วานนี้ (27เม.ย.) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวถึงความคืบหน้าในการถอนฟ้อง คดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เมื่อปี 2551 ตามที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร.และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. เป็นจำเลยในคดีดังกล่าว และยื่นขอความเป็นธรรมเข้ามา ว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้ร้องขอให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจากมีพยานหลักฐานใหม่เข้ามาให้ป.ป.ช.พิจารณา หากทางคณะกรรมการป.ป.ช. ให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาเหล่านั้น เขาก็ขอให้ถอนฟ้องเสียก่อน หลังจากที่ป.ป.ช.ได้ไปฟ้องร้องต่อศาลฏีกาเอง
ดังนั้น กรรมการ ป.ป.ช. จึงพิจารณากันว่า ตามที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่ามีหลักฐานใหม่ และเป็นสิทธิ์ยื่นร้องขอความเป็นธรรมนั้น ป.ป.ช. สามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง ตามข้อกฎหมาย โดยเฉพาะประเด็นที่เขาขอให้ถอนฟ้องนั้น ต้องดูก่อนว่า เรามีอำนาจจริงตามนั้นหรือไม่ เพราะคดีนี้ถูกฟ้องไปที่ศาลฎีกาฯ แล้ว และอยู่ระหว่างการสืบพยาน ป.ป.ช.จึงให้สำนักกฎหมายป.ป.ช. พิจารณาข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งได้รับความเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ ดังนั้นกรรมการ ป.ป.ช. จึงหารือในที่ประชุม ได้เสียง 6 ต่อ 1 จากกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง 7 ราย ที่ร่วมที่ประชุมในวันดังกล่าว ที่เห็นว่า สามารถดำเนินการได้ตามความเห็นของกฎหมาย และต้องดูด้วยว่า จะดำเนินการหรือไม่ ต้องดูเหตุผลของผู้ถูกกล่าวหาที่ขอมาประกอบกับกฎหมายของ ป.ป.ช. ในกรณีที่จะพิจารณาเรื่องเดิมหลังจากที่ได้มีมติไปแล้ว
"ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานโดยให้ เลขาธิการ ป.ป.ช. และผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆไปพิจารณาว่า สิ่งที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 คน ร้องขอความเป็นธรรมมานั้น จะมีหลักฐานเพียงพอหรือไม่ ที่จะนำมาพิจารณาว่าป.ป.ช. จะขอถอนฟ้องได้หรือไม่ ขั้นตอนก็ยังอยู่เพียงเท่านี้" พล.ต.อ.วัชรพล กล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะทำงานสามารถรวบรวมสรุปข้อคิดเห็นได้แล้ว ก็จะส่งกลับที่ประชุม ป.ป.ช. พิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ตนได้เร่งรัดคณะทำงานว่า ต้องไม่ทำช้า เพราะจะไม่เป็นธรรมกับผู้ร้อง แต่ก็ย้ำว่า ขอให้การพิจารณาด้วยความรอบคอบ
ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ป.ป.ช.เป็นคนส่งฟ้องไปที่ศาลฎีกาเอง ถ้ามาถอนฟ้อง จะเป็นการขัดต่อหลักการทำงานของป.ป.ช. เองหรือไม่นั้น พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า เมื่อผู้ร้อง ร้องขอความเป็นธรรมมา เราก็ต้องพิจารณา หากขอมาแล้วป.ป.ช.ถอนไม่ได้ ก็บอกว่าเราถอนไม่ได้เพราะกระบวนการเดินหน้าไปแล้ว เพียงแต่เมื่อดำเนินการไปแล้ว กฎหมายไม่ได้ห้าม จึงต้องมาดูด้วยเหตุ ด้วยผล หากเหตุผลไม่ได้ เราก็ไม่ดำเนินการ
เมื่อถามถึงกรณี นายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการ ป.ป.ช. ระบุว่า ไม่เคยปรากฏเหตุการณ์ ป.ป.ช. ขอถอนฟ้องคดีจากศาลฎีกาฯ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า ถือเป็นความเห็นหนึ่ง ตามที่ตนได้เรียนแล้วว่า กรรมการ ป.ป.ช. ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาข้อกฎหมายว่า ป.ป.ช. จะต้องดำเนินการพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร ต้องปล่อยให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย
เมื่อถามว่า หากสามารถดำเนินการถอนฟ้องได้ แต่จะเหมาะสมหรือไม่ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า เรากำลังพูดถึงเรื่องเหตุผล เรื่องของความเป็นธรรมเป็นคนละเรื่อง รวมถึงเรื่องความเหมาะสมเหล่านี้ ล้วนแต่ต้องเป็นองค์ประกอบทั้งนั้น แต่วันนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนที่ว่า กรรมการ ป.ป.ช.ได้วินิจฉัยตรงนั้นหรือยัง ก็คือยัง เพียงแต่ถึงขั้นที่ให้ฝ่ายกฎหมายนำเรื่องนี้ไปวิเคราะห์ด้วยพิจารณาตามข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อดูว่ามีเหตุผลหรือไม่ ตามที่ นายวิษณุ เครืองาม ได้ระบุว่า ต้องดูเหตุผลอย่างแท้จริงก่อนที่จะตอบได้ว่า ป.ป.ช. ฟ้องเอง แล้วทำไม ป.ป.ช. ถึงไปถอนฟ้อง หากเราไม่มีเหตุผลตรงนี้เพียงพอ ก็จะตอบสังคมไม่ได้ และเรื่องที่สำคัญตามกฎหมาย คือ ถ้ามีเหตุผล แล้วยื่นขอถอนฟ้องไป อำนาจก็ขึ้นอยู่กับศาลว่าจะวินิจฉัย ให้ หรือไม่ให้ แต่อำนาจไม่ได้อยู่ที่ว่าป.ป.ช.ยื่นแล้ว ศาลจะต้องให้
เมื่อถามว่าจะเชิญ นายวิชา มหาคุณ เข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานพิจารณาข้อกฎหมายหรือใหม่ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า วันนี้ท่านพ้นกรรมการไปแล้ว ดังนั้น กรรมการชุดปัจจุบันจะเป็นผู้พิจารณาเอง
เมื่อถามว่า พล.ต.อ.วัชรพล เกรงหรือไม่ว่าไม่ว่าคำตอบจะออกมาเป็นอย่างไร จะถูกวิพากวิจารณ์ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับหนึ่งในผู้ร้อง (พล.ต.อ.พัชรวาท) และเคยเป็นอดีตเลขาของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยพล.ต.วัชรพล กล่าวว่า "เรื่องนี้ยิ่งสำคัญใหญ่ ผมไม่เคยปฏิเสธว่ารู้จักใกล้ชิด เคยทำงานร่วมกัน แต่บริบทการทำงานในปัจจุบัน คือในฐานะประธาน ป.ป.ช. ผมต้องตระหนักตรงนี้ให้มากยิ่งขึ้นกว่าปกติ เพราธถ้าสิ่งไหนไม่ เป็นไปตามข้อกฎหมาย ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ก็จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองทำ เพราะถ้าสิ่งไหนไม่เป็นไปตามบทบัญญัติข้อกฎหมายก็ไม่มีใครทำหรอกครับ เพราะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราทำ"
ขณะที่นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้ จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว มีตนเป็นประธาน มีที่ปรึกษาด้านกฎหมายของป.ป.ช. และผู้บริหารระดับสูงในสำนักกฎหมาย และสำนักคดี รวมถึงสำนักคดีที่รับผิดชอบสำนวนคดีดังกล่าวเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย โดยจะพิจารณาตามคำร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว ซึ่งคณะทำงานจะพิจารณาว่า เห็นควรถอนฟ้องคดีหรือไม่ ก่อนที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. โดยจะดูทั้งประเด็นกฎหมาย และเหตุผลในการถอนฟ้องคดี หากเห็นว่ามีเหตุผลไม่สมควร ก็เสนอไปว่าไม่ถอนฟ้อง แต่ถ้าสมควร ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะลงมติกันอีกครั้งหนึ่งว่า จะถอนฟ้องหรือไม่ เนื่องจากคดีนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นโจทก์
อย่างไรก็ดี ท้ายสุดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะใช้ดุลยพินิจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มประชุมนัดแรกได้ภายในสิ้นเดือน เม.ย.นี้ และจะดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนพ.ค.59
ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงาน ป.ป.ช. ระบุว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 ราย เริ่มมีการหยั่งเสียงกันแล้วว่า จะดำเนินการอย่างไร โดยขณะนี้เสียงยังก้ำกึ่งกันอยู่ ดังนั้นต้องรอการพิจารณาของคณะทำงานชุดดังกล่าวก่อน จึงตัดสินใจลงมติ
ดังนั้น กรรมการ ป.ป.ช. จึงพิจารณากันว่า ตามที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่ามีหลักฐานใหม่ และเป็นสิทธิ์ยื่นร้องขอความเป็นธรรมนั้น ป.ป.ช. สามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง ตามข้อกฎหมาย โดยเฉพาะประเด็นที่เขาขอให้ถอนฟ้องนั้น ต้องดูก่อนว่า เรามีอำนาจจริงตามนั้นหรือไม่ เพราะคดีนี้ถูกฟ้องไปที่ศาลฎีกาฯ แล้ว และอยู่ระหว่างการสืบพยาน ป.ป.ช.จึงให้สำนักกฎหมายป.ป.ช. พิจารณาข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งได้รับความเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ ดังนั้นกรรมการ ป.ป.ช. จึงหารือในที่ประชุม ได้เสียง 6 ต่อ 1 จากกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง 7 ราย ที่ร่วมที่ประชุมในวันดังกล่าว ที่เห็นว่า สามารถดำเนินการได้ตามความเห็นของกฎหมาย และต้องดูด้วยว่า จะดำเนินการหรือไม่ ต้องดูเหตุผลของผู้ถูกกล่าวหาที่ขอมาประกอบกับกฎหมายของ ป.ป.ช. ในกรณีที่จะพิจารณาเรื่องเดิมหลังจากที่ได้มีมติไปแล้ว
"ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานโดยให้ เลขาธิการ ป.ป.ช. และผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆไปพิจารณาว่า สิ่งที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 คน ร้องขอความเป็นธรรมมานั้น จะมีหลักฐานเพียงพอหรือไม่ ที่จะนำมาพิจารณาว่าป.ป.ช. จะขอถอนฟ้องได้หรือไม่ ขั้นตอนก็ยังอยู่เพียงเท่านี้" พล.ต.อ.วัชรพล กล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะทำงานสามารถรวบรวมสรุปข้อคิดเห็นได้แล้ว ก็จะส่งกลับที่ประชุม ป.ป.ช. พิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ตนได้เร่งรัดคณะทำงานว่า ต้องไม่ทำช้า เพราะจะไม่เป็นธรรมกับผู้ร้อง แต่ก็ย้ำว่า ขอให้การพิจารณาด้วยความรอบคอบ
ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ป.ป.ช.เป็นคนส่งฟ้องไปที่ศาลฎีกาเอง ถ้ามาถอนฟ้อง จะเป็นการขัดต่อหลักการทำงานของป.ป.ช. เองหรือไม่นั้น พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า เมื่อผู้ร้อง ร้องขอความเป็นธรรมมา เราก็ต้องพิจารณา หากขอมาแล้วป.ป.ช.ถอนไม่ได้ ก็บอกว่าเราถอนไม่ได้เพราะกระบวนการเดินหน้าไปแล้ว เพียงแต่เมื่อดำเนินการไปแล้ว กฎหมายไม่ได้ห้าม จึงต้องมาดูด้วยเหตุ ด้วยผล หากเหตุผลไม่ได้ เราก็ไม่ดำเนินการ
เมื่อถามถึงกรณี นายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการ ป.ป.ช. ระบุว่า ไม่เคยปรากฏเหตุการณ์ ป.ป.ช. ขอถอนฟ้องคดีจากศาลฎีกาฯ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า ถือเป็นความเห็นหนึ่ง ตามที่ตนได้เรียนแล้วว่า กรรมการ ป.ป.ช. ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาข้อกฎหมายว่า ป.ป.ช. จะต้องดำเนินการพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร ต้องปล่อยให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย
เมื่อถามว่า หากสามารถดำเนินการถอนฟ้องได้ แต่จะเหมาะสมหรือไม่ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า เรากำลังพูดถึงเรื่องเหตุผล เรื่องของความเป็นธรรมเป็นคนละเรื่อง รวมถึงเรื่องความเหมาะสมเหล่านี้ ล้วนแต่ต้องเป็นองค์ประกอบทั้งนั้น แต่วันนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนที่ว่า กรรมการ ป.ป.ช.ได้วินิจฉัยตรงนั้นหรือยัง ก็คือยัง เพียงแต่ถึงขั้นที่ให้ฝ่ายกฎหมายนำเรื่องนี้ไปวิเคราะห์ด้วยพิจารณาตามข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อดูว่ามีเหตุผลหรือไม่ ตามที่ นายวิษณุ เครืองาม ได้ระบุว่า ต้องดูเหตุผลอย่างแท้จริงก่อนที่จะตอบได้ว่า ป.ป.ช. ฟ้องเอง แล้วทำไม ป.ป.ช. ถึงไปถอนฟ้อง หากเราไม่มีเหตุผลตรงนี้เพียงพอ ก็จะตอบสังคมไม่ได้ และเรื่องที่สำคัญตามกฎหมาย คือ ถ้ามีเหตุผล แล้วยื่นขอถอนฟ้องไป อำนาจก็ขึ้นอยู่กับศาลว่าจะวินิจฉัย ให้ หรือไม่ให้ แต่อำนาจไม่ได้อยู่ที่ว่าป.ป.ช.ยื่นแล้ว ศาลจะต้องให้
เมื่อถามว่าจะเชิญ นายวิชา มหาคุณ เข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานพิจารณาข้อกฎหมายหรือใหม่ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า วันนี้ท่านพ้นกรรมการไปแล้ว ดังนั้น กรรมการชุดปัจจุบันจะเป็นผู้พิจารณาเอง
เมื่อถามว่า พล.ต.อ.วัชรพล เกรงหรือไม่ว่าไม่ว่าคำตอบจะออกมาเป็นอย่างไร จะถูกวิพากวิจารณ์ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับหนึ่งในผู้ร้อง (พล.ต.อ.พัชรวาท) และเคยเป็นอดีตเลขาของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยพล.ต.วัชรพล กล่าวว่า "เรื่องนี้ยิ่งสำคัญใหญ่ ผมไม่เคยปฏิเสธว่ารู้จักใกล้ชิด เคยทำงานร่วมกัน แต่บริบทการทำงานในปัจจุบัน คือในฐานะประธาน ป.ป.ช. ผมต้องตระหนักตรงนี้ให้มากยิ่งขึ้นกว่าปกติ เพราธถ้าสิ่งไหนไม่ เป็นไปตามข้อกฎหมาย ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ก็จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองทำ เพราะถ้าสิ่งไหนไม่เป็นไปตามบทบัญญัติข้อกฎหมายก็ไม่มีใครทำหรอกครับ เพราะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราทำ"
ขณะที่นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้ จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว มีตนเป็นประธาน มีที่ปรึกษาด้านกฎหมายของป.ป.ช. และผู้บริหารระดับสูงในสำนักกฎหมาย และสำนักคดี รวมถึงสำนักคดีที่รับผิดชอบสำนวนคดีดังกล่าวเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย โดยจะพิจารณาตามคำร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว ซึ่งคณะทำงานจะพิจารณาว่า เห็นควรถอนฟ้องคดีหรือไม่ ก่อนที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. โดยจะดูทั้งประเด็นกฎหมาย และเหตุผลในการถอนฟ้องคดี หากเห็นว่ามีเหตุผลไม่สมควร ก็เสนอไปว่าไม่ถอนฟ้อง แต่ถ้าสมควร ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะลงมติกันอีกครั้งหนึ่งว่า จะถอนฟ้องหรือไม่ เนื่องจากคดีนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นโจทก์
อย่างไรก็ดี ท้ายสุดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะใช้ดุลยพินิจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มประชุมนัดแรกได้ภายในสิ้นเดือน เม.ย.นี้ และจะดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนพ.ค.59
ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงาน ป.ป.ช. ระบุว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 ราย เริ่มมีการหยั่งเสียงกันแล้วว่า จะดำเนินการอย่างไร โดยขณะนี้เสียงยังก้ำกึ่งกันอยู่ ดังนั้นต้องรอการพิจารณาของคณะทำงานชุดดังกล่าวก่อน จึงตัดสินใจลงมติ