นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)พิจารณาปรับเนื้อหาในส่วนอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ จากเดิมที่ให้หาทางแก้ไขวิกฤตทางตันที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาเป็นให้อำนาจประธานศาลรัฐธรรมนูญ จัดประชุมร่วมกับประธานสภาผู้แทนฯ ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ว่า ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ต้องวินิจฉัยให้อยู่ภายใต้ขอบเขตกฎหมาย โดยยึดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ แต่ไม่อยากให้การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบนี้ สามารถวินิจฉัยเรื่องการเมืองได้ด้วย เพราะจะทำให้เกิดปัญหา และนำไปสู่ความขัดแย้ง
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มองค์ประกอบจากฝ่ายการเมือง เช่น นายกฯ ประธานสภาฯ ประธานวุฒิสภา คิดว่าเป็นความพยายามที่จะคลายกังวลในกรณีที่เห็นว่ารัฐธรรมนูญนำภาระไปอยู่ที่ศาลเพียงอย่างเดียว แต่องค์ประกอบนี้ยังถือเป็นเสียงข้างน้อย หากการวินิจฉัยอยู่ในขอบเขตอุดช่องว่างทางกฎหมายก็ไม่มีปัญหา
" ที่ผ่านมามีปัญหาว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติชัดเจนว่าจะใช้ช่องทางไหน พอเกิดปัญหาที่ไม่ระบุในรัฐธรรมนูญ เมื่อช่องทางชัดเจนจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่หลังจากมีคำวินิจฉัยแล้ว จะสามารถบังคับใช้ และยอมรับได้ทุกฝ่ายหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยังไม่มีใครตอบได้ เพียงแต่หวังว่าสังคมต้องก้าวไปสู่การยอมรับคำตัดสินขององค์กรต่างๆ แต่ถ้าย้อนกลับไปสู่บรรยากาศเดิม ที่บางฝ่ายไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้น ก่อนการรัฐประหาร ต้องมีการค้นหาทางออกที่ฝ่ายการเมืองต้องทำกันเอง หากยังไม่ใช้บทเรียนที่เกิดขึ้น และหวังใช้รัฐธรรมนูญอย่างเดียวก็จะเกิดปัญหา หากฝ่ายการเมืองพยายามหาทางออกทุกมิติ รัฐธรรมนูญจะกลายเป็นเรื่องรอง ผมไม่ได้คัดค้านที่ร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้ แต่เตือนว่า อย่าหวังพึ่งกลไกนี้เป็นหลัก"
ส่วนกรณีที่กรธ. แก้ไขขั้นตอนการอุทธรณ์คดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากเดิมที่ให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกา มาเป็นให้ที่ประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกา ตั้งองค์คณะใหม่ขึ้นมาพิจารณาคำอุทธรณ์ ตนเห็นว่าควรกลับไปใช้ตามทางเดิมจะดีกว่า เพราะการยื่นอุทธรณ์ ควรจะชัดเจนว่าผู้พิจารณาอยู่ในระดับที่สูงกว่าองค์คณะ ซึ่งการกำหนดให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเหมาะสมแล้ว เพราะชัดเจนว่าสูงกว่าการพิจารณาขององค์คณะแค่ 9 ท่าน เพราะการตั้งองค์คณะใหม่ จะไม่ชัดเจนว่าองค์คณะใหม่จะมีระดับที่สูงกว่าองค์คณะเก่าที่มาจากศาลฎีกาอย่างไร อีกทั้งหากจะให้มีการอุทธรณ์ ก็ต้องมีการจำกัดขอบเขตให้ชัดเจน เช่น มีพยานหลักฐาน หรือข้อเท็จจริงใหม่ ไม่ใช่ว่า เมื่อแพ้คดีจากศาลหนึ่ง ก็ไปลุ้นคดีอีกศาลหนึ่ง โดยการขอเปลี่ยนองค์คณะผู้พิพากษา
เมื่อถามว่า การเปลี่ยนกติกานี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า เพื่อให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้รังอานิสงส์จากกรณีนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับบทเฉพาะกาลที่ต้องเขียนให้ชัดเจน เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนโครงสร้าง ก็ต้องระบุว่าสิ่งที่ค้างอยู่ตามกติกาเดิม จะให้ไปต่ออย่างไร จึงต้องถาม กรธ.ว่าคิดอย่างไร เพราะหากไม่ต้องการให้มีผลผูกพันกับคดีที่ค้างอยู่ ก็ต้องกำหนดให้ชัดเจนในบทเฉพาะกาล และขอให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.อธิบายเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาส่วนนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มองค์ประกอบจากฝ่ายการเมือง เช่น นายกฯ ประธานสภาฯ ประธานวุฒิสภา คิดว่าเป็นความพยายามที่จะคลายกังวลในกรณีที่เห็นว่ารัฐธรรมนูญนำภาระไปอยู่ที่ศาลเพียงอย่างเดียว แต่องค์ประกอบนี้ยังถือเป็นเสียงข้างน้อย หากการวินิจฉัยอยู่ในขอบเขตอุดช่องว่างทางกฎหมายก็ไม่มีปัญหา
" ที่ผ่านมามีปัญหาว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติชัดเจนว่าจะใช้ช่องทางไหน พอเกิดปัญหาที่ไม่ระบุในรัฐธรรมนูญ เมื่อช่องทางชัดเจนจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่หลังจากมีคำวินิจฉัยแล้ว จะสามารถบังคับใช้ และยอมรับได้ทุกฝ่ายหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยังไม่มีใครตอบได้ เพียงแต่หวังว่าสังคมต้องก้าวไปสู่การยอมรับคำตัดสินขององค์กรต่างๆ แต่ถ้าย้อนกลับไปสู่บรรยากาศเดิม ที่บางฝ่ายไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้น ก่อนการรัฐประหาร ต้องมีการค้นหาทางออกที่ฝ่ายการเมืองต้องทำกันเอง หากยังไม่ใช้บทเรียนที่เกิดขึ้น และหวังใช้รัฐธรรมนูญอย่างเดียวก็จะเกิดปัญหา หากฝ่ายการเมืองพยายามหาทางออกทุกมิติ รัฐธรรมนูญจะกลายเป็นเรื่องรอง ผมไม่ได้คัดค้านที่ร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้ แต่เตือนว่า อย่าหวังพึ่งกลไกนี้เป็นหลัก"
ส่วนกรณีที่กรธ. แก้ไขขั้นตอนการอุทธรณ์คดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากเดิมที่ให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกา มาเป็นให้ที่ประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกา ตั้งองค์คณะใหม่ขึ้นมาพิจารณาคำอุทธรณ์ ตนเห็นว่าควรกลับไปใช้ตามทางเดิมจะดีกว่า เพราะการยื่นอุทธรณ์ ควรจะชัดเจนว่าผู้พิจารณาอยู่ในระดับที่สูงกว่าองค์คณะ ซึ่งการกำหนดให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเหมาะสมแล้ว เพราะชัดเจนว่าสูงกว่าการพิจารณาขององค์คณะแค่ 9 ท่าน เพราะการตั้งองค์คณะใหม่ จะไม่ชัดเจนว่าองค์คณะใหม่จะมีระดับที่สูงกว่าองค์คณะเก่าที่มาจากศาลฎีกาอย่างไร อีกทั้งหากจะให้มีการอุทธรณ์ ก็ต้องมีการจำกัดขอบเขตให้ชัดเจน เช่น มีพยานหลักฐาน หรือข้อเท็จจริงใหม่ ไม่ใช่ว่า เมื่อแพ้คดีจากศาลหนึ่ง ก็ไปลุ้นคดีอีกศาลหนึ่ง โดยการขอเปลี่ยนองค์คณะผู้พิพากษา
เมื่อถามว่า การเปลี่ยนกติกานี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า เพื่อให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้รังอานิสงส์จากกรณีนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับบทเฉพาะกาลที่ต้องเขียนให้ชัดเจน เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนโครงสร้าง ก็ต้องระบุว่าสิ่งที่ค้างอยู่ตามกติกาเดิม จะให้ไปต่ออย่างไร จึงต้องถาม กรธ.ว่าคิดอย่างไร เพราะหากไม่ต้องการให้มีผลผูกพันกับคดีที่ค้างอยู่ ก็ต้องกำหนดให้ชัดเจนในบทเฉพาะกาล และขอให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.อธิบายเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาส่วนนี้ด้วย