วานนี้ ( 17 ก.พ.) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พร้อมด้วย นางสายทิพย์ ชวลิตถวิล เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมการบริหารโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ นำคณะสื่อมวลชน ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารรัฐสภา ที่บริเวณแยกเกียกกาย โดยนายพรเพชร ได้รับฟังการบรรยายสรุปและปัญหาอุปสรรคในการก่อสร้าง จากนั้นได้ลงพื้นที่ตรวจการก่อสร้าง
นายพรเพชร กล่าวว่า ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าได้เพียง 18 % เท่านั้น คงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ตามกำหนดเวลาในสัญญาที่มีการต่อเวลาขยายจาก 900 วัน เมื่อวันที่ 24 พ.ย.58 ไปอีก 387 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 15 ธ.ค.59 ได้อย่างแน่นอน และยังไม่สามารถประเมินระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อไร เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องของการส่งมอบพื้นที่ ที่ยังไม่ส่งมอบ 4 ส่วน คือ ศูนย์สาธารณะ 38 (กทม.) ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า ห้องสมุดกทม. บ้านพัก อท.ศอ.พท. และโรงเรียนโยธินบูรณะ ซึ่งจากการประเมินแล้วเมื่อครบกำหนดสัญญา จะมีความคืบหน้าเพียง 30%
ทั้งนี้ ปัญหาหลักของการก่อสร้างคือ การขนหน้าดินออกจากพื้นที่ และการรื้อถอนอาคาร ซึ่งทางสภาไม่มีอำนาจการรื้อถอนได้ เพราะติดปัญหาขั้นตอนทางราชการ เนื่องจากต้องขออนุญาตจากกรมธนารักษ์ ซึ่งตนไม่ทราบในการทำโครงการ ผู้ลงนามในสัญญาไปลงนามทำสัญญาในลักษณะนี้ได้อย่างไร ทั้งผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้าง ทั้งที่ยังไม่มีการรื้อถอนอาคารต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ส่งมอบ ดังนั้นเมื่อครบสัญญา ก็ต้องมาพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไร และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
"เรื่องการก่อสร้างไม่มีการทุจริต มีเพียงปัญหาขนดินจากโครงการเท่านั้น ส่วนที่ใครที่จะรับผิดชอบหากไม่เสร็จทันตามกำหนด ไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่ไม่ใช่ผม เพราะผมมาบริหารสัญญา และจะประคับประคองให้การก่อสร้างเสร็จลุล่วง และให้เกิดความเสียหายทางราชการให้น้อยที่สุด แต่สิ่งที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้าหากก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา ก็จะกลายเป็น "ซาก" ไปไม่รู้อีกกี่ปี จะกลายเป็นเศษสนิม ที่จะต้องมีการฟ้องร้องกันต่อไป ว่าใครผิดหรือถูก ซึ่งยังไม่รู้ว่า เราจะเป็นฝ่ายถูก หรือไม่ และผมก็ไม่เข้าใจว่าไปต่อสัญญา 900 วัน ได้อย่างไร ทั้งที่มีอาคารที่ยังไม่รื้อถอนอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ใช่เป็นที่ดินโล่งๆ หากครบกำหนด 900 วัน และไม่เสร็จตามสัญญา ก็ต้องมาชี้แจงผมว่า ไม่เสร็จเพราะอะไร ต้องดูเงื่อนไขสัญญา เป็นความผิดของใคร "นายพรเพชร กล่าว
นายพรเพชร กล่าวว่า ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าได้เพียง 18 % เท่านั้น คงไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ตามกำหนดเวลาในสัญญาที่มีการต่อเวลาขยายจาก 900 วัน เมื่อวันที่ 24 พ.ย.58 ไปอีก 387 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 15 ธ.ค.59 ได้อย่างแน่นอน และยังไม่สามารถประเมินระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อไร เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องของการส่งมอบพื้นที่ ที่ยังไม่ส่งมอบ 4 ส่วน คือ ศูนย์สาธารณะ 38 (กทม.) ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า ห้องสมุดกทม. บ้านพัก อท.ศอ.พท. และโรงเรียนโยธินบูรณะ ซึ่งจากการประเมินแล้วเมื่อครบกำหนดสัญญา จะมีความคืบหน้าเพียง 30%
ทั้งนี้ ปัญหาหลักของการก่อสร้างคือ การขนหน้าดินออกจากพื้นที่ และการรื้อถอนอาคาร ซึ่งทางสภาไม่มีอำนาจการรื้อถอนได้ เพราะติดปัญหาขั้นตอนทางราชการ เนื่องจากต้องขออนุญาตจากกรมธนารักษ์ ซึ่งตนไม่ทราบในการทำโครงการ ผู้ลงนามในสัญญาไปลงนามทำสัญญาในลักษณะนี้ได้อย่างไร ทั้งผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้าง ทั้งที่ยังไม่มีการรื้อถอนอาคารต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ส่งมอบ ดังนั้นเมื่อครบสัญญา ก็ต้องมาพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไร และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
"เรื่องการก่อสร้างไม่มีการทุจริต มีเพียงปัญหาขนดินจากโครงการเท่านั้น ส่วนที่ใครที่จะรับผิดชอบหากไม่เสร็จทันตามกำหนด ไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่ไม่ใช่ผม เพราะผมมาบริหารสัญญา และจะประคับประคองให้การก่อสร้างเสร็จลุล่วง และให้เกิดความเสียหายทางราชการให้น้อยที่สุด แต่สิ่งที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้าหากก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา ก็จะกลายเป็น "ซาก" ไปไม่รู้อีกกี่ปี จะกลายเป็นเศษสนิม ที่จะต้องมีการฟ้องร้องกันต่อไป ว่าใครผิดหรือถูก ซึ่งยังไม่รู้ว่า เราจะเป็นฝ่ายถูก หรือไม่ และผมก็ไม่เข้าใจว่าไปต่อสัญญา 900 วัน ได้อย่างไร ทั้งที่มีอาคารที่ยังไม่รื้อถอนอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ใช่เป็นที่ดินโล่งๆ หากครบกำหนด 900 วัน และไม่เสร็จตามสัญญา ก็ต้องมาชี้แจงผมว่า ไม่เสร็จเพราะอะไร ต้องดูเงื่อนไขสัญญา เป็นความผิดของใคร "นายพรเพชร กล่าว