**นับตั้งแต่วันที่ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ พระเทพญาณมหามุณี (ไชยบูลย์ สุทธิผล) หรือ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ในข้อหาความผิดสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร จากการรับเช็กจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น มาตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา หรือจนกระทั่งมีการยืดหยุ่น อนุโลมให้ยืดเวลาให้ผู้ต้องหามามอบตัวในวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าผู้ต้องหายังโยกโย้ บิดพลิ้ว อ้างโน่นอ้างนี่อยู่ตลอดเวลา ไม่ยอมมาพบ ไม่ยอมมามอบตัวสักที
ขณะที่ฝ่ายกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กลับโอนอ่อนผ่อนปรนจนเกินงาม ไม่ยอมบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดตามมาตรฐานเดียวกันกับคนทั่วไป ยิ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึง "ความด้อยพัฒนา" ของบ้านเมือง สะท้อนให้เห็นจริงว่า การบังคับใช้กฎหมายกับคนไทย หรือพระสงฆ์รูปใดก็ตาม หรือเจ้าลัทธิใดก็ตามไม่เหมือนกัน มีมาตรฐานต่างกัน กลายเป็นว่ามีบางคนบางกลุ่มในบ้านเมืองนี้มี "อภิสิทธิ์" อยู่เหนือกฎหมาย อยู่เหนือคนทั่วไป
แน่นอนว่าหากพิจารณาจาก "ความเชื่อ" บรรดาสาวก ลูกศิษย์ของ ธัมมชโย ย่อมต้องเชื่อว่าบริสุทธิ์ หรืออาจมองว่าถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม แต่ในทางคดีต้องมีการดำเนินการไปตามขั้นตอนตามกระบวนการยุติธรรม ตามพยานหลักฐาน ไม่ใช่วัดกันด้วยความเชื่อ รวมทั้งการเลือกตั้งที่ใช้เสียงข้างมากมาหักล้างความผิด ตามที่บางกลุ่มบางพวกกำลังพยายามสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้ผิดเพี้ยนไป
ตามกระบวนการในเวลานี้ "ธัมมชโย" มีสถานะแค่ผู้ต้องหา ยังไม่ถึงขั้นเป็นจำเลยด้วยซ้ำไป เพราะยังไม่ได้มีการส่งฟ้องต่อศาล หรือแม้แต่เข้าสู่ศาลแล้วก็ยังไม่ถือว่ามีความผิด จนกว่าศาลจะตัดสินชี้ขาด แต่การที่มีความพยายามโยกโย้ บิดพลิ้ว ไม่ยอมทำตามขั้นตอนทางกฎหมาย ไม่ยอมให้จับกุม ยิ่งทำให้เกิดความเสื่อม
**ข้ออ้างเรื่องป่วยหนัก ไม่อาจออกไปไหนได้ ขออยู่แต่ภายในวัดพระธรรมกาย สังคมส่วนใหญ่ก็มี "ความเชื่อ" เช่นเดียวกันว่า นี่คือการ"เล่นตุกติก" พยายามเตะถ่วง ยื้อคดีออกไปให้นานที่สุด แต่ขณะเดียวกันมันก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความยุ่งยากมากกว่าเดิม เพราะเลยเวลาเส้นตายของการมอบตัวของผู้ต้องหาแล้ว หากถูกจับกุม หรือเปลี่ยนใจเข้ามอบตัวในภายหลังอาจมีปัญหาในเรื่องการประกันตัวก็เป็นได้
อย่างไรก็ดี อีกด้านหนึ่งเวลานี้แรงกดดันกลับกลายมาตกอยู่กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่เวลานี้ยังรีรอไม่เข้าจับกุมตัวผู้ต้องหาตามหมายจับ ทั้งที่รู้ว่าผู้ต้องหาพำนักอยู่ที่ไหน การอ้างว่าหากบุกเข้าจับกุมในวัดพระธรรมกาย อาจทำให้เกิดเหตุวุ่นวาย อาจเสียเลือดเนื้อ เนื่องจากมีการระดมทั้งพระและฆราวาสเข้ามาอยู่ภายในวัด ในลักษณะเหมือนกับว่าเป็น "กำแพงมนุษย์" เพื่อปกป้อง "ธัมมชโย" รวมทั้งมีการสร้าง "ชุดความเชื่อ" ให้สาวกได้เห็นว่า พระธัมมชโยไม่ผิด ถูกกลั่นแกล้ง ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งถือว่าแบบนี้แหละอันตราย เพราะยิ่งปล่อยให้ยืดเยื้อออกไป ก็จะยิ่ง เสียหาย เสียหายทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพราะจะถูกมองว่าไร้น้ำยา ไม่อาจบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเสมอภาค
กรณีที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะมีความเสี่ยงหากมีการบุกจับกุมผู้ต้องหาถึงในวัดพระธรรมกายท่ามกลางเหล่าสาวกที่คอยปกป้อง แต่ก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า "มีการขัดขวาง" แบบนั้นจริงๆ เพราะนั่นเท่ากับการทำผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นอีก จากการปกป้องช่วยเหลือผู้กระทำความผิด ต้องถูกดำเนินคดีทั้งหมด และสังคมก็อยากรู้เหมือนกันว่า คนพวกนี้มี"อภิสิทธิ์" จริงหรือไม่
**ขณะเดียวกันความเสื่อมดังกล่าวยังส่งผลกระทบไปถึงรัฐบาล ไปถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ย้ำว่า ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียม ไม่มีข้อยกเว้น แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับ ธัมมชโย ทำท่าจะกลายเป็นตรงกันข้าม
การทำหนังสือไปถึง สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้ช่วยเข้ามาคลี่คลายปัญหาในกรณีของ ธัมมชโย เนื่องจากเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการได้ ซึ่งอาจเป็นแทคติกในการหาทางออก แต่ในทางกฎหมายที่ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ที่ใครทำผิด ถูกศาลออกหมายจับ ก็ต้องถูกจับกุมดำเนินดคี ส่วนในบั้นปลายจะผิดถูกอย่างไรต้องให้ศาลเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดเท่านั้น
**ดังนั้นยิ่ง ธัมมชโย ลอยนวลนานเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ดีเอสไอ และรัฐบาลเสียหาย เพราะกลายเป็นว่ากฎหมายไม่มีคยามศักดิ์สิทธิ์จริง บังคับใช้เฉพาะกับบางคนเท่านั้น ซึ่งในที่สุดก็จะเป็นหนทางไปสู่ความเสื่อมมากกว่าที่เห็น !!
ขณะที่ฝ่ายกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กลับโอนอ่อนผ่อนปรนจนเกินงาม ไม่ยอมบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดตามมาตรฐานเดียวกันกับคนทั่วไป ยิ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึง "ความด้อยพัฒนา" ของบ้านเมือง สะท้อนให้เห็นจริงว่า การบังคับใช้กฎหมายกับคนไทย หรือพระสงฆ์รูปใดก็ตาม หรือเจ้าลัทธิใดก็ตามไม่เหมือนกัน มีมาตรฐานต่างกัน กลายเป็นว่ามีบางคนบางกลุ่มในบ้านเมืองนี้มี "อภิสิทธิ์" อยู่เหนือกฎหมาย อยู่เหนือคนทั่วไป
แน่นอนว่าหากพิจารณาจาก "ความเชื่อ" บรรดาสาวก ลูกศิษย์ของ ธัมมชโย ย่อมต้องเชื่อว่าบริสุทธิ์ หรืออาจมองว่าถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม แต่ในทางคดีต้องมีการดำเนินการไปตามขั้นตอนตามกระบวนการยุติธรรม ตามพยานหลักฐาน ไม่ใช่วัดกันด้วยความเชื่อ รวมทั้งการเลือกตั้งที่ใช้เสียงข้างมากมาหักล้างความผิด ตามที่บางกลุ่มบางพวกกำลังพยายามสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้ผิดเพี้ยนไป
ตามกระบวนการในเวลานี้ "ธัมมชโย" มีสถานะแค่ผู้ต้องหา ยังไม่ถึงขั้นเป็นจำเลยด้วยซ้ำไป เพราะยังไม่ได้มีการส่งฟ้องต่อศาล หรือแม้แต่เข้าสู่ศาลแล้วก็ยังไม่ถือว่ามีความผิด จนกว่าศาลจะตัดสินชี้ขาด แต่การที่มีความพยายามโยกโย้ บิดพลิ้ว ไม่ยอมทำตามขั้นตอนทางกฎหมาย ไม่ยอมให้จับกุม ยิ่งทำให้เกิดความเสื่อม
**ข้ออ้างเรื่องป่วยหนัก ไม่อาจออกไปไหนได้ ขออยู่แต่ภายในวัดพระธรรมกาย สังคมส่วนใหญ่ก็มี "ความเชื่อ" เช่นเดียวกันว่า นี่คือการ"เล่นตุกติก" พยายามเตะถ่วง ยื้อคดีออกไปให้นานที่สุด แต่ขณะเดียวกันมันก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความยุ่งยากมากกว่าเดิม เพราะเลยเวลาเส้นตายของการมอบตัวของผู้ต้องหาแล้ว หากถูกจับกุม หรือเปลี่ยนใจเข้ามอบตัวในภายหลังอาจมีปัญหาในเรื่องการประกันตัวก็เป็นได้
อย่างไรก็ดี อีกด้านหนึ่งเวลานี้แรงกดดันกลับกลายมาตกอยู่กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่เวลานี้ยังรีรอไม่เข้าจับกุมตัวผู้ต้องหาตามหมายจับ ทั้งที่รู้ว่าผู้ต้องหาพำนักอยู่ที่ไหน การอ้างว่าหากบุกเข้าจับกุมในวัดพระธรรมกาย อาจทำให้เกิดเหตุวุ่นวาย อาจเสียเลือดเนื้อ เนื่องจากมีการระดมทั้งพระและฆราวาสเข้ามาอยู่ภายในวัด ในลักษณะเหมือนกับว่าเป็น "กำแพงมนุษย์" เพื่อปกป้อง "ธัมมชโย" รวมทั้งมีการสร้าง "ชุดความเชื่อ" ให้สาวกได้เห็นว่า พระธัมมชโยไม่ผิด ถูกกลั่นแกล้ง ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งถือว่าแบบนี้แหละอันตราย เพราะยิ่งปล่อยให้ยืดเยื้อออกไป ก็จะยิ่ง เสียหาย เสียหายทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพราะจะถูกมองว่าไร้น้ำยา ไม่อาจบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเสมอภาค
กรณีที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะมีความเสี่ยงหากมีการบุกจับกุมผู้ต้องหาถึงในวัดพระธรรมกายท่ามกลางเหล่าสาวกที่คอยปกป้อง แต่ก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า "มีการขัดขวาง" แบบนั้นจริงๆ เพราะนั่นเท่ากับการทำผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นอีก จากการปกป้องช่วยเหลือผู้กระทำความผิด ต้องถูกดำเนินคดีทั้งหมด และสังคมก็อยากรู้เหมือนกันว่า คนพวกนี้มี"อภิสิทธิ์" จริงหรือไม่
**ขณะเดียวกันความเสื่อมดังกล่าวยังส่งผลกระทบไปถึงรัฐบาล ไปถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ย้ำว่า ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียม ไม่มีข้อยกเว้น แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับ ธัมมชโย ทำท่าจะกลายเป็นตรงกันข้าม
การทำหนังสือไปถึง สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้ช่วยเข้ามาคลี่คลายปัญหาในกรณีของ ธัมมชโย เนื่องจากเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการได้ ซึ่งอาจเป็นแทคติกในการหาทางออก แต่ในทางกฎหมายที่ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ที่ใครทำผิด ถูกศาลออกหมายจับ ก็ต้องถูกจับกุมดำเนินดคี ส่วนในบั้นปลายจะผิดถูกอย่างไรต้องให้ศาลเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดเท่านั้น
**ดังนั้นยิ่ง ธัมมชโย ลอยนวลนานเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ดีเอสไอ และรัฐบาลเสียหาย เพราะกลายเป็นว่ากฎหมายไม่มีคยามศักดิ์สิทธิ์จริง บังคับใช้เฉพาะกับบางคนเท่านั้น ซึ่งในที่สุดก็จะเป็นหนทางไปสู่ความเสื่อมมากกว่าที่เห็น !!