วานนี้ (20 เม.ย.) ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับคำขอกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ของนายภุชงค์ นุตราวงศ์ อดีต เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง( กกต.) ที่ขอให้ศาลสั่งระงับ ประกาศกกต. ลงวันที่ 8 ธ.ค. 58 ที่ให้นายภุชงค์ พ้นจากตำแหน่ง ไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
โดยศาลให้เหตุผลว่า การที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าวได้นั้นจะต้องได้ความว่า คำฟ้องของนายภุชงค์ มีมูล และมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวตามที่ขอนั้นมาใช้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ทั้งต้องคำถึงถึงความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และปัญหาอุปสรรค ที่อาจจะเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐประกอบด้วย
ทั้งนี้ ศาลได้ตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่า คำฟ้องมีมูลที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ และได้มีคำสั่งรับฟ้องไว้พิจารณาแล้ว แต่จากข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง กกต.ได้ทำสัญญาเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 55 ว่าจ้างนายภุชงค์ ปฏิบัติงานตำแหน่งเลขาธิการกกต. มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.-12 มี.ค.60 แต่ กกต.ได้มีประกาศ ลงวันที่ 8 ธ.ค. 58 ให้นายภุชงค์ พ้นจากตำแหน่ง โดยอ้างว่าได้พิจารณาการประเมินผลการปฏิบัติงานของนายภุชงค์ ประจำปี 2558 แล้ว ปรากฏว่า ผลการประเมินมีระดับผลงานไม่บรรลุเป้าหมาย จึงมีมติเลิกจ้าง และให้นายภุชงค์ พ้นจากตำแหน่งในวันเดียวกัน ซึ่งหากนายภุชงค์ เห็นว่า กกต.บอกเลิกสัญญาจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ตนเองได้รับความเสียหาย ก็มีสิทธิเรียกร้องให้ กกต.ชดใช้ค่าเสียหายจากกรณีดังกล่าวได้ จึงถือว่าไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวสั่งระงับประกาศ กกต. ที่ให้นายภุชงค์ พ้นจากตำแหน่งตามที่ขอ
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวนายภุชงค์ ยื่นฟ้อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) สำนักงานกกต. เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 ขอให้ศาลเพิกถอนประกาศ กกต. ที่ให้ตนเองพ้นจากตำแหน่ง และให้ กกต. ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 7,060,380 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
โดยศาลให้เหตุผลว่า การที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าวได้นั้นจะต้องได้ความว่า คำฟ้องของนายภุชงค์ มีมูล และมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวตามที่ขอนั้นมาใช้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ทั้งต้องคำถึงถึงความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และปัญหาอุปสรรค ที่อาจจะเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐประกอบด้วย
ทั้งนี้ ศาลได้ตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่า คำฟ้องมีมูลที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ และได้มีคำสั่งรับฟ้องไว้พิจารณาแล้ว แต่จากข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง กกต.ได้ทำสัญญาเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 55 ว่าจ้างนายภุชงค์ ปฏิบัติงานตำแหน่งเลขาธิการกกต. มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.-12 มี.ค.60 แต่ กกต.ได้มีประกาศ ลงวันที่ 8 ธ.ค. 58 ให้นายภุชงค์ พ้นจากตำแหน่ง โดยอ้างว่าได้พิจารณาการประเมินผลการปฏิบัติงานของนายภุชงค์ ประจำปี 2558 แล้ว ปรากฏว่า ผลการประเมินมีระดับผลงานไม่บรรลุเป้าหมาย จึงมีมติเลิกจ้าง และให้นายภุชงค์ พ้นจากตำแหน่งในวันเดียวกัน ซึ่งหากนายภุชงค์ เห็นว่า กกต.บอกเลิกสัญญาจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ตนเองได้รับความเสียหาย ก็มีสิทธิเรียกร้องให้ กกต.ชดใช้ค่าเสียหายจากกรณีดังกล่าวได้ จึงถือว่าไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวสั่งระงับประกาศ กกต. ที่ให้นายภุชงค์ พ้นจากตำแหน่งตามที่ขอ
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวนายภุชงค์ ยื่นฟ้อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) สำนักงานกกต. เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 ขอให้ศาลเพิกถอนประกาศ กกต. ที่ให้ตนเองพ้นจากตำแหน่ง และให้ กกต. ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 7,060,380 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี