รอยเตอร์/เอเจนซีส์ - เครื่องบินโดยสารของสายการบินอียิปต์แอร์ที่กำลังบินอยู่ในเที่ยวบินภายในประเทศ จากเมืองอเล็กซานเดรีย มุ่งหน้าไปยังกรุงไคโร ได้ถูกจี้บังคับให้ร่อนลงจอดที่ไซปรัสในวันอังคาร (29มี.ค.) จากนั้นผู้ที่อยู่บนเครื่องก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระเกือบหมด ขณะที่คนร้ายซึ่งน่าจะมีเพียงคนเดียว ทำการเจรจาต่อรองกับเจ้าหน้าที่
หลังจากเครื่องบินลงจอดที่ท่าอากาศยานลาร์นาคา ในไซปรัส และมีการเจรจากับทางเจ้าหน้าที่แล้ว มือจี้เครื่องบินผู้นี้ได้ปล่อยตัวทุกๆ คนบนเครื่องยกเว้นผู้โดยสาร 3 คนและลูกเรืออีก 4 คน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการบินพลเรือนของอียิปต์ เชรีฟ ฟาธี แถลง ขณะที่ทางกระทรวงของเขาระบุว่า มีคน 81 คนอยู่บนเครื่องบินโดยสารแอร์บัส 320 ลำนี้ โดยที่เป็นชาวต่างประเทศ 21 คน ที่เหลือเป็นคนอียิปต์ และมีลูกเรือ 15 คน
บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงไซปรัส (CyBC) ซึ่งเป็นสื่อของรัฐ และ เอนเทนนา บริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงของภาคเอกชน รายงานว่า มือจี้เครื่องบินผู้นี้เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษหญิงจำนวนหนึ่งที่ถูกขังอยู่ในอียิปต์ อันเป็นการบ่งชี้ว่าเขากระทำการโดยมีแรงจูงใจทางการเมือง
เขายังเรียกร้องขอติดต่อกับเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) อีกด้วย CyBC รายงานโดยอ้างถึงเนื้อความในจดหมายฉบับหนึ่งที่คนร้ายผู้นี้ทิ้งลงมาที่ลานจอดเครื่องบินในท่าอากาศยานลาร์นาคา
เครื่องบินลำนี้จอดอยู่ในลานบินของลาร์นาคาตลอดช่วงเช้า ขณะที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของไซปรัสกระจายกำลังเข้ายึดที่มั่นต่างๆ ในบริเวณโดยรอบ
ขณะที่เหตุผลสำหรับการก่อเหตุจี้เครื่องบินรายนี้ยังไม่มีความกระจ่างชัดเจน แต่เหตุการณ์นี้ก็ถือเป็นการกระหน่ำตีอย่างแรงอีกครั้งหนึ่งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของอียิปต์ และสร้างความเสียหายให้แก่ความพยายามทั้งหลายที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของแดนไอยคุปต์
รายงานข่าวจากสื่อไซปรัสเรื่องแรงจูงใจของการจี้เครื่องบินคราวนี้ ขัดแย้งเป็นตรงกันข้ามกับคำพูดคำแถลงก่อนหน้านี้ของประธานาธิบดีนิคอส อนัสตาเซียเดส แห่งไซปรัส ตลอดจนแหล่งข่าวด้านความมั่นคงของไซปรัสอีกหลายราย ซึ่งบ่งชี้ไปว่าแรงจูงใจของคนร้ายรายนี้เป็นเรื่องส่วนตัว และเกี่ยวข้องกับอดีตภรรยาของเขาผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในไซปรัส
ขณะเดียวกัน ยังมีความสับสนเกี่ยวกับชื่อของมือจี้เครื่องบินรายนี้ สำนักข่าวเอ็มอีเอ็นเอของทางการอียิปต์นั้น ตอนแรกทีเดียวระบุว่าเขาเป็นชาวอียิปต์ชื่อ อิบรอฮิม ซามาฮา แต่ต่อมาได้แก้ไขว่าเขามีชื่อว่า เซอิฟ เอลดิน มุสตาฟา
กระทรวงการต่างประเทศไซปรัสก็ระบุนามของมือจี้เครื่องบินรายนี้เอาไว้ในทวิตข้อความหนึ่งว่า ชื่อ มุสตาฟา
กระทรวงการบินพลเรือนอียิปต์ระบุว่า โอมาร์ อัล-กัมมัล นักบินของเครื่องบินลำนี้ ได้แจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทราบว่า เขาถูกข่มขู่คุกคามจากผู้โดยสารคนหนึ่งผู้ซึ่งอ้างว่ากำลังสวมเข็มขัดบรรจุวัตถุระเบิดฆ่าตัวตายอยู่ และบังคับให้เขานำเครื่องบินออกนอกเส้นทางไปยังลาร์นาคา
“จนถึงตอนนี้เราก็ยังไม่ทราบว่านี่เป็นการข่มขู่ หรือว่าเขากำลังสวมเข็มขัดบรรจุวัตถุระเบิดอยู่จริงๆ” รัฐมนตรีฟาธีกล่าวในการแถลงข่าว พร้อมกับระบุว่าคนร้ายรายนี้ไม่ได้ถืออาวุธปืนอะไร
พยานที่เห็นเหตุการณ์หลายรายเล่าว่า มือจี้เครื่องบินผู้นี้ได้ทิ้งจดหมายฉบับหนึ่งลงมาบนลานจอดเครื่องบินในท่าอากาศยานลาร์นาคา จดหมายดังกล่าวเขียนเป็นภาษาอาหรับ เรียกร้องให้นำไปส่งให้แก่อดีตภรรยาของเขา ซึ่งเป็นชาวไซปรัส
ล่าสุดทางการอียิปต์และไซปรัสได้รายงานว่า คนร้ายรายนี้ได้ยอมจำนนแล้ว
หลังจากเครื่องบินลงจอดที่ท่าอากาศยานลาร์นาคา ในไซปรัส และมีการเจรจากับทางเจ้าหน้าที่แล้ว มือจี้เครื่องบินผู้นี้ได้ปล่อยตัวทุกๆ คนบนเครื่องยกเว้นผู้โดยสาร 3 คนและลูกเรืออีก 4 คน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการบินพลเรือนของอียิปต์ เชรีฟ ฟาธี แถลง ขณะที่ทางกระทรวงของเขาระบุว่า มีคน 81 คนอยู่บนเครื่องบินโดยสารแอร์บัส 320 ลำนี้ โดยที่เป็นชาวต่างประเทศ 21 คน ที่เหลือเป็นคนอียิปต์ และมีลูกเรือ 15 คน
บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงไซปรัส (CyBC) ซึ่งเป็นสื่อของรัฐ และ เอนเทนนา บริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงของภาคเอกชน รายงานว่า มือจี้เครื่องบินผู้นี้เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษหญิงจำนวนหนึ่งที่ถูกขังอยู่ในอียิปต์ อันเป็นการบ่งชี้ว่าเขากระทำการโดยมีแรงจูงใจทางการเมือง
เขายังเรียกร้องขอติดต่อกับเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) อีกด้วย CyBC รายงานโดยอ้างถึงเนื้อความในจดหมายฉบับหนึ่งที่คนร้ายผู้นี้ทิ้งลงมาที่ลานจอดเครื่องบินในท่าอากาศยานลาร์นาคา
เครื่องบินลำนี้จอดอยู่ในลานบินของลาร์นาคาตลอดช่วงเช้า ขณะที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของไซปรัสกระจายกำลังเข้ายึดที่มั่นต่างๆ ในบริเวณโดยรอบ
ขณะที่เหตุผลสำหรับการก่อเหตุจี้เครื่องบินรายนี้ยังไม่มีความกระจ่างชัดเจน แต่เหตุการณ์นี้ก็ถือเป็นการกระหน่ำตีอย่างแรงอีกครั้งหนึ่งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของอียิปต์ และสร้างความเสียหายให้แก่ความพยายามทั้งหลายที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของแดนไอยคุปต์
รายงานข่าวจากสื่อไซปรัสเรื่องแรงจูงใจของการจี้เครื่องบินคราวนี้ ขัดแย้งเป็นตรงกันข้ามกับคำพูดคำแถลงก่อนหน้านี้ของประธานาธิบดีนิคอส อนัสตาเซียเดส แห่งไซปรัส ตลอดจนแหล่งข่าวด้านความมั่นคงของไซปรัสอีกหลายราย ซึ่งบ่งชี้ไปว่าแรงจูงใจของคนร้ายรายนี้เป็นเรื่องส่วนตัว และเกี่ยวข้องกับอดีตภรรยาของเขาผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในไซปรัส
ขณะเดียวกัน ยังมีความสับสนเกี่ยวกับชื่อของมือจี้เครื่องบินรายนี้ สำนักข่าวเอ็มอีเอ็นเอของทางการอียิปต์นั้น ตอนแรกทีเดียวระบุว่าเขาเป็นชาวอียิปต์ชื่อ อิบรอฮิม ซามาฮา แต่ต่อมาได้แก้ไขว่าเขามีชื่อว่า เซอิฟ เอลดิน มุสตาฟา
กระทรวงการต่างประเทศไซปรัสก็ระบุนามของมือจี้เครื่องบินรายนี้เอาไว้ในทวิตข้อความหนึ่งว่า ชื่อ มุสตาฟา
กระทรวงการบินพลเรือนอียิปต์ระบุว่า โอมาร์ อัล-กัมมัล นักบินของเครื่องบินลำนี้ ได้แจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทราบว่า เขาถูกข่มขู่คุกคามจากผู้โดยสารคนหนึ่งผู้ซึ่งอ้างว่ากำลังสวมเข็มขัดบรรจุวัตถุระเบิดฆ่าตัวตายอยู่ และบังคับให้เขานำเครื่องบินออกนอกเส้นทางไปยังลาร์นาคา
“จนถึงตอนนี้เราก็ยังไม่ทราบว่านี่เป็นการข่มขู่ หรือว่าเขากำลังสวมเข็มขัดบรรจุวัตถุระเบิดอยู่จริงๆ” รัฐมนตรีฟาธีกล่าวในการแถลงข่าว พร้อมกับระบุว่าคนร้ายรายนี้ไม่ได้ถืออาวุธปืนอะไร
พยานที่เห็นเหตุการณ์หลายรายเล่าว่า มือจี้เครื่องบินผู้นี้ได้ทิ้งจดหมายฉบับหนึ่งลงมาบนลานจอดเครื่องบินในท่าอากาศยานลาร์นาคา จดหมายดังกล่าวเขียนเป็นภาษาอาหรับ เรียกร้องให้นำไปส่งให้แก่อดีตภรรยาของเขา ซึ่งเป็นชาวไซปรัส
ล่าสุดทางการอียิปต์และไซปรัสได้รายงานว่า คนร้ายรายนี้ได้ยอมจำนนแล้ว