วานนี้ (11เม.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)โดย นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ทำหน้าที่ประธานการประชุม วาระพิจารณาการจัดทำคำอธิบายร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ไปดำเนินการเผยแพร่ต่อประชาชน
นายมีชัย ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมว่า ในวันที่ 12 เม.ย.นี้ ทางกรธ. จะส่งเอกสารสรุปคำอธิบายร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ให้กับกกต.เพื่อนำไปเผยแพร่ โดยเล่มแรก จะเป็นการสรุปเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมด ส่วนอีกเล่ม เป็นสรุปเฉพาะประเด็นที่สำคัญๆพร้อมกับภาพประกอบประมาณ 10 เรื่อง ที่ควรรู้
นายมีชัย ยังกล่าวถึง กรณีที่พรรคการเมืองออกมาแสดงท่าที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ขอยืนยันเวลาที่ กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญ เรายึดตามกรอบที่รัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 กำหนดไว้ และตามความอิสระที่ กรธ.ร่วมกันคิดขึ้น ซึ่ง กรธ.คิดว่าดี เพราะแต่ละประเด็นที่ออกมาก็มีส่วนดี ส่วนถ้อยคำที่มีการนำไปแปลความหมายกันแบบผิดๆ นั้น ก็อาจจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน หรือบางเรื่องก็ไม่ได้ดั่งใจตามที่ต้องการ ตรงนี้มันก็ลำบาก เพราะผู้ร่างก็ต้องร่างเพื่อใช้กันทั้งประเทศ
ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญมีข้อบกพร่องนั้น ตนขอชี้แจงว่า ไม่ใช่เรื่องบกพร่อง อาจจะใช้คำผิดก็ได้ แต่อาจเป็นเรื่องที่เขาไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะไม่มีใครที่จะเห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์ทั้งหมด ถ้าเป็นพรรคการเมืองที่มีคุณธรรม เขาก็ไม่ทำสิ่งใดที่บิดเบือน เขาไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไร เราก็รับรู้ แต่พรรคการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม เขาก็จะไปบิดเบือน ซึ่งเหมือนขณะนี้ จะเริ่มทยอยบิดเบือนกันแล้ว
" สิ่งที่น่ากลัวคือ เริ่มมีวิชามารออกมาเป็นจำนวนมาก เริ่มมีการบิดเบือนข้อมูล เมื่อช่วงเช้าก็มีคนส่งมาให้ผมดู เป็นแบบเอากันซึ่งๆ หน้าเลย ก็กำลังพิจารณาอยู่ว่า จะดำเนินการอย่างไร โดยวิชามารที่ออกมาตอนนี้ ส่วนใหญ่เป็นการสรุปแบบผิดๆ" นายมีชัย กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวหาว่า กรธ.เขียนร่างรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยพรรคประชาธิปัตย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คือ การไม่ใช้คำว่า "ไล่ออก ปลดออก " เหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านๆ มา แต่ครั้งนี้ กรธ.เขียนเป็น "ถูกให้พ้นจากราชการหรือหน่วยงานของรัฐเพราะทุจริตต่อหน้าที่"แทน เนื่องจากเห็นว่า คำว่า "ให้พ้นจากราชการหรือหน่วยงานของรัฐมันกว้างกว่าคำว่า "ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก " เพราะบางครั้งไม่ได้ไล่ออก แต่เป็นการเลิกสัญญา ถ้าเขียนแบบเดิมมันไม่ครอบคลุม กรธ.จึงปรับใหม่เพื่อให้ครอบคลุม การกล่าวหาว่า กรธ.ช่วยพรรคประชาธิปัตย์ จึงบิดเบือน ดังนั้นทางกกต. จะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบ แต่หาก กรธ.พบ ก็จะส่งเรื่องไปให้ กกต.ดำเนินการ
"ผมว่าบ้านเมืองเป็นของทุกคน ประเทศก็เป็นของทุกคน ถึงเวลาที่วันหนึ่งทุกคนต้องนึกถึงประเทศบ้าง อย่านึกถึงแต่ส่วนตัว หรือนายจ้างที่จ้างมาเลย ต้องนึกถึงประเทศบ้าง เราไม่ท้อใจ เรามีหน้าที่ชี้แจง แต่ว่ามันอนาถใจว่า ทำไมเขาไม่นึกถึงบ้านเมืองบ้าง ทำกันซึ่งๆ หน้าแบบนี้ทำได้อย่างไร" ประธาน กรธ.กล่าว
เมื่อถามว่า หากคำถามพ่วงของ สนช. ผ่านประชามติ กรธ. ต้องดำเนินการปรับแก้ไข มองว่าจะขัดกับหลักการที่วางไว้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ถึงตอนนั้นเจตนารมณ์ของประชาชนต้องเป็นใหญ่ เมื่อถามย้ำว่า เกรงว่าคำถามพ่วง จะทำให้เกิดความขัดแย้งหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า พ้นวิสัยของกรธ. เนื่องจากไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรธ. เพราะ กรธ.ต้องทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว)
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า ทางกรธ.ได้ส่ง นายประพันธ์ นัยโกวิท เป็นตัวแทนไปหารือการเตรียมความพร้อมการทำประชามติ ร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และกกต. ที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจาก กกต.ได้มีหนังสือมาบอกว่า จะพิมพ์ข้อดี ข้อด้อย ของร่างรัฐธรรมนูญ ไปแจกจ่ายประชาชน ซึ่งกรธ. เห็นว่าเป็นการทำเกินหน้าที่ของกกต. และไม่เป็นกลางด้วย เพราะจะรู้ได้อย่างไรว่า ร่างรัฐธรรมนูญดี ไม่ดี อย่างไร เอาใครมาเป็นมาตรฐาน เราคิดว่าถ้าเขามีแบบนั้น เราจะไม่เขียน เพราะเราไม่อยากจะไปเป็นจำเลยด้วย
"กกต.ต้องเป็นกลาง ซึ่งข้อดี หรือข้อเสีย เมื่อประชาชนอ่านร่างรัฐธรรมนูญแล้วต้องเป็นฝ่ายคิดเอง จะไปชี้นำไม่ได้ หาก กกต.เป็นคนไปพูดเท่ากับว่ายืนยันว่า สิ่งนั้นคือข้อดี และข้อเสีย ซึ่ง กรธ.คิดว่ามันนอกเหนือหน้าที่ พอดีพอร้ายจะผิดประมวลกฎหมายอาญาด้วย" นายมีชัย กล่าว
นายมีชัย ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมว่า ในวันที่ 12 เม.ย.นี้ ทางกรธ. จะส่งเอกสารสรุปคำอธิบายร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ให้กับกกต.เพื่อนำไปเผยแพร่ โดยเล่มแรก จะเป็นการสรุปเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมด ส่วนอีกเล่ม เป็นสรุปเฉพาะประเด็นที่สำคัญๆพร้อมกับภาพประกอบประมาณ 10 เรื่อง ที่ควรรู้
นายมีชัย ยังกล่าวถึง กรณีที่พรรคการเมืองออกมาแสดงท่าที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ขอยืนยันเวลาที่ กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญ เรายึดตามกรอบที่รัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 กำหนดไว้ และตามความอิสระที่ กรธ.ร่วมกันคิดขึ้น ซึ่ง กรธ.คิดว่าดี เพราะแต่ละประเด็นที่ออกมาก็มีส่วนดี ส่วนถ้อยคำที่มีการนำไปแปลความหมายกันแบบผิดๆ นั้น ก็อาจจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน หรือบางเรื่องก็ไม่ได้ดั่งใจตามที่ต้องการ ตรงนี้มันก็ลำบาก เพราะผู้ร่างก็ต้องร่างเพื่อใช้กันทั้งประเทศ
ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญมีข้อบกพร่องนั้น ตนขอชี้แจงว่า ไม่ใช่เรื่องบกพร่อง อาจจะใช้คำผิดก็ได้ แต่อาจเป็นเรื่องที่เขาไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะไม่มีใครที่จะเห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์ทั้งหมด ถ้าเป็นพรรคการเมืองที่มีคุณธรรม เขาก็ไม่ทำสิ่งใดที่บิดเบือน เขาไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไร เราก็รับรู้ แต่พรรคการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม เขาก็จะไปบิดเบือน ซึ่งเหมือนขณะนี้ จะเริ่มทยอยบิดเบือนกันแล้ว
" สิ่งที่น่ากลัวคือ เริ่มมีวิชามารออกมาเป็นจำนวนมาก เริ่มมีการบิดเบือนข้อมูล เมื่อช่วงเช้าก็มีคนส่งมาให้ผมดู เป็นแบบเอากันซึ่งๆ หน้าเลย ก็กำลังพิจารณาอยู่ว่า จะดำเนินการอย่างไร โดยวิชามารที่ออกมาตอนนี้ ส่วนใหญ่เป็นการสรุปแบบผิดๆ" นายมีชัย กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวหาว่า กรธ.เขียนร่างรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยพรรคประชาธิปัตย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คือ การไม่ใช้คำว่า "ไล่ออก ปลดออก " เหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านๆ มา แต่ครั้งนี้ กรธ.เขียนเป็น "ถูกให้พ้นจากราชการหรือหน่วยงานของรัฐเพราะทุจริตต่อหน้าที่"แทน เนื่องจากเห็นว่า คำว่า "ให้พ้นจากราชการหรือหน่วยงานของรัฐมันกว้างกว่าคำว่า "ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก " เพราะบางครั้งไม่ได้ไล่ออก แต่เป็นการเลิกสัญญา ถ้าเขียนแบบเดิมมันไม่ครอบคลุม กรธ.จึงปรับใหม่เพื่อให้ครอบคลุม การกล่าวหาว่า กรธ.ช่วยพรรคประชาธิปัตย์ จึงบิดเบือน ดังนั้นทางกกต. จะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบ แต่หาก กรธ.พบ ก็จะส่งเรื่องไปให้ กกต.ดำเนินการ
"ผมว่าบ้านเมืองเป็นของทุกคน ประเทศก็เป็นของทุกคน ถึงเวลาที่วันหนึ่งทุกคนต้องนึกถึงประเทศบ้าง อย่านึกถึงแต่ส่วนตัว หรือนายจ้างที่จ้างมาเลย ต้องนึกถึงประเทศบ้าง เราไม่ท้อใจ เรามีหน้าที่ชี้แจง แต่ว่ามันอนาถใจว่า ทำไมเขาไม่นึกถึงบ้านเมืองบ้าง ทำกันซึ่งๆ หน้าแบบนี้ทำได้อย่างไร" ประธาน กรธ.กล่าว
เมื่อถามว่า หากคำถามพ่วงของ สนช. ผ่านประชามติ กรธ. ต้องดำเนินการปรับแก้ไข มองว่าจะขัดกับหลักการที่วางไว้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ถึงตอนนั้นเจตนารมณ์ของประชาชนต้องเป็นใหญ่ เมื่อถามย้ำว่า เกรงว่าคำถามพ่วง จะทำให้เกิดความขัดแย้งหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า พ้นวิสัยของกรธ. เนื่องจากไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรธ. เพราะ กรธ.ต้องทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว)
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า ทางกรธ.ได้ส่ง นายประพันธ์ นัยโกวิท เป็นตัวแทนไปหารือการเตรียมความพร้อมการทำประชามติ ร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และกกต. ที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจาก กกต.ได้มีหนังสือมาบอกว่า จะพิมพ์ข้อดี ข้อด้อย ของร่างรัฐธรรมนูญ ไปแจกจ่ายประชาชน ซึ่งกรธ. เห็นว่าเป็นการทำเกินหน้าที่ของกกต. และไม่เป็นกลางด้วย เพราะจะรู้ได้อย่างไรว่า ร่างรัฐธรรมนูญดี ไม่ดี อย่างไร เอาใครมาเป็นมาตรฐาน เราคิดว่าถ้าเขามีแบบนั้น เราจะไม่เขียน เพราะเราไม่อยากจะไปเป็นจำเลยด้วย
"กกต.ต้องเป็นกลาง ซึ่งข้อดี หรือข้อเสีย เมื่อประชาชนอ่านร่างรัฐธรรมนูญแล้วต้องเป็นฝ่ายคิดเอง จะไปชี้นำไม่ได้ หาก กกต.เป็นคนไปพูดเท่ากับว่ายืนยันว่า สิ่งนั้นคือข้อดี และข้อเสีย ซึ่ง กรธ.คิดว่ามันนอกเหนือหน้าที่ พอดีพอร้ายจะผิดประมวลกฎหมายอาญาด้วย" นายมีชัย กล่าว