นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะคณะทำงานด้านพิจารณากฎหมายรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับเบื้องต้นของ นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ว่า เมื่อได้ดูครบทั้งร่างแล้ว ยอมรับว่ามีข้อดีอยู่มาก โดยเฉพาะประเด็นของการใช้ยาแรงกับการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง และการทุจริตคอร์รัปชัน ถึงขั้นกำหนดโทษห้ามเล่นการเมืองตลอดชีวิต ซึ่งขอสนับสนุนอย่างยิ่ง เพราะการซื้อเสียงเป็นต้นตอของการทุจริต ถอนทุนคืน และเป็นมะเร็งร้ายของประเทศ และระบบการเมือง
อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ยังเป็นข้อทักท้วงจากฝ่ายต่างๆ อยู่ อาทิ ระบบการเลือกตั้งที่ใช้ระบบบัตรใบเดียว จะทำให้คนที่ต้องการเลือกพรรคกับคน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ทำให้มีเสียงวิจารณ์จากหลายฝ่ายว่า ไม่สามารถสะท้อนความต้องการของคนกับพรรคแยกจากกันได้ อีกทั้งการให้ลงคะแนนคนกับพรรครวมกัน ก็อาจทำให้การนำไปสู่การซื้อเสียงมากขึ้น เพราะซื้อคะแนนเดียว ก็จะได้ทั้งคนและพรรค
นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะเปิดช่องให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยกำหนดให้มาตามช่องทางให้พรรคการเมืองเสนอชื่อคนที่จะเป็นนายกฯ ได้ไม่เกิน 3 ชื่อ กลายเป็นว่าขณะที่เปิดช่องคนนอกกลับมาจำกัดทางเลือกของประชาชนที่จะเลือกคนที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะเดิมคนที่มาจากการเลือกตั้ง ประชาชนสามารถเลือกได้ว่าใครเหมาะที่จะเป็นนายกฯ แต่เมื่อมาเสนอให้พรรคเสนอชื่อไม่เกิน 3 คน กลายเป็นว่าประชาชนมีทางเลือกเฉพาะคนที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชี วันหนึ่งสมมุติว่าเกิดอุบติเหตุใดๆ ขึ้นมา ตรงนี้อาจจะเป็นเงื่อนตาย หรือจุดน็อกขึ้นมาก็ได้ ที่ทำให้ไม่สามารถไปเลือกคนที่มาจากการเลือกตั้ง แต่อยู่นอกบัญชีขึ้นมาทำหน้าที่นายกฯได้
อีกประเด็นที่ตนเห็นว่ามีความสำคัญคือ การแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งฉบับที่ผ่านๆมา กำหนดให้ใช้เสียงข้างมากของสองสภารวมกัน แต่ครั้งนี้กลายเป็นว่า กำหนดเงื่อนไขให้การแก้รัฐธรรมนูญทำได้ยากมาก เพราะนอกจากให้ใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง และเสียงข้างมากของสองสภารวมกัน ยังระบุอีกว่าในเสียงข้างมากนั้น จะต้องประกอบด้วยทั้งเสียงของรัฐบาล และฝ่ายค้านและต้องมีเสียงส.ว. ไม่น้อยกว่า1ใน 3 ด้วย ขณะเดียวกันถ้าเป็นประเด็นที่เข้าเงื่อนไขกำหนดในรัฐธรรมนูญที่จะแก้บางประเด็น จะต้องนำไปทำประชามติก่อนด้วย จากประสบการณ์ของฝ่ายปฏิบัติที่ทำมาแค่ใช้เสียงข้างมากก็ไม่ง่ายสำหรับการแก้รัฐธรรมนูญ
" หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย หรือมีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง การกำหนดเงื่อนไขให้แก้ยาก คงไม่เป็นปัญหาเพราะมันดีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรไปแก้ แต่หากเป็นรัฐธรรมนูญที่ยังมีข้อท้วงติงจากหลายฝ่าย ยังขาดความเห็นพ้องต้องกัน ถ้าผ่านไปแล้วกำหนดแก้ไขได้ยากเช่นนี้ สุดท้ายเมื่อมันไม่มีทางออกก็จะกลายเป็นว่าจะต้องนำไปสู่การฉีกรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยก็จะกลับมาสู่วงจรอุบาทว์อีก จึงอยากฝากให้กรธ.นำไปพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ ในช่วง2เดือนนี้หลังจากที่กรธ.ได้ส่งความเห็นให้แม่น้ำสายต่างๆทำความเห็นกลับมาและทำความเห็นจากประชาชน ก็อยากให้ฟังจากทั้งฝ่ายทฤษฏีและปฏิบัติร่วมกันไปด้วยอย่างจริงจัง และนำมาประกอบการพิจารณาทบทวน เพราะผมอยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นที่ยอมรับ มีความสมบูรณ์แบบ มีความเห็นที่สอดคล้องต้องกันได้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้"
ผู้สื่อข่าวถามว่าการทำประชามติ ใช้งบประมาณถึง 3 พันล้าน หากไม่ผ่าน จะเป็นอย่างไร นายจุรินทร์ กล่าวว่า ถึงอย่างไรก็ต้องเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการนั้น ส่วนจะผ่านหรือไม่ ตนไม่อยู่ในฐานะที่ให้ความเห็นได้ ซึ่งตนจะดูในเนื้อหาเป็นหลักว่า นำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคต และต้องเป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนหรือไม่ เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
ส่วนการรวบรวมความเห็นของพรรคประชาธิปัตย์ ตนก็กำลังรวบรวมความเห็นจากสมาชิกพรรคอยู่ ด้วยจุดประสงค์ที่เป็นความปรารถนาดี อยากเห็นรัฐธรรมนูญออกมามีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น และเมื่อมาบังคับใช้จะได้อยู่ได้ยั่งยืน ประเทศจะได้ไม่ย้อนรอยกลับมาที่เดิมหรือนับหนึ่งกันอีก
เมื่อถามถึงกรณีที่การเลือกตั้งอาจจะเลื่อนออกไปปลายปี 60 นายจุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องนี้มีโรดแมปที่ชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าไม่มีอะไร และคิดว่านายกฯ คงพยายามกำกับควบคุมทุกอย่างให้เดินไปตามโรดแมป จนถึงนาทีนี้ยังไม่เห็นมีสัญญาณอะไรมาทำให้มองได้ว่าจะเดินไปนอกโรดแมป ที่กำหนด
**กรธ.ยันระบบเลือกตั้งตอบโจทย์แล้ว
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. กล่าวถึง เสียงวิจารณ์รัฐธรรมนูญร่างแรกในเรื่องระบบการเลือกตั้ง ที่มีคนบอกว่าไม่ตอบโจทย์ ว่า พวกเขาอาจยังเข้าใจผิดกันอยู่ ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม เป็นการรวมทุกคะแนน ทั้งผู้แพ้ และผู้ชนะ ในแต่ละเขตเลือกตั้ง ทำให้คะแนนของผู้แพ้ไม่ได้ถูกทิ้งเหมือนการเลือกตั้งระบบเก่า และกรธ.ยังคิดว่าระบบใหม่นี้จะเป็นการกดดันพรรคการเมืองให้ส่งคนดี คนเก่ง ลงสมัครรับเลือกตั้งให้ประชาชนมีทางเลือก ไม่ใช่ส่งใครก็ได้เหมือนอดีตที่ผ่านมา
ส่วนการให้เปิดเผยรายชื่อผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ ก่อนการเลือกตั้ง กรธ.คิดว่า ระบบแบบนี้โปร่งใส ดีกว่าไปหมกเม็ด ให้ทุกคนเห็นหน้าผู้ที่จะมาเป็นนายกฯก่อน ตนคิดว่าระบบนี้ตอบโจทย์ และคำนึงถึงเสียงของประชาชนเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม กรธ.ได้เปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็นไว้ ทั้งทางเว็บไซต์ จดหมาย หรือสามารถมายื่นข้อเสนอให้ถึงมือ กรธ.ได้เลย เราไม่ปิดกั้น พร้อมรับฟังทุกข้อเสนอ หรือพรรคการเมืองแต่ละพรรคอยากจะเชิญ กรธ.ไปอธิบายร่างรัฐธรรมนูญให้ฟัง เราก็ยินดีและพร้อมที่จะไปร่วมอธิบายให้ได้ ทั้งนี้การประชุมของ กรธ.หลังจากนี้ เราจะทบทวนเสียงสะท้อนจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ยังเป็นข้อทักท้วงจากฝ่ายต่างๆ อยู่ อาทิ ระบบการเลือกตั้งที่ใช้ระบบบัตรใบเดียว จะทำให้คนที่ต้องการเลือกพรรคกับคน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ทำให้มีเสียงวิจารณ์จากหลายฝ่ายว่า ไม่สามารถสะท้อนความต้องการของคนกับพรรคแยกจากกันได้ อีกทั้งการให้ลงคะแนนคนกับพรรครวมกัน ก็อาจทำให้การนำไปสู่การซื้อเสียงมากขึ้น เพราะซื้อคะแนนเดียว ก็จะได้ทั้งคนและพรรค
นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะเปิดช่องให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยกำหนดให้มาตามช่องทางให้พรรคการเมืองเสนอชื่อคนที่จะเป็นนายกฯ ได้ไม่เกิน 3 ชื่อ กลายเป็นว่าขณะที่เปิดช่องคนนอกกลับมาจำกัดทางเลือกของประชาชนที่จะเลือกคนที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะเดิมคนที่มาจากการเลือกตั้ง ประชาชนสามารถเลือกได้ว่าใครเหมาะที่จะเป็นนายกฯ แต่เมื่อมาเสนอให้พรรคเสนอชื่อไม่เกิน 3 คน กลายเป็นว่าประชาชนมีทางเลือกเฉพาะคนที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชี วันหนึ่งสมมุติว่าเกิดอุบติเหตุใดๆ ขึ้นมา ตรงนี้อาจจะเป็นเงื่อนตาย หรือจุดน็อกขึ้นมาก็ได้ ที่ทำให้ไม่สามารถไปเลือกคนที่มาจากการเลือกตั้ง แต่อยู่นอกบัญชีขึ้นมาทำหน้าที่นายกฯได้
อีกประเด็นที่ตนเห็นว่ามีความสำคัญคือ การแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งฉบับที่ผ่านๆมา กำหนดให้ใช้เสียงข้างมากของสองสภารวมกัน แต่ครั้งนี้กลายเป็นว่า กำหนดเงื่อนไขให้การแก้รัฐธรรมนูญทำได้ยากมาก เพราะนอกจากให้ใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง และเสียงข้างมากของสองสภารวมกัน ยังระบุอีกว่าในเสียงข้างมากนั้น จะต้องประกอบด้วยทั้งเสียงของรัฐบาล และฝ่ายค้านและต้องมีเสียงส.ว. ไม่น้อยกว่า1ใน 3 ด้วย ขณะเดียวกันถ้าเป็นประเด็นที่เข้าเงื่อนไขกำหนดในรัฐธรรมนูญที่จะแก้บางประเด็น จะต้องนำไปทำประชามติก่อนด้วย จากประสบการณ์ของฝ่ายปฏิบัติที่ทำมาแค่ใช้เสียงข้างมากก็ไม่ง่ายสำหรับการแก้รัฐธรรมนูญ
" หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย หรือมีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง การกำหนดเงื่อนไขให้แก้ยาก คงไม่เป็นปัญหาเพราะมันดีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรไปแก้ แต่หากเป็นรัฐธรรมนูญที่ยังมีข้อท้วงติงจากหลายฝ่าย ยังขาดความเห็นพ้องต้องกัน ถ้าผ่านไปแล้วกำหนดแก้ไขได้ยากเช่นนี้ สุดท้ายเมื่อมันไม่มีทางออกก็จะกลายเป็นว่าจะต้องนำไปสู่การฉีกรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยก็จะกลับมาสู่วงจรอุบาทว์อีก จึงอยากฝากให้กรธ.นำไปพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ ในช่วง2เดือนนี้หลังจากที่กรธ.ได้ส่งความเห็นให้แม่น้ำสายต่างๆทำความเห็นกลับมาและทำความเห็นจากประชาชน ก็อยากให้ฟังจากทั้งฝ่ายทฤษฏีและปฏิบัติร่วมกันไปด้วยอย่างจริงจัง และนำมาประกอบการพิจารณาทบทวน เพราะผมอยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นที่ยอมรับ มีความสมบูรณ์แบบ มีความเห็นที่สอดคล้องต้องกันได้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้"
ผู้สื่อข่าวถามว่าการทำประชามติ ใช้งบประมาณถึง 3 พันล้าน หากไม่ผ่าน จะเป็นอย่างไร นายจุรินทร์ กล่าวว่า ถึงอย่างไรก็ต้องเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการนั้น ส่วนจะผ่านหรือไม่ ตนไม่อยู่ในฐานะที่ให้ความเห็นได้ ซึ่งตนจะดูในเนื้อหาเป็นหลักว่า นำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคต และต้องเป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนหรือไม่ เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
ส่วนการรวบรวมความเห็นของพรรคประชาธิปัตย์ ตนก็กำลังรวบรวมความเห็นจากสมาชิกพรรคอยู่ ด้วยจุดประสงค์ที่เป็นความปรารถนาดี อยากเห็นรัฐธรรมนูญออกมามีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น และเมื่อมาบังคับใช้จะได้อยู่ได้ยั่งยืน ประเทศจะได้ไม่ย้อนรอยกลับมาที่เดิมหรือนับหนึ่งกันอีก
เมื่อถามถึงกรณีที่การเลือกตั้งอาจจะเลื่อนออกไปปลายปี 60 นายจุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องนี้มีโรดแมปที่ชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าไม่มีอะไร และคิดว่านายกฯ คงพยายามกำกับควบคุมทุกอย่างให้เดินไปตามโรดแมป จนถึงนาทีนี้ยังไม่เห็นมีสัญญาณอะไรมาทำให้มองได้ว่าจะเดินไปนอกโรดแมป ที่กำหนด
**กรธ.ยันระบบเลือกตั้งตอบโจทย์แล้ว
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. กล่าวถึง เสียงวิจารณ์รัฐธรรมนูญร่างแรกในเรื่องระบบการเลือกตั้ง ที่มีคนบอกว่าไม่ตอบโจทย์ ว่า พวกเขาอาจยังเข้าใจผิดกันอยู่ ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม เป็นการรวมทุกคะแนน ทั้งผู้แพ้ และผู้ชนะ ในแต่ละเขตเลือกตั้ง ทำให้คะแนนของผู้แพ้ไม่ได้ถูกทิ้งเหมือนการเลือกตั้งระบบเก่า และกรธ.ยังคิดว่าระบบใหม่นี้จะเป็นการกดดันพรรคการเมืองให้ส่งคนดี คนเก่ง ลงสมัครรับเลือกตั้งให้ประชาชนมีทางเลือก ไม่ใช่ส่งใครก็ได้เหมือนอดีตที่ผ่านมา
ส่วนการให้เปิดเผยรายชื่อผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ ก่อนการเลือกตั้ง กรธ.คิดว่า ระบบแบบนี้โปร่งใส ดีกว่าไปหมกเม็ด ให้ทุกคนเห็นหน้าผู้ที่จะมาเป็นนายกฯก่อน ตนคิดว่าระบบนี้ตอบโจทย์ และคำนึงถึงเสียงของประชาชนเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม กรธ.ได้เปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็นไว้ ทั้งทางเว็บไซต์ จดหมาย หรือสามารถมายื่นข้อเสนอให้ถึงมือ กรธ.ได้เลย เราไม่ปิดกั้น พร้อมรับฟังทุกข้อเสนอ หรือพรรคการเมืองแต่ละพรรคอยากจะเชิญ กรธ.ไปอธิบายร่างรัฐธรรมนูญให้ฟัง เราก็ยินดีและพร้อมที่จะไปร่วมอธิบายให้ได้ ทั้งนี้การประชุมของ กรธ.หลังจากนี้ เราจะทบทวนเสียงสะท้อนจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญต่อไป