ตามนัยแห่งสังคมศาสตร์ คนเป็นคนเป็นสัตว์สังคม เนื่องจากว่าคนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในทำนองเดียวกับสัตว์
ถึงแม้ว่า คนกับสัตว์จะมีความเหมือนกันในการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มและเป็นฝูง แต่คนกับสัตว์ก็มีต่างกัน ดังจะเห็นได้ในจริยศาสตร์และในพุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้
1. ตามนัยแห่งจริยศาสตร์ คนกับสัตว์มีความต่างกัน 2 ด้านคือ
1.1 ด้านร่างกาย คนมีโครงสร้างของร่างกายสูงขึ้นในแนวตั้งกับพื้นผิวของโลก ส่วนโครงสร้างทางด้านร่างกายสัตว์ยาวไปตามแนวนอนขนานไปกับพื้นผิวของโลก ด้วยเหตุนี้สัตว์จึงถูกเรียกว่า เดรัจฉาน แปลว่าไปทางขวาง และคำนี้ได้กลายมาเป็นคำด่า คนขัดขวางความเจริญว่า คนขวางโลกซึ่งหมายถึงเป็นสัตว์นั่นเอง
1.2 ทางด้านจิตใจ คนมีเหตุผลควบคุมพฤติกรรม แต่สัตว์มีเพียงสัญชาตญาณควบคุมพฤติกรรม
2. ในทางพุทธศาสนา คนต่างจากสัตว์เนื่องจากว่ามีคุณธรรมที่ทำให้คนมีจิตใจสูงกว่าสัตว์ จึงได้ชื่อว่ามนุษย์ แปลตามตัวอักษรว่าผู้มีจิตใจสูง (มนะ ใจ และอุษย์ สูง เมื่อนำมาสมาสหรือต่อกันด้วยกันเป็นมนุษย์)
ด้วยเหตุที่ผิดคุณธรรมเป็นเครื่องแบ่งแยกคนกับสัตว์ ดังนั้น ระหว่างคนกับคนก็มีความแตกต่าง จะเห็นได้จากการแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
2.1 มนุษย์เปรต (มนุสสเปโต) อันได้แก่คนที่มีความโลภ ความอยากได้จนถึงขั้นการแสวงหาในทางทุจริตคิดคดโกงทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อสนองความอยากของตนเองโดยไม่รู้จักพอ เฉกเช่นเปรตซึ่งหิวตลอดเวลา
2.2 มนุษย์เดรัจฉาน (มนุสสติรจฺฉาโน) อันได้แก่คนที่ไม่มีคุณธรรม มีพฤติกรรมเยี่ยงสัตว์ เช่น พ่อข่มขืนลูกสาว และลูกที่ฆ่าพ่อแม่ เป็นต้น
2.3 มนุษย์ (มนุสฺโส) ได้แก่คนที่มีจิตใจสูงกว่าสัตว์ เนื่องจากมีคุณธรรมประจำใจ อันเกิดจากการฝึกจิต ดังที่ปรากฏในพุทธพจน์ที่ว่า คนที่ฝึกดีแล้วประเสริฐที่สุด (ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ)
2.4 มนุษย์เทวดา (มนุสฺส เทโว) อันได้แก่คนที่มีคุณธรรมเหนือสามัญชนคนทั่วไป เช่น พระราชาผู้ทรงทศพิธราชธรรม หรือที่เรียกว่าสมมติเทพ เป็นต้น
ด้วยเหตุที่คนแตกต่างจากสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านจิต ดังกล่าวแล้วข้างต้น การรวมกันเป็นกลุ่มของคน จึงเกิดโดยอาศัยมูลเหตุจูงใจมากกว่าการอยู่เป็นฝูงของสัตว์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยสัญชาตญาณในการอยู่ร่วมกันเพียงอย่างเดียว และสิ่งที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มนอกเหนือไปจากสัญชาตญาณก็คือ คุณธรรมอันได้แก่ ความสามัคคีและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในกลุ่ม เป็นต้น
แต่ที่คนมีมากกว่าสัตว์ในการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก็คือ กติกาทางสังคมเพื่อปกป้องคุ้มครองให้ทุกคนในสังคมของกลุ่มนั้นๆ อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อย และกติกาทางสังคมที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันมีอยู่ 2 ประการคือ
1. กฎหมายอันได้แก่ กฎเกณฑ์ที่ชนชั้นปกครองกำหนดขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมดูแลผู้อยู่ใต้การปกครอง โดยมุ่งป้องกันการกระทำอันก่อให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน และเป็นเหตุให้สังคมโดยรวมได้รับความเสียหาย ทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิด อันควรแก่เหตุ โดยยึดความเป็นธรรมแก่ทุกคนโดยเสมอภาคกัน
2. การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นตามเจตนารมณ์ในการออกกฎหมาย เนื่องจากกระบวนการบังคับใช้กฎหมายต้องผ่านขั้นตอนถึง 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนสอบสวนซึ่งเป็นหน้าที่ของตำรวจ ขั้นตอนพิจารณาเพื่อสั่งฟ้องไม่ฟ้องซึ่งเป็นหน้าที่ของอัยการ และสุดท้ายการพิจารณาความตัดสินคดีซึ่งเป็นหน้าที่ของตุลาการ
ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้มีโอกาสที่จะบกพร่อง และผิดพลาดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณธรรมซึ่งกำกับการใช้กฎหมายเป็นหลัก
แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีช่องว่างช่องโหว่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมได้ในบางกรณี ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. การออกกฎหมายมีลักษณะเดียวกับการบัญญัติพระวินัยเพื่อปกครองสงฆ์ในพระพุทธศาสนาคือ เกิดเหตุแล้วออกกฎหมายเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุซ้ำอีก หรือแม้จะเป็นการออกกฎหมายเพื่อป้องกันเหตุล่วงหน้า เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะเกิดก็จะทำได้ไม่ครอบคลุมในทุกเรื่อง จึงเป็นช่องว่างให้มีการกระทำซึ่งส่งผลในทางลบ ซึ่งอยู่เหนือการคาดการณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติได้
2. การออกกฎหมายอาจไม่ครอบคลุมถึงการกระทำ ซึ่งมีผลกระทบถึงประโยชน์ของฝ่ายที่ออกกฎหมาย จึงมีคำพูดที่ว่า กฎหมายออกโดยชนชั้นใดก็เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้น และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กฎหมายไม่ครอบคลุมถึงการกระทำอันก่อให้เกิดการเสียประโยชน์แก่คนบางกลุ่มได้ และในทางตรงกันข้าม กฎหมายที่ออกมาอาจเป็นช่องทางให้คนบางกลุ่มแสวงหาประโยชน์ได้
3. ถึงแม้กฎหมายจะครอบคลุมถึงการกระทำ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายครบถ้วน แต่การบังคับใช้กฎหมายไม่มีศักยภาพ กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ก็ปกป้อง และให้ความเป็นธรรมแก่ทุกคนในสังคมโดยเสมอภาคไม่ได้
ด้วยเหตุที่กฎหมายใช้เป็นเครื่องมือในการปกครอง ไม่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมครบถ้วนสมบูรณ์ดังกล่าวแล้ว และที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งและอาจเป็นส่วนสำคัญด้วยเกิดจากคน ทั้งในส่วนของการออกกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายขาดคุณธรรมกำกับในการดำเนินการ จึงต้องมีกติกาทางสังคมอีกประการหนึ่งเข้ามาเกื้อหนุน กติกาที่ว่านี้ก็คือ ศาสนา ซึ่งสอนให้คนทำดี และเลิกทำชั่ว รวมไปถึงปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นคนมีจิตใจสูง
ดังนั้น ถ้าคนซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายเคร่งครัดในศาสนา การออกกฎหมายก็ดี การบังคับใช้กฎหมายก็ดี จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยนัยดังกล่าวนี้ จึงกล่าวได้ว่ากฎหมายและศาสนาเป็นกติกาทางสังคมที่เกื้อหนุนกัน
แต่ในสังคมไทยวันนี้ กติกา 2 ประการที่ในสังคมไทยไม่เกื้อหนุนกัน ดังจะเห็นได้จากกรณีของพระธัมมชโย เป็นตัวอย่างในขณะที่ฝ่ายบ้านเมืองใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาสังคมโดยรวม ฝ่ายสงฆ์ซึ่งรับผิดชอบในการใช้คำสอนทางศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวินัยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ จึงทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างล่าช้า พระที่ถูกควรจะหันไปศึกษาประวัติการทำสังคายนาในครั้งที่ 3 ที่พระโมคคัลลีบุตร ทำสังคายนาเพื่อขจัดพวกอลัชชี โดยการไปขอความอนุเคราะห์จากพระเจ้าอโศก และจบลงด้วยการที่ทางฝ่ายบ้านเมืองใช้อำนาจรัฐกำจัดอลัชชีได้หมดสิ้น
ถึงแม้ว่า คนกับสัตว์จะมีความเหมือนกันในการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มและเป็นฝูง แต่คนกับสัตว์ก็มีต่างกัน ดังจะเห็นได้ในจริยศาสตร์และในพุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้
1. ตามนัยแห่งจริยศาสตร์ คนกับสัตว์มีความต่างกัน 2 ด้านคือ
1.1 ด้านร่างกาย คนมีโครงสร้างของร่างกายสูงขึ้นในแนวตั้งกับพื้นผิวของโลก ส่วนโครงสร้างทางด้านร่างกายสัตว์ยาวไปตามแนวนอนขนานไปกับพื้นผิวของโลก ด้วยเหตุนี้สัตว์จึงถูกเรียกว่า เดรัจฉาน แปลว่าไปทางขวาง และคำนี้ได้กลายมาเป็นคำด่า คนขัดขวางความเจริญว่า คนขวางโลกซึ่งหมายถึงเป็นสัตว์นั่นเอง
1.2 ทางด้านจิตใจ คนมีเหตุผลควบคุมพฤติกรรม แต่สัตว์มีเพียงสัญชาตญาณควบคุมพฤติกรรม
2. ในทางพุทธศาสนา คนต่างจากสัตว์เนื่องจากว่ามีคุณธรรมที่ทำให้คนมีจิตใจสูงกว่าสัตว์ จึงได้ชื่อว่ามนุษย์ แปลตามตัวอักษรว่าผู้มีจิตใจสูง (มนะ ใจ และอุษย์ สูง เมื่อนำมาสมาสหรือต่อกันด้วยกันเป็นมนุษย์)
ด้วยเหตุที่ผิดคุณธรรมเป็นเครื่องแบ่งแยกคนกับสัตว์ ดังนั้น ระหว่างคนกับคนก็มีความแตกต่าง จะเห็นได้จากการแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
2.1 มนุษย์เปรต (มนุสสเปโต) อันได้แก่คนที่มีความโลภ ความอยากได้จนถึงขั้นการแสวงหาในทางทุจริตคิดคดโกงทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อสนองความอยากของตนเองโดยไม่รู้จักพอ เฉกเช่นเปรตซึ่งหิวตลอดเวลา
2.2 มนุษย์เดรัจฉาน (มนุสสติรจฺฉาโน) อันได้แก่คนที่ไม่มีคุณธรรม มีพฤติกรรมเยี่ยงสัตว์ เช่น พ่อข่มขืนลูกสาว และลูกที่ฆ่าพ่อแม่ เป็นต้น
2.3 มนุษย์ (มนุสฺโส) ได้แก่คนที่มีจิตใจสูงกว่าสัตว์ เนื่องจากมีคุณธรรมประจำใจ อันเกิดจากการฝึกจิต ดังที่ปรากฏในพุทธพจน์ที่ว่า คนที่ฝึกดีแล้วประเสริฐที่สุด (ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ)
2.4 มนุษย์เทวดา (มนุสฺส เทโว) อันได้แก่คนที่มีคุณธรรมเหนือสามัญชนคนทั่วไป เช่น พระราชาผู้ทรงทศพิธราชธรรม หรือที่เรียกว่าสมมติเทพ เป็นต้น
ด้วยเหตุที่คนแตกต่างจากสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านจิต ดังกล่าวแล้วข้างต้น การรวมกันเป็นกลุ่มของคน จึงเกิดโดยอาศัยมูลเหตุจูงใจมากกว่าการอยู่เป็นฝูงของสัตว์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยสัญชาตญาณในการอยู่ร่วมกันเพียงอย่างเดียว และสิ่งที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มนอกเหนือไปจากสัญชาตญาณก็คือ คุณธรรมอันได้แก่ ความสามัคคีและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในกลุ่ม เป็นต้น
แต่ที่คนมีมากกว่าสัตว์ในการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก็คือ กติกาทางสังคมเพื่อปกป้องคุ้มครองให้ทุกคนในสังคมของกลุ่มนั้นๆ อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อย และกติกาทางสังคมที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันมีอยู่ 2 ประการคือ
1. กฎหมายอันได้แก่ กฎเกณฑ์ที่ชนชั้นปกครองกำหนดขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมดูแลผู้อยู่ใต้การปกครอง โดยมุ่งป้องกันการกระทำอันก่อให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน และเป็นเหตุให้สังคมโดยรวมได้รับความเสียหาย ทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิด อันควรแก่เหตุ โดยยึดความเป็นธรรมแก่ทุกคนโดยเสมอภาคกัน
2. การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นตามเจตนารมณ์ในการออกกฎหมาย เนื่องจากกระบวนการบังคับใช้กฎหมายต้องผ่านขั้นตอนถึง 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนสอบสวนซึ่งเป็นหน้าที่ของตำรวจ ขั้นตอนพิจารณาเพื่อสั่งฟ้องไม่ฟ้องซึ่งเป็นหน้าที่ของอัยการ และสุดท้ายการพิจารณาความตัดสินคดีซึ่งเป็นหน้าที่ของตุลาการ
ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้มีโอกาสที่จะบกพร่อง และผิดพลาดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณธรรมซึ่งกำกับการใช้กฎหมายเป็นหลัก
แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีช่องว่างช่องโหว่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมได้ในบางกรณี ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. การออกกฎหมายมีลักษณะเดียวกับการบัญญัติพระวินัยเพื่อปกครองสงฆ์ในพระพุทธศาสนาคือ เกิดเหตุแล้วออกกฎหมายเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุซ้ำอีก หรือแม้จะเป็นการออกกฎหมายเพื่อป้องกันเหตุล่วงหน้า เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะเกิดก็จะทำได้ไม่ครอบคลุมในทุกเรื่อง จึงเป็นช่องว่างให้มีการกระทำซึ่งส่งผลในทางลบ ซึ่งอยู่เหนือการคาดการณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติได้
2. การออกกฎหมายอาจไม่ครอบคลุมถึงการกระทำ ซึ่งมีผลกระทบถึงประโยชน์ของฝ่ายที่ออกกฎหมาย จึงมีคำพูดที่ว่า กฎหมายออกโดยชนชั้นใดก็เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้น และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กฎหมายไม่ครอบคลุมถึงการกระทำอันก่อให้เกิดการเสียประโยชน์แก่คนบางกลุ่มได้ และในทางตรงกันข้าม กฎหมายที่ออกมาอาจเป็นช่องทางให้คนบางกลุ่มแสวงหาประโยชน์ได้
3. ถึงแม้กฎหมายจะครอบคลุมถึงการกระทำ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายครบถ้วน แต่การบังคับใช้กฎหมายไม่มีศักยภาพ กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ก็ปกป้อง และให้ความเป็นธรรมแก่ทุกคนในสังคมโดยเสมอภาคไม่ได้
ด้วยเหตุที่กฎหมายใช้เป็นเครื่องมือในการปกครอง ไม่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมครบถ้วนสมบูรณ์ดังกล่าวแล้ว และที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งและอาจเป็นส่วนสำคัญด้วยเกิดจากคน ทั้งในส่วนของการออกกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายขาดคุณธรรมกำกับในการดำเนินการ จึงต้องมีกติกาทางสังคมอีกประการหนึ่งเข้ามาเกื้อหนุน กติกาที่ว่านี้ก็คือ ศาสนา ซึ่งสอนให้คนทำดี และเลิกทำชั่ว รวมไปถึงปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นคนมีจิตใจสูง
ดังนั้น ถ้าคนซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายเคร่งครัดในศาสนา การออกกฎหมายก็ดี การบังคับใช้กฎหมายก็ดี จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยนัยดังกล่าวนี้ จึงกล่าวได้ว่ากฎหมายและศาสนาเป็นกติกาทางสังคมที่เกื้อหนุนกัน
แต่ในสังคมไทยวันนี้ กติกา 2 ประการที่ในสังคมไทยไม่เกื้อหนุนกัน ดังจะเห็นได้จากกรณีของพระธัมมชโย เป็นตัวอย่างในขณะที่ฝ่ายบ้านเมืองใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาสังคมโดยรวม ฝ่ายสงฆ์ซึ่งรับผิดชอบในการใช้คำสอนทางศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวินัยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ จึงทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างล่าช้า พระที่ถูกควรจะหันไปศึกษาประวัติการทำสังคายนาในครั้งที่ 3 ที่พระโมคคัลลีบุตร ทำสังคายนาเพื่อขจัดพวกอลัชชี โดยการไปขอความอนุเคราะห์จากพระเจ้าอโศก และจบลงด้วยการที่ทางฝ่ายบ้านเมืองใช้อำนาจรัฐกำจัดอลัชชีได้หมดสิ้น