรธน. แต่ถ้าเป็นความเห็นต่างจากกรธ. แปลว่า เป็นความเห็นต่าง ไม่ใช่การปลอมอะไร แต่อย่าใช้ปก หรือข้อความที่ทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นเอกสารที่มาจากกรธ. ก็แล้วกัน" รองนายกฯ กล่าว
ส่วนถ้าทำผิด โทษในเรื่องดังกล่าว จะเป็นการระวางโทษตาม มาตรา 61 วรรคสอง หากดูโทษขั้นสุดท้าย ก็จะหนักสุด แต่โทษขั้นต่ำ ไม่มีอะไรมาก ขึ้นอยู่กับศาลว่าจะลงโทษอย่างไร ทั้งนี้ ถ้าเป็นตามที่สื่อบอกว่าเป็นความแตกต่างในเรื่องความเห็น ไม่บิดเบือน ไม่เท็จ ก็ถือว่าไม่ผิด ไม่มีโทษอะไรที่ต้องพูด แต่ถ้าเป็นเท็จ บิดเบือน ถือว่าผิด ส่วนจะรับโทษเช่นไร ก็ขึ้นอยู่กับศาลตัดสิน