ผู้จัดการรายวัน 360 - “ทันตแพทยสภา” มีมติเอกฉันท์กล่าวโทษ "ดลฤดี" หนีชดใช้ทุน เชิญผู้ค้ำประกันให้ข้อมูล ก่อนถอดสมาชิกทันตแพทยสภา-เพิกถอนใบอนุญาต รับมีผลแค่ในไทย พร้อมทำหนังสือถึงฮาร์วาร์ดแจ้งเรื่องจรรยาบรรณ ด้าน “พล.ต.” ร้องอาจารย์สาว ม.ดังหนีทุนป.เอกที่อเมริกา ผู้ค้ำประกัน 3 รายจ่าย1.3ล้าน โร่ร้องกองปราบเอาผิดเป็นคดีตัวอย่าง
วานนี้ (11 ก.พ.) ในการประชุมคณะกรรมการทันตแพทยสภา ได้มีการพิจารณาวาระพิเศษกรณี ทพญ.ดลฤดี จำลองราษฎร์ อดีตอาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กระทำผิดสัญญาไม่ยอมชดใช้ทุน จนเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันจำนวน 4 คน ต้องชดใช้แทนรวมเป็นจำนวน 8 ล้านบาท ซึ่งล่าสุด มหาวิทยาลัยมหิดลและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ยื่นฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้วนั้น
ภายหลังการประชุม ทพ.ธรณินทร์ จรัสจรุงเกียรติ นายกทันตแพทยสภา เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯทั้งคณะมีมติเอกฉันท์ในการกล่าวโทษ และจะนำเข้าสู่การพิจารณาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยจะส่งเรื่องให้แก่ คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรมในการสืบสวนสอบสวนต่อไป โดยคณะอนุฯจะรวบรวมข้อมูลและมีหนังสือเรียกผู้เสียหายคือผู้ค้ำประกันทั้ง 4 คน และหากอนุกรรมการฯ เห็นว่ามีความผิดมีมูลก็จะดำเนินการส่งต่อมายังคณะกรรมการฯพิจารณาตัดสินโทษ ซึ่งโทษสูงสุดคือการเพิกถอนใบอนุญาต และหากพิสูจน์แล้วพบว่า ทพญ.ดลฤดี ทำผิดข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2538 ในกรณีสร้างความเสื่อมเสีย และไม่ดำรงตนสร้างความถูกต้องในสังคม ไม่เคารพกฎหมาย จนทำให้เสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ตรงนี้จะทำให้มีโอกาสขาดการเป็นสมาชิกภาพของทันตแพทยสภาด้วย
** รับถอนใบอนุญาตมีผลแค่ในไทย
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีถูกฟ้องล้มละลาย ถือว่าสิ้นสภาพสมาชิกด้วยหรือไม่ ทพ.ธรณินทร์ กล่าวว่า หากศาลตัดสินล้มละลายก็จะมีน้ำหนักมากขึ้นในการนำมาพิจารณาให้สิ้นสภาพความเป็นสมาชิกของทันตแพทยสภา และประกอบกับมีเรื่องการสร้างความเสื่อมเสียก็ยิ่งมีน้ำหนักสูง แต่ขณะนี้ศาลยังไม่ตัดสิน จึงต้องพิจารณาตามขั้นตอนไปก่อน โดยเบื้องต้นทางอนุกรรมการฯ จะทำหนังสือถึงผู้เสียหายที่ไปค้ำประกัน รวมทั้งผู้ถูกร้อง คือ ทพญ.ดลฤดี แต่ขั้นตอนต้องส่งไปตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ คือ ในประเทศไทย แต่หากติดต่อไม่ได้ ก็จะประสานต่อไป แต่หากผู้ถูกร้องไม่มาก็ถือว่าสละสิทธิ ทางอนุกรรมการฯ ก็จะพิจารณาตามขั้นตอน อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลจะดำเนินการภายในเดือนนี้
“หากมีการเพิกถอนใบอนุญาต ก็จะมีผลในประเทศไทยเท่านั้น เพราะ ทพญ.ดลฤดี เป็นพลเมืองอเมริกัน แต่ในเรื่องจรรยาบรรณมีผลทุกประเทศ ดังนั้นคณะกรรมการฯจะทำหนังสือไปยังมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อแจ้งให้ทราบถึงกรณีจรรยาบรรณ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเข้มงวดเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพมาก เพียงแต่ที่ผ่านมาตามข่าวระบุว่า ฮาร์วาร์ดบอกว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เข้าใจว่าน่าจะเป็นเรื่องค้ำประกัน แต่กรณีจรรยาบรรณถือว่าสำคัญมาก" นายกทันตแพทยสภา กล่าว
** เรียก20หน่วยงานรื้อระบบให้ทุน
ด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องการพิจารณาให้ทุนของรัฐบาลว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการตั้งแต่เดือน ธ.ค.58 ก่อนจะเกิดกรณี ทพญ.ดลฤดี โดยออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า อยากให้มีการพูดคุยเรื่องทุนที่ส่งคนไปเรียนต่อให้ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ใช่อยากเรียนอะไรก็ไป โดยให้วางแผนอัตรากำลังล่วงหน้า ไม่ใช่ขอเป็นรายปี เช่น กระทรวงต่างประเทศได้มีการวางแผนขอล่วงหน้าไว้เป็น 10 ปี เพื่อวางแผนบริหารจัดการภายในของเขาว่าใครจะไปที่ไหน เป็นเวลาเท่าไร เรียนวิชาอะไร แล้วกลับมาทำงานในส่วนไหน เพื่อกลับมาทดแทนคนที่เกษียณอายุราชการไป เป็นต้น
นายวิษณุ กล่าวต่อว่า ตนได้เสนอให้มีการจัดประชุมแล้วเชิญหน่วยงานที่ให้ทุนในประเทศไทย ประมาณ 20 หน่วยงานมาคุยถึงการจัดสรรทุน การหานักเรียนไปเรียน การใช้ทุนคืน เพราะทุนบางแห่งมีเงื่อนไขไม่เหมือนกัน บางที่ต้องใช้คืน บางทุนใช้คืนเป็น 2 เท่า เพื่อวางระเบียบแบบแผน และเมื่อเกิดกรณีของ ทพญ.ดลฤดี ก็จะได้พูดถึงวิธีการใช้ทุน การค้ำประกัน เนื่องจากกฎหมายค้ำประกันมีการปรับปรุงแก้ไขก็ต้องมาปรับเรื่องสัญญาค้ำประกันให้เข้ากัน และอาจผูกโยงกับการลาออกจากราชการที่เดิมไม่ได้ ทั้งนี้ในวันที่ 12 ก.พ.นี้ ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จะหารือกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในเบื้องต้นก่อน
** โผล่อีกหนีทุนเสวยสุขที่อเมริกา
วันเดียวกัน ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พล.ต.กิตติภพ มนูญนิมิตร รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย พร้อมด้วย นางจันทิรา วิเศษณัฐ ครูและบุคลากรทางการศึกษา (ครู คศ.) 2 ชำนาญการ วิทยาลัยอาชีวะธนบุรี เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.วรพงษ์ ภคเวส พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ กก.1 บก.ป. เพื่อร้องทุกข์กรณีที่ต้องตกเป็นหนี้ ภายหลังค้ำประกันให้กับ นางภัทรพร บัวทอง อดีตอาจารย์คณะวิทยาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอก หรือดุษฎีบัณฑิต ที่คณะบริหารธุรกิจการจัดการ มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซาราโซตา รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมมูลค่าเสียหายกว่า 4 ล้านบาท โดยนำเอกสารที่เกี่ยวข้องมามอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
พล.ต.กิตติภพ เปิดเผยว่า ตน พร้อมด้วย นางจันทิรา และนายภากิต ตรีสกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ได้รับความเสียหายจากการค้ำประกันให้กับนางภัทรพร ซึ่งรู้จักกันเนื่องจากเป็นเพื่อนบ้านของตน เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2539 แต่หลังจากศึกษาสำเร็จกลับมาแล้ว นางภัทรพร มารายงานตัวกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ต้นสังกัด เมื่อเดือน ก.พ.2546 แต่เพียง 1 เดือนเศษ คือประมาณต้นเดือน เม.ย.ปีเดียวกัน ก็ลาออกจากราชการ และทางมหาวิทยาลัยก็อนุมัติให้ลาออกได้ โดยที่ผู้ค้ำประกันไม่ทราบเรื่อง กระทั่งปี 2547 ทางมหาวิทยาลัยได้ฟ้องคดีกับตน กับอาจารย์อีก 2 ท่าน ในฐานะผู้ค้ำประกันชดใช้ค่าเสียหาย
“ที่ผ่านมา เราก็ได้ติดตามทวงถามกับนางภัทรพร แต่ปรากฏว่าได้มีการทำหนังสือมายังมหาวิทยาลัยและผม แจ้งว่ายินดีจะชดใช้เงินคืน หลังจากนั้นก็พบว่ามีการชดใช้ทุนมาประมาณ 6 ล้านบาท จึงเชื่อว่า นางภัทรพร จะยินยอมชดใช้ทุนให้จนหมด แต่เมื่อปี 2557 ก็มีหนังสือจากมหาวิทยาลัยที่ ไปฟ้องต่อศาลล้มละลาย ให้ผู้ค้ำประกันทั้ง 3 รวมถึงนางภัทรพร เป็นบุคคลล้มละลาย” พล.ต.กิตติภพ กล่าว
**เผยคนทำผิดได้สัญชาติมะกันแล้ว
พล.ต.กิตติภพ กล่าวอีกว่า ตนยังรับราชการอยู่ จะปล่อยให้เป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้ จึงต้องไปขอความเห็นใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะชดใช้คืนเฉพาะเงินต้น หลังจากนางภัทรพรผ่อนชำระ มาแล้วประมาณ 6 ล้านบาท เราก็จะขอชำระคืนต่อให้ในส่วนที่เหลือโดยไม่ต้องเสียค่าปรับ และมีการตกลงกันระหว่างทางมหาวิทยาลัยกับกรมบัญชีกลาง เพื่อให้เราชดใช้เงินคืนในส่วนที่เหลืออีกประมาณ 4 ล้านบาท โดยให้ผู้ค้ำประกันทั้ง 3 รายเฉลี่ยกันไป เป็นเงินประมาณคนละ 1.34 ล้านบาทเศษ ผ่อนชำระเป็นเวลา 8 และ 12 ปี พอเรารับสภาพหนี้ดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยก็ถอนฟ้องพวกเรา แต่นางภัทรพร ปัจจุบันศาลตัดสินให้ล้มละลาย โดยคดีล้มละลายภายใน 3 ปี ก็จะพ้นอายุความ แต่ก็สบายไม่ต้องเดือดร้อนอะไร เพราะใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศอเมริกา ส่วนผู้ค้ำประกันต้องเดือดร้อนด้วยภาระหนี้ที่ไม่ได้ก่อ
“พวกผมอยากให้ทางตำรวจดำเนินการในเรื่องนี้ เพราะหากไม่เป็นคดีก็คงดำเนินการอะไรไม่ได้ ที่ผ่านมาเคยไปขอความเห็นใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ไม่มีใครช่วยเหลือเรา แต่หากทาง บก.ป.ช่วยนำเรื่องนี้แจ้งต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อติดตามตัวนางภัทรพร กลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา จัดการเรื่องหนี้สินตรงนี้” พล.ต.กิตติภพ กล่าว
** เชื่อพวกหนีทุนมีอีกเพียบ
พล.ต.กิตติภพ กล่าวอีกว่า อีกส่วนหนึ่งตนก็อยากให้มีการประสานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพราะปัจจุบันบุคคลที่หนีคดีแบบนี้ ก็ไม่ได้อยู่ในบัญชีดำ ทำให้สามารถเดินทางเข้าออกประเทศได้ ที่สำคัญตนทราบมาว่านางภัทรพรได้สัญชาติอเมริกาแล้ว จึงอยากให้มีการตรวจสอบด้วย เพราะคนที่มีประวัติเช่นนนี้ไม่น่าจะได้รับการพิจาณณาให้ได้รับสัญชาติ คิดงว่าถ้าช่วยกันดำเนินการหลายๆฝ่าย ก็คงดำเนินคดีกับคนเหล่านี้ได้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทำให้เป็นคดีตัวอย่าง เพราะพบว่ากรณีเช่นนี้มีอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ได้มีเฉพาะของตน หรือกรณีทันตแพทย์หญิง ที่ตกเป็นข่าวเท่านั้น
ขณะที่ นางจันทิรา กล่าวว่า ได้ค้ำประกันให้กับนางภัทรพร เนื่องจากช่วงเวลานั้นเป็นเพื่อนสนิทกัน และเขาก็ตกปากรับคำว่าจะกลับมาทำงานใช้ทุน แต่หากไม่ทำงานเพื่อใช้ทุนก็จะต้องชำระเงินคืนให้ ภายหลังเมื่อทางครอบครัวเขาที่ประเทศไทย เสียชีวิตกันไปหมด นางภัทรพร ก็ไปมีครอบครัวและตั้งตนชีวิตใหม่ที่รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐฯ โดยไม่ได้สนใจจะใช้ทุนในส่วนที่เหลือ ทำให้ตนต้องถูกฟ้องดำเนินคดี
“ทุกวันนี้ก็ต้องคอยโทรศัพท์ไปหา แรกๆเขาก็รับสาย แต่ระยะหลังก็จะเริ่มไม่รับและขาดการติดต่อ ทำให้รู้สึกเครียดมาก ไม่เป็นอันสอนหนังสือเพราะต้องเสียเวลาและทุนทรัพย์กับการสู้คดีนี้” นางจันทิรา ระบุ
ด้าน พ.ต.ท.วรพงษ์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้ลงบันทึกประจำวันไว้ แต่เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นคดีความไปแล้ว หลังจากนี้ก็จะประสานไปยังกรมบังคับคดี เพื่อติดตามเรื่องต่อไป
วานนี้ (11 ก.พ.) ในการประชุมคณะกรรมการทันตแพทยสภา ได้มีการพิจารณาวาระพิเศษกรณี ทพญ.ดลฤดี จำลองราษฎร์ อดีตอาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กระทำผิดสัญญาไม่ยอมชดใช้ทุน จนเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันจำนวน 4 คน ต้องชดใช้แทนรวมเป็นจำนวน 8 ล้านบาท ซึ่งล่าสุด มหาวิทยาลัยมหิดลและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ยื่นฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้วนั้น
ภายหลังการประชุม ทพ.ธรณินทร์ จรัสจรุงเกียรติ นายกทันตแพทยสภา เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯทั้งคณะมีมติเอกฉันท์ในการกล่าวโทษ และจะนำเข้าสู่การพิจารณาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยจะส่งเรื่องให้แก่ คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรมในการสืบสวนสอบสวนต่อไป โดยคณะอนุฯจะรวบรวมข้อมูลและมีหนังสือเรียกผู้เสียหายคือผู้ค้ำประกันทั้ง 4 คน และหากอนุกรรมการฯ เห็นว่ามีความผิดมีมูลก็จะดำเนินการส่งต่อมายังคณะกรรมการฯพิจารณาตัดสินโทษ ซึ่งโทษสูงสุดคือการเพิกถอนใบอนุญาต และหากพิสูจน์แล้วพบว่า ทพญ.ดลฤดี ทำผิดข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2538 ในกรณีสร้างความเสื่อมเสีย และไม่ดำรงตนสร้างความถูกต้องในสังคม ไม่เคารพกฎหมาย จนทำให้เสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ตรงนี้จะทำให้มีโอกาสขาดการเป็นสมาชิกภาพของทันตแพทยสภาด้วย
** รับถอนใบอนุญาตมีผลแค่ในไทย
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีถูกฟ้องล้มละลาย ถือว่าสิ้นสภาพสมาชิกด้วยหรือไม่ ทพ.ธรณินทร์ กล่าวว่า หากศาลตัดสินล้มละลายก็จะมีน้ำหนักมากขึ้นในการนำมาพิจารณาให้สิ้นสภาพความเป็นสมาชิกของทันตแพทยสภา และประกอบกับมีเรื่องการสร้างความเสื่อมเสียก็ยิ่งมีน้ำหนักสูง แต่ขณะนี้ศาลยังไม่ตัดสิน จึงต้องพิจารณาตามขั้นตอนไปก่อน โดยเบื้องต้นทางอนุกรรมการฯ จะทำหนังสือถึงผู้เสียหายที่ไปค้ำประกัน รวมทั้งผู้ถูกร้อง คือ ทพญ.ดลฤดี แต่ขั้นตอนต้องส่งไปตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ คือ ในประเทศไทย แต่หากติดต่อไม่ได้ ก็จะประสานต่อไป แต่หากผู้ถูกร้องไม่มาก็ถือว่าสละสิทธิ ทางอนุกรรมการฯ ก็จะพิจารณาตามขั้นตอน อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลจะดำเนินการภายในเดือนนี้
“หากมีการเพิกถอนใบอนุญาต ก็จะมีผลในประเทศไทยเท่านั้น เพราะ ทพญ.ดลฤดี เป็นพลเมืองอเมริกัน แต่ในเรื่องจรรยาบรรณมีผลทุกประเทศ ดังนั้นคณะกรรมการฯจะทำหนังสือไปยังมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อแจ้งให้ทราบถึงกรณีจรรยาบรรณ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเข้มงวดเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพมาก เพียงแต่ที่ผ่านมาตามข่าวระบุว่า ฮาร์วาร์ดบอกว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เข้าใจว่าน่าจะเป็นเรื่องค้ำประกัน แต่กรณีจรรยาบรรณถือว่าสำคัญมาก" นายกทันตแพทยสภา กล่าว
** เรียก20หน่วยงานรื้อระบบให้ทุน
ด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องการพิจารณาให้ทุนของรัฐบาลว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการตั้งแต่เดือน ธ.ค.58 ก่อนจะเกิดกรณี ทพญ.ดลฤดี โดยออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า อยากให้มีการพูดคุยเรื่องทุนที่ส่งคนไปเรียนต่อให้ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ใช่อยากเรียนอะไรก็ไป โดยให้วางแผนอัตรากำลังล่วงหน้า ไม่ใช่ขอเป็นรายปี เช่น กระทรวงต่างประเทศได้มีการวางแผนขอล่วงหน้าไว้เป็น 10 ปี เพื่อวางแผนบริหารจัดการภายในของเขาว่าใครจะไปที่ไหน เป็นเวลาเท่าไร เรียนวิชาอะไร แล้วกลับมาทำงานในส่วนไหน เพื่อกลับมาทดแทนคนที่เกษียณอายุราชการไป เป็นต้น
นายวิษณุ กล่าวต่อว่า ตนได้เสนอให้มีการจัดประชุมแล้วเชิญหน่วยงานที่ให้ทุนในประเทศไทย ประมาณ 20 หน่วยงานมาคุยถึงการจัดสรรทุน การหานักเรียนไปเรียน การใช้ทุนคืน เพราะทุนบางแห่งมีเงื่อนไขไม่เหมือนกัน บางที่ต้องใช้คืน บางทุนใช้คืนเป็น 2 เท่า เพื่อวางระเบียบแบบแผน และเมื่อเกิดกรณีของ ทพญ.ดลฤดี ก็จะได้พูดถึงวิธีการใช้ทุน การค้ำประกัน เนื่องจากกฎหมายค้ำประกันมีการปรับปรุงแก้ไขก็ต้องมาปรับเรื่องสัญญาค้ำประกันให้เข้ากัน และอาจผูกโยงกับการลาออกจากราชการที่เดิมไม่ได้ ทั้งนี้ในวันที่ 12 ก.พ.นี้ ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จะหารือกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในเบื้องต้นก่อน
** โผล่อีกหนีทุนเสวยสุขที่อเมริกา
วันเดียวกัน ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พล.ต.กิตติภพ มนูญนิมิตร รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย พร้อมด้วย นางจันทิรา วิเศษณัฐ ครูและบุคลากรทางการศึกษา (ครู คศ.) 2 ชำนาญการ วิทยาลัยอาชีวะธนบุรี เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.วรพงษ์ ภคเวส พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ กก.1 บก.ป. เพื่อร้องทุกข์กรณีที่ต้องตกเป็นหนี้ ภายหลังค้ำประกันให้กับ นางภัทรพร บัวทอง อดีตอาจารย์คณะวิทยาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอก หรือดุษฎีบัณฑิต ที่คณะบริหารธุรกิจการจัดการ มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซาราโซตา รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมมูลค่าเสียหายกว่า 4 ล้านบาท โดยนำเอกสารที่เกี่ยวข้องมามอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
พล.ต.กิตติภพ เปิดเผยว่า ตน พร้อมด้วย นางจันทิรา และนายภากิต ตรีสกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ได้รับความเสียหายจากการค้ำประกันให้กับนางภัทรพร ซึ่งรู้จักกันเนื่องจากเป็นเพื่อนบ้านของตน เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2539 แต่หลังจากศึกษาสำเร็จกลับมาแล้ว นางภัทรพร มารายงานตัวกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ต้นสังกัด เมื่อเดือน ก.พ.2546 แต่เพียง 1 เดือนเศษ คือประมาณต้นเดือน เม.ย.ปีเดียวกัน ก็ลาออกจากราชการ และทางมหาวิทยาลัยก็อนุมัติให้ลาออกได้ โดยที่ผู้ค้ำประกันไม่ทราบเรื่อง กระทั่งปี 2547 ทางมหาวิทยาลัยได้ฟ้องคดีกับตน กับอาจารย์อีก 2 ท่าน ในฐานะผู้ค้ำประกันชดใช้ค่าเสียหาย
“ที่ผ่านมา เราก็ได้ติดตามทวงถามกับนางภัทรพร แต่ปรากฏว่าได้มีการทำหนังสือมายังมหาวิทยาลัยและผม แจ้งว่ายินดีจะชดใช้เงินคืน หลังจากนั้นก็พบว่ามีการชดใช้ทุนมาประมาณ 6 ล้านบาท จึงเชื่อว่า นางภัทรพร จะยินยอมชดใช้ทุนให้จนหมด แต่เมื่อปี 2557 ก็มีหนังสือจากมหาวิทยาลัยที่ ไปฟ้องต่อศาลล้มละลาย ให้ผู้ค้ำประกันทั้ง 3 รวมถึงนางภัทรพร เป็นบุคคลล้มละลาย” พล.ต.กิตติภพ กล่าว
**เผยคนทำผิดได้สัญชาติมะกันแล้ว
พล.ต.กิตติภพ กล่าวอีกว่า ตนยังรับราชการอยู่ จะปล่อยให้เป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้ จึงต้องไปขอความเห็นใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะชดใช้คืนเฉพาะเงินต้น หลังจากนางภัทรพรผ่อนชำระ มาแล้วประมาณ 6 ล้านบาท เราก็จะขอชำระคืนต่อให้ในส่วนที่เหลือโดยไม่ต้องเสียค่าปรับ และมีการตกลงกันระหว่างทางมหาวิทยาลัยกับกรมบัญชีกลาง เพื่อให้เราชดใช้เงินคืนในส่วนที่เหลืออีกประมาณ 4 ล้านบาท โดยให้ผู้ค้ำประกันทั้ง 3 รายเฉลี่ยกันไป เป็นเงินประมาณคนละ 1.34 ล้านบาทเศษ ผ่อนชำระเป็นเวลา 8 และ 12 ปี พอเรารับสภาพหนี้ดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยก็ถอนฟ้องพวกเรา แต่นางภัทรพร ปัจจุบันศาลตัดสินให้ล้มละลาย โดยคดีล้มละลายภายใน 3 ปี ก็จะพ้นอายุความ แต่ก็สบายไม่ต้องเดือดร้อนอะไร เพราะใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศอเมริกา ส่วนผู้ค้ำประกันต้องเดือดร้อนด้วยภาระหนี้ที่ไม่ได้ก่อ
“พวกผมอยากให้ทางตำรวจดำเนินการในเรื่องนี้ เพราะหากไม่เป็นคดีก็คงดำเนินการอะไรไม่ได้ ที่ผ่านมาเคยไปขอความเห็นใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ไม่มีใครช่วยเหลือเรา แต่หากทาง บก.ป.ช่วยนำเรื่องนี้แจ้งต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อติดตามตัวนางภัทรพร กลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา จัดการเรื่องหนี้สินตรงนี้” พล.ต.กิตติภพ กล่าว
** เชื่อพวกหนีทุนมีอีกเพียบ
พล.ต.กิตติภพ กล่าวอีกว่า อีกส่วนหนึ่งตนก็อยากให้มีการประสานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพราะปัจจุบันบุคคลที่หนีคดีแบบนี้ ก็ไม่ได้อยู่ในบัญชีดำ ทำให้สามารถเดินทางเข้าออกประเทศได้ ที่สำคัญตนทราบมาว่านางภัทรพรได้สัญชาติอเมริกาแล้ว จึงอยากให้มีการตรวจสอบด้วย เพราะคนที่มีประวัติเช่นนนี้ไม่น่าจะได้รับการพิจาณณาให้ได้รับสัญชาติ คิดงว่าถ้าช่วยกันดำเนินการหลายๆฝ่าย ก็คงดำเนินคดีกับคนเหล่านี้ได้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทำให้เป็นคดีตัวอย่าง เพราะพบว่ากรณีเช่นนี้มีอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ได้มีเฉพาะของตน หรือกรณีทันตแพทย์หญิง ที่ตกเป็นข่าวเท่านั้น
ขณะที่ นางจันทิรา กล่าวว่า ได้ค้ำประกันให้กับนางภัทรพร เนื่องจากช่วงเวลานั้นเป็นเพื่อนสนิทกัน และเขาก็ตกปากรับคำว่าจะกลับมาทำงานใช้ทุน แต่หากไม่ทำงานเพื่อใช้ทุนก็จะต้องชำระเงินคืนให้ ภายหลังเมื่อทางครอบครัวเขาที่ประเทศไทย เสียชีวิตกันไปหมด นางภัทรพร ก็ไปมีครอบครัวและตั้งตนชีวิตใหม่ที่รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐฯ โดยไม่ได้สนใจจะใช้ทุนในส่วนที่เหลือ ทำให้ตนต้องถูกฟ้องดำเนินคดี
“ทุกวันนี้ก็ต้องคอยโทรศัพท์ไปหา แรกๆเขาก็รับสาย แต่ระยะหลังก็จะเริ่มไม่รับและขาดการติดต่อ ทำให้รู้สึกเครียดมาก ไม่เป็นอันสอนหนังสือเพราะต้องเสียเวลาและทุนทรัพย์กับการสู้คดีนี้” นางจันทิรา ระบุ
ด้าน พ.ต.ท.วรพงษ์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้ลงบันทึกประจำวันไว้ แต่เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นคดีความไปแล้ว หลังจากนี้ก็จะประสานไปยังกรมบังคับคดี เพื่อติดตามเรื่องต่อไป