นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. กล่าวตอนหนึ่งระหว่างต้อนรับนักศึกษาหลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่น 4 ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ที่มาศึกษาดูงานของสำนักงาน กกต. ถึงแนวทางการทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ หลังครม.ส่งร่างรธน. มาให้กกต. ดำเนินการว่า จะใช้แผนณรงค์เพื่อให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิให้ได้ร้อยละ 80 โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1. ระยะตื่นตัว ตั้งแต่ ม.ค.-วันที่ครม. ส่งร่างรัฐธรรมนูญให้กกต. 2. ระยะติดตาม จะเป็นช่วงหลังกกต.ได้รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ไปจนถึงวันที่ กกต.ประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติ และ 3. ระยะตัดสินใจ นับตั้งแต่วันที่ กกต. ประกาศกำหนดวันออกเสียง จนถึงวันออกเสียงประชามติ ซึ่งการรณรงค์จะยึดหลักในเรื่องความสะดวก เที่ยงธรรม และ ประชาธิปไตยคุณภาพ และมียุทธศาสตร์ "ดอกไม้ 65 ล้านบานสะพรั่ง"
โดยจะมีการนำเทคโนโลยีใหม่ เข้ามาช่วยในการรณรงค์ จัดการลงประชามติ และการตรวจสอบ ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ที่จะมีแอพพลิเคชั่นดาวเหนือ ให้รายละเอียดหน่วยลงคะแนนของผู้มีสิทธิออกเสียง แอพพลิเคชั่นตาสับปะรด ใช้แจ้งเบาะแสทุจริต และ แอพพลิเคชั่น ฉลาดรู้ ที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ มั่นใจว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้ จะสามารถทำให้ทราบผลการออกเสียงประชามติ อย่างไม่เป็นทางการได้ ภายใน 3 ชั่วโมง หลังปิดการออกเสียง อย่างไรก็ตาม นายศุภชัย ยืนยันว่า การใช้งบออกเสียงประชามติครั้งนี้ กกต.ได้พิจารณาโครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ สถานการณ์ และนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้การใช้งบมีประสิทธิภาพ
นายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม กล่าวว่า ขณะนี้ กกต.มีความฟิตมาก ที่จะทำงานเพราะซ้อมมาตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 57 ซึ่งการทำประชามติที่ผ่านมา เมื่อปี 50 มีผู้ออกมาใช้สิทธิ ร้อยละ 57 ขณะนั้นมีผู้มีสิทธิประมาณ 40 ล้านคน แต่ปัจจุบันมีการแก้ไขให้ผู้ที่มีอายุ 18 วันในวันออกเสียงประชามติ เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงด้วย ทำให้มียอดผู้มีสิทธิเพิ่มขึ้นอีก 8 แสนคน รวมจะมีผู้มีสิทธิในการออกเสียงครั้งนี้ 50 ล้านคน ดังนั้น หากมียอดผู้มาใช้สิทธิเกินกว่า ร้อยละ 57 ก็ถือว่าใช้ได้ ทั้งนี้ที่มั่นใจว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิมากกว่า เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เพราะ กกต.ได้เปลี่ยนวิธีในการรณรงค์จากเดิมที่ใช้วิธีรณรงค์ผ่านสื่อเพียงอย่างเดียว ก็จะหันมาใช้การสร้างเครือข่าย ซึ่งขณะนี้ก็มีการดำเนินการจนพร้อมทั้งหมดแล้ว
โดยจะมีการนำเทคโนโลยีใหม่ เข้ามาช่วยในการรณรงค์ จัดการลงประชามติ และการตรวจสอบ ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ที่จะมีแอพพลิเคชั่นดาวเหนือ ให้รายละเอียดหน่วยลงคะแนนของผู้มีสิทธิออกเสียง แอพพลิเคชั่นตาสับปะรด ใช้แจ้งเบาะแสทุจริต และ แอพพลิเคชั่น ฉลาดรู้ ที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ มั่นใจว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้ จะสามารถทำให้ทราบผลการออกเสียงประชามติ อย่างไม่เป็นทางการได้ ภายใน 3 ชั่วโมง หลังปิดการออกเสียง อย่างไรก็ตาม นายศุภชัย ยืนยันว่า การใช้งบออกเสียงประชามติครั้งนี้ กกต.ได้พิจารณาโครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ สถานการณ์ และนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้การใช้งบมีประสิทธิภาพ
นายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม กล่าวว่า ขณะนี้ กกต.มีความฟิตมาก ที่จะทำงานเพราะซ้อมมาตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 57 ซึ่งการทำประชามติที่ผ่านมา เมื่อปี 50 มีผู้ออกมาใช้สิทธิ ร้อยละ 57 ขณะนั้นมีผู้มีสิทธิประมาณ 40 ล้านคน แต่ปัจจุบันมีการแก้ไขให้ผู้ที่มีอายุ 18 วันในวันออกเสียงประชามติ เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงด้วย ทำให้มียอดผู้มีสิทธิเพิ่มขึ้นอีก 8 แสนคน รวมจะมีผู้มีสิทธิในการออกเสียงครั้งนี้ 50 ล้านคน ดังนั้น หากมียอดผู้มาใช้สิทธิเกินกว่า ร้อยละ 57 ก็ถือว่าใช้ได้ ทั้งนี้ที่มั่นใจว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิมากกว่า เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เพราะ กกต.ได้เปลี่ยนวิธีในการรณรงค์จากเดิมที่ใช้วิธีรณรงค์ผ่านสื่อเพียงอย่างเดียว ก็จะหันมาใช้การสร้างเครือข่าย ซึ่งขณะนี้ก็มีการดำเนินการจนพร้อมทั้งหมดแล้ว