ผู้จัดการรายวัน360- รมว.วัฒนธรรม แจงกัมพูชาขึ้นทะเบียนโขนไม่กระทบต่อไทย ชี้เป็นแบบแบบภูมิปัญญาที่หลายประเทศมีคล้ายกัน ไทยสามารถทำได้เพราะถือว่าเป็นวัฒนธรรมร่วม ระบุไทยกำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียนเรื่องอาหารไทย มวยไทย โนรา และโขน “หม่อมปนัดดา” ระบุเตรียมให้ กต.ประสานสร้างความเข้าใจ นายกฯขออย่านำเรื่องเขมรขึ้นทะเบียนโขนขยายความขัดแย้ง
หลังจากเกิดกรณีถกเถียง ประเด็นที่ชาวกัมพูชาหลายรายได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ต่อต้านไทยขึ้นทะเบียนโขนเป็นมรดกโลกด้านศิลปะวัฒนธรรม โดยอ้างว่าโขนเป็นของกัมพูชาไม่ใช่ของไทย และได้ยื่นกับทางยูเนสโกขอขึ้นทะเบียนโขนไปก่อนหน้าไทยนั้น
ล่าสุด นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน แห่งกัมพูชา โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า กระทรวงวัฒนธรรมกัมพูชาจ่อเสนอให้ละครโขนกัมพูชา เข้าสู่การพิจารณาของยูเนสโก ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมกันนี้ กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์ของกัมพูชาแถลงว่า เตรียมยื่นคัดค้านความเคลื่อนไหวของทางการไทยที่เสนอให้การแสดงละครโขนเป็นมรดกโลก นอกจากนี้ยังพูดถึงประเด็น ที่ข้อพิพาทดังกล่าว อาจกระทบไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้
ด้าน นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ออกมาเปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าวว่า การที่กัมพูชาได้เสนอขอให้โขนขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น ไม่ได้มีผลกระทบกับไทย เพราะปกติการขึ้นทะเบียนจะมี 2ประเภท คือ ประเภทที่อยู่ในประเทศ และประเภทแบบภูมิปัญญาที่หลายประเทศมีคล้ายกัน เช่น แทงโก้ ก็มีการขึ้นทะเบียนทั้งของ อุรุกวัย เปรู และอาร์เจนติน่า อุรุกวัย เป็นต้นกระทรวงฯ ก็ยังไม่มีแนวคิดที่จะนำโขนมาขึ้นทะเบียน เพราะขณะนี้ไทยกำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียนเรื่อง อาหารไทย มวยไทย มโนห์รา และโขนตามลำดับ
ขณะที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โขนของเราสามารถขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้เช่นเดียวกัน และเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ โดยกระทรวงการต่างประเทศสามารถเข้ามาประสานใช้ช่องทางทางการทูตสร้างความเข้าใจต่อไป
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า อย่าไปขยายความขัดแย้งอีก และสิ่งสำคัญต้องเข้าใจว่าที่ผ่านมาเราไม่ได้สมัครสมาชิกภาคีอนุสัญญาว่า การสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกไว้ เมื่อไม่ไปสมัครก็ไม่สามารถไปจดทะเบียนได้ ขณะที่อีกประเทศหนึ่งได้จดทะเบียนไปแล้ว
" วันนี้รัฐบาลสมัครเข้าไป และเมื่อเรียบร้อยมีการตอบรับมาแล้วเราก็จะจดทะเบียน ซึ่งการจดทะเบียนนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการจดทะเบียนของทุกประเทศที่มี ซึ่งของเราจดทะเบียนช้าไปกว่าเขา ซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ค่อยสนใจเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ และสิ่งที่ตาม คือ เรื่องของลิขสิทธิ์ เรื่องสินค้าจีไอ ที่ต้องให้ความสำคัญมาก เพราะการผลิตสินค้าต้องมีที่มา หรือแม้กระทั่งกิจกรรมการแสดงที่เป็นของไทยต้องจดเอาไว้ เช่น เรื่องการแต่งตัวของก็ไม่เหมือนแล้ว ของเราก็มีความวิจิตรเรื่องการแต่งกาย ส่วนเรื่องบทร้อง รำ มีความงดงาม เป็นเอกลักษณ์ของเรา ไม่ใช่ไปเปรียบเทียบใครเก่งกว่าใคร หรือเป็นของใคร ทั้งหมดก็เป็นของภูมิภาคนี้ทั้งนั้นซึ่งเป็นพื้นฐานเดียวกัน"
หลังจากเกิดกรณีถกเถียง ประเด็นที่ชาวกัมพูชาหลายรายได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ต่อต้านไทยขึ้นทะเบียนโขนเป็นมรดกโลกด้านศิลปะวัฒนธรรม โดยอ้างว่าโขนเป็นของกัมพูชาไม่ใช่ของไทย และได้ยื่นกับทางยูเนสโกขอขึ้นทะเบียนโขนไปก่อนหน้าไทยนั้น
ล่าสุด นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน แห่งกัมพูชา โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า กระทรวงวัฒนธรรมกัมพูชาจ่อเสนอให้ละครโขนกัมพูชา เข้าสู่การพิจารณาของยูเนสโก ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมกันนี้ กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์ของกัมพูชาแถลงว่า เตรียมยื่นคัดค้านความเคลื่อนไหวของทางการไทยที่เสนอให้การแสดงละครโขนเป็นมรดกโลก นอกจากนี้ยังพูดถึงประเด็น ที่ข้อพิพาทดังกล่าว อาจกระทบไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้
ด้าน นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ออกมาเปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าวว่า การที่กัมพูชาได้เสนอขอให้โขนขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น ไม่ได้มีผลกระทบกับไทย เพราะปกติการขึ้นทะเบียนจะมี 2ประเภท คือ ประเภทที่อยู่ในประเทศ และประเภทแบบภูมิปัญญาที่หลายประเทศมีคล้ายกัน เช่น แทงโก้ ก็มีการขึ้นทะเบียนทั้งของ อุรุกวัย เปรู และอาร์เจนติน่า อุรุกวัย เป็นต้นกระทรวงฯ ก็ยังไม่มีแนวคิดที่จะนำโขนมาขึ้นทะเบียน เพราะขณะนี้ไทยกำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียนเรื่อง อาหารไทย มวยไทย มโนห์รา และโขนตามลำดับ
ขณะที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โขนของเราสามารถขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้เช่นเดียวกัน และเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ โดยกระทรวงการต่างประเทศสามารถเข้ามาประสานใช้ช่องทางทางการทูตสร้างความเข้าใจต่อไป
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า อย่าไปขยายความขัดแย้งอีก และสิ่งสำคัญต้องเข้าใจว่าที่ผ่านมาเราไม่ได้สมัครสมาชิกภาคีอนุสัญญาว่า การสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกไว้ เมื่อไม่ไปสมัครก็ไม่สามารถไปจดทะเบียนได้ ขณะที่อีกประเทศหนึ่งได้จดทะเบียนไปแล้ว
" วันนี้รัฐบาลสมัครเข้าไป และเมื่อเรียบร้อยมีการตอบรับมาแล้วเราก็จะจดทะเบียน ซึ่งการจดทะเบียนนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการจดทะเบียนของทุกประเทศที่มี ซึ่งของเราจดทะเบียนช้าไปกว่าเขา ซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ค่อยสนใจเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ และสิ่งที่ตาม คือ เรื่องของลิขสิทธิ์ เรื่องสินค้าจีไอ ที่ต้องให้ความสำคัญมาก เพราะการผลิตสินค้าต้องมีที่มา หรือแม้กระทั่งกิจกรรมการแสดงที่เป็นของไทยต้องจดเอาไว้ เช่น เรื่องการแต่งตัวของก็ไม่เหมือนแล้ว ของเราก็มีความวิจิตรเรื่องการแต่งกาย ส่วนเรื่องบทร้อง รำ มีความงดงาม เป็นเอกลักษณ์ของเรา ไม่ใช่ไปเปรียบเทียบใครเก่งกว่าใคร หรือเป็นของใคร ทั้งหมดก็เป็นของภูมิภาคนี้ทั้งนั้นซึ่งเป็นพื้นฐานเดียวกัน"