นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ในฐานะรองประธานอนุกรรมาธิการวิสามัญศึกษากลไกปราบปรามทุจริต ในคณะกรรมาธิการวิสามัญป้องกันและปราบปรามการทุจริต สปท. เปิดเผยหลังการประชุมอนุกมธ.ฯ ว่า ได้พิจารณาความคืบหน้า กรณีศาลฎกีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งตั้งแต่ปี 53 ให้บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน กระทรวงการคลัง และกระทรวงไอซีที ร่วมกันติดตาม ทวงเงิน 1.2 แสนล้านบาท จากบริษัท เอไอเอส จำกัด (มหาชน)ให้แล้วเสร็จโดยไม่ยืดเยื้อ และให้เร่งตรวจรับอุปกรณ์ เสาฐาน เครื่องส่งสัญญาณ ที่บริษัทได้หมดสัญญากับทีโอที ไปแล้ว จำนวน 1.6 หมื่นเสาฐาน มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท โดยอนุกมธ.ฯได้เชิญ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มาชี้แจง
โดยนายพิศิษฐ์ ระบุว่ากรณีเสาฐานฯ 1.2 แสนล้านบาท สตง.ได้มีหนังสือเลขที่ ตผ. 0027/1914 ลงวันที่ 18 พ.ค.59 ไปให้บริษัททีโอที เร่งตรวจสอบแล้ว พบว่า บริษัทเอไอเอส ไม่ได้มอบกุญแจ และไม่ให้เจ้าหน้าที่บริษัท ทีโอที เข้าไปยังสถานีเสาฐาน เพื่อควบคุมการทำงานเสาฐานที่อยู่ภายในทั้งหมด ซึ่งเป็นทรัพย์สินของรัฐ ทำให้บริษัททีโอที เสียโอกาสในการบริหารจัดการเสาฐานตามสิทธิสัมปทานที่หมดไป ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 58 โดย สตง. ได้ย้ำให้ทีโอที เร่งดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด เพื่อนำทรัพย์สินของรัฐกลับมาเป็นของรัฐโดยด่วน หลังจากเสียโอกาสมาหลายปี
นอกจากนี้ นายพิศิษฐ์ ยังได้ชี้แจง กรณีบริษัท คิงเพาเวอร์ ไม่ทำตามสัญญาในการรับอนุญาตขายสินค้าปลอดอากร และสัญญาร้านค้าเชิงพาณิชย์ ในพื้นที่ของบริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยนายพิศิษฏ์ ระบุว่า จะกลับไปตรวจสอบการรับรายได้ของบริษัท การท่าอากาศยานไทยฯ จากบริษัท คิงเพาเวอร์ ว่าจะครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าไม่ครบถ้วน หรือขาดรายได้ของรัฐที่พึงจะได้ว่าเป็นจำนวนเท่าไร เช่น กรณีการเรียกเก็บเงินกินเปล่าจากร้านค้าในพื้นที่การท่า ทั้งที่บริษัท คิงเพาเวอร์ ไม่มีอำนาจทำสัญญาย่อยกับร้านค้า แต่เป็นอำนาจของการท่าอากาศยานไทย ซึ่งในสัญญาย่อยระบุ ไม่ให้เก็บเกิน 20 % ของรายได้ เพราะโดยข้อเท็จจริง ถือเป็นรายได้ที่ต้องส่งให้การท่าฯเพื่อนำส่งคืนคลังเป็นรายได้ของรัฐ ไม่ใช่รายได้ของบริษัทเอกชน โดย สตง.จะตรวจสอบทานกับกรมสรรพากร ซึ่งตามมาตรา 42 (5) ของพ.ร.บ. สตง. สามารถอายัดบัญชีงบดุล การเงิน ที่เกี่ยวข้องกับเงินรายได้ของแผ่นดินทั้งหมด ซึ่ง สตง. คาดว่า จะมีเงินนอกระบบทั้งในส่วนการเก็บเงินกินเปล่า รวมถึงการเลี่ยงภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่ง สตง. จะตรวจสอบและจะมารายงานกับที่ประชุมอนุกมธ. ในวันที่ 6 มิ.ย. นี้
โดยนายพิศิษฐ์ ระบุว่ากรณีเสาฐานฯ 1.2 แสนล้านบาท สตง.ได้มีหนังสือเลขที่ ตผ. 0027/1914 ลงวันที่ 18 พ.ค.59 ไปให้บริษัททีโอที เร่งตรวจสอบแล้ว พบว่า บริษัทเอไอเอส ไม่ได้มอบกุญแจ และไม่ให้เจ้าหน้าที่บริษัท ทีโอที เข้าไปยังสถานีเสาฐาน เพื่อควบคุมการทำงานเสาฐานที่อยู่ภายในทั้งหมด ซึ่งเป็นทรัพย์สินของรัฐ ทำให้บริษัททีโอที เสียโอกาสในการบริหารจัดการเสาฐานตามสิทธิสัมปทานที่หมดไป ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 58 โดย สตง. ได้ย้ำให้ทีโอที เร่งดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด เพื่อนำทรัพย์สินของรัฐกลับมาเป็นของรัฐโดยด่วน หลังจากเสียโอกาสมาหลายปี
นอกจากนี้ นายพิศิษฐ์ ยังได้ชี้แจง กรณีบริษัท คิงเพาเวอร์ ไม่ทำตามสัญญาในการรับอนุญาตขายสินค้าปลอดอากร และสัญญาร้านค้าเชิงพาณิชย์ ในพื้นที่ของบริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยนายพิศิษฏ์ ระบุว่า จะกลับไปตรวจสอบการรับรายได้ของบริษัท การท่าอากาศยานไทยฯ จากบริษัท คิงเพาเวอร์ ว่าจะครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าไม่ครบถ้วน หรือขาดรายได้ของรัฐที่พึงจะได้ว่าเป็นจำนวนเท่าไร เช่น กรณีการเรียกเก็บเงินกินเปล่าจากร้านค้าในพื้นที่การท่า ทั้งที่บริษัท คิงเพาเวอร์ ไม่มีอำนาจทำสัญญาย่อยกับร้านค้า แต่เป็นอำนาจของการท่าอากาศยานไทย ซึ่งในสัญญาย่อยระบุ ไม่ให้เก็บเกิน 20 % ของรายได้ เพราะโดยข้อเท็จจริง ถือเป็นรายได้ที่ต้องส่งให้การท่าฯเพื่อนำส่งคืนคลังเป็นรายได้ของรัฐ ไม่ใช่รายได้ของบริษัทเอกชน โดย สตง.จะตรวจสอบทานกับกรมสรรพากร ซึ่งตามมาตรา 42 (5) ของพ.ร.บ. สตง. สามารถอายัดบัญชีงบดุล การเงิน ที่เกี่ยวข้องกับเงินรายได้ของแผ่นดินทั้งหมด ซึ่ง สตง. คาดว่า จะมีเงินนอกระบบทั้งในส่วนการเก็บเงินกินเปล่า รวมถึงการเลี่ยงภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่ง สตง. จะตรวจสอบและจะมารายงานกับที่ประชุมอนุกมธ. ในวันที่ 6 มิ.ย. นี้