ผู้จัดการรายวัน360-กองปราบออกหมายเรียก 19 แกนนำ นปช. ชุมนุมเกิน 5 คน หลังแถลงเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ "แก๊งนปช." โวย "บิ๊กป้อม" หยุดใช้วิธีข่มขู่ คุกคาม คนคิดการใหญ่ต้องใจนักเลง ซัดใช้วิชามารในการตั้งข้อหา "เต้น" เย้ย "บิ๊กตู่" คุย "บันคีมุน" แต่เล่าความจริงไม่หมด ด้านศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยม.61 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ 29 มิ.ย.นี้
นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ คณะทำงานพิเศษฝ่ายกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เพื่อให้ดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในข้อหาข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ที่7/2557 ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป จากกรณีที่ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติ ที่อิมพีเรียลลาดพร้าว เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา
สำหรับรายชื่อแกนนำ นปช. ที่ถูกแจ้งความดำเนินคดี 19 คน ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. , นางธิดา ถาวรเศรษฐ , จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ , นพ.เหวง โตจิราการ , นายนิสิต สินธุไพร , นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ , นายยงยุทธ ติยะไพรัช , นายก่อแก้ว พิกุลทอง , นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ , นายสงคราม เลิศกิจไพโรจน์ , นายสมหวัง อัศราศี , นายยศวริศ ชูกล่อม , นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ , นายเกริกมนตรี รุจโสตถิรพัฒน์ , นายอารี ไกรนรา , นายสมชาย ใจมุ่ง , นายศักดิ์รพี พรหมชาติ และนายพรศักดิ์ ศรีละมุล
โดยทั้งหมดจะต้องมาพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ที่กองบังคับการกองปราบปราม หากไม่เดินทางมาพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ทางพนักงานสอบสวน จะออกหมายเรียกไปอีก 1 ครั้ง และถ้าไม่มาพบอีก พนักงานสอบสอบจะออกหมายจับดำเนินคดีต่อไป
**นปช.โวยบิ๊กป้อมหยุดพฤติกรรมข่มขู่
ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ฝั่งก.พ. นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. กับพวก ได้ไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่หยุดคุกคามประชาชนที่ทำการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ
นายจตุพร กล่าวว่า ขอสื่อสารไปยัง พล.อ.ประวิตร ในฐานะเป็นผู้มีอำนาจอย่างแท้จริง ขึ้นชื่อเป็นซูเปอร์รัฐฏาธิปัตย์ และคิดจะเป็นนายกฯ ในอนาคต กว่าจะถึงวันนี้ได้ พล.อ.ประวิตร ต้องมีจิตใจนักเลง รักษาคำพูด และทราบว่าอะไรคือการรังแกประชาชน ขอให้ท่านยุติการคุมคามประชาชน และไม่จำเป็นต้องถามว่า ประชาชนได้เสื้อ ได้ป้ายศูนย์ปราบโกงจากที่ใด เพราะของทั้งหมด พวกตนทำให้ ซึ่งงบทุกอย่างที่ทำ เทียบไม่ได้กับที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) และคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)ได้ใช้
*** เมินข้อหาชุมนุมเกิน 5 คน
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า การออกหมายเรียกแกนนำ นปช. ส่วนกลาง และภูมิภาค ที่ร่วมกิจกรรมเปิดศูนย์ปราบโกงฯ เราไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับข้อกล่าวหาใดๆ ที่ปรากฏอยู่ในหมายเรียก โดยเฉพาะกล่าวหาว่า เป็นการชุมนุมทางการเมือง นำไปสู่ความวุ่นวาย เนื่องจากในวันดังกล่าวมีการเจรจาแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกับเจ้าหน้าที่ ทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมจบลงในวงเจรจา ไม่มีความเคลื่อนไหวในรูปแบบอื่นแต่อย่างใด แต่ถ้ามีหมายเรียกมา พวกเราพร้อมจะเข้าไปพิสูจน์ตัวเองในกระบวนการยุติธรรม แต่ก็รู้อยู่ว่าเป็นไปได้ยากที่จะหาความยุติธรรมได้
ส่วนกรณีนายมีชัย ฤชุพันธ์ ออกมาระบุว่า มีพวกป่วนครู ค. ถือเป็นอันธพาล กำลังให้ฝ่ายทนายของ นปช. ดูข้อกฎหมายอยู่ แต่ไม่คิดว่าคนอายุมากอย่างนายมีชัย จะเก็บอารมณ์ไม่ได้จนออกอาการแบบนี้ และกรณีพล.อ.ประยุทธ์ ที่ดูจะภาคภูมิใจที่ได้ต่อสายคุยกับนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) อยากจะบอกสาระที่แท้จริงว่าเขาไม่สนับสนุนรัฐบาลนี้ แต่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย และขอท้าพิสูจน์ว่ายูเอ็นหรือนานาชาติสนใจจะฟังรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร หรือประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่ถูกยึดไปแล้วกว่า 2 ปีมากกว่ากัน
** จี้อัยการยื่นศาลถอนประกันแก๊งนปช.
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้อัยการพิจารณาพฤติกรรมกลุ่มนายจตุพร และพวก ที่ออกมาเคลื่อนไหวตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติ และได้ถูกตั้งข้อกล่าวหาชุมนุมเกิน 5 คน โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยขอให้พิจารณาว่าผิดเงื่อนไขที่ศาลเคยอนุญาตให้ประกันตัวจากคดีก่อการร้ายหรือไม่ หากเข้าข่ายผิดเงื่อนไข ก็ควรยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขอถอนการประกันตัวบุคคลเหล่านี้ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาซ้ำซาก
***"วิษณุ"โนคอมเม้นต์แถลงการณ์ยูเอ็น
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ศูนย์ข่าวของยูเอ็นเผยแพร่ข่าวหลังการหารือทางโทรศัพท์ของนายบัน คี มูน กับพล.อ.ประยุทธ์ ผ่านแถลงการณ์ของโฆษกว่า เลขาธิการยูเอ็นพร้อมที่จะให้การสนับสนุนไทยในการเตรียมความพร้อมเพื่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่จะนำพาประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตยว่า ผมไม่มีความเห็นอะไร คนเราไม่จำเป็นต้องมีความเห็นทุกเรื่องหรอก หรือเห็น ก็อาจสงบปากสงบคำบ้างก็ได้ เรื่องจะได้เรียบร้อย
พร้อมกันนี้ นายวิษณุ ไม่ตอบกรณีที่แกนนำ นปช. ยื่นหนังสือต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็นโอเอชซีเอชอาร์) เพื่อร้องเรียนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ย้ำว่า ถ้าจะเข้ามา แล้วมาเดินเหินเหมือนพวกนักท่องเที่ยว ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าจะมาอย่างเป็นทางการ ก็ต้องมีการเชิญ ส่วนการลงประชามติ ไม่ได้มีความคิดและตั้งใจ รวมถึงจัดงบเอาไว้ ตอบได้แค่นี้
*** เชื่อยูเอ็นเข้าใจสถานการณ์ในไทย
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สปท. กล่าวว่า การออกแถลงการณ์ของนายบัน คี มุน เลขาธิการยูเอ็น ที่เน้นย้ำถึงการอภิปรายโต้เถียงแบบเปิดและกว้างขวาง ก่อนวันประชามติ 7 ส.ค.นั้น เชื่อว่า เลขาฯ ยูเอ็น คงเข้าใจรัฐบาล แต่ถ้าเขาไม่เข้าใจ ก็ช่วยไม่ได้ ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะผลประโยชน์ของประเทศต้องมาก่อนอยู่แล้ว
***วินิจฉัย ม.61 ขัดรธน.หรือไม่29 มิ.ย.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวภายหลังการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณากรณีผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอความเห็นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาตรา61วรรคสองของพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 4 หรือไม่ โดยที่ประชุมได้พิจารณาคำขอของ สนช. ที่ขอให้พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ และนายสมชาย แสวงการ สนช. ในฐานะเลขานุการกมธ.วิสามัญ มาแถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมด้วยวาจาต่อศาล ซึ่งศาลเห็นว่า เอกสารหลักฐานในสำนวนมีเพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยได้แล้ว จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตตามคำขอ และแจ้งให้ประธานสนช.ทราบ จากนั้นศาลได้มีการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัย และได้นัดแถลงด้วยวาจาพร้อมลงมติในวันพุธที่ 29 มิ.ย. เวลา 13.30 น.
นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ คณะทำงานพิเศษฝ่ายกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เพื่อให้ดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในข้อหาข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ที่7/2557 ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป จากกรณีที่ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติ ที่อิมพีเรียลลาดพร้าว เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา
สำหรับรายชื่อแกนนำ นปช. ที่ถูกแจ้งความดำเนินคดี 19 คน ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. , นางธิดา ถาวรเศรษฐ , จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ , นพ.เหวง โตจิราการ , นายนิสิต สินธุไพร , นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ , นายยงยุทธ ติยะไพรัช , นายก่อแก้ว พิกุลทอง , นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ , นายสงคราม เลิศกิจไพโรจน์ , นายสมหวัง อัศราศี , นายยศวริศ ชูกล่อม , นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ , นายเกริกมนตรี รุจโสตถิรพัฒน์ , นายอารี ไกรนรา , นายสมชาย ใจมุ่ง , นายศักดิ์รพี พรหมชาติ และนายพรศักดิ์ ศรีละมุล
โดยทั้งหมดจะต้องมาพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ที่กองบังคับการกองปราบปราม หากไม่เดินทางมาพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ทางพนักงานสอบสวน จะออกหมายเรียกไปอีก 1 ครั้ง และถ้าไม่มาพบอีก พนักงานสอบสอบจะออกหมายจับดำเนินคดีต่อไป
**นปช.โวยบิ๊กป้อมหยุดพฤติกรรมข่มขู่
ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ฝั่งก.พ. นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. กับพวก ได้ไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่หยุดคุกคามประชาชนที่ทำการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ
นายจตุพร กล่าวว่า ขอสื่อสารไปยัง พล.อ.ประวิตร ในฐานะเป็นผู้มีอำนาจอย่างแท้จริง ขึ้นชื่อเป็นซูเปอร์รัฐฏาธิปัตย์ และคิดจะเป็นนายกฯ ในอนาคต กว่าจะถึงวันนี้ได้ พล.อ.ประวิตร ต้องมีจิตใจนักเลง รักษาคำพูด และทราบว่าอะไรคือการรังแกประชาชน ขอให้ท่านยุติการคุมคามประชาชน และไม่จำเป็นต้องถามว่า ประชาชนได้เสื้อ ได้ป้ายศูนย์ปราบโกงจากที่ใด เพราะของทั้งหมด พวกตนทำให้ ซึ่งงบทุกอย่างที่ทำ เทียบไม่ได้กับที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) และคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)ได้ใช้
*** เมินข้อหาชุมนุมเกิน 5 คน
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า การออกหมายเรียกแกนนำ นปช. ส่วนกลาง และภูมิภาค ที่ร่วมกิจกรรมเปิดศูนย์ปราบโกงฯ เราไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับข้อกล่าวหาใดๆ ที่ปรากฏอยู่ในหมายเรียก โดยเฉพาะกล่าวหาว่า เป็นการชุมนุมทางการเมือง นำไปสู่ความวุ่นวาย เนื่องจากในวันดังกล่าวมีการเจรจาแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกับเจ้าหน้าที่ ทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมจบลงในวงเจรจา ไม่มีความเคลื่อนไหวในรูปแบบอื่นแต่อย่างใด แต่ถ้ามีหมายเรียกมา พวกเราพร้อมจะเข้าไปพิสูจน์ตัวเองในกระบวนการยุติธรรม แต่ก็รู้อยู่ว่าเป็นไปได้ยากที่จะหาความยุติธรรมได้
ส่วนกรณีนายมีชัย ฤชุพันธ์ ออกมาระบุว่า มีพวกป่วนครู ค. ถือเป็นอันธพาล กำลังให้ฝ่ายทนายของ นปช. ดูข้อกฎหมายอยู่ แต่ไม่คิดว่าคนอายุมากอย่างนายมีชัย จะเก็บอารมณ์ไม่ได้จนออกอาการแบบนี้ และกรณีพล.อ.ประยุทธ์ ที่ดูจะภาคภูมิใจที่ได้ต่อสายคุยกับนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) อยากจะบอกสาระที่แท้จริงว่าเขาไม่สนับสนุนรัฐบาลนี้ แต่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย และขอท้าพิสูจน์ว่ายูเอ็นหรือนานาชาติสนใจจะฟังรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร หรือประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่ถูกยึดไปแล้วกว่า 2 ปีมากกว่ากัน
** จี้อัยการยื่นศาลถอนประกันแก๊งนปช.
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้อัยการพิจารณาพฤติกรรมกลุ่มนายจตุพร และพวก ที่ออกมาเคลื่อนไหวตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติ และได้ถูกตั้งข้อกล่าวหาชุมนุมเกิน 5 คน โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยขอให้พิจารณาว่าผิดเงื่อนไขที่ศาลเคยอนุญาตให้ประกันตัวจากคดีก่อการร้ายหรือไม่ หากเข้าข่ายผิดเงื่อนไข ก็ควรยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขอถอนการประกันตัวบุคคลเหล่านี้ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาซ้ำซาก
***"วิษณุ"โนคอมเม้นต์แถลงการณ์ยูเอ็น
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ศูนย์ข่าวของยูเอ็นเผยแพร่ข่าวหลังการหารือทางโทรศัพท์ของนายบัน คี มูน กับพล.อ.ประยุทธ์ ผ่านแถลงการณ์ของโฆษกว่า เลขาธิการยูเอ็นพร้อมที่จะให้การสนับสนุนไทยในการเตรียมความพร้อมเพื่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่จะนำพาประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตยว่า ผมไม่มีความเห็นอะไร คนเราไม่จำเป็นต้องมีความเห็นทุกเรื่องหรอก หรือเห็น ก็อาจสงบปากสงบคำบ้างก็ได้ เรื่องจะได้เรียบร้อย
พร้อมกันนี้ นายวิษณุ ไม่ตอบกรณีที่แกนนำ นปช. ยื่นหนังสือต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็นโอเอชซีเอชอาร์) เพื่อร้องเรียนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ย้ำว่า ถ้าจะเข้ามา แล้วมาเดินเหินเหมือนพวกนักท่องเที่ยว ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าจะมาอย่างเป็นทางการ ก็ต้องมีการเชิญ ส่วนการลงประชามติ ไม่ได้มีความคิดและตั้งใจ รวมถึงจัดงบเอาไว้ ตอบได้แค่นี้
*** เชื่อยูเอ็นเข้าใจสถานการณ์ในไทย
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สปท. กล่าวว่า การออกแถลงการณ์ของนายบัน คี มุน เลขาธิการยูเอ็น ที่เน้นย้ำถึงการอภิปรายโต้เถียงแบบเปิดและกว้างขวาง ก่อนวันประชามติ 7 ส.ค.นั้น เชื่อว่า เลขาฯ ยูเอ็น คงเข้าใจรัฐบาล แต่ถ้าเขาไม่เข้าใจ ก็ช่วยไม่ได้ ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะผลประโยชน์ของประเทศต้องมาก่อนอยู่แล้ว
***วินิจฉัย ม.61 ขัดรธน.หรือไม่29 มิ.ย.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวภายหลังการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณากรณีผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอความเห็นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาตรา61วรรคสองของพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 4 หรือไม่ โดยที่ประชุมได้พิจารณาคำขอของ สนช. ที่ขอให้พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ และนายสมชาย แสวงการ สนช. ในฐานะเลขานุการกมธ.วิสามัญ มาแถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมด้วยวาจาต่อศาล ซึ่งศาลเห็นว่า เอกสารหลักฐานในสำนวนมีเพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยได้แล้ว จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตตามคำขอ และแจ้งให้ประธานสนช.ทราบ จากนั้นศาลได้มีการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัย และได้นัดแถลงด้วยวาจาพร้อมลงมติในวันพุธที่ 29 มิ.ย. เวลา 13.30 น.