คนไทยวันนี้นอกจากจะเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ คือมีรายได้น้อยแต่ปัจจัยในการครองชีพแพงแล้ว ยังเดือดร้อนจากภัยสังคมในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การจี้ปล้น ลักขโมยไปจนถึงการต้มตุ๋น หลอกลวง หรือแม้กระทั่งอาชญากรรมทางเพศ ข่มขืนแล้วฆ่าปิดปาก ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ซึ่งปรากฏเป็นข่าวทางสื่อแทบทุกวัน และที่เป็นเช่นนี้อนุมานได้ว่าน่าจะเกิดจากเหตุการณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ความยากจน
2. ด้อยการศึกษา
3. ติดยาเสพติด
4. ศีลธรรมเสื่อม
จากปัจจัย 4 ประการนี้ ผู้คนในสังคมไทยโดยเฉพาะสังคมเมืองเผชิญกับความเดือดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นกับตัวเองและคนใกล้ชิด
ปัจจัย 4 ประการดังกล่าว ถ้านำมาพิจารณาโดยใช้หลักตรรกศาสตร์ ก็จะพบว่า เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน กล่าวคือ ความยากจนเป็นผลมาจากเหตุคือ การด้อยการศึกษาให้ความสามารถในการประกอบสัมมาชีพในการหารายได้มาเลี้ยงตนเอง และครอบครัวให้อยู่ดีกินดีตามอัตภาพที่ควรจะเป็น
ส่วนการติดยาเสพติดเป็นผลมาจากเหตุคือ ศีลธรรมเสื่อมโทรม ทำให้คนที่ขาดที่พึ่งทางใจ ทั้งขาดความอบอุ่นในครอบครัวจึงหันเข้าหายาเสพติดให้โทษแทนการเข้าวัดแสวงหาที่พึ่งทางใจ จึงเป็นเหตุให้เป็นทาสสิ่งเสพติดให้โทษ
ไม่ว่าจะด้วยความยากจนหรือถูกสิ่งเสพติดครอบงำ โอกาสที่จะกลายเป็นอาชญากรเป็นไปได้สูง
ทำไมสังคมเมืองจึงต้องเผชิญกับภัยสังคมมากกว่าในสังคมชนบท และจะมีแนวทางป้องกันอย่างไร
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูลักษณะสังคมเมือง และสังคมชนบทตามนัยแห่งสังคมวิทยา ก็จะพบความแตกต่างดังต่อไปนี้
1. สังคมชนบท เป็นสังคมปฐมภูมิซึ่งสมาชิกในสังคมส่วนใหญ่เป็นคนอยู่กับที่คือ เกิดมาและเติบโตอยู่ในสังคมนั้นตลอดชีวิต
ดังนั้น ความสัมพันธ์ภายในกลุ่มจึงแน่นแฟ้น มีคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีในลักษณะขององค์กรอรูปนัย คือเป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่มีการจัดตั้งเป็นทางการ แต่เกิดขึ้นโดยอาศัยความเป็นญาติ ความเป็นเพื่อน จึงมีความคุ้นเคยรู้จักกันเกือบทุกคนภายในกลุ่ม จึงมีความเอื้ออาทรแก่กัน ดูแลซึ่งกันและกัน ทำให้ง่ายต่อการป้องกันอาชญากรรมเมื่อเทียบกับสังคมเมือง ซึ่งเป็นสังคมทุติยภูมิที่สมาชิกของสังคมส่วนใหญ่มาจากหลายแหล่ง และมาอยู่ร่วมกัน จึงไม่มีความสัมพันธ์แนบแน่น จะเห็นได้จากผู้ที่อยู่ใกล้กัน แต่ไม่รู้จักกัน จึงเป็นช่องว่างให้เกิดการก่อการอันเป็นภัยทางสังคม เช่น ลักขโมย เป็นต้น ขึ้นได้ง่าย
2. ในสังคมเมือง โดยเฉพาะเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ จะมีย่านชุมชนแออัดหรือที่เรียกว่า สลัมอยู่มากมายหลายแห่ง และในสังคมชุมชนแออัดนี้เอง เป็นที่อยู่ของผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา เนื่องจากความยากจนและภาวะแวดล้อมไม่จูงใจให้ผู้คนในชุมชนใส่ใจในการศึกษาเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งยังเป็นแหล่งบ่มเพาะอาชญากรรมทั้งลักเล็กขโมยน้อย ค้ายาเสพติดไปจนฆ่าข่มขืน จึงเป็นบ่อเกิดอาชญากรรมประเภทต่างๆ
ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะแก้ไขและป้องกันปัญหาอาชญากรรม จะต้องมีการพัฒนาชุมชนแออัด ทั้งในด้านการศึกษา และด้านจริยธรรม เมื่อละลายพฤติกรรมทางสังคมที่หมักหมมอยู่กับสิ่งชั่วร้ายให้ลดลงและหมดไป
ในขั้นต่อไป หลังจากมีการพัฒนาชุมชนแออัดแล้ว จะต้องหาวิธีป้องกันมิให้ผู้คนจากชนบทหลั่งไหลเข้ามาในเมืองใหญ่ และอาศัยชุมชนแออัดจนกลายเป็นแหล่งมั่วสุมขึ้นอีก ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการจัดให้มีสถานศึกษา ที่มีคุณภาพในจำนวนที่เพียงพอแก่ความต้องการ และในขณะเดียวกัน จัดหางานไว้รองรับผู้จบการศึกษาในท้องถิ่นไว้รองรับเด็กที่จบออกมา
ถ้าทำได้เช่นนี้ เชื่อได้ว่าจะชะลอมิให้คนจากชนบทหลั่งไหลเข้าสู่เมืองใหญ่จนกลายเป็นปัญหาสังคม ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่งแน่นอน
อีกประการหนึ่ง ซึ่งจะต้องดำเนินการเพื่อป้องกันอาชญากรรมในเมือง ก็คือ จะต้องคุมแหล่งอบายมุขทั้งที่เป็นแหล่งโดยตรง คือบ่อนการพนัน และโดยอ้อมซึ่งแฝงอยู่ในรูปธุรกิจบันเทิง เช่น คลับ บาร์ เป็นต้น และที่แฝงอยู่ในคราบของกีฬา เช่น สนามม้า และสนามมวย เป็นต้น
ประการสุดท้ายที่ควรจะควบคุมเพื่อป้องกันมิให้เป็นบ่อเกิดอาชญากรรมก็คือ ธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งในขณะนี้ได้เป็นบ่อเกิดอาชญากรรมไปแล้วส่วนหนึ่ง จะเห็นได้จากอาชญากรรมโดยมีชาวต่างชาติที่เข้ามาในคราบนักท่องเที่ยวก่อขึ้น เช่น แก๊งรูดบัตรเครดิตปลอม และค้ายาเสพติด เป็นต้น
โดยสรุป ถ้าจะป้องกันอาชญากรรมอันเป็นเหตุต่อผู้คนในสังคม สิ่งแรกที่จะต้องรีบลงมือทำคือ ขจัดปัญหาความยากจน และส่งเสริมการศึกษา รวมไปถึงเร่งรัดการแก้ปัญหาสังคมซึ่งเกิดขึ้นในชุมชนแออัดให้ลดลง
แต่การจะแก้ไขและป้องกันปัญหาอาชญากรรมให้ลดลงและหมดไปได้ ภาครัฐจะต้องได้รับความร่วมมือจากเอกชนเป็นอย่างดี โดยการเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ และในขณะเดียวกัน จะต้องร่วมมือกันทำให้คนเลวโดดเดี่ยวและยากแก่การซ่อนตัวเมื่อกระทำความผิด
ถ้าทำได้เช่นนี้ โอกาสที่จะแก้ปัญหาอาชญากรรมได้คงจะไม่นานเกินรอ
1. ความยากจน
2. ด้อยการศึกษา
3. ติดยาเสพติด
4. ศีลธรรมเสื่อม
จากปัจจัย 4 ประการนี้ ผู้คนในสังคมไทยโดยเฉพาะสังคมเมืองเผชิญกับความเดือดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นกับตัวเองและคนใกล้ชิด
ปัจจัย 4 ประการดังกล่าว ถ้านำมาพิจารณาโดยใช้หลักตรรกศาสตร์ ก็จะพบว่า เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน กล่าวคือ ความยากจนเป็นผลมาจากเหตุคือ การด้อยการศึกษาให้ความสามารถในการประกอบสัมมาชีพในการหารายได้มาเลี้ยงตนเอง และครอบครัวให้อยู่ดีกินดีตามอัตภาพที่ควรจะเป็น
ส่วนการติดยาเสพติดเป็นผลมาจากเหตุคือ ศีลธรรมเสื่อมโทรม ทำให้คนที่ขาดที่พึ่งทางใจ ทั้งขาดความอบอุ่นในครอบครัวจึงหันเข้าหายาเสพติดให้โทษแทนการเข้าวัดแสวงหาที่พึ่งทางใจ จึงเป็นเหตุให้เป็นทาสสิ่งเสพติดให้โทษ
ไม่ว่าจะด้วยความยากจนหรือถูกสิ่งเสพติดครอบงำ โอกาสที่จะกลายเป็นอาชญากรเป็นไปได้สูง
ทำไมสังคมเมืองจึงต้องเผชิญกับภัยสังคมมากกว่าในสังคมชนบท และจะมีแนวทางป้องกันอย่างไร
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูลักษณะสังคมเมือง และสังคมชนบทตามนัยแห่งสังคมวิทยา ก็จะพบความแตกต่างดังต่อไปนี้
1. สังคมชนบท เป็นสังคมปฐมภูมิซึ่งสมาชิกในสังคมส่วนใหญ่เป็นคนอยู่กับที่คือ เกิดมาและเติบโตอยู่ในสังคมนั้นตลอดชีวิต
ดังนั้น ความสัมพันธ์ภายในกลุ่มจึงแน่นแฟ้น มีคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีในลักษณะขององค์กรอรูปนัย คือเป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่มีการจัดตั้งเป็นทางการ แต่เกิดขึ้นโดยอาศัยความเป็นญาติ ความเป็นเพื่อน จึงมีความคุ้นเคยรู้จักกันเกือบทุกคนภายในกลุ่ม จึงมีความเอื้ออาทรแก่กัน ดูแลซึ่งกันและกัน ทำให้ง่ายต่อการป้องกันอาชญากรรมเมื่อเทียบกับสังคมเมือง ซึ่งเป็นสังคมทุติยภูมิที่สมาชิกของสังคมส่วนใหญ่มาจากหลายแหล่ง และมาอยู่ร่วมกัน จึงไม่มีความสัมพันธ์แนบแน่น จะเห็นได้จากผู้ที่อยู่ใกล้กัน แต่ไม่รู้จักกัน จึงเป็นช่องว่างให้เกิดการก่อการอันเป็นภัยทางสังคม เช่น ลักขโมย เป็นต้น ขึ้นได้ง่าย
2. ในสังคมเมือง โดยเฉพาะเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ จะมีย่านชุมชนแออัดหรือที่เรียกว่า สลัมอยู่มากมายหลายแห่ง และในสังคมชุมชนแออัดนี้เอง เป็นที่อยู่ของผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา เนื่องจากความยากจนและภาวะแวดล้อมไม่จูงใจให้ผู้คนในชุมชนใส่ใจในการศึกษาเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งยังเป็นแหล่งบ่มเพาะอาชญากรรมทั้งลักเล็กขโมยน้อย ค้ายาเสพติดไปจนฆ่าข่มขืน จึงเป็นบ่อเกิดอาชญากรรมประเภทต่างๆ
ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะแก้ไขและป้องกันปัญหาอาชญากรรม จะต้องมีการพัฒนาชุมชนแออัด ทั้งในด้านการศึกษา และด้านจริยธรรม เมื่อละลายพฤติกรรมทางสังคมที่หมักหมมอยู่กับสิ่งชั่วร้ายให้ลดลงและหมดไป
ในขั้นต่อไป หลังจากมีการพัฒนาชุมชนแออัดแล้ว จะต้องหาวิธีป้องกันมิให้ผู้คนจากชนบทหลั่งไหลเข้ามาในเมืองใหญ่ และอาศัยชุมชนแออัดจนกลายเป็นแหล่งมั่วสุมขึ้นอีก ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการจัดให้มีสถานศึกษา ที่มีคุณภาพในจำนวนที่เพียงพอแก่ความต้องการ และในขณะเดียวกัน จัดหางานไว้รองรับผู้จบการศึกษาในท้องถิ่นไว้รองรับเด็กที่จบออกมา
ถ้าทำได้เช่นนี้ เชื่อได้ว่าจะชะลอมิให้คนจากชนบทหลั่งไหลเข้าสู่เมืองใหญ่จนกลายเป็นปัญหาสังคม ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่งแน่นอน
อีกประการหนึ่ง ซึ่งจะต้องดำเนินการเพื่อป้องกันอาชญากรรมในเมือง ก็คือ จะต้องคุมแหล่งอบายมุขทั้งที่เป็นแหล่งโดยตรง คือบ่อนการพนัน และโดยอ้อมซึ่งแฝงอยู่ในรูปธุรกิจบันเทิง เช่น คลับ บาร์ เป็นต้น และที่แฝงอยู่ในคราบของกีฬา เช่น สนามม้า และสนามมวย เป็นต้น
ประการสุดท้ายที่ควรจะควบคุมเพื่อป้องกันมิให้เป็นบ่อเกิดอาชญากรรมก็คือ ธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งในขณะนี้ได้เป็นบ่อเกิดอาชญากรรมไปแล้วส่วนหนึ่ง จะเห็นได้จากอาชญากรรมโดยมีชาวต่างชาติที่เข้ามาในคราบนักท่องเที่ยวก่อขึ้น เช่น แก๊งรูดบัตรเครดิตปลอม และค้ายาเสพติด เป็นต้น
โดยสรุป ถ้าจะป้องกันอาชญากรรมอันเป็นเหตุต่อผู้คนในสังคม สิ่งแรกที่จะต้องรีบลงมือทำคือ ขจัดปัญหาความยากจน และส่งเสริมการศึกษา รวมไปถึงเร่งรัดการแก้ปัญหาสังคมซึ่งเกิดขึ้นในชุมชนแออัดให้ลดลง
แต่การจะแก้ไขและป้องกันปัญหาอาชญากรรมให้ลดลงและหมดไปได้ ภาครัฐจะต้องได้รับความร่วมมือจากเอกชนเป็นอย่างดี โดยการเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ และในขณะเดียวกัน จะต้องร่วมมือกันทำให้คนเลวโดดเดี่ยวและยากแก่การซ่อนตัวเมื่อกระทำความผิด
ถ้าทำได้เช่นนี้ โอกาสที่จะแก้ปัญหาอาชญากรรมได้คงจะไม่นานเกินรอ