ข่าวเรื่องไม้ล้างป่าช้า GT200 กลับมาหลอกหลอนผู้มีอำนาจอีกครั้ง หลังมีข่าวว่าเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลประเทศอังกฤษ ตัดสินยึดทรัพย์สินมูลค่ากว่า 7.9 ล้านปอนด์ (ราว 395 ล้านบาท) จากนายเจมส์ แมคคอร์มิค ผู้ต้องหาในคดีจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอมรุ่น ADE-651 เพื่อนำเงินไปจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของแมคคอร์มิค และพรรคพวกซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ดังกล่าว
ก่อนหน้านี้นายเจมส์ ผู้ต้องหาในคดีจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอมรุ่น ADE-651 ถูกศาลสั่งจำคุก 10 ปี ขณะที่นายแกรี โบลตัน หุ้นส่วนทางธุรกิจถูกสั่งจำคุก 7 ปี จากการที่เขาหลอกขายอุปกรณ์ตรวจจับวัตถุระเบิด GT200
เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่แมคคอร์มิค ผลิตและจำหน่าย ได้แก่ รุ่น ADE-651 ซึ่งจำหน่ายในอิรัก ไนเจอร์ และประเทศอื่นๆ แถบตะวันออกกลาง รวมถึงหน่วยรักษาสันติภาพของยูเอ็นในเลบานอน รุ่น GT200 จำหน่ายให้แก่ลูกค้าในไทย เม็กซิโก ประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกา ส่วนรุ่น Alpha 6 จำหน่ายให้แก่ลูกค้าในไทย อียิปต์ และเม็กซิโก
จากคำอ้างของแมคคอร์มิคพบว่า เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดนี้สามารถค้นพบได้ตั้งแต่ระเบิด ยาเสพติด ของเหลวต่างๆ งาช้าง และคน
คาดกันว่า แมคคอร์มิคขายเครื่อง ADE-651 ไปให้กับรัฐบาลอิรักราว 6,000 เครื่อง และขายให้กับตำรวจและกองทัพอีก 1,000 เครื่อง
หนังสือพิมพ์ดิ อินดิเพนเดนท์ของอังกฤษรายงานว่า เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอมรุ่น ADE-651 มีต้นทุนไม่เกิน 20 ดอลลาร์ โดยมีลักษณะการทำงานที่อิงนิยายวิทยาศาสตร์คล้ายกับเครื่องมือหลอกลวงที่อ้างว่าสามารถค้นหาลูกกอล์ฟได้ ส่วนเว็บไซต์ไทยพับลิก้าอ้างการสืบสวนของทางการอังกฤษว่า รุ่น GT200 มีต้นทุนการผลิตเพียง 5 ปอนด์
ส่วนรัฐบาลไทยพบว่าซื้อในราคาเครื่องละ 426,000-1,200,000 บาท โดยส่วนใหญ่ซื้อในราคาเครื่องละ 900,000 บาท
รัฐบาลอิรักซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของแมคคอร์มิค จะได้เงินชดเชยราว 2.3 ล้านปอนด์ (ราว 115 ล้านบาท) ขณะที่หน่วยงานรัฐบาลของบาห์เรน เลบานอน ไนเจอร์ และจอร์เจีย จะได้รับเงินชดเชยเช่นกัน
พลันที่ข่าวเรื่องนี้ปรากฏออกมาก็เกิดคำถามว่า อ้าวแล้วประเทศไทยล่ะ เมื่อนักข่าวไปถามผู้เกี่ยวข้องก็ตอบคำถามนี้กลับมาด้วยความมึนงงเหมือนจับต้นชนปลายไม่ถูก
แม้แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ถูกถามเรื่องนี้ในตอนแรกก็ตอบกลับผู้สื่อข่าวด้วยอารมณ์ที่ฉุนเฉียว
พล.อ.ประยุทธ์บอกว่า “เมื่อใช้ไม่ได้ก็ใช้ไม่ได้ ถ้าโลกเขาใช้อยู่ก็ใช้ มันก็ใช้ได้ในระยะหนึ่ง แต่พอเขาพิสูจน์ว่าใช้ไม่ได้ ก็ไม่ใช้ แต่เธออย่าลืม ให้นึกถึงคนที่เขาตายเพราะถูกระเบิดเสียบ้าง ไปหาวิธีการอย่างอื่นมาถ้าจะไม่ให้ทำโน่นทำนี่ นึกถึงครอบครัวเขาบ้าง”
ซึ่งน่าจะเป็นคำพูดที่ควรจะถามกับคนที่จัดซื้อมากกว่าว่านึกถึงคนใช้ที่ต้องเอาชีวิตไปเสี่ยงกับไม้ล้างป่าช้านี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในวันต่อมาพล.อ.ประยุทธ์ตั้งหลักได้เลยบอกว่าจะให้ฝ่ายกฎหมายไปดู
การจัดซื้อเครื่อง GT200 ของกองทัพบก จำนวน 11 สัญญา วงเงิน 659,800,000 บาท ส่วนใหญ่ซื้อในสมัยของพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก โดยกรมสรรพาวุธทหารบกเป็นคู่สัญญา มีสัญญาแรกสัญญาเดียวที่ซื้อในสมัยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน มูลค่าสัญญา 1,900,000 บาท คู่สัญญาผู้ค้าทั้ง 11 สัญญาคือ บ.เอวิเอ แซทคอม จำกัด
วันนี้พล.อ.อนุพงษ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นหนึ่งในสมาชิก คสช.
นอกนั้นยังจัดซื้อโดยหน่วยงานอื่นๆ อีก 8 สัญญา ส่วนใหญ่ก็ซื้อผ่านบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัดนี่แหละ ยกเว้นกองทัพอากาศและสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ซื้อผ่านบริษัทอื่น
กรณีนี้รัฐเป็นฝ่ายเสียหายคือถูกหลอกขายสินค้าไร้คุณภาพจากคู่สัญญานั่นเอง ซึ่งน่าตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐไม่ฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากคู่สัญญาเหมือนประเทศอื่นๆ ซ้ำร้ายสำนักข่าวอิศรารายงานว่าปัจจุบันกองทัพยังซื้อสินค้าจากบริษัทแห่งนี้อยู่
และนอกจากต้องเรียกร้องเงินชดเชยจากบริษัทผู้ผลิตแล้ว ยังควรจะฟ้องร้องบริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยด้วย
กรณีนี้ถือเป็นการต้มตุ๋นที่บันลือโลกเลยทีเดียว จนกลายมาเป็นข้ออ้างว่า เราไม่ได้ถูกหลอกคนเดียว โดยพล.อ.ประยุทธ์บอกว่า เป็นเรื่องที่เขาผลิตมา มีการโฆษณาอะไรต่างๆ และมีการทดลองใช้งานในหลายประเทศมาแล้ว ก็ซื้อตามกันมา
น่าสงสัยว่าตอนที่มีการจัดซื้อสินค้านั้น มีการทดสอบการใช้งานหรือไม่ หรือฟังแต่สรรพคุณจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายอย่างเดียว เพราะต่อมาเมื่อมีข้อสงสัยมีการนำมาพิสูจน์ดูกลับพบว่า เครื่อง GT200 นี้มีค่าเท่ากับการเดาสุ่มเท่านั้นเอง จนกระทั่งเรียกขานกันว่า ไม้ล้างป่าช้าคือไม่มีคุณสมบัติตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เลย
อนึ่ง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 มีพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ให้ได้วิทยฐานะวิทยาศาสตรบัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า วทบ. (ทบ.) คนที่จบโรงเรียนนายร้อยจปร.จึงมีสถานะหนึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีคดีที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ GT200 ที่อยู่ใน ป.ป.ช.จำนวน 4 คดี ผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 42 ราย จำนวนเครื่องที่จัดซื้อ 760 เครื่อง รวมวงเงินทั้งสิ้น 693,726,000 บาท ในข้อหากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีจัดซื้อโดยไม่ตรวจสอบราคาที่หน่วยราชการอื่นเคยจัดซื้อ ทำให้ต้องจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวในราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็น และไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย
ก็ต้องติดตามดูว่าสุดท้ายแล้วจะมีผู้กระทำผิดหรือไม่
แต่น่าตั้งคำถามว่ากรณีนี้เข้าหลักการเรียกค่าเสียหายทางแพ่งหรือที่เรียกกันว่าค่าสินไหมทดแทนในกรณีเจ้าหน้าที่รัฐจงใจหรือประมาทเลินเล่อจนทำให้รัฐ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ฯลฯ และประชาชนได้รับความเสียหาย ถือว่ากระทำการ “ละเมิดต่อรัฐ” โดยเจ้าหน้าที่รัฐผู้ที่กระทำการละเมิดจะต้องชดใช้ต่อรัฐโดยออกคำสั่งทางปกครอง ตามพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ ให้ผู้ถูกกล่าวหาชดใช้ เช่นเดียวกับที่ใช้กับยิ่งลักษณ์ในกรณีจำนำข้าวหรือไม่
กรณีเรือเหาะ 350 ล้านซึ่งซื้อมาแล้วไม่สามารถใช้งานได้ก็เกิดขึ้นในสมัยพล.อ.อนุพงษ์ เป็นผู้บัญชาการทหารบกเช่นเดียวกัน ขณะนี้เราได้เรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากบริษัทคู่สัญญาหรือไม่ หรือถือเป็นความบกพร่องของผู้จัดซื้อหรือไม่
ถ้าเทียบกับกรณีจำนำข้าวที่ยิ่งลักษณ์ต้องรับผิดชอบทางแพ่งในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดแล้ว ใครควรจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายจากไม้ล้างป่าช้านี้
ก่อนหน้านี้นายเจมส์ ผู้ต้องหาในคดีจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอมรุ่น ADE-651 ถูกศาลสั่งจำคุก 10 ปี ขณะที่นายแกรี โบลตัน หุ้นส่วนทางธุรกิจถูกสั่งจำคุก 7 ปี จากการที่เขาหลอกขายอุปกรณ์ตรวจจับวัตถุระเบิด GT200
เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่แมคคอร์มิค ผลิตและจำหน่าย ได้แก่ รุ่น ADE-651 ซึ่งจำหน่ายในอิรัก ไนเจอร์ และประเทศอื่นๆ แถบตะวันออกกลาง รวมถึงหน่วยรักษาสันติภาพของยูเอ็นในเลบานอน รุ่น GT200 จำหน่ายให้แก่ลูกค้าในไทย เม็กซิโก ประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกา ส่วนรุ่น Alpha 6 จำหน่ายให้แก่ลูกค้าในไทย อียิปต์ และเม็กซิโก
จากคำอ้างของแมคคอร์มิคพบว่า เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดนี้สามารถค้นพบได้ตั้งแต่ระเบิด ยาเสพติด ของเหลวต่างๆ งาช้าง และคน
คาดกันว่า แมคคอร์มิคขายเครื่อง ADE-651 ไปให้กับรัฐบาลอิรักราว 6,000 เครื่อง และขายให้กับตำรวจและกองทัพอีก 1,000 เครื่อง
หนังสือพิมพ์ดิ อินดิเพนเดนท์ของอังกฤษรายงานว่า เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอมรุ่น ADE-651 มีต้นทุนไม่เกิน 20 ดอลลาร์ โดยมีลักษณะการทำงานที่อิงนิยายวิทยาศาสตร์คล้ายกับเครื่องมือหลอกลวงที่อ้างว่าสามารถค้นหาลูกกอล์ฟได้ ส่วนเว็บไซต์ไทยพับลิก้าอ้างการสืบสวนของทางการอังกฤษว่า รุ่น GT200 มีต้นทุนการผลิตเพียง 5 ปอนด์
ส่วนรัฐบาลไทยพบว่าซื้อในราคาเครื่องละ 426,000-1,200,000 บาท โดยส่วนใหญ่ซื้อในราคาเครื่องละ 900,000 บาท
รัฐบาลอิรักซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของแมคคอร์มิค จะได้เงินชดเชยราว 2.3 ล้านปอนด์ (ราว 115 ล้านบาท) ขณะที่หน่วยงานรัฐบาลของบาห์เรน เลบานอน ไนเจอร์ และจอร์เจีย จะได้รับเงินชดเชยเช่นกัน
พลันที่ข่าวเรื่องนี้ปรากฏออกมาก็เกิดคำถามว่า อ้าวแล้วประเทศไทยล่ะ เมื่อนักข่าวไปถามผู้เกี่ยวข้องก็ตอบคำถามนี้กลับมาด้วยความมึนงงเหมือนจับต้นชนปลายไม่ถูก
แม้แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ถูกถามเรื่องนี้ในตอนแรกก็ตอบกลับผู้สื่อข่าวด้วยอารมณ์ที่ฉุนเฉียว
พล.อ.ประยุทธ์บอกว่า “เมื่อใช้ไม่ได้ก็ใช้ไม่ได้ ถ้าโลกเขาใช้อยู่ก็ใช้ มันก็ใช้ได้ในระยะหนึ่ง แต่พอเขาพิสูจน์ว่าใช้ไม่ได้ ก็ไม่ใช้ แต่เธออย่าลืม ให้นึกถึงคนที่เขาตายเพราะถูกระเบิดเสียบ้าง ไปหาวิธีการอย่างอื่นมาถ้าจะไม่ให้ทำโน่นทำนี่ นึกถึงครอบครัวเขาบ้าง”
ซึ่งน่าจะเป็นคำพูดที่ควรจะถามกับคนที่จัดซื้อมากกว่าว่านึกถึงคนใช้ที่ต้องเอาชีวิตไปเสี่ยงกับไม้ล้างป่าช้านี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในวันต่อมาพล.อ.ประยุทธ์ตั้งหลักได้เลยบอกว่าจะให้ฝ่ายกฎหมายไปดู
การจัดซื้อเครื่อง GT200 ของกองทัพบก จำนวน 11 สัญญา วงเงิน 659,800,000 บาท ส่วนใหญ่ซื้อในสมัยของพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก โดยกรมสรรพาวุธทหารบกเป็นคู่สัญญา มีสัญญาแรกสัญญาเดียวที่ซื้อในสมัยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน มูลค่าสัญญา 1,900,000 บาท คู่สัญญาผู้ค้าทั้ง 11 สัญญาคือ บ.เอวิเอ แซทคอม จำกัด
วันนี้พล.อ.อนุพงษ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นหนึ่งในสมาชิก คสช.
นอกนั้นยังจัดซื้อโดยหน่วยงานอื่นๆ อีก 8 สัญญา ส่วนใหญ่ก็ซื้อผ่านบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัดนี่แหละ ยกเว้นกองทัพอากาศและสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ซื้อผ่านบริษัทอื่น
กรณีนี้รัฐเป็นฝ่ายเสียหายคือถูกหลอกขายสินค้าไร้คุณภาพจากคู่สัญญานั่นเอง ซึ่งน่าตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐไม่ฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากคู่สัญญาเหมือนประเทศอื่นๆ ซ้ำร้ายสำนักข่าวอิศรารายงานว่าปัจจุบันกองทัพยังซื้อสินค้าจากบริษัทแห่งนี้อยู่
และนอกจากต้องเรียกร้องเงินชดเชยจากบริษัทผู้ผลิตแล้ว ยังควรจะฟ้องร้องบริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยด้วย
กรณีนี้ถือเป็นการต้มตุ๋นที่บันลือโลกเลยทีเดียว จนกลายมาเป็นข้ออ้างว่า เราไม่ได้ถูกหลอกคนเดียว โดยพล.อ.ประยุทธ์บอกว่า เป็นเรื่องที่เขาผลิตมา มีการโฆษณาอะไรต่างๆ และมีการทดลองใช้งานในหลายประเทศมาแล้ว ก็ซื้อตามกันมา
น่าสงสัยว่าตอนที่มีการจัดซื้อสินค้านั้น มีการทดสอบการใช้งานหรือไม่ หรือฟังแต่สรรพคุณจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายอย่างเดียว เพราะต่อมาเมื่อมีข้อสงสัยมีการนำมาพิสูจน์ดูกลับพบว่า เครื่อง GT200 นี้มีค่าเท่ากับการเดาสุ่มเท่านั้นเอง จนกระทั่งเรียกขานกันว่า ไม้ล้างป่าช้าคือไม่มีคุณสมบัติตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เลย
อนึ่ง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 มีพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ให้ได้วิทยฐานะวิทยาศาสตรบัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า วทบ. (ทบ.) คนที่จบโรงเรียนนายร้อยจปร.จึงมีสถานะหนึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีคดีที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ GT200 ที่อยู่ใน ป.ป.ช.จำนวน 4 คดี ผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 42 ราย จำนวนเครื่องที่จัดซื้อ 760 เครื่อง รวมวงเงินทั้งสิ้น 693,726,000 บาท ในข้อหากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีจัดซื้อโดยไม่ตรวจสอบราคาที่หน่วยราชการอื่นเคยจัดซื้อ ทำให้ต้องจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวในราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็น และไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย
ก็ต้องติดตามดูว่าสุดท้ายแล้วจะมีผู้กระทำผิดหรือไม่
แต่น่าตั้งคำถามว่ากรณีนี้เข้าหลักการเรียกค่าเสียหายทางแพ่งหรือที่เรียกกันว่าค่าสินไหมทดแทนในกรณีเจ้าหน้าที่รัฐจงใจหรือประมาทเลินเล่อจนทำให้รัฐ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ฯลฯ และประชาชนได้รับความเสียหาย ถือว่ากระทำการ “ละเมิดต่อรัฐ” โดยเจ้าหน้าที่รัฐผู้ที่กระทำการละเมิดจะต้องชดใช้ต่อรัฐโดยออกคำสั่งทางปกครอง ตามพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ ให้ผู้ถูกกล่าวหาชดใช้ เช่นเดียวกับที่ใช้กับยิ่งลักษณ์ในกรณีจำนำข้าวหรือไม่
กรณีเรือเหาะ 350 ล้านซึ่งซื้อมาแล้วไม่สามารถใช้งานได้ก็เกิดขึ้นในสมัยพล.อ.อนุพงษ์ เป็นผู้บัญชาการทหารบกเช่นเดียวกัน ขณะนี้เราได้เรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากบริษัทคู่สัญญาหรือไม่ หรือถือเป็นความบกพร่องของผู้จัดซื้อหรือไม่
ถ้าเทียบกับกรณีจำนำข้าวที่ยิ่งลักษณ์ต้องรับผิดชอบทางแพ่งในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดแล้ว ใครควรจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายจากไม้ล้างป่าช้านี้