วานนี้ (5ก.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงกรณีที่ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เสนอปลดล็อกพรรคการเมืองให้สามารถทำกิจกรรมได้ หลังจากมีการลงประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค.59 ว่า "เดี๋ยวค่อยว่ากัน ทุกอย่างผมบอกแล้วว่าจะรับไว้ทั้งหมดทุกเรื่อง ส่วนจะทำเมื่อไร เดี๋ยวผมจะตัดสินใจเอง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่เสนอขอผมมาเช่นนี้ ก็ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจให้ผมบ้าง"
เมื่อถามย้ำว่า แต่ข้อเสนอดังกล่าวเป็นในส่วนของ สปท.เอง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แล้วสปท.คือใคร จัดตั้งมาจากไหน ผมจัดเองทุกพวกหรือ ไม่ว่าจะพวกใคร ก็อยู่ในนั้นทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวถามว่าในส่วนของนักการเมืองที่จะมีการหารือกัน ก็มีการยกเลิกแล้วทั้งหมด พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในเมื่อเขายกเลิกไปแล้ว สื่อจะมาถามอีกทำไม จะให้เขาทำใหม่หรืออย่างไร วันนี้ คสช. ก็ยังไม่ให้หารือ ไม่ให้มีการประชุมพรรคอะไรทั้งสิ้น เมื่อถามย้ำว่าหลังวันที่ 7 ส.ค. เป็นไปได้หรือไม่ว่าจะมีการผ่อนปรน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าความประพฤติดี ก็ต้องดูก่อน วันนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างหรือยัง ที่ดีก็มีมาก ที่ไม่เปลี่ยนก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงเหมือนเดิม วันนี้อย่าให้ตนแก้ปัญหาเพียงคนเดียว ขอให้แก้ที่ตัวเองกันด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้แผนการสร้างความปรองดองของรัฐบาล และคสช. ยังคงมีอยู่หรือไม่ เพราะช่วงปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าจะถูกเบรกไว้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "เราเคยไปเปิดเวทีเรียกมา ก็ยังไม่ฟังกันเลย ทุกคนก็ยังยืนยันอยู่ที่เดิมหมด มันก็ยาก ไม่ใช่ผมเป็นคนไม่ปรองดอง แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องทำกันต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้" เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่ายังไม่มีแผนชัดเจนใช่หรือไม่ ว่าจะปรองดองกันอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ผมขอถามพวกคุณว่า รักกฎหมาย รักกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ และขอถามว่า ทุกคนมีความเชื่อมั่นกับกฎหมายที่มีอยู่หรือไม่ ไม่เชื่อกันเพราะผมบังคับใช้กฎหมายไม่ยุติธรรมหรืออย่างไร พวกคุณไม่เชื่อผม ก็เป็นเรื่องของคุณ" นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ (5ก.ค.) มีการประชุมสปท.เพื่อพิจารณารายงานของกมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง เรื่องระบบพรรคการเมือง โดยนายสมพงษ์ สระกวี สมาชิกสปท. ในฐานะประธานอนุกมธ. ปฏิรูประบบพรรคการเมือง กล่าวรายงานถึง สาระสำคัญ ของการวางแนวทางเพื่อพัฒนาพรรคการเมือง ให้เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน เช่น
1. การปฏิรูปพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน ไม่ถูกครอบงำจากนายทุน โดยให้สมาชิกพรรค ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมการเป็นสมาชิกรายปีไม่เกิน 200 บาทต่อปี และให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนเพิ่มเติมแก่พรรคการเมืองอีก 1 เท่า ของค่าธรรมเนียมที่พรรคได้รับจากสมาชิก เพื่อให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นหุ้นส่วน และความเป็นเจ้าของพรรคมากขึ้น ไม่ใช่เป็นพรรคของนายทุน
2. การให้สมาชิกพรรคการเมืองมีบทบาทความเป็นเจ้าของพรรค โดยการที่พรรคจะส่งผู้สมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จะต้องให้สมาชิกพรรคในเขตเลือกตั้งนั้น เป็นผู้คัดเลือกผู้สมัครในแต่ละเขต ด้วยวิธีเลือกตั้งขั้นต้น เพื่อให้ผู้สมัครเป็นที่ยอมรับจากสมาชิกพรรคในแต่ละเขต และผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกระดับ ต้องแสดงแบบรายการเสียภาษีย้อนหลัง 3 ปี
3. การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารพรรค ควรแยกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้บริหารพรรคออกจากกัน ให้มีความเป็นอิสระจากกันในการปฏิบัติหน้าที่
4. การตรวจสอบการดำเนินงานของพรรคการเมือง และการยุบพรรค เสนอห้ามยุบพรรคการเมือง เว้นแต่พรรคกระทำผิดอันเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย และทำลายความมั่นคงของชาติ
ขณะที่ นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธาน กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ได้ขอให้ คสช. แก้ไขคำสั่งฉบับที่ 57/2557 เพื่อผ่อนคลายให้พรรคการเมือง สามารถดำเนินกิจการทางการเมืองภายในพรรคได้ หากร่างรธน.ผ่านการทำประชามติ
จากนั้น สมาชิกสปท.ได้ลงมติ ให้ความเห็นชอบรายงานดังกล่าวด้วยคะแนน 140 ต่อ 1 งดออกเสียง 12 เพื่อส่งรายงานไปยังครม. สนช. กรธ. กกต. พรรคการเมือง เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
เมื่อถามย้ำว่า แต่ข้อเสนอดังกล่าวเป็นในส่วนของ สปท.เอง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แล้วสปท.คือใคร จัดตั้งมาจากไหน ผมจัดเองทุกพวกหรือ ไม่ว่าจะพวกใคร ก็อยู่ในนั้นทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวถามว่าในส่วนของนักการเมืองที่จะมีการหารือกัน ก็มีการยกเลิกแล้วทั้งหมด พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในเมื่อเขายกเลิกไปแล้ว สื่อจะมาถามอีกทำไม จะให้เขาทำใหม่หรืออย่างไร วันนี้ คสช. ก็ยังไม่ให้หารือ ไม่ให้มีการประชุมพรรคอะไรทั้งสิ้น เมื่อถามย้ำว่าหลังวันที่ 7 ส.ค. เป็นไปได้หรือไม่ว่าจะมีการผ่อนปรน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าความประพฤติดี ก็ต้องดูก่อน วันนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างหรือยัง ที่ดีก็มีมาก ที่ไม่เปลี่ยนก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงเหมือนเดิม วันนี้อย่าให้ตนแก้ปัญหาเพียงคนเดียว ขอให้แก้ที่ตัวเองกันด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้แผนการสร้างความปรองดองของรัฐบาล และคสช. ยังคงมีอยู่หรือไม่ เพราะช่วงปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าจะถูกเบรกไว้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "เราเคยไปเปิดเวทีเรียกมา ก็ยังไม่ฟังกันเลย ทุกคนก็ยังยืนยันอยู่ที่เดิมหมด มันก็ยาก ไม่ใช่ผมเป็นคนไม่ปรองดอง แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องทำกันต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้" เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่ายังไม่มีแผนชัดเจนใช่หรือไม่ ว่าจะปรองดองกันอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ผมขอถามพวกคุณว่า รักกฎหมาย รักกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ และขอถามว่า ทุกคนมีความเชื่อมั่นกับกฎหมายที่มีอยู่หรือไม่ ไม่เชื่อกันเพราะผมบังคับใช้กฎหมายไม่ยุติธรรมหรืออย่างไร พวกคุณไม่เชื่อผม ก็เป็นเรื่องของคุณ" นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ (5ก.ค.) มีการประชุมสปท.เพื่อพิจารณารายงานของกมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง เรื่องระบบพรรคการเมือง โดยนายสมพงษ์ สระกวี สมาชิกสปท. ในฐานะประธานอนุกมธ. ปฏิรูประบบพรรคการเมือง กล่าวรายงานถึง สาระสำคัญ ของการวางแนวทางเพื่อพัฒนาพรรคการเมือง ให้เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน เช่น
1. การปฏิรูปพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน ไม่ถูกครอบงำจากนายทุน โดยให้สมาชิกพรรค ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมการเป็นสมาชิกรายปีไม่เกิน 200 บาทต่อปี และให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนเพิ่มเติมแก่พรรคการเมืองอีก 1 เท่า ของค่าธรรมเนียมที่พรรคได้รับจากสมาชิก เพื่อให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นหุ้นส่วน และความเป็นเจ้าของพรรคมากขึ้น ไม่ใช่เป็นพรรคของนายทุน
2. การให้สมาชิกพรรคการเมืองมีบทบาทความเป็นเจ้าของพรรค โดยการที่พรรคจะส่งผู้สมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จะต้องให้สมาชิกพรรคในเขตเลือกตั้งนั้น เป็นผู้คัดเลือกผู้สมัครในแต่ละเขต ด้วยวิธีเลือกตั้งขั้นต้น เพื่อให้ผู้สมัครเป็นที่ยอมรับจากสมาชิกพรรคในแต่ละเขต และผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกระดับ ต้องแสดงแบบรายการเสียภาษีย้อนหลัง 3 ปี
3. การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารพรรค ควรแยกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้บริหารพรรคออกจากกัน ให้มีความเป็นอิสระจากกันในการปฏิบัติหน้าที่
4. การตรวจสอบการดำเนินงานของพรรคการเมือง และการยุบพรรค เสนอห้ามยุบพรรคการเมือง เว้นแต่พรรคกระทำผิดอันเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย และทำลายความมั่นคงของชาติ
ขณะที่ นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธาน กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ได้ขอให้ คสช. แก้ไขคำสั่งฉบับที่ 57/2557 เพื่อผ่อนคลายให้พรรคการเมือง สามารถดำเนินกิจการทางการเมืองภายในพรรคได้ หากร่างรธน.ผ่านการทำประชามติ
จากนั้น สมาชิกสปท.ได้ลงมติ ให้ความเห็นชอบรายงานดังกล่าวด้วยคะแนน 140 ต่อ 1 งดออกเสียง 12 เพื่อส่งรายงานไปยังครม. สนช. กรธ. กกต. พรรคการเมือง เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป