เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ ที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธานประชุมร่วมแม่น้ำ 4 สาย ประกอบด้วย คสช. คณะรัฐมนตรี(ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เผยภายหลังประชุมว่า สาเหตุที่กรธ.ไม่ได้เข้าประชุมด้วย เนื่องจากกรธ.จะต้องปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จในวันที่ 29 มี.ค. อย่างไรก็ตาม นายกฯจะเรียกประชุมแม่น้ำ 5 สายเต็มคณะในเร็วๆนี้ คือช่วงเดือนมี.ค. - เม.ย. เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้รายงานว่าติดขัดอะไรบ้าง ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้หารือการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 57 เพื่อทำประชามติ
โดยนายสุวพันธุ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 ฝ่าย (ครม.-สนช.-สปท.) ได้รายงานข้อติดขัดการทำประชามติ เช่น การแจกจ่ายรัฐธรรมนูญ จากเดิมที่จะต้องแจกจ่ายให้ร้อยละ 80 ว่าจะทำอย่างไรให้แจกจ่ายทั่วถึง ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับ กกต.ไปดำเนินการ
นายวิษณุ กล่าวว่า ที่ประชุม สนช.จะมีการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ในวันที่ 10 มี.ค. ซึ่งตนจะไปชี้แจงเพื่อให้เกิดเข้าใจและตกผลึกในทุกเรื่อง ส่วนการร่างกฎหมายสำหรับการทำประชามติของกกต. ล่าช้าไปบ้าง เนื่องจากกกต.ได้เชิญผู้แทนกฤษฎีกาไปร่วมร่างด้วย อีกทั้งครม. เพิ่งส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวไปให้ สนช. เมื่อวันที่ 4 มี.ค. โดยตนได้แจ้งไปยังเลขาธิการครม. ให้ตามเรื่องนี้แล้ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังหารือถึงคำถามพ่วงทำประชามติ โดยมีการยกตัวอย่างวิธีการถามว่าจะถาม และให้โหวตอย่างไร เช่น เกิดรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ แล้วคำถามพ่วงหากมีไปแล้ว ไปแย้งกับรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไร หรือรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน แต่คำถามพ่วงผ่าน จะทำอย่างไร คำถามที่เปิดปลายจะใช้ไม่ได้ ต้องเป็นคำถามที่ให้เห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีใครยกตัวอย่างคำถามพ่วง เช่น ให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีใครยกตัวอย่างพิสดารอย่างนั้น เมื่อถามว่า ส่วนงบฯทำประชามติ 3 พันล้านบาท ที่นายกฯ เป็นห่วงว่า มากเกินไปให้ไปหาวิธีปรับลดลงมานั้น นายวิษณุ กล่าวว่า นายกฯมีคำถามว่า ตอนแรกที่กำหนดให้แจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญร้อยละ 80 ต่อครัวเรือน ใช้งบฯ 3 พันล้านบาท แต่เมื่อไม่มีเงื่อนไขนี้ไปแล้ว ทำไมถึงยังแพงอยู่ ตรงนี้ กกต.ก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะใช้งบฯ 3 พันล้านบาทแน่ๆ เขาคงคิดอีกทีหนึ่งว่าสุดท้ายจะใช้เท่าไร ขณะที่งบฯ แบ่งเป็นจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ เดิม 800 ล้านบาท ตอนนี้ปรับลดลงมาไม่ถึงแล้ว ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ 900 ล้านบาท และส่วนงบฯ ที่เหลือใช้การรณรงค์เปิดเวที เช่าเวลา แจกจ่าย ทำความเข้าใจ น่าจะลดลงได้ เพราะตนว่ามากไป
เมื่อถามว่า ในที่ประชุมได้มีการหยิบยกข้อเสนอ ส.ว.สรรหาช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีมาหารือหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ได้หยิบยกมาหารือ เพราะทุกคนพูดเสียงตรงกันว่า เป็นความเห็นส่วนตัว
**ปมร้อนที่มาส.ว.ชัดเจนก่อน23 มี.ค.นี้
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. กล่าวถึงข้อสรุปเกี่ยวกับที่มาส.ว. ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้เสนอความเห็นให้ปรับแก้เป็น ส.ว.สรรหาทั้งหมดว่า ยังไม่ได้พิจารณา จึงยังให้รายละเอียดใดๆไม่ได้ อย่างไรก็ตามในการพิจารณาเรื่องที่มาส.ว. ยืนยันว่า กรธ.พิจารณาเสร็จแล้วโดยหลักการเดิมยังคงอยู่ เว้นแต่ทางโน้นเขาจะว่าอย่างไรมา ก็ค่อยดูกันอีกที ส่วนข้อเสนอที่มาถึงกรธ.นั้น จะส่งผลให้ปรับปรุงบทบัญญัติอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่นั้น ขอสื่อมวลชนอย่าคาดเดา เพราะกรธ. ยังไม่ได้พิจารณา ขอให้รอไปอีกซักระยะหนึ่ง โดยก่อนการไปประชุมนอกสถานที่ ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 23 มี.ค.นี้ คาดว่าจะได้ความชัดเจนรวมไปถึงเนื้อหา ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับด้วย เพราะต้องทำให้แล้วเสร็จ เพื่อที่จะใช้เวลาในการประชุมนอกสถานที่ จะได้นำเนื้อหาทั้งหมดมาพิจารณาตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง
" กรธ.คงไม่ทำหนังสือไปถึงครม.เพื่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอของส.ว.แล้ว แต่หากเขาจะส่งมา ก็ส่งมาได้ แต่เราคงไม่รอ เพราะเราต้องทำงานของเราไป ส่วนการประชุมแม่น้ำ 5 สาย จะมีมติใดๆ ออกมาต่อเรื่องร่างรัฐธรรมนูญนั้น ก็คงจะมีหนังสือมาถึงเอง หากเป็นกรณีที่มติของเขาผิดไปจากหลักการที่ กรธ.ได้วางไว้ ผมต้องนำเหตุผลมาพิจารณา โดยขณะนี้ยืนยันว่า ยังตอบอะไรไม่ได้ ใจเย็นๆ อีก 2-3 วัน เดี๋ยวก็รู้ " นายมีชัย กล่าว
นายมีชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่ไม่เข้าร่วมการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ไม่ใช่ เป็นเพราะกรธ.ได้หารือนอกรอบกับ ครม. มาก่อนหน้านี้ แต่เป็นเพราะว่า หากตนเข้าร่วมประชุมกลัวว่าจะถูกผูกมัด
เมื่อถามย้ำว่าที่ไม่ไป เพราะกลัวถูกใบสั่ง ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า "หากจะสั่ง ก็สั่งได้ แต่สั่งแล้วจะฟังหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผล" เมื่อถามอีกว่า กรณีที่จะตัดสินใจแก้ไขเรื่องใด จะต้องประเมินผลการเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญต่อการทำประชามติหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า "จะไปเดามันทำไม เอาให้มันถึงจริงๆ เสียก่อน"
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เผยภายหลังประชุมว่า สาเหตุที่กรธ.ไม่ได้เข้าประชุมด้วย เนื่องจากกรธ.จะต้องปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จในวันที่ 29 มี.ค. อย่างไรก็ตาม นายกฯจะเรียกประชุมแม่น้ำ 5 สายเต็มคณะในเร็วๆนี้ คือช่วงเดือนมี.ค. - เม.ย. เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้รายงานว่าติดขัดอะไรบ้าง ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้หารือการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 57 เพื่อทำประชามติ
โดยนายสุวพันธุ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 ฝ่าย (ครม.-สนช.-สปท.) ได้รายงานข้อติดขัดการทำประชามติ เช่น การแจกจ่ายรัฐธรรมนูญ จากเดิมที่จะต้องแจกจ่ายให้ร้อยละ 80 ว่าจะทำอย่างไรให้แจกจ่ายทั่วถึง ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับ กกต.ไปดำเนินการ
นายวิษณุ กล่าวว่า ที่ประชุม สนช.จะมีการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ในวันที่ 10 มี.ค. ซึ่งตนจะไปชี้แจงเพื่อให้เกิดเข้าใจและตกผลึกในทุกเรื่อง ส่วนการร่างกฎหมายสำหรับการทำประชามติของกกต. ล่าช้าไปบ้าง เนื่องจากกกต.ได้เชิญผู้แทนกฤษฎีกาไปร่วมร่างด้วย อีกทั้งครม. เพิ่งส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวไปให้ สนช. เมื่อวันที่ 4 มี.ค. โดยตนได้แจ้งไปยังเลขาธิการครม. ให้ตามเรื่องนี้แล้ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังหารือถึงคำถามพ่วงทำประชามติ โดยมีการยกตัวอย่างวิธีการถามว่าจะถาม และให้โหวตอย่างไร เช่น เกิดรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ แล้วคำถามพ่วงหากมีไปแล้ว ไปแย้งกับรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไร หรือรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน แต่คำถามพ่วงผ่าน จะทำอย่างไร คำถามที่เปิดปลายจะใช้ไม่ได้ ต้องเป็นคำถามที่ให้เห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีใครยกตัวอย่างคำถามพ่วง เช่น ให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีใครยกตัวอย่างพิสดารอย่างนั้น เมื่อถามว่า ส่วนงบฯทำประชามติ 3 พันล้านบาท ที่นายกฯ เป็นห่วงว่า มากเกินไปให้ไปหาวิธีปรับลดลงมานั้น นายวิษณุ กล่าวว่า นายกฯมีคำถามว่า ตอนแรกที่กำหนดให้แจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญร้อยละ 80 ต่อครัวเรือน ใช้งบฯ 3 พันล้านบาท แต่เมื่อไม่มีเงื่อนไขนี้ไปแล้ว ทำไมถึงยังแพงอยู่ ตรงนี้ กกต.ก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะใช้งบฯ 3 พันล้านบาทแน่ๆ เขาคงคิดอีกทีหนึ่งว่าสุดท้ายจะใช้เท่าไร ขณะที่งบฯ แบ่งเป็นจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ เดิม 800 ล้านบาท ตอนนี้ปรับลดลงมาไม่ถึงแล้ว ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ 900 ล้านบาท และส่วนงบฯ ที่เหลือใช้การรณรงค์เปิดเวที เช่าเวลา แจกจ่าย ทำความเข้าใจ น่าจะลดลงได้ เพราะตนว่ามากไป
เมื่อถามว่า ในที่ประชุมได้มีการหยิบยกข้อเสนอ ส.ว.สรรหาช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีมาหารือหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ได้หยิบยกมาหารือ เพราะทุกคนพูดเสียงตรงกันว่า เป็นความเห็นส่วนตัว
**ปมร้อนที่มาส.ว.ชัดเจนก่อน23 มี.ค.นี้
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. กล่าวถึงข้อสรุปเกี่ยวกับที่มาส.ว. ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้เสนอความเห็นให้ปรับแก้เป็น ส.ว.สรรหาทั้งหมดว่า ยังไม่ได้พิจารณา จึงยังให้รายละเอียดใดๆไม่ได้ อย่างไรก็ตามในการพิจารณาเรื่องที่มาส.ว. ยืนยันว่า กรธ.พิจารณาเสร็จแล้วโดยหลักการเดิมยังคงอยู่ เว้นแต่ทางโน้นเขาจะว่าอย่างไรมา ก็ค่อยดูกันอีกที ส่วนข้อเสนอที่มาถึงกรธ.นั้น จะส่งผลให้ปรับปรุงบทบัญญัติอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่นั้น ขอสื่อมวลชนอย่าคาดเดา เพราะกรธ. ยังไม่ได้พิจารณา ขอให้รอไปอีกซักระยะหนึ่ง โดยก่อนการไปประชุมนอกสถานที่ ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 23 มี.ค.นี้ คาดว่าจะได้ความชัดเจนรวมไปถึงเนื้อหา ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับด้วย เพราะต้องทำให้แล้วเสร็จ เพื่อที่จะใช้เวลาในการประชุมนอกสถานที่ จะได้นำเนื้อหาทั้งหมดมาพิจารณาตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง
" กรธ.คงไม่ทำหนังสือไปถึงครม.เพื่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอของส.ว.แล้ว แต่หากเขาจะส่งมา ก็ส่งมาได้ แต่เราคงไม่รอ เพราะเราต้องทำงานของเราไป ส่วนการประชุมแม่น้ำ 5 สาย จะมีมติใดๆ ออกมาต่อเรื่องร่างรัฐธรรมนูญนั้น ก็คงจะมีหนังสือมาถึงเอง หากเป็นกรณีที่มติของเขาผิดไปจากหลักการที่ กรธ.ได้วางไว้ ผมต้องนำเหตุผลมาพิจารณา โดยขณะนี้ยืนยันว่า ยังตอบอะไรไม่ได้ ใจเย็นๆ อีก 2-3 วัน เดี๋ยวก็รู้ " นายมีชัย กล่าว
นายมีชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่ไม่เข้าร่วมการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ไม่ใช่ เป็นเพราะกรธ.ได้หารือนอกรอบกับ ครม. มาก่อนหน้านี้ แต่เป็นเพราะว่า หากตนเข้าร่วมประชุมกลัวว่าจะถูกผูกมัด
เมื่อถามย้ำว่าที่ไม่ไป เพราะกลัวถูกใบสั่ง ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า "หากจะสั่ง ก็สั่งได้ แต่สั่งแล้วจะฟังหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผล" เมื่อถามอีกว่า กรณีที่จะตัดสินใจแก้ไขเรื่องใด จะต้องประเมินผลการเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญต่อการทำประชามติหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า "จะไปเดามันทำไม เอาให้มันถึงจริงๆ เสียก่อน"