xs
xsm
sm
md
lg

แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย (16) การเมืองในต่างประเทศ เรื่องที่ 16.1 การเมืองในสหรัฐอเมริกา ตอนที่ 1 การเลือกตั้งผู้สมัครตัวแทนพรรค Republican

เผยแพร่:   โดย: วีระศักดิ์ นาทะสิริ

1. กล่าวนำ

ในบทความชุดที่ 16 นี้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองของต่างประเทศ ซึ่งผู้เขียนจะเลือกกล่าวเฉพาะบางประเทศที่น่าสนใจ อาจมีผลกระทบต่อประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ด้วย โดยผู้เขียนจะขอกล่าวถึงการเมืองในสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรก และจะใช้หมายเลขเรื่องที่ 16.1 ซึ่งจะกล่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งตัวแทนพรรค Republican และพรรค Democrat เพื่อเข้าไปแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน 2016 ที่จะถึงนี้ โดยในตอนแรกผู้เขียนจะขอกล่าวถึงการแข่งขันเข้ารับเลือกเป็นตัวแทนพรรค Republican เพื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะมี Donald Trump ซึ่งเป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สมัครเข้ารับเลือกเป็นตัวแทนพรรค Republican ด้วย

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แม้จะเปิดกว้างให้มีการสมัครเข้ารับเลือกตั้งอย่างเสรีคือ มีผู้สมัครทั้งที่สังกัดพรรค และผู้สมัครอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใดๆ สามารถเข้าแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาได้ก็ตาม แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีต (ตั้งแต่ปี 1868 เริ่มจาก President Ulysses S. Grant พรรค Republican) จนถึงปัจจุบันจะปรากฏว่ามีเพียงพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคเท่านั้นคือ พรรค Republican และพรรค Democrat ที่ผู้สมัครซึ่งเป็นตัวแทนพรรคของพรรคทั้งสองจะมีโอกาสได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ดี ในบทความเรื่องที่ 16.1 ซึ่งเป็นเรื่องการเมืองในสหรัฐอเมริกา ในตอนแรกนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยสังเขป การเลือกตั้งตัวแทนของพรรค Republican และเรื่องที่เกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นตัวแทนพรรค Republican 3 คนคือ Donald Trump, Ted Cruz และ John Kasich ที่ยังอยู่ในระหว่างการหาเสียงในการเลือกตั้งขั้นต้น (Primary) เพื่อเป็นตัวแทนพรรคที่รัฐ New York ในวันที่ 19 เมษายน 2016 และอีก 5 รัฐคือ รัฐ Connecticut, Delaware, Maryland, Pennsylvania, และ Rhode Island ในวันที่ 26 เมษายน 2016

2. การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยสังเขป

จากรูปภาพที่ 1 จะพบว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับแรก เป็นการเลือกตั้งผู้สมัคร (เข้าแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี) เป็นตัวแทนพรรคการเมือง 2 พรรคคือ พรรค Republican และพรรค Democrat สำหรับผู้สมัครอิสระ และผู้สมัครจากพรรคอื่นๆ จะไม่มีขั้นตอนการเลือกบุคคลเป็นตัวแทนพรรคเช่นเดียวกับพรรค Republican และพรรค Democrat (สำหรับหลักเกณฑ์การเลือกตั้งผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคทั้งสอง จะกล่าวในตอนต่อไป)

           รูปภาพที่ 1 การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา

สำหรับระดับที่สอง คือการเลือกตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเป็นประมุขฝ่ายบริหาร ในรูปภาพที่ 1 เมื่อพรรค Republican และพรรค Democrat ได้เลือกบุคคลที่เป็นตัวแทนของพรรคได้แล้ว ผู้สมัครที่เป็นตัวแทนของพรรคทั้งสอง และผู้สมัครอิสระที่ไม่ได้มาจากพรรคทั้งสอง จะเข้าแข่งขันกันเพื่อให้ประชาชนออกเสียงเลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่งเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้สมัครที่เป็นตัวแทนของพรรค Republican และพรรค Democrat (สำหรับรายละเอียดของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะขอกล่าวในภายหลัง)

3. การเลือกตั้งผู้สมัครเป็นตัวแทนของพรรค Republican เข้าแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

ในขณะที่เขียนบทความเรื่องนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 14 เม.ย. 2016) ยังมีผู้สมัครเข้ารับเลือกเป็นตัวแทนพรรค Republican แข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจำนวน 3 คนคือ Donald Trump, Ted Cruz และ John Kasich (ดูในรูปภาพที่ 2) ซึ่งบุคคลที่จะได้รับเลือกให้เป็นผู้สมัครในนามพรรค Republican จะต้องเป็นไปหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

3.1 บุคคลที่จะได้รับเลือกให้เป็นผู้สมัครแข่งขันตำแหน่งประธานาธิบดีในนามพรรค Republican จะต้องได้รับการสนับสนุนจากตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง (Delegates) จำนวน ≥1,237 ตัวแทนในที่ประชุมใหญ่ของพรรค Republican โดยมีข้อผูกมัดว่าในการออกเสียงครั้งแรกตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง จะต้องเลือกผู้สมัครแข่งขันตำแหน่งประธานาธิบดี (Presidential Candidate) ที่ชนะการเลือกตั้งขั้นต้น (Primary/Caucus) ในเขตพื้นที่เดียวกับพื้นที่ของตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง (Delegates) ในที่ประชุมใหญ่ (Convention) เท่านั้นในเดือนกรกฎาคม 2016 ที่เมือง Cleveland

      รูปภาพที่ 2 การเลือกผู้สมัครแข่งขันเป็นประธานาธิบดีในนามพรรค Republican

3.2 อย่างไรก็ดี ในการออกเสียงเลือกผู้สมัครครั้งแรกในที่ประชุมพรรค Republican ถ้าไม่มีผู้ใดในผู้สมัครทั้ง 3 คน (คือ Donald Trump, Ted Cruz และ John Kasich) มีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง (Delegate) ที่ให้การสนับสนุนเท่ากับหรือมากกว่า 1,237 ตัวแทน (คือจำนวน 50% ของจำนวนตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 2,472 ตัวแทน บวกด้วย 1 ตัวแทน ซึ่งเท่ากับเสียงข้างมากของตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่ให้การสนับสนุน) นั่นหมายความว่า จะไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับเลือกให้เป็นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามพรรค Republican ในการออกเสียงเลือกครั้งแรกนั่นเอง

ดังนั้น ในที่ประชุมของพรรค Republican ก็จะมีการออกเสียงเลือกผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามพรรคเป็นครั้งที่ 2 โดยตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกผู้สมัคร (Delegates) จะมีอิสระ (หลุดพ้นจากข้อผูกมัด) ที่จะออกเสียงเลือกบุคคลใดๆ ก็ได้ที่ตนเห็นว่า มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามพรรค Republican ซึ่งจะทำให้ต้องมีการประชุมเพื่อเลือกผู้สมัครในนามพรรคแบบเปิด (Open Convention) คือ เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งขั้นต้นได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับเลือกเป็นผู้สมัครแข่งขันเป็นประธานาธิบดีในนามพรรค Republican ได้นั่นเอง ดังนั้น ถ้า Trump ไม่สามารถรวบรวมจำนวนตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งให้ได้เท่ากับหรือมากกว่า 1,237 ตัวแทนแล้ว โอกาสที่จะมีการประชุมแบบเปิด (Open Convention) เพื่อออกเสียงเลือกผู้สมัครแข่งขันเป็นประธานาธิบดีครั้งที่ 2 ก็ย่อมจะมีความเป็นไปได้สูง (ดูรูปภาพที่ 3) As the result,if Trump fails to secure the 1,237 delegates needed to win the nomination on the first ballot, most delegates will then be unbound, free to vote for any candidate they choose on the second ballot.(W.Nathasiri - Apr 14, 2016)

      รูปภาพที่ 3 ขั้นตอนการออกเสียงเลือกผู้สมัครในนามพรรค Republican

4. ผลการเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อเลือกผู้สมัครแข่งขันในนามพรรค Republican ณ วันที่ 14 เม.ย.16

ข้อมูล ณ วันที่ 14 เม.ย. 2016 ระบุว่ามีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในนามพรรค Republican ที่ยังอยู่ในการแข่งขันทั้งสิ้น 3 คน คือ Donald Trump, Ted Cruz และ John Kasich และมีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจากการเลือกตั้งขั้นต้นที่ผ่านมา ดังนี้ (ดูรูปภาพที่ 4)*

          รูปภาพที่ 4 ผู้สมัครแข่งขันที่มีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง

จากข้อมูลในรูปภาพที่ 4 ณ วันที่ 14 เม.ย. 2016 ได้ระบุว่า Donald Trump มีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวน 755 ตัวแทน Trump ยังต้องการอีก 482 ตัวแทน จึงจะมีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งครบจำนวน 1,237 ตัวแทน (ซึ่งจำนวนที่เป็นเสียงข้างมากของตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวนทั้งหมด 2,472 ตัวแทน) ส่วน Ted Cruz มีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวน 545 ตัวแทน Cruz ยังต้องการตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกอีก 692 ตัวแทน และ John Kasich มีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวน 143ตัวแทน Kasich ยังต้องการตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกอีก 1,092 ตัวแทน

5. สถานการณ์การเลือกตั้งขั้นต้นของพรรค Republican ตั้งแต่ 19 เม.ย.-7 มิ.ย. 2016

อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของพรรค Republican จะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงวันที่ 7 มิ.ย. 2016 และจะมีจำนวนตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่ยังเหลืออยู่อีก 769 ตัวแทนเท่านั้น (ดูในรูปภาพที่ 5) ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่ทั้ง Ted Cruz และ John Kasich จะได้จำนวนตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งได้ครบ 1,237 ตัวแทน จากการเลือกตั้งขั้นต้นที่เหลืออยู่ จึงมีคำถามว่า แล้วทำไมผู้สมัครทั้งสองจึงยังไม่ออกจากการแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นผู้สมัครของพรรค Republican เช่นเดียวกับ Marco Rubio และผู้สมัครแข่งขันคนอื่นๆ

ในความคิดเห็นส่วนตัวผู้เขียนเชื่อว่า การที่ Ted Cruz และ John Kasich ยังไม่ออกจากการแข่งขันในครั้งนี้ เพราะต้องการที่จะสกัดกั้นไม่ให้ Donald Trump ได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งได้ครบตามจำนวนที่กำหนด ซึ่งจะทำให้อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีผู้สมัครแข่งขันคนใดได้ตัวแทนออกเสียงเลือกตั้งครบตามจำนวน 1,237 ตัวแทน ผลก็คือ ในที่ประชุมพรรค Republican จะต้องมีการออกเสียงเลือกผู้สมัครแข่งขันเป็นประธานาธิบดีในนามพรรคเป็นครั้งที่สอง โดยจะต้องเปิดกว้างให้มีการเสนอชื่อบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้ผ่านการแข่งขันเลือกตั้งขั้นต้นเข้ารับการเลือกตั้งด้วย

นอกจากนี้ ข้อผูกมัดที่ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะต้องออกเสียงสนับสนุนผู้สมัครแข่งขันที่ชนะการเลือกตั้งในพื้นที่เดียวกันกับตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งในการออกเสียงครั้งแรกก็จะถูกยกเลิกไป ดังนั้นการออกเสียงเลือกผู้สมัครแข่งขันในนามพรรคครั้งต่อไป ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งในแต่ละรัฐก็อาจเปลี่ยนใจไปเลือกผู้สมัครคนใดก็ได้ตามความคิดเห็นของตนเอง (ซึ่งตรงกับความต้องการของ Cruz)

ดังนั้น ทั้ง Ted Cruz และ John Kasich ซึ่งคงมุ่งหวังที่จะให้เกิดเหตุการณ์ดังเช่นที่กล่าวมา จึงยังไม่ออกจากการแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นผู้สมัครประธานาธิบดีในนามพรรค Republican เพราะต้องการสกัดกั้นไม่ให้ Donald Trump ได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งครบตามจำนวน 1,237 ตัวแทนนั่นเอง (โดยเฉพาะกลุ่มที่สนับสนุน Ted Cruz และต่อต้าน Donald Trump ได้นำภาพถ่าย (Nude) ของภรรยา Trump ในขณะที่เป็นนางแบบออกมาเผยแพร่เพื่อหวังเอาชนะ Trump ในการเลือกตั้งขั้นต้นที่ Wisconsin ซึ่งเป็นวิธีการสกปรกเป็นอย่างยิ่งของประชาธิปไตยแบบสหรัฐอเมริกา - ผู้เขียน)

รูปภาพที่ 5 การเลือกตั้งขั้นต้นของพรรค Republican ที่จะมีขึ้นในเดือนเม.ย.- มิ.ย.2016*




*From http://www.realclearpolitics.com/epolls/2016/president/republican_delegate_count.html

อธิบายคำศัพท์ในรูปภาพที่ 5 : ที่เกี่ยวกับการจัดสรรจำนวนตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง

(1) Proportional คือ ผู้สมัครแข่งขัน (รับเลือกตั้ง) จะได้จำนวนตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งตามคะแนนเลือกตั้งที่ได้รับ เช่น การเลือกตั้งขั้นต้นที่ New York ผู้ชนะการเลือกตั้งในแต่ละเขตที่ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากกว่า 50% จะได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดจำนวน 3 ตัวแทนต่อเขต แต่ถ้าผู้ชนะได้คะแนนเลือกตั้งไม่ถึง 50% ก็จะได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวน 2 ตัวแทน ส่วนผู้สมัครที่มีคะแนนรองลงไปจะได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวน 1 ตัวแทน ในรัฐ New York มี 27 เขต จะมีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งเท่ากับ 81 ตัวแทน และผู้ที่ชนะการเลือกตั้งรวมในรัฐจะได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งอีก 14 ตัวแทน รวมทั้งหมดเป็น 95 ตัวแทน

(2) Winner Take All คือ ผู้ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตนั้น (ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด) จะได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งไปทั้งหมดในเขตนั้น ตัวอย่างเช่นที่รัฐฟลอริดามีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวน 99 ตัวแทน ปรากฏว่า Trump ได้รับเลือกมีคะแนนสูงสุดมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ Trump จึงได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งของรัฐฟลอริดาไปทั้งหมด 99 ตัวแทน

(3) Winner Take Most คือผู้ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตนั้นจะได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ (ส่วนจำนวนจะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารของพรรคในแต่ละรัฐจะกำหนดขึ้น ซึ่งจะไม่เหมือนกันในแต่ละรัฐ)

(4) Closed คือ การออกเสียงเลือกตั้ง สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนพรรค Republican เท่านั้น

(5) Open คือ เปิดเสรีให้ผู้ออกเสียงที่ลงทะเบียนพรรค และไม่ได้ลงทะเบียนพรรค สามารถออกเสียงเลือกผู้สมัครจากพรรคใดพรรคหนึ่งได้ตามที่ต้องการ เช่น ผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนพรรค Republican แต่อยากออกเสียงเลือก Trump ก็สามารถทำได้แต่จะกลับไปเลือกผู้สมัครคนอื่นของพรรค Democrat อีกไม่ได้ เป็นต้น

6. การศึกษาสถานการณ์การเลือกตั้งขั้นต้นของ Trump, Cruz และKasich

รูปภาพที่ 6 กำหนดการออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครในนามพรรค Republican ในเดือนเมษายน 2016



จากข้อมูลดูในรูปภาพที่ 5 การเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของพรรค Republican จะมีจำนวนตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งในเดือนเมษายน 2016 เป็นจำนวนเท่ากับ 267 ตัวแทนในเดือนพฤษภาคม เป็นจำนวนเท่ากับ 199 ตัวแทน และในเดือนมิถุนายน เป็นจำนวนเท่ากับ 303 ตัวแทน รวมแล้วเป็นจำนวนตัวแทนทั้งหมด 769 ตัวแทน

6.1 การดำเนินการ (ต่อสู้) ของฝ่าย Donald Trump

6.1.1 การกำหนดเป้าหมายของการเลือกตั้งในแต่ละเดือน

ผู้เขียนเชื่อว่า ในการเลือกตั้งขั้นต้นที่เหลืออยู่ในเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน ฝ่าย Trump จะต้องพยายามทุ่มเทเพื่อให้ได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งให้ได้มากที่สุดคือ ไม่น้อยกว่า 80% ของจำนวนตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่เหลืออยู่ ซึ่งเท่ากับ 615 ตัวแทนโดยมีเป้าหมายดังนี้

(1) ในเดือนเมษายน 2016 Trump จะต้องได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งเท่ากับหรือมากกว่า 214 ตัวแทน (ปัดเศษขึ้น) ซึ่งเท่ากับ 80% ของจำนวนตัวแทนทั้งหมด 267ตัวแทน (ดูรูปภาพที่ 6)

(2) เดือนพฤษภาคม Trump จะต้องได้จำนวนตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งเท่ากับหรือมากกว่า 159 ตัวแทน ซึ่งเท่ากับ 80% ของจำนวนทั้งหมด 199 ตัวแทน

(3) ในเดือนมิถุนายน Trump จะต้องได้จำนวนตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งเท่ากับหรือมากกว่า 242 ตัวแทน จากจำนวนทั้งหมด 303 ตัวแทน

โดยในเดือนเมษายนนี้ ทีมงานของ Trump คงจะมุ่งเน้นไปที่การเลือกตั้งใน New York และ Pennsylvania เป็นสำคัญ เนื่องจากการเลือกตั้งขั้นต้นใน New Yorkเป็นบ้านเกิดของ Donald Trump และถ้านำ New York มารวมกับ Pennsylvania แล้ว จะมีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งรวมกันเป็นจำนวนถึง 166 ตัวแทน (ดูรูปภาพที่ 6)

ต่อมาในเดือนพฤษภาคม (ดูรูปภาพที่ 7) ทีมงานของ Trump คงมุ่งที่จะเอาชนะการเลือกตั้งในรัฐ Indiana และ Nebraska ให้ได้ เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่ผู้ชนะการเลือกตั้งไม่เพียงจะได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งไปทั้งหมดเท่านั้น แต่ยังจะได้ Bonus ตัวแทนผู้ออกเสียงอีกจำนวนหนึ่งด้วย

รูปภาพที่ 7 การออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครในนามพรรค Republican ในเดือนพฤษภาคม 2016



สำหรับในเดือนมิถุนายน ทีมงานของ Trump คงจะทุ่มเทที่จะเอาชนะการเลือกตั้งในรัฐ SouthDakota, NewJersey, Montana และที่สำคัญคือรัฐ Californiaให้ได้ เพราะผลการเลือกตั้งทั้ง 4 รัฐนี้จะบ่งชี้ว่า Trump จะได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง (Delegate) ครบตามจำนวน 1,237 ตัวแทน หรือไม่ (ทั้ง 4 รัฐนี้ จะมีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งรวมกันเป็นจำนวนเท่ากับ 279 ตัวแทน- ดูรูปภาพที่ 8) เพราะถ้าไม่ครบ Trump จะต้องไปสู้ต่อในที่ประชุมของพรรค เพื่อให้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง (ซึ่งมีอิสระเสรีที่จะเลือกผู้สมัครคนใดก็ได้) ออกเสียงเลือก Trump อีกครั้ง ในการออกเสียงเลือกครั้งที่ 2

รูปภาพที่ 8 การออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครพรรค Republican ในเดือนมิถุนายน 2016

6.1.2 การพัฒนาความสัมพันธ์กับตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่มาจากรัฐต่างๆ (Delegates)

ฝ่าย Trump ได้แต่งตั้ง Paul J. Manafort ให้ทำหน้าที่ Chief Delegate Strategist เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งให้ออกเสียงสนับสนุน Trumpในที่ประชุมใหญ่ของพรรค

สืบเนื่องจากกรณีที่รัฐ Colorado ไม่มีการเลือกตั้งขั้นต้น (Primary) และไม่มี Caucus แต่มีการจัดประชุมเพื่อเลือกตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวน 37 ตัวแทนในที่ประชุมพรรค Republican ของรัฐ Colorado ซึ่งปรากฏว่า ฝ่าย Ted Cruz ได้ดำเนินการติดต่อกับฝ่ายบริหารของพรรคที่รัฐ Colorado ไว้ล่วงหน้าก่อนการประชุมเลือกตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งทำให้ Cruz มีอิทธิพลในการเลือกตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งของรัฐ Colorado ซึ่งผลปรากฏว่า ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวน 34 ตัวแทน ได้แสดงเจตนาที่จะสนับสนุน Cruz ในที่ประชุมใหญ่ของพรรค Republican ที่เมือง Cleveland (แต่ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งอีก 3 ตัวแทนยังไม่แสดงเจตนาว่า สนับสนุนใคร) ซึ่งฝ่าย Trump ได้แสดงความเห็นว่า ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งได้ถูกเลือกจากผู้สมัครแข่งขันคนหนึ่ง โดยที่ชาว Colorado เองกลับไม่สามารถออกเสียงเลือกผู้สมัครแข่งขันที่ตนชอบได้ Delegates were chosen on behalf of a presidential nominee, yet the people of Colorado were not able to cast their ballots to say which nominee they preferred.- Trump wrote inan op-ed in the Wall Street Journal.
http://www.nydailynews.com/news/politics/donald-trump-stop-whining-delegates-article-1.2603378 การใช้วิธีการแบบไม่เป็นทางการหรือไม่เปิดเผยจะทำให้ได้นักการเมืองที่ไม่ดีผู้เขียนจึงเห็นด้วยกับ Trump ที่พูดไว้ว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาบริหารโดยคนที่โง่ The government run by stupid people.- FromFull Speech: Donald TrumpHolds HUGE Rally inPittsburgh, PA(4-13-16)

กรณี Colorado ได้ชี้ว่า ถ้าไม่มีการติดต่อประสานงานกับตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง (Delegates) ไว้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อการเลือกตั้งขั้นต้นสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน 2016 และถ้าฝ่าย Trump ไม่มีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งครบตามจำนวน1,237 ตัวแทน พรรคก็จะจัดการประชุมแบบเปิด (Open Convention) เพื่อให้มีการออกเสียงเลือกผู้สมัครในนามพรรคเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง (ที่เคยออกเสียงให้ Trump ในการออกเสียงเลือกครั้งแรก) ก็อาจเปลี่ยนใจไปเลือกผู้สมัครคนอื่นที่ไม่ใช่ Trump ดังนั้น Trump จึงต้องรีบแต่งตั้ง Paul J. Manafort (ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การเลือกตั้งในสมัยประธานาธิบดี Ford และ Reagan) ให้มาทำหน้าที่ในการประสานงานกับตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจากรัฐต่างๆ ยังคงออกเสียงให้การสนับสนุน Trump ถ้าหากมีการออกเสียงเลือกผู้สมัครในนามพรรค ในครั้งที่ 2

6.1.3 การออกข่าวว่า จะตั้งพรรคที่ 3 หรือลงสมัครแข่งขันแบบไม่สังกัดพรรค

การที่ฝ่าย Trump ออกมาปล่อยข่าวว่า ถ้า Trump มีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งในจำนวนที่มากกว่าผู้สมัครคนใด แต่ไม่ได้รับเลือกในที่ประชุมใหญ่ของพรรค Republican เพราะถูกขัดขวางและกีดกันจากกลุ่มผู้นำพรรคทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ไม่พอใจ Trump (คงเป็นเพราะ Trump เป็นคนปากโป้ง ชอบพูดว่าคนตรงๆ และไม่ยอมอยู่ใต้อิทธิพลของกลุ่มผู้นำพรรค รวมทั้งกลุ่มที่สนับสนุนให้เงินบริจาคแก่พรรคด้วย) ฝ่าย Trump ก็อาจจำเป็นต้องตั้งพรรคที่ 3 หรืออาจลงสมัครแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ด้วยตนเองก็ได้ การปล่อยข่าวเช่นนี้ออกมาก็เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้กลุ่มต่อต้าน Trump ใช้วิถีทางการเมืองที่สกปรกอื่นๆ (ดังเช่น การเผยแพร่รูปถ่าย Nude ของภรรยาของ Trump- ดูรูปภาพที่ 9 Trumpand Melania Trump) เพื่อขัดขวาง Trump อีกนั่นเอง

                   รูปภาพที่ 9 Trumpand Melania Trump*


*Fromhttp://heavy.com/entertainment/2015/08/melania-knauss-trump-donald-wife-age-married-son-height-to-who/ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ผู้เขียนเชื่อว่า ถ้า ฝ่าย Trump ดำเนินการดังกล่าวจริง ก็จะทำให้ทั้งพรรค Republican และ Democrat แตกแยกและอ่อนแอลง เพราะอาจมีผู้ที่นิยมพรรคทั้งสองเปลี่ยนใจไปสนับสนุน Trump จนอาจนำไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองที่ 3 ขึ้นมาแข่งขันทางการเมืองกับพรรคการเมืองเก่าแก่ทั้งสองในเวทีการเมืองสหรัฐอเมริกาในอนาคตอย่างแน่นอน

6.2 การดำเนินการ (ต่อต้าน Trump) ของฝ่าย Cruz, Kasich และกลุ่มที่ให้การสนับสนุน Cruz


             รูปภาพที่ 10 จากซ้ายไปขวา Cruz และ Kasich*

*http://www.dispatch.com/content/stories/local/2015/11/16/kasich-cruz-show-gop-divide-on-bailouts.html ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย

6.2.1 การดำเนินกลยุทธ์แยกกันเดิน รวมกันตี

ในความเห็นส่วนตัว ผู้เขียนเชื่อว่าแม้ฝ่าย Ted Cruz และฝ่าย John Kasich จะไม่ใช่พวกเดียวกัน โดยดูเหมือนจะแยกกันหาเสียงเพื่อเพิ่มคะแนนเสียงสนับสนุนจากกลุ่มคนกลุ่มต่างๆ และลดคะแนนเสียงที่สนับสนุน Trump ลดลงให้ได้มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันทั้งฝ่าย Ted Cruz และฝ่าย John Kasich ต่างก็มุ่งที่จะกล่าวหาหรือโจมตีไปที่เป้าหมายเดียวกันคือ Trump โดยหวังเพิ่มกลุ่มคนที่ต่อต้าน Trump ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ Trump ได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง (Delegates) เพิ่มขึ้นจนมีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่า 1,237 ตัวแทน เพราะทั้งฝ่าย Cruz และ Kasich คงมุ่งหวังที่จะได้รับเลือกเป็นผู้สมัครของพรรค ถ้าหากมีการประชุมแบบเปิด (Open Convention) เพื่อออกเสียงหรือลงคะแนนเลือกผู้สมัครเป็นครั้งที่ 2 นั่นเอง

6.2.2 การดำเนินการจูงใจตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งของฝ่าย Cruz และฝ่าย Kasich

ผู้เขียนคาดว่า การดำเนินการของฝ่าย Ted Cruz คงใช้วิธีการติดต่อกับตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจากรัฐต่างๆ (ที่เดิมให้การสนับสนุนผู้สมัครคนอื่นๆ หรือแม้กระทั่งที่สนับสนุน Trump) อย่างไม่เป็นทางการไว้เป็นการล่วงหน้า เพื่อขอให้ออกเสียงสนับสนุน Cruz ถ้ามีการประชุมเลือกผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคในครั้งที่ 2 (เพื่อเป็นการเตรียมการในกรณีที่การประชุมเลือกผู้สมัครตัวแทนพรรคครั้งแรกไม่สามารถเลือกผู้สมัครตัวแทนพรรคได้) และจากกรณีการเลือกตัวแทนผู้ออกเสียงที่รัฐ Colorado ได้บ่งชี้ว่า ฝ่าย Ted Cruz มีความถนัดในการใช้วิธีนี้ ซึ่งคนไทยรู้จักกันดีโดยเรียกว่า แมวขโมยปลาย่าง

สำหรับการดำเนินการของฝ่าย John Kasich ส่วนใหญ่มักจะอ้างผลการทำ Poll จากสำนักต่างๆ (คาดว่า คงมีการจัดตัวเลขให้ดูสมจริงเพื่อขจัดผู้สมัครที่เข้มแข็งออกไป) ที่ระบุว่า ถ้ามีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน Kasich จะชนะผู้สมัครทุกคนจากทั้งสองพรรค ดังนั้น Kasich จึงมักนำผลที่ได้จาก Poll ต่างๆ มากล่าวหาเสียงจูงใจประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้งว่า อย่าเลือกทั้ง Trump และ Cruzเพราะ Poll ระบุว่า จะแพ้การเลือกตั้งต่อ Hillary Clinton และ Bernie Sanders ซึ่งเป็นผู้สมัครของพรรค Democrat และยังได้กล่าวกับผู้ให้การสนับสนุนพรรคRepublican อีกว่า พรรคจะสูญเสียทุกอย่าง ทั้งตำแหน่งประธานาธิบดี ศาล และสภา ถ้าผู้สมัครแข่งขันที่ไม่เหมาะสมได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคชิงตำแหน่งประธานาธิบดี (Kasich said to Republican donors that the party would lose everything from the White House to the courthouse to the state house if the wrong candidate wins the nomination. See http://www.nydailynews.com/news/politics/donald-trump-stop-whining-delegates-article-1.2603378 ในเรื่องนี้ถ้าจะกล่าวเป็นสำนวนไทยก็คือ Kasich ควรตักน้ำใส่กะโหลก แล้วชะโงกดูเงาของตัวเองบ้าง เพราะ Kasich มีตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งเพียง 143 ตัวแทน โดยความเป็นจริงแล้ว Kasich ไม่มีโอกาสที่จะได้เป็นตัวแทนพรรคเลย และควรจะออกจากการแข่งขันเป็นตัวแทนพรรคไปนานแล้ว แต่ที่ยังไม่ออกไปจากการแข่งขันคงเป็นเพราะกลุ่มที่เสียประโยชน์ และกลุ่มที่ไม่ชอบ Trump ยังให้เงินสนับสนุน Kasich อยู่ เพื่อให้ Kasichได้แสดงละครตัดคะแนนเสียงผู้สนับสนุน Trumpให้ได้มากที่สุดนั่นเอง กรณีนี้ต้องถือเป็นพฤติกรรมที่สกปรกเป็นอย่างยิ่งของระบบประชาธิปไตยสหรัฐอเมริกา- ผู้เขียน)

6.2.3 การดำเนินการทำลายคะแนนนิยม Trump โดยกลุ่มต่อต้าน Trump ในทุกวิถีทาง

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการดำเนินการทำลายคะแนนนิยมของ Trump ในบางเหตุการณ์ ดังนี้

(1) การใช้มวลชนขัดขวางการหาเสียงของ Trump ที่ University of Illinois,Chicago ดูรูปที่ 11
เหตุการณ์นี้ทำให้ ฝ่าย Trump ต้องยกเลิกการหาเสียงที่ University of Illinois

รูปภาพที่ 11 การปะทะกันระหว่างผู้สนับสนุนกับผู้ต่อต้าน Trump (น่าจะเป็นผู้อพยพ)*


*University of Illinois at Chicago March 11, 2016. Photo by Kamil Krzaczynski/Reuters ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

(2) การเผยแพร่ภาพถ่าย Nude ในช่วงที่ Melania Trump มีอาชีพเป็นนางแบบกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า Make America Awesome ได้เผยแพร่ภาพถ่ายนี้ (รูปภาพที่ 12) และเขียนข้อความดูถูกภรรยาของ Trump เป็นการดูถูกเพศหญิงเพื่อหวังผลทางการเมือง - เลวจริงๆ

        รูปภาพที่ 12 ภาพถ่ายที่กลุ่มสนับสนุน Cruz นำมาเผยแพร่*

*http://www.zerohedge.com/news/2016-03-21/whose-bright-idea-was-it-show-naked-melania-trump-attack-ad

7. บทสรุป

การเลือกตั้งผู้สมัครเป็นตัวแทนของพรรค Republican และพรรค Democrat ได้ผ่านมาถึงช่วงเวลาที่สำคัญ คือ อยู่ในช่วงกลางทางของการเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อหาผู้สมัครแข่งขันตำแหน่งประธานาธิบดีในนามพรรคการเมืองทั้งสอง โดยพรรค Republican มีผู้สมัครที่แข่งขันกัน 3 คนคือ Donald Trump, Ted Cruz และ John Kasich ส่วนพรรค Democrat มีผู้สมัครที่แข่งขันกัน 2 คนคือ Hillary Clinton และ Bernie Sanders

ดังนั้น การเลือกตั้งขั้นต้นที่เหลืออยู่ตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย. จนถึงวันที่ 7 มิ.ย. 2016โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่ New York ในวันที่ 19 เม.ย., ที่ Pennsylvania ในวันที่ 26 เม.ย.,ที่ Indiana ในวันที่ 3 พ.ค.ที่ New Jersey และที่ California ในวันที่ 7 มิ.ย.จึงมีความสำคัญต่อผู้สมัครทุกคน โดยเฉพาะผู้สมัครที่มีจำนวนตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง (Delegates) มากที่สุดคือ Trump และ Clinton จะยิ่งได้รับความกดดันมากขึ้นตามลำดับเวลาที่เข้าใกล้วันที่ 7 มิ.ย. ดังนั้น ทั้ง Trump และ Clinton จึงต้องใช้ความสามารถที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อให้ได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งตามจำนวนที่กำหนดให้ได้ เพราะผู้สมัครในนามพรรค Republican จะต้องได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวน ≥1,237 ตัวแทน และผู้สมัครในนามพรรค Democrat ต้องได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวน ≥2,383 ตัวแทน

อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเชื่อว่า ถ้า Trump ชนะการเลือกตั้งในเดือนเมษายน และได้ตัวแทนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจำนวนไม่ต่ำกว่า 214 ตัวแทน ความเป็นไปได้ที่ Trump จะชนะการเลือกตั้งได้เป็นผู้สมัครในนามพรรค Republican ก็จะเพิ่มสูงมากขึ้น

ในความคิดเห็นส่วนตัว ผู้เขียนเห็นว่า การเลือกตั้งผู้สมัครในนามพรรค Republican ดูจะมีสีสัน ตื่นเต้น และน่าติดตามมากกว่าการเลือกตั้งผู้สมัครในนามพรรค Democrat เพราะมีการใช้วิธีการที่สกปรกต่างๆ รวมทั้งมีการนำเรื่องส่วนตัวมาโจมตีกันเพื่อเอาชนะหรือขัดขวางไม่ให้ฝ่าย Trump ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่า จะเกิดขึ้นในวงการเมืองของสหรัฐอเมริกาที่นักวิชาการคนไทยส่วนใหญ่มักชอบอ้างว่า เป็นประชาธิปไตยต้นแบบที่ควรเอาเยี่ยงอย่าง ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้นำเหตุการณ์การเลือกตั้งขั้นต้นของพรรค Republican มาเขียนเป็นตอนแรกของการเมืองในอเมริกา (เรื่องที่ 16.1 ของบทความชุดที่ 16)

ท้ายบทความ

ได้มีผู้อ่านบางท่านถามมาว่า ช่วงนี้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในภาคใต้ขึ้นอีก รัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ให้ยุติลงได้อย่างถาวร

ผู้เขียนขอขอบคุณที่มีคำถามมา และจะตอบปัญหาที่ท่านถามมาครับ แต่อาจจะต้องรอภายหลังจากบทความเรื่องการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ตอนที่ 2 และถ้าท่านใดมีความคิดเห็นใดๆ ที่จะส่งให้ผู้เขียน ขอให้ส่งมาที่ udomdee@gmail.com

ขอบคุณครับ - วีระศักดิ์ นาทะสิริ 17 เม.ย. 2559
กำลังโหลดความคิดเห็น