ผู้จัดการรายวัน360-รัฐบาลนำมาตรการ "เมาแล้วขับ" เจอยึดรถ-ใบขับขี่มาใช้อีก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ เผยจะดำเนินการทั้งประเทศ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เปิดเผยถึงมาตรการการรักษาความปลอดภัยในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ว่า การป้องกันอุบัติเหตุกับมาตรการยึดใบขับขี่ตามมาตรา 44 หากมีการทำความผิด ก็ต้องยึดทั้งรถ และใบขับขี่ ส่วนจะส่งกลับคืนเมื่อไร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อเป็นการเพิ่มความระมัดระวัง ป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดขึ้น
ส่วนการตั้งด่านตามเขตชุมชน หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่จะเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ดูแลในเส้นทางรอง เพื่อป้องกันเมาแล้วขับ ซึ่งจะพยายามป้องกันให้ได้มากที่สุด
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่างถึงการป้องกันอุบัติภัยทางถนนว่า ขณะนี้มาตรการได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว โดยมาตรการที่ออกมา จะดูถึงการบริหารจัดการร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการ ส่วนในระดับพื้นที่ จะให้ตั้งศูนย์บูรณาการที่จังหวัดและอำเภอ อีกทั้งให้แต่ละพื้นที่ดูแลโครงสร้างถนน ไฟส่องสว่าง ไฟจราจร มาตรการกวดขันวินัยจราจรของประชาชน ต้องทำให้เรียบร้อย
นอกจากนี้ ภาคเอกชน สถานศึกษา ได้เตรียมให้บริการตรวจสภาพรถให้ประชาชน ขณะที่กระทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสมรรถนะของรถสาธารณะ
สำหรับมาตรการบังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการใช้ความเร็ว รวมถึงการดื่มสุราและขับรถ โดยจะมีด่านต่างๆ คอยดูแล ขณะที่ถนนสายรอง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะช่วยดูแลทั้งสองกรณีดังกล่าว โดยจะมีด่านชุมชน ซึ่งต้องบังคับใช้และกวดขันอย่างจริงจัง เช่น หากพบว่าดื่มสุราแล้วขับรถ จะทำการยึดรถตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะจะยอมให้คนเมาขับรถไม่ได้
ทั้งนี้ ในส่วนของมาตรการการใช้น้ำ นโยบายของรัฐบาลจะให้ใช้อย่างประหยัดและเหมาะสม โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเสนอมาว่าห้ามใช้รถยนต์บรรทุกน้ำ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในช่วงสงกรานต์ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมาก จะมีมาตรการป้องกันเรื่องการก่อการร้ายอย่างไร พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยยังไม่ใช่ประเทศเป้าหมายในการก่อการ้าย แต่เพื่อความไม่ประมาท ถ้าทุกภาคส่วนช่วยเป็นหูเป็นตา สอดส่องดูแล เจออะไรผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ ก็น่าจะไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น
วันเดียวกันนี้ ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นประธานแถลงข่าวโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยและจิตสำนึกของประชาชนเพื่อลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ภายใต้คำขวัญ "ไม่ขับเร็ว ไม่ตัดหน้า ไม่ฝ่าไฟแดง" โดยมีคณะผู้บริหาร กทม. ข้าราชการ ลูกจ้าง นักแสดง และตัวแทนภาคีเครือข่ายร่วมงาน
นายอมรกล่าวว่า สถิติอุบัติเหตุการจราจรในเขตกรุงเทพฯ ในปี 2558 พบว่ามีจำนวนอุบัติเหตุทั้งหมด 23,004 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 6,988 ราย ผู้เสียชีวิต 193 ราย ซึ่งโดยภาพรวมตั้งแต่ปี 2553-2558 สถิติอุบัติเหตุจราจรมีแนวโน้มลดลง อาจเป็นผลมาจาก กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันรณรงค์ลดอุบัติเหตุจราจรอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจร ส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับขี่รถไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ขับรถเร็ว แซงในที่คับขัน ขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด ฝ่าไฟแดง เมาแล้วขับ ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ไม่เอื้ออาทรในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ประกอบกับผู้เดินถนนข้ามถนนไม่ระมัดระวัง ขาดจิตสำนึกถึงความปลอดภัยและขาดวินัยจราจร กทม. จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ดังกล่าวขึ้นมา เพื่อลดอุบัติเหตุ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เปิดเผยถึงมาตรการการรักษาความปลอดภัยในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ว่า การป้องกันอุบัติเหตุกับมาตรการยึดใบขับขี่ตามมาตรา 44 หากมีการทำความผิด ก็ต้องยึดทั้งรถ และใบขับขี่ ส่วนจะส่งกลับคืนเมื่อไร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อเป็นการเพิ่มความระมัดระวัง ป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดขึ้น
ส่วนการตั้งด่านตามเขตชุมชน หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่จะเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ดูแลในเส้นทางรอง เพื่อป้องกันเมาแล้วขับ ซึ่งจะพยายามป้องกันให้ได้มากที่สุด
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่างถึงการป้องกันอุบัติภัยทางถนนว่า ขณะนี้มาตรการได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว โดยมาตรการที่ออกมา จะดูถึงการบริหารจัดการร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการ ส่วนในระดับพื้นที่ จะให้ตั้งศูนย์บูรณาการที่จังหวัดและอำเภอ อีกทั้งให้แต่ละพื้นที่ดูแลโครงสร้างถนน ไฟส่องสว่าง ไฟจราจร มาตรการกวดขันวินัยจราจรของประชาชน ต้องทำให้เรียบร้อย
นอกจากนี้ ภาคเอกชน สถานศึกษา ได้เตรียมให้บริการตรวจสภาพรถให้ประชาชน ขณะที่กระทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสมรรถนะของรถสาธารณะ
สำหรับมาตรการบังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการใช้ความเร็ว รวมถึงการดื่มสุราและขับรถ โดยจะมีด่านต่างๆ คอยดูแล ขณะที่ถนนสายรอง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะช่วยดูแลทั้งสองกรณีดังกล่าว โดยจะมีด่านชุมชน ซึ่งต้องบังคับใช้และกวดขันอย่างจริงจัง เช่น หากพบว่าดื่มสุราแล้วขับรถ จะทำการยึดรถตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะจะยอมให้คนเมาขับรถไม่ได้
ทั้งนี้ ในส่วนของมาตรการการใช้น้ำ นโยบายของรัฐบาลจะให้ใช้อย่างประหยัดและเหมาะสม โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเสนอมาว่าห้ามใช้รถยนต์บรรทุกน้ำ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในช่วงสงกรานต์ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมาก จะมีมาตรการป้องกันเรื่องการก่อการร้ายอย่างไร พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยยังไม่ใช่ประเทศเป้าหมายในการก่อการ้าย แต่เพื่อความไม่ประมาท ถ้าทุกภาคส่วนช่วยเป็นหูเป็นตา สอดส่องดูแล เจออะไรผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ ก็น่าจะไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น
วันเดียวกันนี้ ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นประธานแถลงข่าวโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยและจิตสำนึกของประชาชนเพื่อลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ภายใต้คำขวัญ "ไม่ขับเร็ว ไม่ตัดหน้า ไม่ฝ่าไฟแดง" โดยมีคณะผู้บริหาร กทม. ข้าราชการ ลูกจ้าง นักแสดง และตัวแทนภาคีเครือข่ายร่วมงาน
นายอมรกล่าวว่า สถิติอุบัติเหตุการจราจรในเขตกรุงเทพฯ ในปี 2558 พบว่ามีจำนวนอุบัติเหตุทั้งหมด 23,004 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 6,988 ราย ผู้เสียชีวิต 193 ราย ซึ่งโดยภาพรวมตั้งแต่ปี 2553-2558 สถิติอุบัติเหตุจราจรมีแนวโน้มลดลง อาจเป็นผลมาจาก กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันรณรงค์ลดอุบัติเหตุจราจรอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจร ส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับขี่รถไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ขับรถเร็ว แซงในที่คับขัน ขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด ฝ่าไฟแดง เมาแล้วขับ ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ไม่เอื้ออาทรในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ประกอบกับผู้เดินถนนข้ามถนนไม่ระมัดระวัง ขาดจิตสำนึกถึงความปลอดภัยและขาดวินัยจราจร กทม. จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ดังกล่าวขึ้นมา เพื่อลดอุบัติเหตุ