นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พร้อมนางสายทิพย์ ชวลิตถวิล เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมการบริหารโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ นำคณะสื่อมวลชนติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งชาติ บริเวณแยกเกียกกายและซักถามความคืบหน้าการก่อสร้าง
นายพรเพชร ยอมรับว่า การก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ตามกำหนดเวลาในสัญญาที่ต่อขยายจาก 900 วัน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 อีก 387 วัน และจะครบกำหนดในวันที่ 15 ธันวาคม 2559 ซึ่งจากการประเมินเมื่อถึงวันนั้นการก่อสร้างจะคืบหน้าไปเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น เนื่องจากติดขัดเรื่องการคืนพื้นที่การก่อสร้าง และยังไม่สามารถทุบตึกหรืออาคารอีก 4 หลังได้ เพราะติดขัดระเบียบราชการที่ต้องใช้เวลา
อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ตนเข้ามารับช่วงบริหารสัญญา จะพยายามส่งเจ้าหน้าที่เร่งรัดเพื่อให้สามารถก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ได้ แต่เมื่อครบกำหนดสัญญา จะต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรและใครต้องรับผิดชอบ ซึ่งไม่ใช่ตนอย่างแน่นอน ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเรื่องการทำสัญญาที่ใช้ระยะเวลาเพียง 900 วัน สำหรับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 20,000 กว่าล้านบาท ในขณะที่ยังไม่สามารถคืนพื้นที่ให้พร้อมสำหรับการก่อสร้างได้ ซึ่งหากเทียบกับโครงการก่อสร้างอาคารหอประชุมกองทัพบกที่เทเวศร์ ซึ่งเป็นโครงการที่เล็กว่าถึง 10 เท่า และเคลียร์พื้นที่พร้อมสร้างแล้วยังกำหนดเวลาทำสัญญาเพียง 250 วัน
นายพรเพชร กล่าวว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคการก่อสร้างมีเพียงเรื่องปัญหาการส่งมอบพื้นที่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการทุจริต เพราะจากการตรวจสอบไม่มีเรื่องการทุจริตของโครงการก่อสร้าง มีเพียงปัญหาเรื่องการขนดินออกจากโครงการเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องเล็กน้อย
นายพรเพชร ยอมรับว่า การก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ตามกำหนดเวลาในสัญญาที่ต่อขยายจาก 900 วัน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 อีก 387 วัน และจะครบกำหนดในวันที่ 15 ธันวาคม 2559 ซึ่งจากการประเมินเมื่อถึงวันนั้นการก่อสร้างจะคืบหน้าไปเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น เนื่องจากติดขัดเรื่องการคืนพื้นที่การก่อสร้าง และยังไม่สามารถทุบตึกหรืออาคารอีก 4 หลังได้ เพราะติดขัดระเบียบราชการที่ต้องใช้เวลา
อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ตนเข้ามารับช่วงบริหารสัญญา จะพยายามส่งเจ้าหน้าที่เร่งรัดเพื่อให้สามารถก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ได้ แต่เมื่อครบกำหนดสัญญา จะต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรและใครต้องรับผิดชอบ ซึ่งไม่ใช่ตนอย่างแน่นอน ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเรื่องการทำสัญญาที่ใช้ระยะเวลาเพียง 900 วัน สำหรับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 20,000 กว่าล้านบาท ในขณะที่ยังไม่สามารถคืนพื้นที่ให้พร้อมสำหรับการก่อสร้างได้ ซึ่งหากเทียบกับโครงการก่อสร้างอาคารหอประชุมกองทัพบกที่เทเวศร์ ซึ่งเป็นโครงการที่เล็กว่าถึง 10 เท่า และเคลียร์พื้นที่พร้อมสร้างแล้วยังกำหนดเวลาทำสัญญาเพียง 250 วัน
นายพรเพชร กล่าวว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคการก่อสร้างมีเพียงเรื่องปัญหาการส่งมอบพื้นที่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการทุจริต เพราะจากการตรวจสอบไม่มีเรื่องการทุจริตของโครงการก่อสร้าง มีเพียงปัญหาเรื่องการขนดินออกจากโครงการเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องเล็กน้อย