ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษา สั่งเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 หรือเอกสารรายการที่ 10 ตามหนังสือ สำนักงานป.ป.ช. ที่ ปช. 0014/3233 ลงวันที่ 15 พ.ค. 52 ต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ ที่ร้องขอ โดยให้ ป.ป.ช.เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องให้นายสมชาย ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา
ทั้งนี้ คดีนี้ สืบเนื่องมาจาก หลังป.ป.ช. มีมติชี้มูลว่า นายสมชาย และพวก กระทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กรณีมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังเข้าผลักดันผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ปิดล้อมรัฐสภา และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
นายสมชาย ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการป.ป.ช. และเลขาธิการป.ป.ช. เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-2 ต่อศาลปกครองกลาง โดยระบุว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการขอทราบข้อมูลจำนวน 11 รายการ ในชั้นการไต่สวน ก่อนที่นำไปสู่การชี้มูลของป.ป.ช. ทำให้ตนเองเสียโอกาสในการต่อสู้คดี จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งป.ป.ช. ที่ไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ซึ่งศาลปกครองชั้นต้น ก็มีคำพิพากษาว่า คำสั่งของ ป.ป.ช. ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่นายสมชาย เฉพาะรายการที่ 10 รายชื่อผู้ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิต รายละเอียดของสถานที่ในแต่ละจุด ที่มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบด้วยกม. จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกม. และเป็นการทำละเมิดต่อ นายสมชาย และให้ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร รายการที่ 10 พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องให้กับผู้ฟ้องคดีภายใน 30 วัน แต่คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ได้ยื่นอุทธรณ์
ส่วนที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษา ระบุว่า ข้อมูลข่าวสารทั้ง 11 รายการ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการไต่สวนข้อเท็จจริงของป.ป.ช. จึงเป็นเอกสารที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบการการทุจริต 2542 มิได้ห้าม หรือให้อำนาจป.ป.ช. ที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด ซึ่ง ป.ป.ช. ก็ได้เคยมีมติยอมรับในหลักการดังกล่าว ให้ผู้ถูกกล่าวหาร้องขอตรวจสอบ หรือขอรับทราบพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการชี้แจง แก้ข้อกล่าวหา หรือต่อสู้คดีได้ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในการตรวจสอบ หรือได้รับทราบพยานหลักฐานในคดีอาญา มาตรา 40 (7) ของรธน.40 แต่เนื่องจากเอกสารรายการที่ 1 – 9 และที่ 11 จากการตรวจสอบ ไม่ปรากฏว่ามีอยู่ในรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง จึงเชื่อว่าไม่มีอยู่ในครอบครองของป.ป.ช. คงมีแต่เพียงเอกสารรายการที่ 10 เท่านั้น ดังนั้นการที่ ป.ป.ช. ปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่นายสมชาย จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบด้วยกม. คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร รายการที่ 10 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้นายสมชาย ได้รับความเสียหาย
ดังนั้น ที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วยบางส่วน แต่ให้แก้คำพิพากษา โดยให้เพิกถอนคำสั่งป.ป.ช. ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ฟ้องคดี เฉพาะรายการที่ 10 ตามหนังสือสำนักงานป.ป.ช. ลับ ที่ ปช 0014/3233 ลงวันที่ 15 พ.ค. 52 และให้ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารรายการที่ 10 พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ให้กับนายสมชาย ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา
ทั้งนี้ คดีนี้ สืบเนื่องมาจาก หลังป.ป.ช. มีมติชี้มูลว่า นายสมชาย และพวก กระทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กรณีมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังเข้าผลักดันผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ปิดล้อมรัฐสภา และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
นายสมชาย ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการป.ป.ช. และเลขาธิการป.ป.ช. เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-2 ต่อศาลปกครองกลาง โดยระบุว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการขอทราบข้อมูลจำนวน 11 รายการ ในชั้นการไต่สวน ก่อนที่นำไปสู่การชี้มูลของป.ป.ช. ทำให้ตนเองเสียโอกาสในการต่อสู้คดี จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งป.ป.ช. ที่ไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ซึ่งศาลปกครองชั้นต้น ก็มีคำพิพากษาว่า คำสั่งของ ป.ป.ช. ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่นายสมชาย เฉพาะรายการที่ 10 รายชื่อผู้ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิต รายละเอียดของสถานที่ในแต่ละจุด ที่มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบด้วยกม. จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกม. และเป็นการทำละเมิดต่อ นายสมชาย และให้ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร รายการที่ 10 พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องให้กับผู้ฟ้องคดีภายใน 30 วัน แต่คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ได้ยื่นอุทธรณ์
ส่วนที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษา ระบุว่า ข้อมูลข่าวสารทั้ง 11 รายการ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการไต่สวนข้อเท็จจริงของป.ป.ช. จึงเป็นเอกสารที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบการการทุจริต 2542 มิได้ห้าม หรือให้อำนาจป.ป.ช. ที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด ซึ่ง ป.ป.ช. ก็ได้เคยมีมติยอมรับในหลักการดังกล่าว ให้ผู้ถูกกล่าวหาร้องขอตรวจสอบ หรือขอรับทราบพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการชี้แจง แก้ข้อกล่าวหา หรือต่อสู้คดีได้ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในการตรวจสอบ หรือได้รับทราบพยานหลักฐานในคดีอาญา มาตรา 40 (7) ของรธน.40 แต่เนื่องจากเอกสารรายการที่ 1 – 9 และที่ 11 จากการตรวจสอบ ไม่ปรากฏว่ามีอยู่ในรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง จึงเชื่อว่าไม่มีอยู่ในครอบครองของป.ป.ช. คงมีแต่เพียงเอกสารรายการที่ 10 เท่านั้น ดังนั้นการที่ ป.ป.ช. ปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่นายสมชาย จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบด้วยกม. คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร รายการที่ 10 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้นายสมชาย ได้รับความเสียหาย
ดังนั้น ที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วยบางส่วน แต่ให้แก้คำพิพากษา โดยให้เพิกถอนคำสั่งป.ป.ช. ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ฟ้องคดี เฉพาะรายการที่ 10 ตามหนังสือสำนักงานป.ป.ช. ลับ ที่ ปช 0014/3233 ลงวันที่ 15 พ.ค. 52 และให้ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารรายการที่ 10 พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ให้กับนายสมชาย ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา