เมื่อ 14.00 น. วานนี้ (27มิ.ย.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. แพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับร่างรธน.ในประเด็นการปฏิรูปตำรวจ ว่า เป็นเรื่องที่มวลมหาประชาชนเรียกร้องว่า ต้องการเห็นการปฏิรูปโดยทันที เพราะตำรวจเป็นผู้รักษากฎหมาย รักษาความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน และเป็นต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรม ประชาชนคาดหวังที่จะเห็นตำรวจในบ้านเมืองเป็นตำรวจของประชาชน ไม่ใช่ตำรวจของผู้มีอิทธิพล และไม่ใช่ตำรวจที่ถูกใช้ให้เป็นศัตรูของประชาชน แต่มีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่า การปฏิรูปตำรวจเกิดขึ้นยาก นักวิชาการบางคนบอกว่าเกิดได้ชาติหน้า ไม่มีทางเกิดได้ในชาตินี้ ตนขอบอกว่า ร่างรธน.ฉบับนี้ เขียนเรื่องการปฏิรูปตำรวจถูกใจพวกเราเป็นอย่างยิ่ง ในมาตรา 258 กำหนดว่า จะต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับหน้าที่ อำนาจ และภารกิจของตำรวจให้เหมาะสม โดยจะต้องให้กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของตำรวจได้รับการแก้ไขปรับปรุงเป็นเรื่องแรก และได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม
"สมัยก่อนผมเป็นนักการเมือง ไม่กล้าพูดว่าขึ้นเงินเดือนให้ตำรวจ แต่วันนี้ผมเป็นประชาชน พูดได้ว่าต้องขึ้นเงินเดือนให้ตำรวจ ให้เขาได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพราะนี่คือต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรม"
นอกจากนี้ในรธน.ยังมีหลักประกันว่าตำรวจจะต้องได้รับความเป็นธรรมในการโยกย้ายแต่งตั้ง เลื่อนยศ ตำแหน่ง โดยกำหนดว่า ต้องใช้ระบบคุณธรรม คำนึงถึงอาวุโส ความรู้ความสามารถประกอบกัน ตนคิดว่าถ้าตำรวจได้อ่านรธน.แล้วต้องชื่นใจ เพราะไม่ต้องวิ่งเต้น ไม่ต้องเสียเงินในการแต่งตั้งโยกย้ายอีกแล้ว ต่อไปนี้เป็นระบบคุณธรรมล้วนๆ
นอกจากนี้ ในรธน.ยังกำหนดวิธีการปฏิบัติในการปฏิรูปตำรวจเอาไว้ด้วย โดยมาตรา 260 บัญญัติว่า ต้องมีคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุดที่ครม.เป็นผู้แต่งตั้ง ทำหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเรื่องตำรวจทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยคน 4 กลุ่ม คือ 1. บุคคลที่เป็นประธานกรรมการสรรหาต้องไม่ใช่คนที่เป็นตำรวจอยู่ หรือ เคยเป็นตำรวจมาก่อน แต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม เป็นที่ประจักษ์ของคนทั้งประเทศ 2. คนที่เป็นตำรวจอยู่หรือเคยเป็นตำรวจมาก่อน รวมทั้งผบ.ตร. 3. บุคคลที่ไม่เคยเป็นตำรวจมาก่อน แต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรมเป็นผู้ประจักษ์ โดยมีจำนวนเท่ากับกลุ่มที่ 2 ตามที่ครม.กำหนด และ 4. ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ โดยคนทั้ง 4 กลุ่มนี้ ร่วมกันพิจารณากฎหมายให้แล้วเสร็จภายใน1 ปี นับแต่วันที่รธน.ฉบับนี้บังคับใช้
"สมมุติ วันที่7 ส.ค.นี้ ประชาชนทั้งประเทศพร้อมใจกันลงประชามติรับร่างรธน.จนประกาศใช้ จากนั้นไม่เกิน 1 ปี กฎหมายตำรวจต้องแก้ไขเสร็จ ผมถึงเรียนว่า ผมเต็มใจไปลงมติรับรธน.ฉบับนี้ เฉพาะเรื่องปฏิรูปตำรวจเรื่องเดียว ผมก็ปลื้มใจแล้ว เพราะเราจะได้มีตำรวจของประชาชนที่ทำงานรับใช้ประชาชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่า ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความภาคภูมิใจ ขอแสดงความยินดีกับพี่น้องตำรวจทั่วประเทศไว้เป็นการล่วงหน้า" นายสุเทพ กล่าว
"สมัยก่อนผมเป็นนักการเมือง ไม่กล้าพูดว่าขึ้นเงินเดือนให้ตำรวจ แต่วันนี้ผมเป็นประชาชน พูดได้ว่าต้องขึ้นเงินเดือนให้ตำรวจ ให้เขาได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพราะนี่คือต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรม"
นอกจากนี้ในรธน.ยังมีหลักประกันว่าตำรวจจะต้องได้รับความเป็นธรรมในการโยกย้ายแต่งตั้ง เลื่อนยศ ตำแหน่ง โดยกำหนดว่า ต้องใช้ระบบคุณธรรม คำนึงถึงอาวุโส ความรู้ความสามารถประกอบกัน ตนคิดว่าถ้าตำรวจได้อ่านรธน.แล้วต้องชื่นใจ เพราะไม่ต้องวิ่งเต้น ไม่ต้องเสียเงินในการแต่งตั้งโยกย้ายอีกแล้ว ต่อไปนี้เป็นระบบคุณธรรมล้วนๆ
นอกจากนี้ ในรธน.ยังกำหนดวิธีการปฏิบัติในการปฏิรูปตำรวจเอาไว้ด้วย โดยมาตรา 260 บัญญัติว่า ต้องมีคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุดที่ครม.เป็นผู้แต่งตั้ง ทำหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเรื่องตำรวจทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยคน 4 กลุ่ม คือ 1. บุคคลที่เป็นประธานกรรมการสรรหาต้องไม่ใช่คนที่เป็นตำรวจอยู่ หรือ เคยเป็นตำรวจมาก่อน แต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม เป็นที่ประจักษ์ของคนทั้งประเทศ 2. คนที่เป็นตำรวจอยู่หรือเคยเป็นตำรวจมาก่อน รวมทั้งผบ.ตร. 3. บุคคลที่ไม่เคยเป็นตำรวจมาก่อน แต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรมเป็นผู้ประจักษ์ โดยมีจำนวนเท่ากับกลุ่มที่ 2 ตามที่ครม.กำหนด และ 4. ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ โดยคนทั้ง 4 กลุ่มนี้ ร่วมกันพิจารณากฎหมายให้แล้วเสร็จภายใน1 ปี นับแต่วันที่รธน.ฉบับนี้บังคับใช้
"สมมุติ วันที่7 ส.ค.นี้ ประชาชนทั้งประเทศพร้อมใจกันลงประชามติรับร่างรธน.จนประกาศใช้ จากนั้นไม่เกิน 1 ปี กฎหมายตำรวจต้องแก้ไขเสร็จ ผมถึงเรียนว่า ผมเต็มใจไปลงมติรับรธน.ฉบับนี้ เฉพาะเรื่องปฏิรูปตำรวจเรื่องเดียว ผมก็ปลื้มใจแล้ว เพราะเราจะได้มีตำรวจของประชาชนที่ทำงานรับใช้ประชาชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่า ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความภาคภูมิใจ ขอแสดงความยินดีกับพี่น้องตำรวจทั่วประเทศไว้เป็นการล่วงหน้า" นายสุเทพ กล่าว