วานนี้ (7 ก.พ.) พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ สั่งการให้พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มอบหมายให้ นายปิยะศิริ วัฒนาวรางกูร ผอ.ส่วนคดีอาญาพิเศษ ที่ 2 พร้อมด้วยคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ที่ 125/2558 สนธิกำลังพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ทากาศ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อ.แม่ทา และเจ้าหน้าที่ทหาร กกล.พล.ร.7 ส่วนแยกแม่ทาลำพูนรวมกว่า 30 นาย พร้อมหมายค้นของศาลจังหวัดลำพูน ที่ 7/2559 บุกเข้าตรวจค้นเป้าหมายสถานที่บ้านพักตัวการสำคัญของขบวนการคดีแชร์ลูกโซ่ เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานและอายัดทรัพย์ที่ได้มาจากการหลอกลวง ที่บ้านเลขที่ 23 หมู่ที่ 4 ต.ทากาศ อ.แม่ทา จ.ลำพูน ที่พักของแกนนำกลุ่มขบวนการแชร์ลูกโซ่หลอกลวงให้ประชาชนทั่วไปทั้งภาคใต้ ภาคอีสาน และภาคเหนือกว่า 1,000 ราย ลงทุนในทองคำกับ บริษัท พีเอ็มบี เพกาซัส (ไทยแลนด์) จำกัด และ Pegasus Bullion Limited
สืบเนื่องมาจากการสอบสวนและตรวจค้นบ้านของแกนนำในพื้นที่ภาคใต้ และภาคเหนือ ในห้วงที่ผ่านมา และได้ทำการอายัดทรัพย์ไว้มูลค่าประมาณ 60 ล้านบาท จึงได้มีการขยายผลสืบสวนหาทรัพย์สินของแกนนำกลุ่มขบวนการที่เชื่อว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการหลอกลวงเพื่อติดตามอายัดไว้คืนหรือชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวง
ทั้งนี้ ในคดีดังกล่าวนี้กลุ่มผู้กระทำผิดได้มีการจัดทำเว็บไซต์ มีการจัดประชุมแสดงภาพความสำเร็จ มีการขึ้นกล่าวจูงใจให้ผู้ร่วมลงทุนเชื่อมั่นเมื่อมีคนหลงเชื่อ และลงทุนพร้อมกับได้รับผลตอบแทนอย่างงาม แต่ระยะต่อมากลุ่มผู้กระทำผิดได้หยุดจ่ายผลตอบแทนทำให้เกิดความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท
นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร ผอ.ส่วนคดีพิเศษที่ 2 กล่าวว่า การตั้งบริษัทไม่มีอยู่จริง และตั้งชื่อมาเลียนแบบชื่อคล้าย บริษัทค้าทองคำในต่างประเทศ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ประมาณปี 56-58 เบื้องต้นมีผู้เสียหายที่ภาคใต้มากสุด ประมาณ 600 กว่าราย ภาคอีสานประมาณ 200 ราย และภาคเหนือประมาณ 200 ราย รวมแล้วมีผู้เสียหายประมาณ 1,000 ราย มูลค่าความสูญเสียหายประมาณ 1,000 ล้านบาทเศษ ตอนนี้ยึดทรัพย์แกนนำกลุ่มขบวนการไปแล้วกว่า 60 ล้านบาท ส่วนรายนี้คาดว่าน่าจะยึดทรัพย์สินบ้านได้เกิน 5 ล้านบาท ยังไม่รวมที่ดินและทรัพย์อื่นๆ และก็พร้อมให้เจ้าของบ้านนำเอกสารหลักฐานการครอบครองทรัพย์มาแสดงต่อไป
สืบเนื่องมาจากการสอบสวนและตรวจค้นบ้านของแกนนำในพื้นที่ภาคใต้ และภาคเหนือ ในห้วงที่ผ่านมา และได้ทำการอายัดทรัพย์ไว้มูลค่าประมาณ 60 ล้านบาท จึงได้มีการขยายผลสืบสวนหาทรัพย์สินของแกนนำกลุ่มขบวนการที่เชื่อว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการหลอกลวงเพื่อติดตามอายัดไว้คืนหรือชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวง
ทั้งนี้ ในคดีดังกล่าวนี้กลุ่มผู้กระทำผิดได้มีการจัดทำเว็บไซต์ มีการจัดประชุมแสดงภาพความสำเร็จ มีการขึ้นกล่าวจูงใจให้ผู้ร่วมลงทุนเชื่อมั่นเมื่อมีคนหลงเชื่อ และลงทุนพร้อมกับได้รับผลตอบแทนอย่างงาม แต่ระยะต่อมากลุ่มผู้กระทำผิดได้หยุดจ่ายผลตอบแทนทำให้เกิดความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท
นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร ผอ.ส่วนคดีพิเศษที่ 2 กล่าวว่า การตั้งบริษัทไม่มีอยู่จริง และตั้งชื่อมาเลียนแบบชื่อคล้าย บริษัทค้าทองคำในต่างประเทศ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ประมาณปี 56-58 เบื้องต้นมีผู้เสียหายที่ภาคใต้มากสุด ประมาณ 600 กว่าราย ภาคอีสานประมาณ 200 ราย และภาคเหนือประมาณ 200 ราย รวมแล้วมีผู้เสียหายประมาณ 1,000 ราย มูลค่าความสูญเสียหายประมาณ 1,000 ล้านบาทเศษ ตอนนี้ยึดทรัพย์แกนนำกลุ่มขบวนการไปแล้วกว่า 60 ล้านบาท ส่วนรายนี้คาดว่าน่าจะยึดทรัพย์สินบ้านได้เกิน 5 ล้านบาท ยังไม่รวมที่ดินและทรัพย์อื่นๆ และก็พร้อมให้เจ้าของบ้านนำเอกสารหลักฐานการครอบครองทรัพย์มาแสดงต่อไป