นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน กล่าวถึง วาระครบรอบ 2 ปีการรัฐประหารของคสช. เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 57 ว่าเวลาผ่านมา 2 ปี ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศรู้สึกได้ว่า ประเทศเสื่อมถอยในทุกๆด้าน อย่างชัดเจน โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจที่ประเทศไทยเติบโตต่ำสุดในอาเซียนติดต่อกันทั้ง 2 ปี หลังการรัฐประหารปี 2557 ที่เติบโตเพียง 0.7% และ 2.8% ในปี 2558 แม้การขยายตัวในไตรมาสแรกของปี 2559 จะโต 3.2% ก็ถือว่ายังต่ำมาก เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน แถมยังมองได้ว่า เป็นการเติบโตแบบไม่ยั่งยืน ได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยว การใช้จ่ายภาครัฐกว่าแสนล้าน และการส่งออกทองคำ การส่งคืนยุทโธปกรณ์มาช่วยเท่านั้น ส่วนการส่งออกที่แท้จริงยังติดลบ และการลงทุน ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เชื่อว่าในไตรมาสต่อๆไป ก็ยังคงดูไม่ดีนัก และทั้งปีจะโตได้ไม่ถึง 3.7% ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้อย่างแน่นอน
" ปัญหาหลักอยู่ที่ความเชื่อมั่นของต่างประเทศ ส่งผลทำให้การลงทุนจากต่างประเทศหายไปถึง 90% ในปี 58-59 อาจจะโตขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเทียบกับภาวะปกติ และการส่งออกทั้งปีนี้ จะยังคงติดลบต่อเนื่อง ประชาชนยังลำบากกันอย่างมาก เพราะมีรายได้ลดลงกันถ้วนหน้า"
นายพิชัย กล่าวต่อว่า ความเชื่อมั่นของต่างประเทศยิ่งน่าเป็นห่วง เมื่อไทยถูกตำหนิในเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนอย่างหนักในช่วงนี้ ทั้งจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) สหภาพยุโรป (อียู) รวมทั้งสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังทำให้ประชาชนส่วนใหญ่สับสน เพราะไม่เข้าใจว่า ในขณะที่รัฐบาลและ คสช. เรียกร้องให้ประชาชนเคารพกฎหมาย ที่รัฐบาล และ คสช. ร่าง และกำหนดขึ้นมาเอง แต่รัฐบาลและคสช.กลับไม่ปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ และกติกาสากลที่ทั่วโลกยอมรับ ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีปัญหาทางภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นในสายตาของชาวโลกมากขึ้น
นอกจากนี้ ปัญหาความแตกแยกของประชาชนที่เป็นโจทย์ใหญ่ กลับยิ่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา ปัญหาและความล้มเหลวยังมากมายขนาดนี้ หากยังคงดำเนินต่อไป ความเดือดร้อนของประชาชนจะยิ่งเพิ่มขึ้น จึงอยากเรียกร้องให้นำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงโดยเร็ว
" ปัญหาหลักอยู่ที่ความเชื่อมั่นของต่างประเทศ ส่งผลทำให้การลงทุนจากต่างประเทศหายไปถึง 90% ในปี 58-59 อาจจะโตขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเทียบกับภาวะปกติ และการส่งออกทั้งปีนี้ จะยังคงติดลบต่อเนื่อง ประชาชนยังลำบากกันอย่างมาก เพราะมีรายได้ลดลงกันถ้วนหน้า"
นายพิชัย กล่าวต่อว่า ความเชื่อมั่นของต่างประเทศยิ่งน่าเป็นห่วง เมื่อไทยถูกตำหนิในเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนอย่างหนักในช่วงนี้ ทั้งจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) สหภาพยุโรป (อียู) รวมทั้งสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังทำให้ประชาชนส่วนใหญ่สับสน เพราะไม่เข้าใจว่า ในขณะที่รัฐบาลและ คสช. เรียกร้องให้ประชาชนเคารพกฎหมาย ที่รัฐบาล และ คสช. ร่าง และกำหนดขึ้นมาเอง แต่รัฐบาลและคสช.กลับไม่ปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ และกติกาสากลที่ทั่วโลกยอมรับ ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีปัญหาทางภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นในสายตาของชาวโลกมากขึ้น
นอกจากนี้ ปัญหาความแตกแยกของประชาชนที่เป็นโจทย์ใหญ่ กลับยิ่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา ปัญหาและความล้มเหลวยังมากมายขนาดนี้ หากยังคงดำเนินต่อไป ความเดือดร้อนของประชาชนจะยิ่งเพิ่มขึ้น จึงอยากเรียกร้องให้นำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงโดยเร็ว