วธ.กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออก 6 มาตรการ คุมเข้มเล่นสงกรานต์ไม่เหมาะสม ห้ามแต่งกายโป๊ เต้นยั่วยวนในที่สาธารณะ ถ่ายคลิปเผยแพร่โซเซียล ระวังถูกดำเนินคดี
วันนี้ (4 เม.ย.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) แถลงผลการประชุมป้องกันการแต่งกายและการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2559 ว่า วันนี้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมการท่องเที่ยว กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร สำนักงานวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ออก 6 มาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ 1.ส่งเสริมการเล่นน้ำสงกรานต์ที่ถูกต้องเหมาะสมตามวัฒนธรรมประเพณีไทย 2. รณรงค์ให้แต่งกายสุภาพ เหมาะสม ไม่ใส่เสื้อผ้าที่ล่อแหลมขณะเล่นสงกรานต์ 3. กำกับดูแลและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ในการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยในพื้นที่ต่างๆ
4. ควบคุมมิให้มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับขี่และโดยสารยานพาหนะ และขณะเล่นน้ำสงกรานต์ มิให้มีการจำหน่ายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณที่มีการจัดงานสงกรานต์ 5. รณรงค์ให้มีการใช้ขันน้ำขนาดเล็กแทนการใช้อุปกรณ์เล่นน้ำที่อาจเกิดอันตราย โดยเฉพาะปืนฉีดน้ำแรงดันสูง และ 6. เพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายโดยลงโทษในอัตราสูงสุด พร้อมกันนี้ วธ.ได้เปิดศูนย์รับแจ้งการกระทำอันไม่เหมาะสมผ่านสายด่วนวัฒนธรรม 1765 ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมประสานกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัดรายงานสถานการณ์ในพื้นที่จัดงานระหว่างวันที่ 12 - 17 เม.ย.นี้
ด้าน พล.ต.ต.ธนพล สนเทศ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวว่า จะนำผลการหารือครั้งนี้ ไปหารือกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในวันที่ 5 เม.ย. เพื่อออกมาตรการดูแลด้านคดีความตามกฎหมายอย่างเข้มข้นตามแต่ละสถานการณ์ โดยเฉพาะการแต่งกายยั่วยวนในพื้นที่จัดงาน และที่สาธารณะ การเต้นโคโยตี้ แต่งกายวาบหวิวบนรถกระบะ เช่นเดียวกับผู้จัดอีเว้นท์ สถานบันเทิงต่างๆ ที่นำการแสดงโชว์ลามก อนาจาร มาจัดแสดงก็จะมีความผิดขั้นเด็ดขาดด้วยเช่นกัน ซึ่งกรณีความผิดนอกจากจะเสียค่าปรับขั้นสูงสุดจนขั้นส่งฟ้องศาลถึง 5,000 บาท แล้วยังมีการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาใช้เพิ่มเติม เช่น กรณีการถ่ายคลิปแล้วนำไปเผยแพร่บนโซเซียล จะมีความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือหากเต้นยั่วยวนในที่สาธารณะ ก็จะมีการใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เข้ามาประเมินความผิดร่วมด้วย
"นับเป็นปีแรกที่เข้มงวดนำกฎหมายมาใช้กับผู้ที่พฤติตนไม่เหมาะสมตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการ ซึ่งแต่ละจังหวัดได้มีการประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด เครือข่ายภาคสังคม และหน่วยงานด้านความมั่นคงดูแลอย่างเข้มงวด หากประชาชน พบเห็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมส่งคลิปมาศูนย์เฝ้าระวังหรือส่งมายังตำรวจได้ทันที เราจะเก็บทุกคลิป ส่งดำเนินคดีทุกราย ยืนยันว่า ข้อร้องเรียนจะถูกดำเนินคดีทั้งหมด สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมอบให้กระทรวงการท่องเที่ยวประสานงานกับมัคคุเทศก์ขอความร่วมมือแต่งกายให้เหมาะสมช่วงสงกรานต์ ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดตามกฎหมายของไทย" พต.ต.ต.ธนพล กล่าว
วันนี้ (4 เม.ย.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) แถลงผลการประชุมป้องกันการแต่งกายและการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2559 ว่า วันนี้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมการท่องเที่ยว กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร สำนักงานวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ออก 6 มาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ 1.ส่งเสริมการเล่นน้ำสงกรานต์ที่ถูกต้องเหมาะสมตามวัฒนธรรมประเพณีไทย 2. รณรงค์ให้แต่งกายสุภาพ เหมาะสม ไม่ใส่เสื้อผ้าที่ล่อแหลมขณะเล่นสงกรานต์ 3. กำกับดูแลและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ในการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยในพื้นที่ต่างๆ
4. ควบคุมมิให้มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับขี่และโดยสารยานพาหนะ และขณะเล่นน้ำสงกรานต์ มิให้มีการจำหน่ายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณที่มีการจัดงานสงกรานต์ 5. รณรงค์ให้มีการใช้ขันน้ำขนาดเล็กแทนการใช้อุปกรณ์เล่นน้ำที่อาจเกิดอันตราย โดยเฉพาะปืนฉีดน้ำแรงดันสูง และ 6. เพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายโดยลงโทษในอัตราสูงสุด พร้อมกันนี้ วธ.ได้เปิดศูนย์รับแจ้งการกระทำอันไม่เหมาะสมผ่านสายด่วนวัฒนธรรม 1765 ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมประสานกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัดรายงานสถานการณ์ในพื้นที่จัดงานระหว่างวันที่ 12 - 17 เม.ย.นี้
ด้าน พล.ต.ต.ธนพล สนเทศ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวว่า จะนำผลการหารือครั้งนี้ ไปหารือกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในวันที่ 5 เม.ย. เพื่อออกมาตรการดูแลด้านคดีความตามกฎหมายอย่างเข้มข้นตามแต่ละสถานการณ์ โดยเฉพาะการแต่งกายยั่วยวนในพื้นที่จัดงาน และที่สาธารณะ การเต้นโคโยตี้ แต่งกายวาบหวิวบนรถกระบะ เช่นเดียวกับผู้จัดอีเว้นท์ สถานบันเทิงต่างๆ ที่นำการแสดงโชว์ลามก อนาจาร มาจัดแสดงก็จะมีความผิดขั้นเด็ดขาดด้วยเช่นกัน ซึ่งกรณีความผิดนอกจากจะเสียค่าปรับขั้นสูงสุดจนขั้นส่งฟ้องศาลถึง 5,000 บาท แล้วยังมีการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาใช้เพิ่มเติม เช่น กรณีการถ่ายคลิปแล้วนำไปเผยแพร่บนโซเซียล จะมีความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือหากเต้นยั่วยวนในที่สาธารณะ ก็จะมีการใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เข้ามาประเมินความผิดร่วมด้วย
"นับเป็นปีแรกที่เข้มงวดนำกฎหมายมาใช้กับผู้ที่พฤติตนไม่เหมาะสมตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการ ซึ่งแต่ละจังหวัดได้มีการประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด เครือข่ายภาคสังคม และหน่วยงานด้านความมั่นคงดูแลอย่างเข้มงวด หากประชาชน พบเห็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมส่งคลิปมาศูนย์เฝ้าระวังหรือส่งมายังตำรวจได้ทันที เราจะเก็บทุกคลิป ส่งดำเนินคดีทุกราย ยืนยันว่า ข้อร้องเรียนจะถูกดำเนินคดีทั้งหมด สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมอบให้กระทรวงการท่องเที่ยวประสานงานกับมัคคุเทศก์ขอความร่วมมือแต่งกายให้เหมาะสมช่วงสงกรานต์ ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดตามกฎหมายของไทย" พต.ต.ต.ธนพล กล่าว