โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
5 มีนาคม วันนักข่าว ไม่ได้ไปทำกิจกรรมอะไรหรอก แต่ยังระลึกนึกถึงสิ่งดีๆ อยู่เสมอว่า...
“ดอกไม้หรือปืนขอยืนหยัด
เพื่อชี้ชัดทุกสิ่งอิงเหตุผล
ยุติธรรมนำเนื่องเบื้องมวลชน
นี่แหละคนคือคน-หนังสือพิมพ์”
...(เป็นบทกว่าของคุณเตรียม เขียนให้วันนักข่าว 5 มีนาคม 2529 ลงในสยามรัฐ 6 มีนาคม 2529)
“หนังสือพิมพ์ ต้องตีแผ่ สะท้อนภาพ
ความเลวทราม หยามหยาบ ความสูงส่ง
เป็นหัวหอก กระบอกเสียง อันเที่ยงตรง
มิใช่ ล้าหลังลง เป็นเรือเกลือ
เมื่อหาญเป็น เช่นเหยี่ยว ขยับปีก
กรงเล็กนั้น ต้องฉีก ขยุ้มเหยื่อ
ใช่จนตรอก, กลอกตา ทำง่าเงื้อ
เหลียวตลบ ตะปบเนื้อ ประชาชน
ศักดิ์ศรี ของคนทำ หนังสือพิมพ์
ใช่กระหยิ่ม ยิ้มผยอง ลำพองขน
แต่จักต้อง อ่อนน้อม และถ่อมตน
ทั้งซื่อสัตย์ อดทน ต่อผลงาน
ปากกา เป็นเกียรติศักดิ์ แห่งนักข่าว
หากซื่อสัตย์ ประชาชาว จักกล่าวขาน
ปากกา ที่จัญไร อยู่ไม่นาน
คือสัจจะ ตลอดกาล หนังสือพิมพ์”
...(บทกวีชื่อ “แด่เพื่อนหนังสือพิมพ์” ของคุณคมทวน คันธนู ลงในสยามรัฐ 6 มีนาคม 2529 อ้างจาก วารสารวันนักข่าว 5 มีนาคม 2529 ของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย)
แม้กาลเวลาผ่านไป 30 ปีแล้ว บทกวีดังกล่าวก็ยังมีชีวิตชีวาอยู่ เป็นกระจกส่องใจนักข่าวและประชาชนได้เป็นอย่างดี
นาข่า-พยัคฆ์
5 มีนาคม หมอป้อม พาไปดูงานเปิดศาลหลักเมืองนาข่าเมืองพยัคฆ์ ที่บ้านนาข่า ต.นาข่า อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม งานยิ่งใหญ่มโหฬาร ผู้หลักผู้ใหญ่ระดับรัฐมนตรี ผู้ว่าฯ นายกเทศมนตรี นายก อบจ. อบต. นายอำเภอ เป็นต้น มาร่วมพิธีเปิดศาล ประชาชน พ่อค้า แม่ค้า เป็นปลื้ม งานนี้ฉลองกัน 4 วัน 4 คืน

“นาข่าถิ่นคนดี มากมีผ้าไหมงาม นามลืมเลื่อง
ศาลหลักเมือง งามโดดเด่น เป็นศักดิ์ศรี
ชุมชนร่วม พิทักษ์ป่า สามัคคี
บุญข้าวจี่ ตามวิถี แบบพอเพียง”
นั่นคือ...คำขวัญ อบต.นาข่า
แก่นของคำขวัญอยู่ที่ “พอเพียง”
เพราะ “พอเพียง” คือรากเหง้าเหล่ากอของความเป็นคน
คนจะเป็นคนโดยสมบูรณ์ หรือเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจสูง ต้องรู้จักอิ่มรู้จักพอ ถ้าไม่รู้อิ่มรู้พอ เป็นมนุษย์ไม่ได้หรอก เนื่องเพราะ...
“คนประเภทไม่รู้อิ่มไม่รู้พอ มักขุดบ่อล่อเงินตราบนหน้าคน” คือหาผลประโยชน์ด้วยการเอาเปรียบผู้อื่น อย่างนี้จะเป็นผู้มีจิตใจสูง จิตใจดีงามได้อย่างไร
“นาข่า-พยัคฆ์” หรือ “นาข่าเมืองพยัคฆ์” หรือ “เมืองพยัคฆภูมิพิสัย” มีความเป็นมาอย่างไร? ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเท่านั้น ที่ตอบโจทย์ได้
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “เมืองพยัคฆภูมิพิสัย” มีความเป็นมาอย่างไร? ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเท่านั้นที่ตอบโจทย์ได้
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “เมืองพยัคฆภูมิพิสัย” ขึ้นที่ “บ้านเมืองเสือ” และโปรดฯ ให้ “ท้าวขัติย-เดช” เป็น “พระศรีสุวรรณวงศา” เจ้าเมืองเมื่อ พ.ศ. 2422
พระศรีสุวรรณวงศา ได้อพยพผู้คนจากเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งเมืองใหม่ตามที่โปรดเกล้าฯ เดินทางมาถึง “บ้านนาข่า” เห็นทำเลเหมาะสม เลยตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัยที่นั่น ต่อมาถูกร้องเรียนเรื่องเขตเมืองเลยย้ายเมืองมาตั้งใหม่ที่ “บ้านปะหลาน” เป็น “เมืองพยัคฆภูมิพิสัย” ตราบเท่าทุกวันนี้

สรุป...เมืองพยัคฆภูมิพิสัย จึงมี 2 แห่งคือบ้านนาข่า และบ้านปะหลาน ที่อยู่ใกล้ๆ บ้านเมืองเสือ ตามที่โปรดเกล้าฯ
การเขียนประวัติศาสตร์ ต้องอาศัยข้อมูลหลักฐาน ก่อนเขียนต้องวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานให้ถูกต้อง ชัดเจน น่าเชื่อถือ
หลักฐานประวัติศาสตร์เมืองพยัคฆภูมิพิสัย ที่น่าเชื่อถือ ถูกต้องที่สุด...เป็นข้อเขียนของอาจารย์เติม วิภาคย์พจนกิจ ในหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2530 หน้า 214 จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ หากข้อเขียนใดที่ขัดแย้งกับข้อเขียนของอาจารย์เติม ก็ควรมีหลักฐานใหม่ที่น่าเชื่อถือมากกว่า ตามวิสัยของบัณฑิต
“วิสัยบัณฑิต ผู้ทรงธรรม์
ไป่เปลี่ยน ไป่แปรผัน ไป่ค้อม
ไป่ขึ้น ไป่ลง หันกลับกลอก
กายจิตวาทะ พร้อมเพรียบ ด้วยสัตยา”
...(อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์)
คนรักท้องถิ่น
สำนวนไทยโบราณที่เตือนจิตใจได้ดีคือ “วัวลืมตีน” คือคนที่ได้ดีแล้วลืมตัว
คนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ครูอาจารย์ มักสอนลูกศิษย์ลูกหลานเสมอว่า... “อย่าเป็นวัวลืมตีน”... “อย่าลืมชาติ”... “อย่าลืมโคตรเหง้าเหล่ากอ”...คือให้รักท้องถิ่น รักบ้านรักเมือง ได้ดิบได้ดีแล้วก็ให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง
คุณอำนวย ปะติเส เป็นอดีตนักการเมือง และอีกหลายๆ นักที่มีคุณภาพ และมากด้วยประสบการณ์ เป็นชาวอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีเชื้อสายเจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัย เป็นบุตรของพ่อทองแดง และแม่ห้วย ปะติเส (หนังสือที่ระลึกการเปิดศาลหลักเมืองนาข่าเมืองพยัคฆ์ 5 มีนาคม 2559 หน้า 40) คุณอำนวย เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ ทำให้มีศาลหลักเมืองนาข่าเมืองพยัคฆ์ อันสง่างามแห่งความภาคภูมิใจ
และที่สำคัญเป็น “คนรักท้องถิ่น” เนื่องจากสนใจ “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ซึ่งศาสตร์นี้ทำให้รู้จักเทือกเถาเหล่ากอ หรือรากเหง้าเราเอง ทำให้รู้จักตน และพึ่งตนเองได้ เมื่อพึ่งตนเองได้แล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งของสังคมได้ด้วย
เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน
คำว่า “เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน” เป็นคำอีสาน หมายถึง “ทำอยู่ทำกิน”
คนที่ “รู้ตัวทั่วพร้อม” คือคนที่รู้จัก “ทำอยู่ทำกิน”
“บ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ” คือผลที่มาจากเหตุ-ทำอยู่ทำกิน เป็นวิถีพอเพียง เรียบง่ายสบายๆ แต่ปัจจุบันนี้ คนส่วนมากนิยม “ซื้ออยู่ซื้อกิน” บ้านก็เช่าเขาอยู่ อาหารการกินก็ซื้อเขาทุกคาบทุกเวลา หน้าที่ของคนคือหาเงินเพื่อซื้อเพื่อจ่าย โอกาสที่จะเก็บออมแทบไม่มี
ในอดีต สมัยรัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช มีโครงการขุดบ่อขุดสระในนาให้ประชาชน เพื่อการเกษตรและเลี้ยงปลา เป็นการลงทุนให้ประชาชนแบบมีอนาคต คือรู้จักทำอยู่ทำกิน แม้ไม่มีเงินก็อยู่ได้
รัฐบาลชุดต่อๆ มา โครงการนี้ค่อยๆ เบาลงและหยุดไปในที่สุด แถมยังมีนักวิชาการที่ไม่รู้สึกตัวแนะนำให้ถมบ่อ เพราะบ่อทำให้เสียพื้นที่ในการเพาะปลูก ชาวนาเชื่อง่ายต่างพากันถมบ่อ รถขายดินเลยร่ำรวยในชั่วพริบตา ผลที่ตามมาคือภัยแล้ง ไม่มีน้ำทำนา ไม่มีปลากิน จึงหาเงินซื้ออยู่ซื้อกิน
ทุกวันนี้ ชาวนาทำนาไม่เป็นแล้ว ไถ หว่าน ดำ เกี่ยว จ้างทั้งนั้น ใครไม่มีเงินจ้าง ก็หากู้เขา เสร็จนาขายข้าวค่อยใช้หนี้
สรุป ทำนาแล้ว ไม่มีข้าวกิน ต้องหาเงินซื้อข้าวกิน
การดำรงชีวิตต้องใช้เงิน หากไม่มีเงิน ก็ต้องกู้ ทั้งในระบบ และนอกระบบ เงินกู้แขกดอกรายวันโหดอย่างไรก็ต้องกู้ พอประทังชีวิตอันแร้นแค้นไปวันๆ
แม้รัฐบาลชุดนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มองการณ์ไกล พยายามขุดบ่อขุดสระ หรือที่เก็บน้ำทุกหมู่บ้าน เพื่อจะมีน้ำใช้ตลอดปี น้ำคือหัวใจเกษตรกรรม แต่ผู้รับเหมาในการขุดบางคนก็มักง่าย ดินที่ขุดสระก็ทิ้งตรงขอบสระ ทำให้สระที่เคยกว้างใหญ่กลายเป็นสระแคบๆ เก็บน้ำได้น้อยกว่าเดิม ขุดสระเมื่อไหร่ สระก็แคบลงเมื่อนั้น
คนเราหากขาดมโนธรรมสำนึก ก็มักจะมีเหลี่ยมมีเลศนัยสีเทาสีดำแอบแฝงเสมอ

หนี้สินบ่มี
คนที่รู้จักเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน มีวิถีชีวิตแบบพอเพียง ตามศาสน์พระราชานั้น ในแต่ละชุมชนหรือหมู่บ้านมีน้อยมาก แต่ก็พอมีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่บ้าง
ส่วนมากจะเป็นชาวบ้าน ข้าราชการ ที่มีสติปัญญา มีความเป็นอิสระ รักธรรมชาติ รู้ทันคน ดำรงชีวิตในรูปแบบ “โคกหนองนาไตร” อันเป็น “รากเหง้าเราเอง”
คนเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน จึงอยู่ดีมีแฮง ไม่มีหนี้สิน เพราะรู้จักตนเอง พึ่งตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของสังคมได้
คนซื้ออยู่ซื้อกิน จึงอยู่ไปวันๆ มีหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะไม่รู้จักตนเอง คอยพึ่งคอยอาศัยแต่คนอื่น
ชีวิตสองแบบ ประชาชนส่วนมากไม่ค่อยรู้ จึงมักตกเป็นเหยื่อของ “นักขุดบ่อล่อเงินตราบนหน้าคนอ่อนแอ” อยู่เสมอ
ผู้บริหารปกครองบ้านเมือง รู้ไหม?...รู้!
รู้แล้ว ทำไม ไม่ปลุกไม่สอนประชาชนผู้ไม่รู้บ้าง?
ไม่รู้ซิ! อาจเป็นเพราะ...กลัวเสียผลประโยชน์กระมัง? (คนฉลาดตกเบ็ดยาก มันไม่ยอมงับเหยื่อ)
“นาข่า-พยัคฆ์
คนรักท้องถิ่น
เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน
หนี้สินบ่มี”
เรื่องราว “นาข่า-พยัคฆ์” เป็นเรื่องของคนรู้จักตนเอง จึงกล้าดำรงชีวิตแบบ “พอเพียง” มีอิสรภาพ รู้เท่าทันทั้งตนเองและคนอื่น เป็นชีวิตเรียบง่าย สไตล์ประชาชนคนสำคัญ
“การเมืองคือชีวิตประชาชน” หรือ “ชีวิตประชาชนคือการเมือง”
คำพูดดังกล่าวเป็นอย่างไร ไม่ค่อยเข้าใจ?
มีคำตอบของอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แล้ว ในบทกวีเรื่อง “การเมือง” ท่านเขียนไว้เมื่อเดือนมีนาคม 2528 ว่า...
“การเมืองไม่ใช่เรื่องธุรกิจ
การเมืองไม่ใช่คิดแต่จะได้
การเมืองไม่ใช่การค้ากำไร
การเมืองไม่ใช่ใช้แต่เกมกล
การเมืองไม่ใช่บ้าแต่อำนาจ
การเมืองไม่ใช่ศาสตร์แห่งเหตุผล
การเมืองไม่ใช่การกดขี่คน
การเมืองไม่ใช่ตนใหญ่คนเดียว
การเมืองไม่ใช่เรื่องของการเล่น
การเมืองไม่ใช่เช่นกันด้วยเขี้ยว
การเมืองไม่ใช่ตามกันกรูเกรียว
การเมืองไม่ใช่เลี้ยวไปลงคู
การเมืองต้องเป็นเรื่องการเสียสละ
การเมืองคือภาระของทุกผู้
การเมืองเรื่องส่วนรวมร่วมรับรู้
การเมืองต้องต่อสู้เพื่อส่วนรวม
การเมืองต้องมีธรรมเป็นเข็มทิศ
การเมืองต้องมีจิตสำนึกร่วม
การเมืองต้องโปร่งใสไม่กำกวม
การเมืองต้องทันท่วมศรัทธาอุทิศ
การเมืองต้องเคารพความเห็นต่าง
การเมืองต้องสรรค์สร้างเสรีสิทธิ์
การเมืองคืออำนาจขจัดพิษ
การเมืองคือชีวิตประชาชน!”
บทกวีดังกล่าว คือกระจกวิเศษที่สะท้อนให้รู้ว่า การเมืองคืออะไร? การเมืองชั่วเป็นอย่างไร? การเมืองดีเป็นอย่างไร?
แต่ก็ถูกผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนาปกครองบ้านปกครองเมือง (บางคน) ห้ามยุ่งการเมือง ห้ามสนใจการเมือง ห้ามศึกษาเรียนรู้การเมือง มาแทบทุกยุคทุกสมัย
การห้ามดังกล่าว ก็เท่ากับห้ามประชาชนรู้จักชีวิตตัวเอง ชีวิตคนอื่น และชีวิตสังคมประเทศชาติ
การเมืองคือชีวิตประชาชนทุกคน ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ให้ใครว่า ไม่เป็นประชาชน
การเมืองคือเรื่องของคนทุกคน
การรู้จักการเมือง ก็คือการรู้จักตนเอง
ผู้รู้ตนเห็นตน ก็คือผู้รู้ธรรมเห็นธรรม
แล้วเหตุไฉนใดฤา จึงห้ามมิให้คนรู้ธรรมเห็นธรรม?!
5 มีนาคม วันนักข่าว ไม่ได้ไปทำกิจกรรมอะไรหรอก แต่ยังระลึกนึกถึงสิ่งดีๆ อยู่เสมอว่า...
“ดอกไม้หรือปืนขอยืนหยัด
เพื่อชี้ชัดทุกสิ่งอิงเหตุผล
ยุติธรรมนำเนื่องเบื้องมวลชน
นี่แหละคนคือคน-หนังสือพิมพ์”
...(เป็นบทกว่าของคุณเตรียม เขียนให้วันนักข่าว 5 มีนาคม 2529 ลงในสยามรัฐ 6 มีนาคม 2529)
“หนังสือพิมพ์ ต้องตีแผ่ สะท้อนภาพ
ความเลวทราม หยามหยาบ ความสูงส่ง
เป็นหัวหอก กระบอกเสียง อันเที่ยงตรง
มิใช่ ล้าหลังลง เป็นเรือเกลือ
เมื่อหาญเป็น เช่นเหยี่ยว ขยับปีก
กรงเล็กนั้น ต้องฉีก ขยุ้มเหยื่อ
ใช่จนตรอก, กลอกตา ทำง่าเงื้อ
เหลียวตลบ ตะปบเนื้อ ประชาชน
ศักดิ์ศรี ของคนทำ หนังสือพิมพ์
ใช่กระหยิ่ม ยิ้มผยอง ลำพองขน
แต่จักต้อง อ่อนน้อม และถ่อมตน
ทั้งซื่อสัตย์ อดทน ต่อผลงาน
ปากกา เป็นเกียรติศักดิ์ แห่งนักข่าว
หากซื่อสัตย์ ประชาชาว จักกล่าวขาน
ปากกา ที่จัญไร อยู่ไม่นาน
คือสัจจะ ตลอดกาล หนังสือพิมพ์”
...(บทกวีชื่อ “แด่เพื่อนหนังสือพิมพ์” ของคุณคมทวน คันธนู ลงในสยามรัฐ 6 มีนาคม 2529 อ้างจาก วารสารวันนักข่าว 5 มีนาคม 2529 ของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย)
แม้กาลเวลาผ่านไป 30 ปีแล้ว บทกวีดังกล่าวก็ยังมีชีวิตชีวาอยู่ เป็นกระจกส่องใจนักข่าวและประชาชนได้เป็นอย่างดี
นาข่า-พยัคฆ์
5 มีนาคม หมอป้อม พาไปดูงานเปิดศาลหลักเมืองนาข่าเมืองพยัคฆ์ ที่บ้านนาข่า ต.นาข่า อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม งานยิ่งใหญ่มโหฬาร ผู้หลักผู้ใหญ่ระดับรัฐมนตรี ผู้ว่าฯ นายกเทศมนตรี นายก อบจ. อบต. นายอำเภอ เป็นต้น มาร่วมพิธีเปิดศาล ประชาชน พ่อค้า แม่ค้า เป็นปลื้ม งานนี้ฉลองกัน 4 วัน 4 คืน
“นาข่าถิ่นคนดี มากมีผ้าไหมงาม นามลืมเลื่อง
ศาลหลักเมือง งามโดดเด่น เป็นศักดิ์ศรี
ชุมชนร่วม พิทักษ์ป่า สามัคคี
บุญข้าวจี่ ตามวิถี แบบพอเพียง”
นั่นคือ...คำขวัญ อบต.นาข่า
แก่นของคำขวัญอยู่ที่ “พอเพียง”
เพราะ “พอเพียง” คือรากเหง้าเหล่ากอของความเป็นคน
คนจะเป็นคนโดยสมบูรณ์ หรือเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจสูง ต้องรู้จักอิ่มรู้จักพอ ถ้าไม่รู้อิ่มรู้พอ เป็นมนุษย์ไม่ได้หรอก เนื่องเพราะ...
“คนประเภทไม่รู้อิ่มไม่รู้พอ มักขุดบ่อล่อเงินตราบนหน้าคน” คือหาผลประโยชน์ด้วยการเอาเปรียบผู้อื่น อย่างนี้จะเป็นผู้มีจิตใจสูง จิตใจดีงามได้อย่างไร
“นาข่า-พยัคฆ์” หรือ “นาข่าเมืองพยัคฆ์” หรือ “เมืองพยัคฆภูมิพิสัย” มีความเป็นมาอย่างไร? ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเท่านั้น ที่ตอบโจทย์ได้
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “เมืองพยัคฆภูมิพิสัย” มีความเป็นมาอย่างไร? ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเท่านั้นที่ตอบโจทย์ได้
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “เมืองพยัคฆภูมิพิสัย” ขึ้นที่ “บ้านเมืองเสือ” และโปรดฯ ให้ “ท้าวขัติย-เดช” เป็น “พระศรีสุวรรณวงศา” เจ้าเมืองเมื่อ พ.ศ. 2422
พระศรีสุวรรณวงศา ได้อพยพผู้คนจากเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งเมืองใหม่ตามที่โปรดเกล้าฯ เดินทางมาถึง “บ้านนาข่า” เห็นทำเลเหมาะสม เลยตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัยที่นั่น ต่อมาถูกร้องเรียนเรื่องเขตเมืองเลยย้ายเมืองมาตั้งใหม่ที่ “บ้านปะหลาน” เป็น “เมืองพยัคฆภูมิพิสัย” ตราบเท่าทุกวันนี้
สรุป...เมืองพยัคฆภูมิพิสัย จึงมี 2 แห่งคือบ้านนาข่า และบ้านปะหลาน ที่อยู่ใกล้ๆ บ้านเมืองเสือ ตามที่โปรดเกล้าฯ
การเขียนประวัติศาสตร์ ต้องอาศัยข้อมูลหลักฐาน ก่อนเขียนต้องวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานให้ถูกต้อง ชัดเจน น่าเชื่อถือ
หลักฐานประวัติศาสตร์เมืองพยัคฆภูมิพิสัย ที่น่าเชื่อถือ ถูกต้องที่สุด...เป็นข้อเขียนของอาจารย์เติม วิภาคย์พจนกิจ ในหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2530 หน้า 214 จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ หากข้อเขียนใดที่ขัดแย้งกับข้อเขียนของอาจารย์เติม ก็ควรมีหลักฐานใหม่ที่น่าเชื่อถือมากกว่า ตามวิสัยของบัณฑิต
“วิสัยบัณฑิต ผู้ทรงธรรม์
ไป่เปลี่ยน ไป่แปรผัน ไป่ค้อม
ไป่ขึ้น ไป่ลง หันกลับกลอก
กายจิตวาทะ พร้อมเพรียบ ด้วยสัตยา”
...(อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์)
คนรักท้องถิ่น
สำนวนไทยโบราณที่เตือนจิตใจได้ดีคือ “วัวลืมตีน” คือคนที่ได้ดีแล้วลืมตัว
คนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ครูอาจารย์ มักสอนลูกศิษย์ลูกหลานเสมอว่า... “อย่าเป็นวัวลืมตีน”... “อย่าลืมชาติ”... “อย่าลืมโคตรเหง้าเหล่ากอ”...คือให้รักท้องถิ่น รักบ้านรักเมือง ได้ดิบได้ดีแล้วก็ให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง
คุณอำนวย ปะติเส เป็นอดีตนักการเมือง และอีกหลายๆ นักที่มีคุณภาพ และมากด้วยประสบการณ์ เป็นชาวอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีเชื้อสายเจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัย เป็นบุตรของพ่อทองแดง และแม่ห้วย ปะติเส (หนังสือที่ระลึกการเปิดศาลหลักเมืองนาข่าเมืองพยัคฆ์ 5 มีนาคม 2559 หน้า 40) คุณอำนวย เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ ทำให้มีศาลหลักเมืองนาข่าเมืองพยัคฆ์ อันสง่างามแห่งความภาคภูมิใจ
และที่สำคัญเป็น “คนรักท้องถิ่น” เนื่องจากสนใจ “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ซึ่งศาสตร์นี้ทำให้รู้จักเทือกเถาเหล่ากอ หรือรากเหง้าเราเอง ทำให้รู้จักตน และพึ่งตนเองได้ เมื่อพึ่งตนเองได้แล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งของสังคมได้ด้วย
เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน
คำว่า “เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน” เป็นคำอีสาน หมายถึง “ทำอยู่ทำกิน”
คนที่ “รู้ตัวทั่วพร้อม” คือคนที่รู้จัก “ทำอยู่ทำกิน”
“บ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ” คือผลที่มาจากเหตุ-ทำอยู่ทำกิน เป็นวิถีพอเพียง เรียบง่ายสบายๆ แต่ปัจจุบันนี้ คนส่วนมากนิยม “ซื้ออยู่ซื้อกิน” บ้านก็เช่าเขาอยู่ อาหารการกินก็ซื้อเขาทุกคาบทุกเวลา หน้าที่ของคนคือหาเงินเพื่อซื้อเพื่อจ่าย โอกาสที่จะเก็บออมแทบไม่มี
ในอดีต สมัยรัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช มีโครงการขุดบ่อขุดสระในนาให้ประชาชน เพื่อการเกษตรและเลี้ยงปลา เป็นการลงทุนให้ประชาชนแบบมีอนาคต คือรู้จักทำอยู่ทำกิน แม้ไม่มีเงินก็อยู่ได้
รัฐบาลชุดต่อๆ มา โครงการนี้ค่อยๆ เบาลงและหยุดไปในที่สุด แถมยังมีนักวิชาการที่ไม่รู้สึกตัวแนะนำให้ถมบ่อ เพราะบ่อทำให้เสียพื้นที่ในการเพาะปลูก ชาวนาเชื่อง่ายต่างพากันถมบ่อ รถขายดินเลยร่ำรวยในชั่วพริบตา ผลที่ตามมาคือภัยแล้ง ไม่มีน้ำทำนา ไม่มีปลากิน จึงหาเงินซื้ออยู่ซื้อกิน
ทุกวันนี้ ชาวนาทำนาไม่เป็นแล้ว ไถ หว่าน ดำ เกี่ยว จ้างทั้งนั้น ใครไม่มีเงินจ้าง ก็หากู้เขา เสร็จนาขายข้าวค่อยใช้หนี้
สรุป ทำนาแล้ว ไม่มีข้าวกิน ต้องหาเงินซื้อข้าวกิน
การดำรงชีวิตต้องใช้เงิน หากไม่มีเงิน ก็ต้องกู้ ทั้งในระบบ และนอกระบบ เงินกู้แขกดอกรายวันโหดอย่างไรก็ต้องกู้ พอประทังชีวิตอันแร้นแค้นไปวันๆ
แม้รัฐบาลชุดนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มองการณ์ไกล พยายามขุดบ่อขุดสระ หรือที่เก็บน้ำทุกหมู่บ้าน เพื่อจะมีน้ำใช้ตลอดปี น้ำคือหัวใจเกษตรกรรม แต่ผู้รับเหมาในการขุดบางคนก็มักง่าย ดินที่ขุดสระก็ทิ้งตรงขอบสระ ทำให้สระที่เคยกว้างใหญ่กลายเป็นสระแคบๆ เก็บน้ำได้น้อยกว่าเดิม ขุดสระเมื่อไหร่ สระก็แคบลงเมื่อนั้น
คนเราหากขาดมโนธรรมสำนึก ก็มักจะมีเหลี่ยมมีเลศนัยสีเทาสีดำแอบแฝงเสมอ
หนี้สินบ่มี
คนที่รู้จักเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน มีวิถีชีวิตแบบพอเพียง ตามศาสน์พระราชานั้น ในแต่ละชุมชนหรือหมู่บ้านมีน้อยมาก แต่ก็พอมีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่บ้าง
ส่วนมากจะเป็นชาวบ้าน ข้าราชการ ที่มีสติปัญญา มีความเป็นอิสระ รักธรรมชาติ รู้ทันคน ดำรงชีวิตในรูปแบบ “โคกหนองนาไตร” อันเป็น “รากเหง้าเราเอง”
คนเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน จึงอยู่ดีมีแฮง ไม่มีหนี้สิน เพราะรู้จักตนเอง พึ่งตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของสังคมได้
คนซื้ออยู่ซื้อกิน จึงอยู่ไปวันๆ มีหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะไม่รู้จักตนเอง คอยพึ่งคอยอาศัยแต่คนอื่น
ชีวิตสองแบบ ประชาชนส่วนมากไม่ค่อยรู้ จึงมักตกเป็นเหยื่อของ “นักขุดบ่อล่อเงินตราบนหน้าคนอ่อนแอ” อยู่เสมอ
ผู้บริหารปกครองบ้านเมือง รู้ไหม?...รู้!
รู้แล้ว ทำไม ไม่ปลุกไม่สอนประชาชนผู้ไม่รู้บ้าง?
ไม่รู้ซิ! อาจเป็นเพราะ...กลัวเสียผลประโยชน์กระมัง? (คนฉลาดตกเบ็ดยาก มันไม่ยอมงับเหยื่อ)
“นาข่า-พยัคฆ์
คนรักท้องถิ่น
เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน
หนี้สินบ่มี”
เรื่องราว “นาข่า-พยัคฆ์” เป็นเรื่องของคนรู้จักตนเอง จึงกล้าดำรงชีวิตแบบ “พอเพียง” มีอิสรภาพ รู้เท่าทันทั้งตนเองและคนอื่น เป็นชีวิตเรียบง่าย สไตล์ประชาชนคนสำคัญ
“การเมืองคือชีวิตประชาชน” หรือ “ชีวิตประชาชนคือการเมือง”
คำพูดดังกล่าวเป็นอย่างไร ไม่ค่อยเข้าใจ?
มีคำตอบของอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แล้ว ในบทกวีเรื่อง “การเมือง” ท่านเขียนไว้เมื่อเดือนมีนาคม 2528 ว่า...
“การเมืองไม่ใช่เรื่องธุรกิจ
การเมืองไม่ใช่คิดแต่จะได้
การเมืองไม่ใช่การค้ากำไร
การเมืองไม่ใช่ใช้แต่เกมกล
การเมืองไม่ใช่บ้าแต่อำนาจ
การเมืองไม่ใช่ศาสตร์แห่งเหตุผล
การเมืองไม่ใช่การกดขี่คน
การเมืองไม่ใช่ตนใหญ่คนเดียว
การเมืองไม่ใช่เรื่องของการเล่น
การเมืองไม่ใช่เช่นกันด้วยเขี้ยว
การเมืองไม่ใช่ตามกันกรูเกรียว
การเมืองไม่ใช่เลี้ยวไปลงคู
การเมืองต้องเป็นเรื่องการเสียสละ
การเมืองคือภาระของทุกผู้
การเมืองเรื่องส่วนรวมร่วมรับรู้
การเมืองต้องต่อสู้เพื่อส่วนรวม
การเมืองต้องมีธรรมเป็นเข็มทิศ
การเมืองต้องมีจิตสำนึกร่วม
การเมืองต้องโปร่งใสไม่กำกวม
การเมืองต้องทันท่วมศรัทธาอุทิศ
การเมืองต้องเคารพความเห็นต่าง
การเมืองต้องสรรค์สร้างเสรีสิทธิ์
การเมืองคืออำนาจขจัดพิษ
การเมืองคือชีวิตประชาชน!”
บทกวีดังกล่าว คือกระจกวิเศษที่สะท้อนให้รู้ว่า การเมืองคืออะไร? การเมืองชั่วเป็นอย่างไร? การเมืองดีเป็นอย่างไร?
แต่ก็ถูกผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนาปกครองบ้านปกครองเมือง (บางคน) ห้ามยุ่งการเมือง ห้ามสนใจการเมือง ห้ามศึกษาเรียนรู้การเมือง มาแทบทุกยุคทุกสมัย
การห้ามดังกล่าว ก็เท่ากับห้ามประชาชนรู้จักชีวิตตัวเอง ชีวิตคนอื่น และชีวิตสังคมประเทศชาติ
การเมืองคือชีวิตประชาชนทุกคน ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ให้ใครว่า ไม่เป็นประชาชน
การเมืองคือเรื่องของคนทุกคน
การรู้จักการเมือง ก็คือการรู้จักตนเอง
ผู้รู้ตนเห็นตน ก็คือผู้รู้ธรรมเห็นธรรม
แล้วเหตุไฉนใดฤา จึงห้ามมิให้คนรู้ธรรมเห็นธรรม?!