เมื่อวาน (23 เมษายน 59) เวลา 4 โมงเย็น หลังจากการบรรยายประเด็นพลังงานกับสิ่งแวดล้อมให้นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผมได้เรียกแท็กซี่กลับบ้าน หลังจากบอกจุดหมายปลายทางกันเสร็จแล้ว คำถามแรกที่ผมได้รับคือ “ทำไมมันจึงได้ร้อนอย่างนี้ นี่ถ้าเดินแถวๆ นี้คงจะร้อนจนเหลว”
ผมรู้สึกมีอารมณ์ร่วมทันที เพราะนอกจากจะเพิ่งบรรยายเรื่องนี้มาหยกๆ แล้วยังรู้สึกร้อนที่ใบหน้าด้วยความร้อนจากคอนกรีตบนทางเท้าราวกับกำลังประคบด้วยก้อนเส้าที่หมอตำแยใช้ประคบแม่ที่คลอดใหม่ๆ
ด้วยความที่ผมกำลังผูกพันกับเนื้อหาที่บรรยาย ผมตอบเขาไปว่า “เพราะมนุษย์เผาเชื้อเพลิง แล้วเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อก๊าซนี้ลอยขึ้นบนท้องฟ้า มันจะทำหน้าที่เหมือนกับผ้าห่ม ปิดกั้นไม่ให้ความร้อนภายในไหลออกไปข้างนอกได้ เราจึงรู้สึกร้อนขึ้นๆ”
“ไฟฟ้าด้วยหรือเปล่าพี่” คนขับแท็กซี่ถามต่อ
“เอาง่ายๆ อย่างนี้ ปริมาณความร้อนที่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงของคนทั้งโลกในแต่ละวันนั้นเท่ากับปริมาณความร้อนที่เกิดจากระเบิดนิวเคลียร์ลงที่เมืองฮิโรชิมาประเทศญี่ปุ่นถึง 4 แสนลูก” ผมเสริม
“ทุกวันเลยเหรอพี่!” เขาอุทาน
“ใช่ ไม่หยุดแม้แต่วันสงกรานต์ วันเสาร์ อาทิตย์ และความร้อนเหล่านี้ 93% จะถูกสะสมอยู่ในมหาสมุทร ไม่ได้หายไปไหน ทุกวัน” ผมเสริมอีกครั้ง
เมื่อถึงปลายทาง ผมขี่จักรยานต่อเข้าหมู่บ้าน ผมรู้สึกร้อนที่ใบหน้าอีกครั้งหนึ่ง เพราะความร้อนจากถนนคอนกรีต แม้จะรุนแรงน้อยกว่าตอนแรก แต่ทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ว่า ที่ผมได้ตอบคนขับแท็กซี่ไปนั้นยังไม่ครบถ้วนดีพอ ที่จริงแล้วยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นปัจจัยเสริมสิ่งที่นักวิชาการเขาเรียก “เกาะความร้อนในเมือง (Urban Heat Island)” ดังคำอธิบายด้วยแผ่นภาพข้างล่างครับ
ภาพดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า ในช่วงตอนบ่ายแก่ๆ (ใกล้เคียงกับเวลาที่ผมเจอ) อุณหภูมิของอากาศในย่านกลางเมืองจะสูงกว่าในย่านชนบท 3 ถึง 4 องศาเซลเซียส ยิ่งอยู่บนผิวถนนยิ่งจะรู้สึกร้อนมากกว่านี้อีก
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ได้ถูกสะสมอยู่ในวัตถุ เช่น คอนกรีตในตัวอาคาร ถนน เป็นต้น มาตั้งแต่ตอนเช้า เริ่มมีอิทธิพลในการส่งผ่านความร้อนมายังตัวเรา เหมือนกับก้อนเส้า (ในภาษาปักษ์ใต้ ผมไม่แน่ใจว่าภาษาราชการเรียกว่าอะไร ในขณะที่ราชบัณฑิตยสถานเองก็ให้ความหมายไม่ครบ)
ทางออกในการลดปริมาณความร้อนที่เกิดจาก “ก้อนเส้า” ก็คือการปลูกต้นไม้เพื่อบังแสงแดดให้กับอาคาร รวมถึงการทำสวนบนหลังคาหรือดาดฟ้า
นักศึกษาคนหนึ่งซึ่งมีพื้นฐานมาทางด้านสถาปัตยกรรม ได้เล่าประสบการณ์ให้คนในห้องเรียนฟังว่า พวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มักจะมีความเชื่อว่า การปลูกต้นไม้เพื่อบังแสงแดดให้กับอาคารนั้นจะทำให้อาคารไม่สวย ซึ่งผมเห็นว่าทัศนะดังกล่าวเป็นทัศนะที่แยกส่วนจากธรรมชาติ ซึ่งขัดแย้งกับหัวข้อที่ผมบรรยายอย่างสิ้นเชิง (จะบอกภายหลังว่าหัวข้ออะไร)
กลับมาที่อุณหภูมิของอากาศที่กำลังร้อนราวกับตับจะแตกอีกครั้งครับ
เพื่อเป็นการยืนยันว่าอุณหภูมิของโลกร้อนสูงขึ้น ทั้งจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลและจาก “เกาะความร้อนในเมือง” ผมได้พยายามค้นหาข้อมูลของประเทศไทย แต่เรียนตามตรงว่ามันไม่อยู่ในรูปที่สามารถแสดงให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายๆ กล่าวคือ ข้อมูลขาดๆ หายๆ ไม่อยู่ในรูปกราฟที่ทำให้เกิดภาพรวมได้ หาค่าสูงสุด ต่ำสุดไม่เจอ ผมจึงใช้ข้อมูลของประเทศญี่ปุ่น ดังภาพด้านล่าง
ข้อมูลจากกราฟทางขวามือ ทำให้เราทราบว่า (1) ในช่วง 100 ปี (1907-2007) อุณหภูมิของอากาศในเดือนกันยายน สูงขึ้น 2.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเหตุมาจากปัญหาโลกร้อน และ (2) กรุงโตเกียวซึ่งมี “ก้อนเส้า” มากกว่าเมืองใกล้เคียง มีอุณหภูมิสูงกว่าเมืองใกล้เคียงโดยเฉพาะเมืองโยโกฮามาซึ่งอยู่ห่างกันไม่มากนัก
สำหรับภาพทางซ้ายมือผมได้มาจากเฟซบุ๊กของคุณรสนา โตสิตระกูล (ที่ให้เกียรติชวนผมไปร่วมสอน) พบว่า อุณหภูมิของประเทศไทยติด 1 ใน 10 อันดับประเทศที่มีอุณหภูมิร้อนที่สุดในโลก คือ 44.3 องศา (ก่อนหน้านี้ 2 วัน รายการเก็บตกจากเนชั่น รายงานว่า อุณหภูมิที่ร้านแห่งหนึ่งที่เมืองกาญจนบุรี 45 องศาเซลเซียส)
สำหรับหัวข้อที่ผมบรรยาย จากเนื้อหาที่ผมได้รับมอบหมาย ผมได้ตั้งชื่อเสียยาวหลายวาว่า “กระบวนทรรศน์ใหม่ในระบบพลังงาน เพื่อความปรองดองระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ : ความจำเป็นและความเป็นไปได้?” ตามแผ่นสไลด์ดังภาพครับ ซึ่งถ้าออกแบบสไลด์ดีๆ ก็ไม่ยาวนะ!
สาระสำคัญก็คือ มนุษย์ไม่ใช่ศูนย์กลางของธรรมชาติอย่างที่เราถูกทำให้เชื่ออย่างโอหังกันมาร่วม 200 ปี แต่เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของระบบธรรมชาติที่มีความซับซ้อนเท่านั้น
ดังนั้น หากมนุษย์ไม่ต้องการ “ร้อนตับแตก” ก็จำเป็นต้องปรับกระบวนทรรศน์ใหม่ นั่นคือ กลับไปใช้พลังงานชนิดเดียวกับที่ธรรมชาติใช้ ซึ่งก็คือพลังงานจากดวงอาทิตย์นั่นเอง
ในประเด็นความเป็นไปได้ ผมให้นักศึกษาดูภาพการ์ตูนแล้วแสดงความคิดเห็น
เนื่องจากมีเวลาจำกัด มีนักศึกษา 2 คนแสดงความเห็น ตามที่เห็นในภาพ คือเอาล้อกลมๆ ในเกวียนมาเปลี่ยนกับล้อสี่เหลี่ยม
อีกคนหนึ่งบอกว่า ล้อสี่เหลี่ยมก็อาจจะเคลื่อนที่ได้แต่ไม่เรียบ (Smooth)
ผมได้รีบเฉลยว่า ถ้าเราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสภาพปัจจุบัน เราก็จำเป็นออกแบบระบบใหม่ คือเปลี่ยนระบบผิวถนนใหม่ ซึ่งนักคณิตศาสตร์ได้คิดวิเคราะห์และทำได้แล้ว พบว่าสามารถเคลื่อนที่ได้เรียบจริง
ผมสรุปว่า “ความเป็นไปได้ของระบบพลังงานหมุนเวียน ไม่ได้ขึ้นกับต้นทุนการผลิต ไม่ได้ขึ้นกับเทคโนโลยี แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล”
ผมได้อธิบายว่า การใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน หรือแม้แต่ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งนิวเคลียร์ เป็นการใช้ทฤษฎีกลศาสตร์แบบดั้งเดิม (Classical Mechanics) ซึ่งอยู่บนฐานทฤษฎีของกาลิโอและนิวตันเมื่อปี พ.ศ. 2229 แต่เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผงโซลาร์เซลล์ต้องอาศัยทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นตอนต้นๆ ศตวรรษที่ 20 เป็นทฤษฎีที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้รับรางวัลโนเบล รวมทั้ง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ด้วย
ถ้ายืมคำพูดของ สตีฟ จอบส์ มาอธิบาย ในขณะที่ไฟฟ้าจากถ่านหินใช้เครื่องจักรไอน้ำ ใช้ลูกสูบ แต่โซลาร์เซลล์ทำงานด้วยอิเล็กตรอนซึ่งเร็วกว่าและก้าวหน้ากว่ากันมาก ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ทำลายสุขภาพและวิถีชีวิตของประชาชน การยังติดยึดกับการเผาพลังงานฟอสซิลเป็นการดูหมิ่นคุณค่าของรางวัลโนเบล ถ้าไม่ใช่ก็ถือเป็นการตอบสนองต่อผลประโยชน์ของพ่อค้าเชื้อเพลิงฟอสซิล
สุดท้าย เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ใหม่เพื่อความปรองดองดังกล่าว ผมได้นำผลงานของกลุ่มเคลื่อนไหวที่ใช้ชื่อว่า “Fossil Fuel Divestment” (การถอนการลงทุนจากพลังงานฟอสซิล ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน)
นักเคลื่อนไหวกลุ่มนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง และติดตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมาตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีพันธมิตรที่หลากหลาย พวกเขากำลังเคลื่อนไหวให้มีการถอนการลงทุนจากพลังงานฟอสซิลในขอบเขตทั่วโลก โดยกองทุนบำนาญของประเทศนอร์เวย์ซึ่งเป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ประกาศถอนการลงทุนจากพลังงานถ่านหินไปแล้ว จากเดิมที่เคยถอนการลงทุนในบริษัทบุหรี่และผลิตอาวุธ
ปัจจุบันมี 122 บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานฟอสซิลกำลังได้รับผลกระทบ โดยมีกองทุนกว่า 400 กองทุนได้ประกาศถอนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกหลายสิบแห่ง
กลุ่มนี้ได้สรุปการเคลื่อนไหวของพวกเขา โดยนำเอาคำพูดของอดีตประธานาธิบดีของประเทศแอฟริกาใต้มาเป็นแนงทาง คำพูดดังกล่าวคือ
“ถ้าไม่มีการกดดันทางการเมืองเพื่อการเปลี่ยนแปลงแล้ว จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง”
ผมไม่ทราบว่า คสช.จะมีความเข้าใจคำว่า “การกดดันทางการเมืองเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Political Pressure to Change)” ว่าอย่างไร จึงได้พยายามทำให้การลงประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญเป็นเหมือนกับการทำข้อสอบแบบปรนัย คือ การกาถูก กาผิด โดยห้ามกระบวนการทำความเข้าใจและเรียนรู้ร่วมกันของคนทั้งประเทศ
แต่สำหรับผมแล้ว ผมเข้าใจว่า คือกระบวนการที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากและหลากหลายที่สุด โดยการเรียนรู้ร่วมกัน มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เคารพซึ่งกันและกันบนผลประโยชน์ร่วมของสาธารณะ
และคำว่า ผลประโยชน์ของสาธารณะของผม หมายถึงผลประโยชน์ของทั้งมนุษย์และธรรมชาติทั้งโลก เราต้องใช้การเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ใหม่ของคนทั้งโลก (Global Paradigm Shift) จึงจะสามารถแก้ปัญหาที่สำคัญ และท้าทายที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกในขณะนี้ได้
ผมรู้สึกมีอารมณ์ร่วมทันที เพราะนอกจากจะเพิ่งบรรยายเรื่องนี้มาหยกๆ แล้วยังรู้สึกร้อนที่ใบหน้าด้วยความร้อนจากคอนกรีตบนทางเท้าราวกับกำลังประคบด้วยก้อนเส้าที่หมอตำแยใช้ประคบแม่ที่คลอดใหม่ๆ
ด้วยความที่ผมกำลังผูกพันกับเนื้อหาที่บรรยาย ผมตอบเขาไปว่า “เพราะมนุษย์เผาเชื้อเพลิง แล้วเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อก๊าซนี้ลอยขึ้นบนท้องฟ้า มันจะทำหน้าที่เหมือนกับผ้าห่ม ปิดกั้นไม่ให้ความร้อนภายในไหลออกไปข้างนอกได้ เราจึงรู้สึกร้อนขึ้นๆ”
“ไฟฟ้าด้วยหรือเปล่าพี่” คนขับแท็กซี่ถามต่อ
“เอาง่ายๆ อย่างนี้ ปริมาณความร้อนที่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงของคนทั้งโลกในแต่ละวันนั้นเท่ากับปริมาณความร้อนที่เกิดจากระเบิดนิวเคลียร์ลงที่เมืองฮิโรชิมาประเทศญี่ปุ่นถึง 4 แสนลูก” ผมเสริม
“ทุกวันเลยเหรอพี่!” เขาอุทาน
“ใช่ ไม่หยุดแม้แต่วันสงกรานต์ วันเสาร์ อาทิตย์ และความร้อนเหล่านี้ 93% จะถูกสะสมอยู่ในมหาสมุทร ไม่ได้หายไปไหน ทุกวัน” ผมเสริมอีกครั้ง
เมื่อถึงปลายทาง ผมขี่จักรยานต่อเข้าหมู่บ้าน ผมรู้สึกร้อนที่ใบหน้าอีกครั้งหนึ่ง เพราะความร้อนจากถนนคอนกรีต แม้จะรุนแรงน้อยกว่าตอนแรก แต่ทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ว่า ที่ผมได้ตอบคนขับแท็กซี่ไปนั้นยังไม่ครบถ้วนดีพอ ที่จริงแล้วยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นปัจจัยเสริมสิ่งที่นักวิชาการเขาเรียก “เกาะความร้อนในเมือง (Urban Heat Island)” ดังคำอธิบายด้วยแผ่นภาพข้างล่างครับ
ภาพดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า ในช่วงตอนบ่ายแก่ๆ (ใกล้เคียงกับเวลาที่ผมเจอ) อุณหภูมิของอากาศในย่านกลางเมืองจะสูงกว่าในย่านชนบท 3 ถึง 4 องศาเซลเซียส ยิ่งอยู่บนผิวถนนยิ่งจะรู้สึกร้อนมากกว่านี้อีก
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ได้ถูกสะสมอยู่ในวัตถุ เช่น คอนกรีตในตัวอาคาร ถนน เป็นต้น มาตั้งแต่ตอนเช้า เริ่มมีอิทธิพลในการส่งผ่านความร้อนมายังตัวเรา เหมือนกับก้อนเส้า (ในภาษาปักษ์ใต้ ผมไม่แน่ใจว่าภาษาราชการเรียกว่าอะไร ในขณะที่ราชบัณฑิตยสถานเองก็ให้ความหมายไม่ครบ)
ทางออกในการลดปริมาณความร้อนที่เกิดจาก “ก้อนเส้า” ก็คือการปลูกต้นไม้เพื่อบังแสงแดดให้กับอาคาร รวมถึงการทำสวนบนหลังคาหรือดาดฟ้า
นักศึกษาคนหนึ่งซึ่งมีพื้นฐานมาทางด้านสถาปัตยกรรม ได้เล่าประสบการณ์ให้คนในห้องเรียนฟังว่า พวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มักจะมีความเชื่อว่า การปลูกต้นไม้เพื่อบังแสงแดดให้กับอาคารนั้นจะทำให้อาคารไม่สวย ซึ่งผมเห็นว่าทัศนะดังกล่าวเป็นทัศนะที่แยกส่วนจากธรรมชาติ ซึ่งขัดแย้งกับหัวข้อที่ผมบรรยายอย่างสิ้นเชิง (จะบอกภายหลังว่าหัวข้ออะไร)
กลับมาที่อุณหภูมิของอากาศที่กำลังร้อนราวกับตับจะแตกอีกครั้งครับ
เพื่อเป็นการยืนยันว่าอุณหภูมิของโลกร้อนสูงขึ้น ทั้งจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลและจาก “เกาะความร้อนในเมือง” ผมได้พยายามค้นหาข้อมูลของประเทศไทย แต่เรียนตามตรงว่ามันไม่อยู่ในรูปที่สามารถแสดงให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายๆ กล่าวคือ ข้อมูลขาดๆ หายๆ ไม่อยู่ในรูปกราฟที่ทำให้เกิดภาพรวมได้ หาค่าสูงสุด ต่ำสุดไม่เจอ ผมจึงใช้ข้อมูลของประเทศญี่ปุ่น ดังภาพด้านล่าง
ข้อมูลจากกราฟทางขวามือ ทำให้เราทราบว่า (1) ในช่วง 100 ปี (1907-2007) อุณหภูมิของอากาศในเดือนกันยายน สูงขึ้น 2.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเหตุมาจากปัญหาโลกร้อน และ (2) กรุงโตเกียวซึ่งมี “ก้อนเส้า” มากกว่าเมืองใกล้เคียง มีอุณหภูมิสูงกว่าเมืองใกล้เคียงโดยเฉพาะเมืองโยโกฮามาซึ่งอยู่ห่างกันไม่มากนัก
สำหรับภาพทางซ้ายมือผมได้มาจากเฟซบุ๊กของคุณรสนา โตสิตระกูล (ที่ให้เกียรติชวนผมไปร่วมสอน) พบว่า อุณหภูมิของประเทศไทยติด 1 ใน 10 อันดับประเทศที่มีอุณหภูมิร้อนที่สุดในโลก คือ 44.3 องศา (ก่อนหน้านี้ 2 วัน รายการเก็บตกจากเนชั่น รายงานว่า อุณหภูมิที่ร้านแห่งหนึ่งที่เมืองกาญจนบุรี 45 องศาเซลเซียส)
สำหรับหัวข้อที่ผมบรรยาย จากเนื้อหาที่ผมได้รับมอบหมาย ผมได้ตั้งชื่อเสียยาวหลายวาว่า “กระบวนทรรศน์ใหม่ในระบบพลังงาน เพื่อความปรองดองระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ : ความจำเป็นและความเป็นไปได้?” ตามแผ่นสไลด์ดังภาพครับ ซึ่งถ้าออกแบบสไลด์ดีๆ ก็ไม่ยาวนะ!
สาระสำคัญก็คือ มนุษย์ไม่ใช่ศูนย์กลางของธรรมชาติอย่างที่เราถูกทำให้เชื่ออย่างโอหังกันมาร่วม 200 ปี แต่เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของระบบธรรมชาติที่มีความซับซ้อนเท่านั้น
ดังนั้น หากมนุษย์ไม่ต้องการ “ร้อนตับแตก” ก็จำเป็นต้องปรับกระบวนทรรศน์ใหม่ นั่นคือ กลับไปใช้พลังงานชนิดเดียวกับที่ธรรมชาติใช้ ซึ่งก็คือพลังงานจากดวงอาทิตย์นั่นเอง
ในประเด็นความเป็นไปได้ ผมให้นักศึกษาดูภาพการ์ตูนแล้วแสดงความคิดเห็น
เนื่องจากมีเวลาจำกัด มีนักศึกษา 2 คนแสดงความเห็น ตามที่เห็นในภาพ คือเอาล้อกลมๆ ในเกวียนมาเปลี่ยนกับล้อสี่เหลี่ยม
อีกคนหนึ่งบอกว่า ล้อสี่เหลี่ยมก็อาจจะเคลื่อนที่ได้แต่ไม่เรียบ (Smooth)
ผมได้รีบเฉลยว่า ถ้าเราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสภาพปัจจุบัน เราก็จำเป็นออกแบบระบบใหม่ คือเปลี่ยนระบบผิวถนนใหม่ ซึ่งนักคณิตศาสตร์ได้คิดวิเคราะห์และทำได้แล้ว พบว่าสามารถเคลื่อนที่ได้เรียบจริง
ผมสรุปว่า “ความเป็นไปได้ของระบบพลังงานหมุนเวียน ไม่ได้ขึ้นกับต้นทุนการผลิต ไม่ได้ขึ้นกับเทคโนโลยี แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล”
ผมได้อธิบายว่า การใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน หรือแม้แต่ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งนิวเคลียร์ เป็นการใช้ทฤษฎีกลศาสตร์แบบดั้งเดิม (Classical Mechanics) ซึ่งอยู่บนฐานทฤษฎีของกาลิโอและนิวตันเมื่อปี พ.ศ. 2229 แต่เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผงโซลาร์เซลล์ต้องอาศัยทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นตอนต้นๆ ศตวรรษที่ 20 เป็นทฤษฎีที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้รับรางวัลโนเบล รวมทั้ง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ด้วย
ถ้ายืมคำพูดของ สตีฟ จอบส์ มาอธิบาย ในขณะที่ไฟฟ้าจากถ่านหินใช้เครื่องจักรไอน้ำ ใช้ลูกสูบ แต่โซลาร์เซลล์ทำงานด้วยอิเล็กตรอนซึ่งเร็วกว่าและก้าวหน้ากว่ากันมาก ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ทำลายสุขภาพและวิถีชีวิตของประชาชน การยังติดยึดกับการเผาพลังงานฟอสซิลเป็นการดูหมิ่นคุณค่าของรางวัลโนเบล ถ้าไม่ใช่ก็ถือเป็นการตอบสนองต่อผลประโยชน์ของพ่อค้าเชื้อเพลิงฟอสซิล
สุดท้าย เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ใหม่เพื่อความปรองดองดังกล่าว ผมได้นำผลงานของกลุ่มเคลื่อนไหวที่ใช้ชื่อว่า “Fossil Fuel Divestment” (การถอนการลงทุนจากพลังงานฟอสซิล ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน)
นักเคลื่อนไหวกลุ่มนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง และติดตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมาตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีพันธมิตรที่หลากหลาย พวกเขากำลังเคลื่อนไหวให้มีการถอนการลงทุนจากพลังงานฟอสซิลในขอบเขตทั่วโลก โดยกองทุนบำนาญของประเทศนอร์เวย์ซึ่งเป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ประกาศถอนการลงทุนจากพลังงานถ่านหินไปแล้ว จากเดิมที่เคยถอนการลงทุนในบริษัทบุหรี่และผลิตอาวุธ
ปัจจุบันมี 122 บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานฟอสซิลกำลังได้รับผลกระทบ โดยมีกองทุนกว่า 400 กองทุนได้ประกาศถอนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกหลายสิบแห่ง
กลุ่มนี้ได้สรุปการเคลื่อนไหวของพวกเขา โดยนำเอาคำพูดของอดีตประธานาธิบดีของประเทศแอฟริกาใต้มาเป็นแนงทาง คำพูดดังกล่าวคือ
“ถ้าไม่มีการกดดันทางการเมืองเพื่อการเปลี่ยนแปลงแล้ว จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง”
ผมไม่ทราบว่า คสช.จะมีความเข้าใจคำว่า “การกดดันทางการเมืองเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Political Pressure to Change)” ว่าอย่างไร จึงได้พยายามทำให้การลงประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญเป็นเหมือนกับการทำข้อสอบแบบปรนัย คือ การกาถูก กาผิด โดยห้ามกระบวนการทำความเข้าใจและเรียนรู้ร่วมกันของคนทั้งประเทศ
แต่สำหรับผมแล้ว ผมเข้าใจว่า คือกระบวนการที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากและหลากหลายที่สุด โดยการเรียนรู้ร่วมกัน มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เคารพซึ่งกันและกันบนผลประโยชน์ร่วมของสาธารณะ
และคำว่า ผลประโยชน์ของสาธารณะของผม หมายถึงผลประโยชน์ของทั้งมนุษย์และธรรมชาติทั้งโลก เราต้องใช้การเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ใหม่ของคนทั้งโลก (Global Paradigm Shift) จึงจะสามารถแก้ปัญหาที่สำคัญ และท้าทายที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกในขณะนี้ได้