นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. กล่าวว่า ในวันนี้ (11 เม.ย) กกต.จะมีการประชุมหารือร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ เบื้องต้นมีประเด็นที่จะนำไปหารือด้วยกัน 3 ประเด็น คือ 1. การหาข้อยุติเกี่ยวกับงบประมาณที่ใช้ในการออกเสียงประชามติ ซึ่งหลังจากที่ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้แล้ว ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมบางอย่าง ซึ่งอาจจะทำได้ หรือกิจกรรมบางอย่างอาจทำไม่ได้ รวมถึงงบประมาณที่กรธ. ต้องใช้เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญต่อประชาชน ซึ่งเดิมทีงบประมาณอยู่ในส่วนของกกต. แต่หากจะดำเนินการแยกออกไป ก็จะต้องมีการตั้งงบประมาณในส่วนนี้ใหม่ ดังนั้น ตัวเลขของงบประมาณก็อาจจะมีการปรับลด หรือปรับเพิ่มขึ้นก็ได้
2. เมื่อพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติมีผลบังคับใช้แล้ว ก็จะมีข้อกำหนดว่า กิจกรรมใดทำได้ หรือกิจกรรมใดทำไม่ได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน และเป็นรูปธรรมต่อกกต. และประชาชนทั่วไปที่จะมีส่วนร่วมในการออกเสียงประชามติ ก็จะปรึกษาหารือกับทางรัฐบาลว่า มีประเด็นใดที่ทำได้ และไม่ได้บ้าง
3. บัตรออกเสียงประชามติ ซึ่ง กกต.จะนำตัวอย่างของบัตรออกเสียงประชามติไปให้รัฐบาลได้พิจารณาดู ซึ่งขนาดบัตรและรูปแบบจะเป็นมาตรฐานของบัตรออกเสียงที่ใช้จริง โดยกกต.จะขอความเห็นว่า สมควรจะใช้รูปแบบของบัตรดังกล่าวเป็นบัตรออกเสียงประชามติหรือไม่
นอกจากนี้ ทางกกต. ก็จะได้ให้ความเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับข้อกังวลของคำถามพ่วงการทำประชามติ ที่ตั้งขึ้นโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ว่า เป็นคำถามที่ทำให้ประชาชนเข้าใจได้ยาก หรือไม่ ทั้งนี้หากรัฐบาลเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกินขอบเขตอำนาจ และไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว กกต. ก็จะดำเนินการจัดพิมพ์ไปตามเนื้อหาที่ทาง สนช.ได้ส่งมาให้
2. เมื่อพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติมีผลบังคับใช้แล้ว ก็จะมีข้อกำหนดว่า กิจกรรมใดทำได้ หรือกิจกรรมใดทำไม่ได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน และเป็นรูปธรรมต่อกกต. และประชาชนทั่วไปที่จะมีส่วนร่วมในการออกเสียงประชามติ ก็จะปรึกษาหารือกับทางรัฐบาลว่า มีประเด็นใดที่ทำได้ และไม่ได้บ้าง
3. บัตรออกเสียงประชามติ ซึ่ง กกต.จะนำตัวอย่างของบัตรออกเสียงประชามติไปให้รัฐบาลได้พิจารณาดู ซึ่งขนาดบัตรและรูปแบบจะเป็นมาตรฐานของบัตรออกเสียงที่ใช้จริง โดยกกต.จะขอความเห็นว่า สมควรจะใช้รูปแบบของบัตรดังกล่าวเป็นบัตรออกเสียงประชามติหรือไม่
นอกจากนี้ ทางกกต. ก็จะได้ให้ความเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับข้อกังวลของคำถามพ่วงการทำประชามติ ที่ตั้งขึ้นโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ว่า เป็นคำถามที่ทำให้ประชาชนเข้าใจได้ยาก หรือไม่ ทั้งนี้หากรัฐบาลเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกินขอบเขตอำนาจ และไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว กกต. ก็จะดำเนินการจัดพิมพ์ไปตามเนื้อหาที่ทาง สนช.ได้ส่งมาให้