วานนี้ (18 เม.ย.) มีการเผยแพร่หนังสือร้องเรียน จากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุถึง นายกรัฐมนตรี ซึ่งอ้างว่าเป็นพนักงานกกต. ผ่านทางแอพพลิเคชั่นไลน์ ในหมู่นักการเมือง ผู้บริหารสำนักงาน กกต. ข้าราชการหน่วยงานอื่น รวมถึงผู้สื่อข่าว โดยมีใจความว่า
ตามที่ท่านนายกฯ เคยมีคำสั่งห้ามข้าราชการไปดูงานต่างประเทศ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินนั้น กกต. ตีความแล้วบอกว่า ท่านห้ามเฉพาะข้าราชการ แต่ กกต.ไม่ใช่ราชการ ฉะนั้นจึงไปได้ และจากนั้นมา กกต. ก็ไปดูงานต่างประเทศกันเป็นว่าเล่น โดยดูงาน 1วัน และเที่ยว 5-8 วัน ขนทีมที่ปรึกษาไปด้วย เสียงบประมาณครั้งละ 2-5 ล้านบาท
หนังสือร้องเรียนระบุว่า ช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่ กกต. ต้องมีบทบาทอย่างยิ่งในการปฏิรูปประเทศ ต้องเตรียมความพร้อมจัดทำประชามติ แต่ กกต. ทั้ง 5 คน กลับไม่สนใจ แต่สนใจที่จะพานักศึกษา หลักสูตรพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง(พตส.) ไปดูงานต่างประเทศ โดยแบ่งเป็น 4 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรีย สก็อตแลนด์ และเกาหลี และแต่ละท่าน ก็อยากไปทุกประเทศ จึงจัดให้มีเหลื่อมวันไป เพื่อที่ตัวเองจะได้ไปให้มากที่สุด โดยอ้างว่า จะไปดูการเลือกตั้ง แต่กำหนดการคือดูเลือกตั้ง1วัน อีก 8-10 วันที่เหลือ เที่ยว
นอกจากนี้ กกต.ชุดนี้ ยังจัดสรรงบฯ การดูงานของนักศึกษา จากเดิมหัวละ 50,000 บาท ก็เพิ่มให้เป็นหัวละ 70,000 บาท ทั้งๆ ที่นักศึกษากลุ่มนี้ มีอันจะกินกันทุกคน และช่วงนี้การเงินของกกต. ก็ฝืดเคือง แต่กกต. ก็คิดที่จะตัดเงินที่พึงจะได้ของพนักงานออก และเอาไปเพิ่มให้นักศึกษากลุ่มนี้
"กกต.กลุ่มนี้ นอกจากจะเบิกค่าเดินทาง ค่าอาหารและที่พักตามสิทธิแล้ว ยังเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงตามสิทธิอีกด้วย ทั้งๆ ที่ทัวร์คิดรวมหมดแล้ว ไม่ต้องมีเบี้ยเลี้ยง แต่ก็ยังเบิกกันเต็มที่ และสำหรับค่าทัวร์ เช่น เกาหลี ปกติ ค่าทัวร์ 5-7 วัน ประมาณ 30,000-40,000 บาท แต่ทัวร์ของกกต.ชุดนี้ 70,000 บาท และเมื่อเทียบกับทัวร์อื่นแล้ว ไม่แตกต่างกัน นั่นคือ มีการกินหัวคิวค่าทัวร์ ส่วนทัวร์ประเทศอื่นก็มีเก็บเงินเพิ่ม แต่น้อยมาก เช่น ออสเตรีย เพิ่ม 2,000 บาท จริงๆแล้วอ่านตามหนังสือพิมพ์ ค่าทัวร์ 8 วัน 60,000-70,000 บาท ก็พอ แต่ก็ทำเป็นเก็บเงิน เพื่อให้มีเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง" หนังสือร้องเรียน ระบุ
หนังสือร้องเรียนยังระบุด้วยว่า สำหรับประธาน กกต. ไปอเมริกา และจัดทริปไปเยี่ยมลูกของตัวเองด้วย ทำไมไม่ไปเอง ต้องเอาเงินงบประมาณไปเยี่ยม คนระดับนี้ทำอะไรตามอำเภอใจได้อย่างนั้นหรือ อะไรก็ไม่สำคัญเท่าการละทิ้งหน้าที่อันสำคัญที่ควรจะเดินสายไปจังหวัดต่างๆ เพื่อเตรียมการลงประชามติ แต่กลับแย่งกันไปต่างประเทศ พนักงานกกต. ก็ได้แค่ทำตามคำสั่งไม่สามารถออกเสียงอะไรได้ เพราะถ้าใครไม่เชื่อ ก็จะถูกรังแก เหมือนเลขาธิการกกต. ที่ถูกปลดออกไป
หนังสือร้องเรียนดังกล่าวยังระบุทิ้งท้ายว่า" ถ้าเขาอยากไปเที่ยว ก็ให้ไปเถอะ ขอคณะกรรมการชุดใหม่ มาทำหน้าที่แทนได้ไหมคะ"
ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์กันในหมู่ผู้บริหาร กกต.ว่า การกระทำดังกล่าว น่าจะมาจากพนักงานกลุ่มอำนาจเก่า ที่ได้รับผลกระทบจากการที่ กกต.ปลด นายภุชงค์ นุตราวงศ์ ออกจากการเป็นเลขาธิการ กกต. เพราะข้อมูลที่ถูกเขียนเป็นหนังสือร้องเรียนทั้งสองครั้งนั้น ไม่ใช่ข้อมูลที่พนักงานกกต. ทั่วไปจะทราบได้ นอกจากนี้ยังเห็นว่าลักษณะการเผยแพร่ข้อมูล มีการเชื่อมกับผู้มีอำนาจภายนอกองค์กร โดยมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยน กกต.ยกชุด เพื่อที่ต้องการวางฐานใหม่ในองค์กร กกต.
ทั้งนี้ ตามกำหนดการ ระหว่างวันที่ 8-15 เม.ย. นายประวิช รัตนเพียร และนายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ เดินทางไปดูงานที่ประเทศเกาหลี แต่นายประวิช ได้ยกเลิก เพราะต้องการไปร่วมประชุมระหว่างกกต. กับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา
ขณะที่ วันที่19-26 เม.ย นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. จะเดินทางไปดูงานที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งช่วงเวลาเดียวกัน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ก็จะเดินทางไปดูงานประเทศออสเตรีย โดยจะออกเดินทางวันที่ 18 เม.ย. ส่วนนายบุญส่ง จะเดินทางไปดูงานที่ประเทศสก็อตแลนด์ ในเดือน พ.ค. จึงทำให้เกรงว่าจะกระทบต่อการเตรียมงานจัดการออกเสียง ยิ่งในช่วงสัปดาห์นี้ ที่คาดการณ์ว่า ร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จะมีผลใช้บังคับ และ กกต.จะต้องมีการประชุมพิจารณาเพื่อออกระเบียบสำคัญอย่างน้อย 4 ฉบับรองรับ
ด้านนายกฤช เอื้อวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง กกต. ได้ชี้แจงกรณีมีการเผยแพร่ใบปลิวโจมตี กกต.ทัวร์นอก ว่า ที่ประชุม กกต.มีความกังวลใจต่อกระแสข่าวดังกล่าว และเห็นเนื้อหาตามใบปลิวไม่เป็นความจริงในหลายเรื่อง โดยยืนยันว่า การเดินทางไปต่างประเทศของกกต. ร่วมกับนักศึกษา พตส. ทั้ง 4 ประเทศ เป็นการไปดูงานการเลือกตั้ง ที่ทางอนุกรรมการจัดทำหลักสูตร และผู้บริหารสถาบันได้มีการพิจารณาโดยยึดหลักว่า ประเทศที่จะเดินทางไปนั้นต้องมีการจัดการเลือกตั้ง จึงไม่มีการเหลื่อมเวลาเดินทางเพื่อที่จะให้กกต. คนหนึ่งได้ไปหลายประเทศ ซึ่งใน 4 ประเทศที่กำหนดคือ เกาหลีใต้ มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา เมื่อวันที่ 13 เม.ย. ที่ผ่านมา นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ จึงได้เดินทางไปดูการเลือกตั้งระหว่างวันที่ 8-15 เม.ย.
ส่วนประเทศออสเตรีย จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในวันที่ 24 เม.ย. นายสมชัย ศรีสุทธิยากร จึงจะเดินไปดู ระหว่างวันที่ 18-26 เม.ย. ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในหลายรัฐ แต่ที่เลือกไปรัฐเพนซิวาเนีย เพราะอยู่ใกล้วอชิงตัน สามารถนั่งรถบัสข้ามระหว่างเมืองไปได้ ประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังได้รับเชิญจากพรรคเดโมเครต และรีพับลีกัน รวมถึงสถานกงสุล เพื่อไปดูงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรด้วย ประธานกกต.จึงจะเดินทางไปในวันที่ 19-29 เม.ย. และยืนยันว่า ไม่ได้เป็นการไปเยี่ยมลูกอย่างที่กล่าวหา
ส่วนประเทศอังกฤษ สก๊อตแลนด์ จะมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา ในวันที่ 5 พ.ค. นายบุญส่ง น้อยโสภณ จึงจะเดินทางไปดูงานระหว่างวันที่ 30 เม.ย.-8 พ.ค.
อย่างไรก็ตามยืนยันว่า กกต.ไม่มีส่วนในการจัดทริปดูงานดังกล่าว แต่เป็นความรับผิดชอบของอนุกรรมการจัดทำหลักสูตร และที่ระบุว่ามีการเบิกเบี้ยเลี้ยงให้กับ กกต. และผู้บริหารก็ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง ส่วนที่กล่าวหาว่ามีการเพิ่มเงินค่าไปศึกษาดูงานจากเดิม คนละ 5 หมื่น เป็น 7 หมื่นบาทนั้น ทั้งที่สำนักงานประสบปัญหางบประมาณ ก็ขอยืนยันว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ซึ่งเป็นคนละส่วนกับเงินของสำนักงาน และไม่สามารถนำเงินดังกล่าวมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนพนักงานได้
นอกจากนี้ ในส่วนบริษัททัวร์ที่มารับงาน กกต.ก็ใช้วิธีประมูลตามระเบียบอย่างถูกต้อง ซึ่งนักศึกษา พตส. ก็มีส่วนร่วมในการจัดหา และมี 9 บริษัท ที่เข้าเสนองาน โดยบริษัทที่ชนะการประมูลก็เป็นบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุด ยืนยันว่าไม่มีการกินส่วนต่าง
ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต.กล่าวถึงการเดินทางไปดูงานการเลือกตั้งร่วมกับนักศึกษาพตส. ว่าการจัดทำตารางดูงาน ทางผู้บริหารหลักสูตร เป็นผู้ดำเนินการ กกต.ไม่ได้เข้าไปก้าวก่าย เมื่อเขาจัดมาแล้ว กกต.ก็ต้องแบ่งสายกันไปดูแล เราไปดูงาน ไม่ได้ไปเที่ยวอย่างที่กล่าวหา และที่ตนไปอเมริกา เพื่อไปดูงานเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา เพราะปลายปีจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีด้วย รวมทั้งจะมีการไปพบกับ กกต.อเมริกา ซึ่งก็จะไปชี้แจงเรื่องการจัดทำประชามติ และการเลือกตั้ง ที่จะเป็นไปตามโรดแมปที่นายกฯ ประกาศไว้ ทั้งนี้ ยืนยันว่า แม้จะเดินทางไปในช่วงเตรียมการจัดประชามติ ก็ไม่มีผลกระทบ เพราะได้เตรียมทุกอย่างไว้หมดแล้ว และตอนนี้เทคโนโลยีก็เปิดกว้าง สามารถประชุม หรือสั่งการทางไลน์ก็ได้ รับรองไม่เสียการใหญ่แน่นอน
ตามที่ท่านนายกฯ เคยมีคำสั่งห้ามข้าราชการไปดูงานต่างประเทศ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินนั้น กกต. ตีความแล้วบอกว่า ท่านห้ามเฉพาะข้าราชการ แต่ กกต.ไม่ใช่ราชการ ฉะนั้นจึงไปได้ และจากนั้นมา กกต. ก็ไปดูงานต่างประเทศกันเป็นว่าเล่น โดยดูงาน 1วัน และเที่ยว 5-8 วัน ขนทีมที่ปรึกษาไปด้วย เสียงบประมาณครั้งละ 2-5 ล้านบาท
หนังสือร้องเรียนระบุว่า ช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่ กกต. ต้องมีบทบาทอย่างยิ่งในการปฏิรูปประเทศ ต้องเตรียมความพร้อมจัดทำประชามติ แต่ กกต. ทั้ง 5 คน กลับไม่สนใจ แต่สนใจที่จะพานักศึกษา หลักสูตรพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง(พตส.) ไปดูงานต่างประเทศ โดยแบ่งเป็น 4 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรีย สก็อตแลนด์ และเกาหลี และแต่ละท่าน ก็อยากไปทุกประเทศ จึงจัดให้มีเหลื่อมวันไป เพื่อที่ตัวเองจะได้ไปให้มากที่สุด โดยอ้างว่า จะไปดูการเลือกตั้ง แต่กำหนดการคือดูเลือกตั้ง1วัน อีก 8-10 วันที่เหลือ เที่ยว
นอกจากนี้ กกต.ชุดนี้ ยังจัดสรรงบฯ การดูงานของนักศึกษา จากเดิมหัวละ 50,000 บาท ก็เพิ่มให้เป็นหัวละ 70,000 บาท ทั้งๆ ที่นักศึกษากลุ่มนี้ มีอันจะกินกันทุกคน และช่วงนี้การเงินของกกต. ก็ฝืดเคือง แต่กกต. ก็คิดที่จะตัดเงินที่พึงจะได้ของพนักงานออก และเอาไปเพิ่มให้นักศึกษากลุ่มนี้
"กกต.กลุ่มนี้ นอกจากจะเบิกค่าเดินทาง ค่าอาหารและที่พักตามสิทธิแล้ว ยังเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงตามสิทธิอีกด้วย ทั้งๆ ที่ทัวร์คิดรวมหมดแล้ว ไม่ต้องมีเบี้ยเลี้ยง แต่ก็ยังเบิกกันเต็มที่ และสำหรับค่าทัวร์ เช่น เกาหลี ปกติ ค่าทัวร์ 5-7 วัน ประมาณ 30,000-40,000 บาท แต่ทัวร์ของกกต.ชุดนี้ 70,000 บาท และเมื่อเทียบกับทัวร์อื่นแล้ว ไม่แตกต่างกัน นั่นคือ มีการกินหัวคิวค่าทัวร์ ส่วนทัวร์ประเทศอื่นก็มีเก็บเงินเพิ่ม แต่น้อยมาก เช่น ออสเตรีย เพิ่ม 2,000 บาท จริงๆแล้วอ่านตามหนังสือพิมพ์ ค่าทัวร์ 8 วัน 60,000-70,000 บาท ก็พอ แต่ก็ทำเป็นเก็บเงิน เพื่อให้มีเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง" หนังสือร้องเรียน ระบุ
หนังสือร้องเรียนยังระบุด้วยว่า สำหรับประธาน กกต. ไปอเมริกา และจัดทริปไปเยี่ยมลูกของตัวเองด้วย ทำไมไม่ไปเอง ต้องเอาเงินงบประมาณไปเยี่ยม คนระดับนี้ทำอะไรตามอำเภอใจได้อย่างนั้นหรือ อะไรก็ไม่สำคัญเท่าการละทิ้งหน้าที่อันสำคัญที่ควรจะเดินสายไปจังหวัดต่างๆ เพื่อเตรียมการลงประชามติ แต่กลับแย่งกันไปต่างประเทศ พนักงานกกต. ก็ได้แค่ทำตามคำสั่งไม่สามารถออกเสียงอะไรได้ เพราะถ้าใครไม่เชื่อ ก็จะถูกรังแก เหมือนเลขาธิการกกต. ที่ถูกปลดออกไป
หนังสือร้องเรียนดังกล่าวยังระบุทิ้งท้ายว่า" ถ้าเขาอยากไปเที่ยว ก็ให้ไปเถอะ ขอคณะกรรมการชุดใหม่ มาทำหน้าที่แทนได้ไหมคะ"
ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์กันในหมู่ผู้บริหาร กกต.ว่า การกระทำดังกล่าว น่าจะมาจากพนักงานกลุ่มอำนาจเก่า ที่ได้รับผลกระทบจากการที่ กกต.ปลด นายภุชงค์ นุตราวงศ์ ออกจากการเป็นเลขาธิการ กกต. เพราะข้อมูลที่ถูกเขียนเป็นหนังสือร้องเรียนทั้งสองครั้งนั้น ไม่ใช่ข้อมูลที่พนักงานกกต. ทั่วไปจะทราบได้ นอกจากนี้ยังเห็นว่าลักษณะการเผยแพร่ข้อมูล มีการเชื่อมกับผู้มีอำนาจภายนอกองค์กร โดยมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยน กกต.ยกชุด เพื่อที่ต้องการวางฐานใหม่ในองค์กร กกต.
ทั้งนี้ ตามกำหนดการ ระหว่างวันที่ 8-15 เม.ย. นายประวิช รัตนเพียร และนายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ เดินทางไปดูงานที่ประเทศเกาหลี แต่นายประวิช ได้ยกเลิก เพราะต้องการไปร่วมประชุมระหว่างกกต. กับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา
ขณะที่ วันที่19-26 เม.ย นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. จะเดินทางไปดูงานที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งช่วงเวลาเดียวกัน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ก็จะเดินทางไปดูงานประเทศออสเตรีย โดยจะออกเดินทางวันที่ 18 เม.ย. ส่วนนายบุญส่ง จะเดินทางไปดูงานที่ประเทศสก็อตแลนด์ ในเดือน พ.ค. จึงทำให้เกรงว่าจะกระทบต่อการเตรียมงานจัดการออกเสียง ยิ่งในช่วงสัปดาห์นี้ ที่คาดการณ์ว่า ร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จะมีผลใช้บังคับ และ กกต.จะต้องมีการประชุมพิจารณาเพื่อออกระเบียบสำคัญอย่างน้อย 4 ฉบับรองรับ
ด้านนายกฤช เอื้อวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง กกต. ได้ชี้แจงกรณีมีการเผยแพร่ใบปลิวโจมตี กกต.ทัวร์นอก ว่า ที่ประชุม กกต.มีความกังวลใจต่อกระแสข่าวดังกล่าว และเห็นเนื้อหาตามใบปลิวไม่เป็นความจริงในหลายเรื่อง โดยยืนยันว่า การเดินทางไปต่างประเทศของกกต. ร่วมกับนักศึกษา พตส. ทั้ง 4 ประเทศ เป็นการไปดูงานการเลือกตั้ง ที่ทางอนุกรรมการจัดทำหลักสูตร และผู้บริหารสถาบันได้มีการพิจารณาโดยยึดหลักว่า ประเทศที่จะเดินทางไปนั้นต้องมีการจัดการเลือกตั้ง จึงไม่มีการเหลื่อมเวลาเดินทางเพื่อที่จะให้กกต. คนหนึ่งได้ไปหลายประเทศ ซึ่งใน 4 ประเทศที่กำหนดคือ เกาหลีใต้ มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา เมื่อวันที่ 13 เม.ย. ที่ผ่านมา นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ จึงได้เดินทางไปดูการเลือกตั้งระหว่างวันที่ 8-15 เม.ย.
ส่วนประเทศออสเตรีย จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในวันที่ 24 เม.ย. นายสมชัย ศรีสุทธิยากร จึงจะเดินไปดู ระหว่างวันที่ 18-26 เม.ย. ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในหลายรัฐ แต่ที่เลือกไปรัฐเพนซิวาเนีย เพราะอยู่ใกล้วอชิงตัน สามารถนั่งรถบัสข้ามระหว่างเมืองไปได้ ประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังได้รับเชิญจากพรรคเดโมเครต และรีพับลีกัน รวมถึงสถานกงสุล เพื่อไปดูงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรด้วย ประธานกกต.จึงจะเดินทางไปในวันที่ 19-29 เม.ย. และยืนยันว่า ไม่ได้เป็นการไปเยี่ยมลูกอย่างที่กล่าวหา
ส่วนประเทศอังกฤษ สก๊อตแลนด์ จะมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา ในวันที่ 5 พ.ค. นายบุญส่ง น้อยโสภณ จึงจะเดินทางไปดูงานระหว่างวันที่ 30 เม.ย.-8 พ.ค.
อย่างไรก็ตามยืนยันว่า กกต.ไม่มีส่วนในการจัดทริปดูงานดังกล่าว แต่เป็นความรับผิดชอบของอนุกรรมการจัดทำหลักสูตร และที่ระบุว่ามีการเบิกเบี้ยเลี้ยงให้กับ กกต. และผู้บริหารก็ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง ส่วนที่กล่าวหาว่ามีการเพิ่มเงินค่าไปศึกษาดูงานจากเดิม คนละ 5 หมื่น เป็น 7 หมื่นบาทนั้น ทั้งที่สำนักงานประสบปัญหางบประมาณ ก็ขอยืนยันว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ซึ่งเป็นคนละส่วนกับเงินของสำนักงาน และไม่สามารถนำเงินดังกล่าวมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนพนักงานได้
นอกจากนี้ ในส่วนบริษัททัวร์ที่มารับงาน กกต.ก็ใช้วิธีประมูลตามระเบียบอย่างถูกต้อง ซึ่งนักศึกษา พตส. ก็มีส่วนร่วมในการจัดหา และมี 9 บริษัท ที่เข้าเสนองาน โดยบริษัทที่ชนะการประมูลก็เป็นบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุด ยืนยันว่าไม่มีการกินส่วนต่าง
ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต.กล่าวถึงการเดินทางไปดูงานการเลือกตั้งร่วมกับนักศึกษาพตส. ว่าการจัดทำตารางดูงาน ทางผู้บริหารหลักสูตร เป็นผู้ดำเนินการ กกต.ไม่ได้เข้าไปก้าวก่าย เมื่อเขาจัดมาแล้ว กกต.ก็ต้องแบ่งสายกันไปดูแล เราไปดูงาน ไม่ได้ไปเที่ยวอย่างที่กล่าวหา และที่ตนไปอเมริกา เพื่อไปดูงานเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา เพราะปลายปีจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีด้วย รวมทั้งจะมีการไปพบกับ กกต.อเมริกา ซึ่งก็จะไปชี้แจงเรื่องการจัดทำประชามติ และการเลือกตั้ง ที่จะเป็นไปตามโรดแมปที่นายกฯ ประกาศไว้ ทั้งนี้ ยืนยันว่า แม้จะเดินทางไปในช่วงเตรียมการจัดประชามติ ก็ไม่มีผลกระทบ เพราะได้เตรียมทุกอย่างไว้หมดแล้ว และตอนนี้เทคโนโลยีก็เปิดกว้าง สามารถประชุม หรือสั่งการทางไลน์ก็ได้ รับรองไม่เสียการใหญ่แน่นอน